ตะขบป่า ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย
ตะขบป่า งานวิจัยและสรรพคุณ 40 ข้อ
ชื่อสมุนไพร ตะขบป่า
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น มะเกว๋น , มะเกว๋นป่า ,มะเกว๋นนก(ภาคเหนือ),หมากเบน,เบนโคน(ภาคอีสาน)
ชื่อวิทยาศาสต Flacourtia indica (Burm.f.) Merr
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Flacoartia ramonchi
ชื่อสามัญ Indian plum , East Indian plum, Madagascar plum, Flacourtia,Governor’s plum
วงศ์ SALICACEAE – FLACOURTIACEAE
ถิ่นกำเนิดของตะขบป่า
สำหรับถิ่นกำเนิดของตะขบป่านั้นมีข้อมูลบางฉบับเชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในภูมิภาคเอเชียใต้ อาทิเช่น อินเดีย เนปาล ศรีลังกา ปากีสถาน แต่อีกบางข้อมูลระบุว่าอยู่ในทวีปแอฟริกา แต่สำหรับในปัจจุบันพบว่ามีการแพร่กระจายพันธุ์ไปยังเขตร้อนในหลายๆ ทวีป เช่น เอเชีย แอฟริกา และพบได้บางที่ในอเมริกาใต้ ส่วนในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศบริเวณ ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าผสมผลัดใบ ป่าชายหาด รวมถึงบริเวณริมน้ำ
ประโยชน์และสรรพคุณตะขบป่า
- แก้ผิดสำแดง
- แก้ปวดเมื่อย
- แก้คัน
- แก้โรคไตพิการ
- ช่วยบำรุงน้ำนม
- กินแก้ไตอักเสบ
- แก้ตานขโมย
- ช่วยขับพยาธิไส้เดือน
- แก้โรคปอดบวม
- ช่วยขับเหงื่อ
- แก้ท้องร่วง บิดมูกเลือด
- แก้ขับพยาธิไส้เดือน
- แก้โรคผิวหนัง ประดง ผื่นคัน
- แก้อีสุกอีใส อีดำอีแดง
- แก้ไข้ลดความร้อน
- แก้พิษไข้กาฬ
- แก้พิษฝี
- ใช้แก้อหิวาตกโรค
- แก้เจ็บคอ
- แก้เสียงแห้ง
- แก้ปวดท้อง
- ช่วยย่อยอาหาร
- ช่วยลดไข้สำหรับเด็ก
- แก้ไอ
- แก้โรคปอดอักเสบ
- แก้บิดและท้องเสีย
- ใช้เป็นยากลั้วคอ
- ใช้บำรุงร่างกาย
- ใช้เป็นยาฝาดสมาน
- แก้หลอดลมอักเสบ
- แก้ไข้
- ช่วยลดขับเสมหะ
- แก้หืดหอบ
- แก้ท้องร่วง ขับลม
- แก้ปวดข้อ
- แก้อ่อนเพลีย
- แก้คลื่นไส้อาเจียน
- บรรเทาอาการโรคดีซ่าน
- แก้ม้ามโต
- ใช้เป็นยาระบาย
ผลตะขบป่าสุกถูกนำมารับประทานเป็นผลไม้โดยเฉพาะเด็กๆ แถวชนบท ซึ่งผลสุกจะมีรสหวานอมฝาด มีวิตามินซีสูง ส่วนเนื้อไม้สามารถใช้เป็นโครงสร้างในการก่อสร้างบ้านเรือน เช่น เสา ขื่อ หรือคาน และยังสามารถใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้ในครัวเรือนได้อีกด้วยนอกจากนี้ยังใช้ปลูกเป็นไม้ประดับหรือไม้ให้ร่มเงา และเมื่อผลสุกก็จะมีนกมาจิกกินสร้างความเพลิดเพลินให้แก่ผู้ที่ได้เห็น
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ตะขบป่า
ใช้เป็นยาบำรุงร่างกายแก้ไข้ แก้ไอ หลอดลมอักเสบ ขับลม ขัยเสมหะ แก้ท้องร่วง ใช้เป็นยาฝาดสมานโดยใช้ใบแห้งใช้มาต้มกับน้ำดื่ม
ใช้แก้โรคปอดบวม ไตอักเสบ ขับพยาธิไส้เดือน แก้ตานขโมย บำรุงน้ำนม แก้โรคปอดบวม โดยใช้รากแห้ง 9 กำมือ มาต้มกับน้ำดื่ม 3-5 ครั้ง
ใช้เป็นยาขับเหงื่อ แก้ท้องร่วง บิดมูกเลือด แก้ตานขโมย แก้ผิดสำแดง แก้ประดง ขับพยาธิ แก้ผื่นคัน โดยใช้แก่นต้มกับน้ำดื่ม
ใช้เป็นยาแก้อ่อนเพลีย แก้คลื่นเหียนอาเจียน ม้ามโต ดีซ่าน และใช้เป็นยาระบายโดยใช้ผลสุกมารับประทานสด
ใช้แก้เสียงแห้ง แก้เจ็บคอ โดยฝ่าเปลือกมาแช่หรือชงเป็นยากลั้วคอ
