โกฐเขมา ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย
โกฐเขมา งานวิจัยและสรรพคุณ 32 ข้อ
ชื่อสมุนไพร โกฐเขมา
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น โกฐหอม (ไทย), ซังตุ๊ก (จีนแต้จิ๋ว), ซางจู๋ (จีนกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Atractylodes lancea (Thunb.) DC.
ชื่อสามัญ Atractylodes
วงศ์ Compositae
ถิ่นกำเนิดโกฐเขมา
โกฐเขมามีถิ่นกำเนิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน และแมนจูเรีย แถมมณฑลเหอหนาน เจียงซู หูเป่ย ซานตง อันฮุย เจ๋อเจียง เจียงซี เสฉวน ฯลฯ แหล่งผลิตที่มีคุณภาพดีที่สุด คือ มณฑลเหอหนาน แต่แหล่งผลิตที่ใหญ่ที่สุด คือ มณฑลหูเป่ย ทั้งนี้โกฐเขมา มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี และรัสเซีย โดยมักจะพบหญ้า ในป่า และตามซอกหิน
ประโยชน์สรรพคุณโกฐเขมา
- ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ
- เป็นยาบำรุงกำลัง
- แก้โรคเข้าข้อ
- เป็นยาเจริญอาหาร
- เป็นยาขับปัสสาวะ
- แก้โรคในปากในคอ
- แก้หวัดคัดจมูก
- แก้ไข้
- แก้ไข้รากสาดเรื้อรัง
- ระงับอาการหอบคล้ายยาอีเฟรดริน
- ช่วยขับลม
- แก้โรคในปากในคอเป็นแผลเน่าเปื่อย
- แก้เสียดแทงสองราวข้าง
- แก้จุกแน่น
- แก้หอบหืด
- แก้ลมตะกัง
- แก้เหงื่อออกมาก
- แก้ขาปวดบวม ขาไม่มีแรง ปวดข้อ
- แก้ท้องเสีย
- แก้อึดอัดลิ้นปี่
- แก้อาเจียน
- แก้เบื่ออาหาร
- แก้ปวดข้อ กล้ามเนื้อ ปวดเมื่อยตัว
- แก้จับไข้ หนาวๆ ร้อนๆ
- แก้ปวดศีรษะ
- ช่วยรักษาอาการของม้ามและกระเพาะอาหารทำงานไม่สัมพันธ์กัน
- แก้เสมหะเหนียวหนืด
- แก้ต้อหิน
- แก้ตาบอดกลางคืน
- ช่วยให้การทำงานของลำไส้แข็งแรง
- ใช้รักษาอาการท้องเสียเนื่องจากม้ามพร่อง
- รักษาโรคบิดเรื้อรัง
รูปแบบและขนาดวิธีใช้โกฐเขมา
ในตำรายาแพทย์แผนจีนระบุให้ใช้เหง้าต้ม รับประทานครั้งละ 3-9 กรัม แต่ในบางตำราก็ระบุให้ใช้ 5-12 กรัม ส่วนในตำรายาไทยมักจะใช้เป็นเครื่องยาตามตำรับยา มีวิธีการเตรียมเหง้าโกฐเขมาเพื่อใช้ทำยา 3 วิธี คือ
- ตากแห้ง โดยแช่เหง้าโกฐเขมา ในน้ำสักครู่ เพื่อให้นุ่มลง แล้วหั่นเป็นแว่นหนาๆ นำไปตากให้แห้ง จะได้ตัวยารสชาติเผ็ดขม อุ่น จะให้สรรพคุณ ขับความชื้นเสริมระบบการย่อยอาหารแก้ความชื้นกระทบส่วนกลาง (จุกเสียด อึดอัดลิ้นปี่ อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องเสีย) แก้ปวดข้อและกล้ามเนื้อ บรรเทาอาการไข้หวัดจากลมเย็น หรือ ความชื้น (จับไข้ หนาวๆ ร้อนๆ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตัว)
- ผัดรำข้าวสาลี โดยนำรำข้าวสาลีใส่ลงในกระทะตั้งไฟปานกลางจนควันขึ้น แล้วนำเหง้าโกฐเขมาตากแห้งใส่ลงไป คนอย่างรวดเร็วจนกระทั่งผิวของตัวยาเป็นสีเหลืองเข้ม นำออกจากเตา แล้วร่อนเอารำข้าวสาลีออก ตั้งทิ้งไว้ให้เย็น จะทำให้ความเผ็ดลดลง แต่เนื้อยาจะนุ่มนวลขึ้น และมีกลิ่นหอม จะให้สรรพคุณ ช่วยรักษาอาการของม้ามและกระเพาะอาหารทำงานไม่สัมพันธ์กัน (กระเพาะอาหารทำหน้าที่ย่อยอาหารจนได้สารจำเป็น ส่วนม้ามทำหน้าที่ลำเลียงสารจำเป็นนี้ไปใช้ทั่วร่างกาย) แก้เสมหะเหนียวหนืด แก้ต้อหิน แก้ตาบอดกลางคืน