ใช้แก้อาการปวดเมื่อย แก้คัน โดยใช้แก่ตะขบป่าเข้ายากับหนามแท่ง แก่นมะสัง และเบนน้ำ นำมาต้มกับน้ำดื่ม
ใช้เป็นยาแก้อีสุกอีใส อีดำอีแดง โดยใช้ต้นตะขบป่าใช้ผสมกับผักแว่นทั้งต้น หัวเอื้องหมายนา และหอยขมเป็นๆ 3-4 ตัว นำมาแช่น้ำให้เด็กอาบ
ลักษณะทั่วไปของตะขบป่า
ตะขบป่าจัดเป็น ไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เรือนพุ่มแผ่กว้าง ปลายกิ่งโค้งต่ำ ผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 2-15 เมตร ลำต้น และกิ่งใหญ่ๆ เปลือกสีเหลืองอมเทาแตกเป็นร่องลึก มีช่องอากาศกระจายห่างๆ ผิวขรุขระเล็กน้อยและมีหนามแหลม กิ่งอ่อนมีหนามแหลมตามซอกใบ ยาว 2-4 เซนติเมตร กิ่งแก่ๆ มักจะไม่มีหนาม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกแบบเรียงสลับ เรียงชิดเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ขนาดของใบค่อนข้างเล็ก รูปไข่กลับโคนใบสอบแคบ ปลายใบกลม แผ่นใบมีทั้งแบบบางคล้ายกระดาษถึงหนาคล้ายแผ่นหนัง ขอบใบค่อนข้างเรียบหรือจักใกล้ปลายใบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2-5 เซนติเมตร เส้นแขนงใบมีประมาณ 4-6 คู่ ผิวใบเกลี้ยงหรืออาจมีขนสั้นหนานุ่มทั้งสองด้าน ใบอ่อนและเส้นกลางใบเป็นสีแดงอมส้ม และมีก้านใบเป็นสีเขียวหรือแดง ดอก ออกเป็นแบบช่อกระจะสั้นๆ บริเวณซอกใบ และปลายกิ่งที่โคนช่อมีใบประดับ บางทีมีหนาม และในแต่ละช่อมีดอกย่อยน้อย ดอกย่อยเป็นดอกขนาดเล็ก สีขาว เป็นแบบแยกต่างต้น มีกลีบดอก 5-6 กลีบ รูปไข่ ปลายมน ยาว 1.5 มิลลิเมตร ด้านนอกค่อนข้างเกลี้ยง ด้านในและที่ขอบกลีบมีขนแน่น ก้านดอกยาว 3-5 เซนติเมตร ผล มีทั้งผลเดี่ยว หรือออกเป็นพวงเล็กๆ บริเวณกิ่ง ลักษณะของผลเป็นรูปกลมหรือรี ลักษณะชุ่มน้ำ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.8-1 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดงคล้ำจนถึงดำ ภายในผลมีเมล็ดรูปร่างกลมเล็กๆ ประมาณ 5-8 เมล็ด
การขยายพันธุ์ตะขบป่า
ตะขบป่าสามารถขยายพันธ์ได้โดยการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่งแต่วิธีที่เป็นที่นิยม คือ การเพาะเมล็กมากกว่าเนื่องจากกิ่งของตะขบป่ามักจะมีหนามแหลม และมีลำต้นที่มีหนามจึงทำให้การตอนกิ่งค่อนข้างลำบาก สำหรับวิธีการเพาะเมล็ดตะขบป่านั้นสามารถทำได้เช่นเดียวกันกับการเพาะเมล็ดมะเขือหรือมะขามป้อม ซึ่งได้กล่าวมาแล้วใบบทความทั้งสองเรื่องก่อนหน้านี้
องค์ประกอบทางเคมี
มีรายงานผลการศึกษาวิจัยถึงองค์ประกอบทางเคมีจากส่วนต่างๆ ของตะขบป่าระบุว่าพบสารออกฤทธิ์ที่สำคัญดังนี้
สารสกัดเมทานอลจากเปลือกและเนื้อของผลตะขบป่าเป็นสารฟีนอลิก ซึ่งสารที่พบในสารสกัดจากเปลือก ได้แก่ caffeic acid, p-hydroxybenzaldehyde, ferulic acid และ p-coumaric acid ส่วนสารสกัดจากส่วนเนื้อพบสารฟีนอลิก ได้แก่ caffeic acid, vanillic acid, ferulic acid และ p-coumaric acid
ส่วนอีกการศึกษาวิจัยอีกฉบับหนึ่งระบุว่าสารสกัดตะขบป่ามีสาร flacourtin, β-sitosterol, β-sitosterol β-D-glucopyranoside, ramontoside, butyrolactone lignan disaccharide, scoparone และaesculetin
การศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของตะขบป่า
มีรายงานผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของตะขบป่าระบุว่ามีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาต่างๆ ดังนี้
โดยได้ระบุผลการทดลองพบว่าสารสกัดจากใบกิ่งและส่วนเหนือดินของตะขบป่าสามารถยับยั้งเชื้อมาลาเรีย P. falciparum ในหลอดทดลองได้ การทดสอบในหนู ทดลองพบว่าเมื่อให้หนูกินสารสกัดที่ความเข้มข้น 50 และ 75mg/กก. พยาธิสภาพการเกิดมาลาเรียในหนูลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งพบว่าสารประกอบ glycoside 2-(6-benzoyl-β-d-glucopyranosyloxy)-7-(1α, 2α, 6α-trihydroxy-3-oxocyclohex-4-enoyl)-5-hydroxybenzyl alcohol หรือ CPG ที่แยกได้จากสารสกัดตะขบป่า มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อมาลาเรียระยะ Trophozoite
นอกจากนี้ สารสกัดเมทานอลจากรากของตะขบป่า ยังแสดงฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพหลักคือ 4- benzyol-3-methoxyisocoumarin ส่วนสารสกัดจากเปลือกต้นและใบพบสารฟีนอลิกและมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ สารสกัดจากส่วนเหนือดินช่วยป้องกันความเป็นพิษต่อตับที่เกิดจากการได้รับยาพาราเซตามอลเกินขนาด ในหนูทดลอง และความผิดปกติในตับของหนูทดลองอีกด้วย อีกทั้งยังมีการวิเคราะห์ความสามารถต้านอนุมูลอิสระจากสารสกัดหยาบเอทนอลเปลือก เนื้อและเมล็ดของผลตะขบป่าด้วยวิธี DPPH พบว่าสารสกัดทุกส่วนมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ โดยแต่ละส่วนสกัดมีฤทธิ์ที่แตกต่างกัน คือ สารสกัดจากเปลือก มีฤทธิ์ดีที่สุด รองลงมาคือสารสกัดจากเมล็ด และเนื้อ ค่า IC50 เท่ากับ 0.13 ± 0.01, 0.65 ± 0.05 และ 5.88 ± 0.04 mg/ml ตามลำดับ และยังมีการศึกษาวิจัยอีกหลายฉบับที่ระบุว่าสารสกัดจากตะขบป่ามีฤทธิ์อื่นๆ อีก เช่น ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด , ฤทธิ์ต้านการอักเสบ , ฤทธิ์ต้านหอบหืด และฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพ เป็นต้น
การศึกษาวิจัยทางพิษวิทยาของตะขบป่า
ไม่มีข้อมูล
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
ผลสุกของตะขบป่าจะมีรสหวานอมเปรี้ยวนิดๆ ซึ่งในการรับประทานควรรับประทานแต่พอดีไม่ควรรับประทานมากจนเกินไป เพราะผลสุกของตะขบป่าตามสรรพคุณของตำรายาไทยระบุว่ามีฤทธิ์ระบาย ซึ่งอาจทำให้เกิดการปวดไซท้องได้ ส่วนการใช้ในรูปแบบสมุนไพรก็เช่นเดียวกันควรใช้ในขนาดและปริมาณที่พอดีที่ได้ระบุได้ในตำรับตำรายาต่างๆ ไม่ควรใช้ใบขนาดและปริมาณที่มากจนเกินไป หรือใช้ต่อเนื่องกันนานจนเกินไปเพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้
เอกสารอ้างอิง ตะขบป่า
- เศรษฐมันต์ กาญจนกุล. ตะขบป่า ใน ผลไม้ในเมืองไทย. กทม. เศรษฐศิลป์. 2555 หน้า 67
- Kirtikar KR and Basu BD. Indian Medicinal Plants. Ed 3 rd , Vol II, Singh and MP Singh Publications, India. 1998;220
- ไซมอน การ์ดเนอร์ พินดา สิทธิสุนทร และวิไลวรรณ อนุสารสุนทร. ต้นไม้เมืองเหนือ. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ. 2543