- ผัดเกรียม โดยนำเหง้าโกฐเขมาตากแห้งใส่กระทะ ผัดโดยใช้ไฟปานกลาง จนกระทั่งผิวนอกมีสีน้ำตาลไหม้ พรมน้ำเล็กน้อย แล้วผัดต่อโดยใช้ไฟอ่อนๆ จนตัวยาแห้ง นำออกจากเตา ตั้งทิ้งไว้ให้เย็นแล้วร่อนเอาเศษเล็กๆ จะได้ตัวยารสออกเผ็ด จะให้สรรพคุณ ช่วยให้การทำงานของลำไส้แข็งแรง แก้ท้องเสียเป็นหลัก ใช้รักษาอาการท้องเสียเนื่องจากม้ามพร่อง โรคบิดเรื้อรัง
ลักษณะทั่วไปของโกฐเขมา
โกฐเขมาจัดเป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 30-100 เซนติเมตร เหง้าทอดนอน หรือ ตั้งขึ้น มีรากพิเศษขนาดเท่าๆ กันจำนวนมาก โดยเหง้าค่อนข้างกลม หรือ ยาว รูปทรงกระบอกมีกลิ่นหอมมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2 เซนติเมตร ผิวมีลักษณะขรุขระ เป็นปุ่มปม เปลือกนอกคล้ายผิวมะกรูด มีสีน้ำตาลอมเทา สีน้ำตาลเข้ม หรือ สีน้ำตาลแกมดำ มีรอยย่น และรอยบิดตามขวาง เนื้อในแน่น เมื่อฝานหัวออกใหม่ๆ จะเป็นสีขาวขุ่นที่เนื้อใน และมีแต้มสีแสดของชันน้ำมันอยู่ประปรายทั่วไป มีกลิ่นหอมเฉพาะ รสหวานอมขมเล็กน้อย และเผ็ดร้อน โดยเหง้าใต้ดินนี้เป็นส่วนที่ใช้ทำยาโดยจะเรียกว่า “โกฐเขมา” ส่วนลำต้นขึ้นเดี่ยว หรือ เป็นกระจุก ไม่แตกกิ่ง หรือ แตกกิ่งเฉพาะตอนบน มีขนคล้ายใยแมงมุมเล็กน้อย
ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนแผ่นใบบางคล้ายกระดาษ ซึ่งมีหลายรูปแบบแต่โดยมากเป็นรูปหอกหยักซี่ฟัน ใบใกล้โดนต้นรูปไข่ กว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 8-12 เซนติเมตร ขอบเรียบ หรือ หยักแบบขนนก 3-5 แฉก แฉกข้างรูปรี หรือ รูปไข่กลับแกมรี แฉกปลายรูปกลม รูปไข่กลับ รูปไข่ หรือ รูปรี ก้านใบสั้น ใบบริเวณกลางต้นรูปไข่กลับ รูปไข่กลับแกมรี รูปรีแคบ หรือ รูปใบหอกกลับ
ช่อดอกออกเป็นแบบช่อกระจุกแน่น ออกเดี่ยว หรือ หลายช่อ ตามปลายกิ่ง วงใบประดับมี 5-7 แถว ขอบมีขนคล้ายใยแมงมุมเล็กน้อย ปลายมน ใบประดับวงนอกรูปไข่ถึงรูปใบหอก กว้าง 2-3 มิลลิเมตร ยาว 3-6 มิลลิเมตร ใบประดับกลางรูปไขถึงรูปไข่แกมรี หรือ รูปรี กว้าง 3-4 มิลลิเมตร ยาว 0.6-1 เซนติเมตร ใบประดับวงในรูปรีถึงรูปแถบ กว้าง 2-3 มิลลิเมตร ยาว 1.1-1.2 เซนติเมตร ปลายใบประดับในสุดอาจมีสีแดง ด้านบนของฐานดอกแบน มีเกล็ดหนาแน่น ดอกสีขาว เป็นดอกสมบูรณ์เพศ หรือ ดอกเพศเมียที่มีเกสรเพศผู้ลดรูป กลีบเกลี้ยงเป็นขน สีน้ำตาลถึงขาวหม่น มี 1 แถว โคนติดกันเป็นวง ยาว 7-8 มิลลิเมตร กลีบดอกยาวประมาณ 9 มิลลิเมตร ปลายเป็น 5 หยัก เกสรเพศผู้ 5 อัน ติดที่หลอดกลีบดอก รังไข่อยู่ได้วงกลีบ มี 1 ช่อง ก้านยอดเกสรเพศเมียสั้น ยอดเกสรเพศเมียเป็นสามเหลี่ยม มีขนนุ่ม เกสรเพศเมีย แยกเป็น 2 แฉก ผลแบบผลแห้งเมล็ดล่อน รูปไข่กลับ
การขยายพันธุ์โกฐเขมา
โกฐเขมาสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เหง้า เช่นเดียวกับพืชหัวทั่วๆ ไป โดยโกฐเขมา สามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 700-2500 เมตร และอุณหภูมิที่เหมาะสม คือ 15-22 องศาเซลเซียส เป็นพืชที่สามารถทนต่ออากาศหนาวเย็นได้ และเป็นพืชที่มีการเจริญเติบโตดีมาก โดยสามารถเจริญเติบโตได้ในดินที่หลากหลายทั้งบนเขา หุบเขา ที่ราบบนเขา ซึ่งต้องการชั้นดินที่หนา และลึก เป็นดินร่วนอุดมสมบูรณ์ การระบายน้ำดี ไม่ชอบน้ำท่วมขัง และจะเจริญเติบโตได้ดีมาก บริเวณพื้นดินที่ไม่สูงนักแ ละเป็นดินร่วนปนทราย โกฐเขมา ออกดอก และเป็นผลตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง ตุลาคม มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 2 ปี