- พัทวัฒน์ สีขาวและคณะ,การประเมินสรรพคุณ เคมีเบื้องต้นฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านจุลชีพจากสารสกัดเอทานอลของผลตะขบป่า,วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรีปีที่19.ฉบับที่1มกราคม-มิถุนายน2563.หน้า124-136
- ตะขบป่า,ฐานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี(ออนไลน์)เข้าถึงได้จากhttp://www.[hargardencom/main.php?action=viewpage&pid=45
- Nazneen M, Mazid MA, Kundu JK, Bachar SC, Rashid MA and Datta BK. Protective effects of Flacourtia indica aerial parts extracts against paracetamol‐induced hepatotoxiciy in rats. J Biol Sci. 2002;11(2):183-187
- Satyanand Tyagi, Mahendrasingh, Dashrath Singh, Indu Yadav, Sunil Singh and mohd Hashim Mansoori. Anti-Asthamatic Potential of F.indica Merr. African Journal of Basic & Applied Sciences. 2011;3(5):201-204.
- Eramma N, Gayathri D. Antibacterial potential and phytochemical analysis of Flacourtia indica (Burm.f.) Merr. root extract against human pathogens. Indo Am J Pharm Res. 2013;3(5):3832-46.
- Ali Mohamed Kaou, Valérie Mahiou-Leddet, Cécile Canlet, Laurent Debrauwer and Sébastien Hutter. Antimalarial compounds from the aerial parts of Flacourtia indica (Flacourtiaceae). Journal of Ethnopharmacology. 2010;130(2): 272-274
- Ndhlala AR, Kasiyamhuru A, Mupure C, Chitindingu K, Benhura MA, Muchuweti M. Phenolic composition of Flacourtia indica, Opuntia megacantha and Sclerocary abirrea. Food Chem. 2006;103(2007):82-7.
- Bhaumik PK, Guha KP, Biswas GK and Mukherjee B. Flacourtin, a phenolic glucoside ester from Flacourtia indica. Phytochemistry. 1987;26:3090-3091
- Varkey J, Thomas J. Protective effect of Flacourtia indica (Brum. f) Merr. in methotrexate induced hepatotoxicity. Pharmanest. 2011;2(2-3):115-23.
- Sulbha Lalsare, Prabhakar Kumar Verma, Mamta Khatak, Sudhir Ranjan, Suresh Rajurakar and Shailendra S Gurav. AntiInflammatory and Antimicrobial activity of Flacourtia Ramontchi Leaves. Int J Drug Dev & Res. 2011;3(2):308-313
- Swati M, Nath SG, Yatendra K, Kanchan K, Mohan SR, Prakash O. Phytochemical analysis and free-radical scavenging activity of Flacourtia indica (Burm.f.) Merr. J Pharm Res. 2009;8(2):81-4.
- . Joyamma Varkey and Jaya Thomas. Protective effect of F.indica(burm.f) merr. In Methotrexate Induced Hepatotoxicity. An International Journal of Advances in Pharmaceutical Sciences. 2011;2(2 - 3):115- 123.
- Satyanarayana V, Kurupadanam GL and Srimanaraya G. A butyrolactone lignan disaccharide from Flacourtia ramontchi. Phytochemistry. 1991; 30:1026-1029
- Tyagi SN, Rakshit, Ajeet singh, Raghvendra, Anamika Saxena and Patel BD. In vitro Antioxidant Activity of Methanolic and Aqueous Extract of F.indica Merr. AmericanEurasian Journal of Scientific Research. 2010;5(3):201-206.