องค์ประกอบทางเคมี
โกฐเขมา มีองค์ประกอบทางเคมีเป็นน้ำมันระเหยง่ายร้อยละ 3.5-5.6 น้ำมันระเหยง่ายนี้มีสารสำคัญ คือ สารเบตา-ยูเดสมอล (beta-eudesmol) สารอะแทร็กทีโลดิน (atractylodin), beta-selinene, alpha-phellandrene, สารไฮนีซอล (hinesol), สารเอลีมอล (elemol), สารอะแทร็กทีลอน (atractylon) และ สารกลุ่ม polyacetyletylenes เช่น 1-(2-furyl)-E-nonene-3,5-diyne-1,2-diacetata, erythro-(1,5E,11E)-tridecatriene-7,9-diyne-3,4-diacetate, threo-(1,5E,11E)-tridecatriene-7,9-diyne-3,4-diacetate, (3E,5E,11E)-tridecatriene-7,9-diyne-3,4-diacetate, (3Z,5Z,11Z)-tridecatriene-7,9-diyne-3,4-diacetate, (3E,5Z,11E)-tridecatriene-7,9-diyne-3,4-diacetate, (3Z,5E,11E), tridecatriene-7,9-diyne-5,6-diyldiacetate, (1Z)-atractylodin, (1Z)-atractylodinol, (1Z)-acetylatractylodinol (4E,6E,12E)-tetradecatriene-8,10-diyne-1,3-diyl diacetate,4,6,12-tetradecatriene-8,10-diyne-1,3,14-triol, (2E,8E)-2,8-decadiene-4,6-diyne-1,10-diol 1-O-β-D-gluco-pyranoside
รูปภาพองค์ประทางเคมีของโกฐเขมา
ที่มา : Wikipedin
สารกลุ่ม polysacchaccharides เช่น arabino-3,6-galactans,galacturonic acid รวมถึงสารกลุ่มอื่นๆ เช่น coumarins (osthol) วิตามินเอ (vetinol) วิตามินบี (thiamine) วิตามินดี (calcifrol) กรดไขมัน (linoleic acid, oleic acid และ palmitic acid)
การศึกษาทางเภสัชวิทยาโกฐเขมา
ฤทธิ์กระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดเหง้าโกฐเขมา และน้ำมันหอมระเหยที่ได้จากเหง้า คือ β-eudesmol ต่อการเคลื่อนไหวของลำไส้เล็ก และระยะเวลาที่ทำให้กระเพาะอาหารว่างในหนูเม้าส์เพศผู้ ที่ถูกกระตุ้นด้วย atropine, dopamine และ 5-hydroxytryptamine (5-HT)โดยให้สารสกัดโกฐเขมาในขนาด 500 หรือ 1000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และ β-eudesmol ขนาด 50 หรือ 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และยามาตรฐาน itopride hydrochloride ขนาด 10 หรือ 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ผลการทดลองพบว่าสารสกัดโกฐเขมามีฤทธิ์กระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้เล็ก และทำให้อาหารเคลื่อนผ่านกระเพาะอาหารเร็วขึ้น ในหนูที่ถูกกระตุ้นด้วย dopamine ขนาด 1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และสารสกัดโกฐเขมาในขนาด 1000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และ β-eudesmol ขนาด 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม มีฤทธิ์กระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้เล็กในหนูที่ถูกกระตุ้นด้วย atropine แต่ไม่มีผลต่อระยะเวลาที่ทำให้กระเพาะว่างนอกจากนี้สารสกัดโกฐเขมา ในขนาด 500 หรือ 1000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และ β-eudesmol ขนาด 25, 50 หรือ 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม มีฤทธิ์กระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้เล็ก และทำให้อาหารเคลื่อนผ่านกระเพาะอาหารเร็วขึ้น ในหนูที่ถูกกระตุ้นด้วย 5-HT ขนาด 4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม หรือ 5-HT3 receptor agonist จากงานวิจัยนี้จึงสรุปว่าสารสกัดโกฐเขมา และน้ำมันหอมระเหยที่ได้จากโกฐเขมา คือ β-eudesmol ทำให้อาหารเคลื่อนผ่านกระเพาะอาหารเร็วขึ้น และกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ผ่านกลไลการยับยั้ง dopamine D2 receptor และ 5-HT3 receptor สามารถนำมาพัฒนายารักษาอาการท้องอืดเฟ้อ อาการอาเจียน อึดอัดแน่นจากอาหารที่อยู่ในกระเพาะอาหาร รักษาโรคกระเพาะอาหาร ซึ่งมีต้นเหตุมาจากเส้นประสาทของกระเพาะอาหารถูกทำลาย (gastroparesis) เป็นเหตุให้กล้ามเนื้อกระเพาะอ่อนแรง ทำให้ไม่สามารขับเคลื่อนอาหารให้ผ่านไปยังส่วนต้นของลำไส้ (duodenum) ได้ จึงมีอาหารเหลือตกค้างในกระเพาะอาหาร
ฤทธิ์ต้านการปวด การทดลองในหนูพบว่า สาร β-eudesmol มีฤทธิ์ต้านปวดโดยยับยั้ง nicotinc Ach receptor channels ที่ neuromuscular junction และพบว่ามีผลต่อกล้ามเนื้อของหนูที่เป็นเบาหวานมากกว่าหนูปกติ
ฤทธิ์ต้านการอักเสบ สาร β-eudesmol, atractylochromene, 2-[(2E0-3,7-dimethyl-2,6-octadienyl] -6-methyi-2,5-cyclohexadiene-1,4-dione, 2-[(2’E)-3’7’-dimethyl-2’6’-octadienyl]-4-methoxy-6-methylphenol,(3Z,5E,11E)-tridecatriene-7,9-diynyl-1-0-(E)-fenulate มีฤทธิ์ต้านการอักเสบโดยยับยั้งเอนไซม์ 5-lipoxygenase และ cyclooxygenase-1
ฤทธิ์ยับยั้งการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร สารสกัดจากเหง้าของโกฐเขมา เมื่อป้อนให้หนูแรทสายพันธุ์ sprague-dawley ซึ่งถูกเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารโดยใช้กรด acetic acid ทำการเก็บเลือด และเซลล์เนื้อเยื่อกระเพาะอาหารของหนู วัดระดับของ epidermal growth factor (EGF), trefoil factor 2 (TFF2), tumor necrosis factor-α(TNF-α), interleukin 6, 8 (IL-6, 8) และ prostaglandin E2 (PGE2) ที่เกิดขึ้น โดยใช้เทคนิค (ELISA) และวัดการแสดงออกของ mRNA ได้แก่ EGF, TFF2, TNF-α และ IL-8 ในกระเพาะอาหาร จะถูกวิเคราะห์โดยใช้เทคนิค real-time-PCR ผลการทดลองพบว่าการถูกทำลายจากกรดของเซลล์เนื้อเยื่อกระเพาะอาหารลดลงและยังยับยั้งการสร้างสารที่เกี่ยงข้องกับการอักเสบ ได้แก่ TNF-α, IL-8, IL-6, และ PGE2และมีฤทธิ์ปกป้องกระเพาะอาหารโดยเพิ่มการแสดงออกของ mRNA ของ EGF, TFF2เพิ่มการสร้าง EGF, TFF2
ฤทธิ์กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน สารสกัดน้ำที่ประกอบด้วยสาร polysaccharides ที่มีน้ำตาลเชิงเดี่ยวเป็น galacturonic acid มีฤทธิ์กระตุ้นระบบคุ้มกันในหนูที่ติดเชื้อรา Candida albicans ทำให้หนูมีชีวิตรอดมากขึ้น และสารกลุ่ม arabino-3,6-galactan มีฤทธิ์กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในหนู
ฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหาร สารสกัดน้ำมีฤทธิ์ทำให้อาหารอยู่ในกระเพาะนานขึ้นสารสำคัญคือสารกลุ่ม polyacetylenes
ฤทธิ์ต้านการขาดออกซิเจนในร่างกาย สารสกัดอะซิโตนมีฤทธิ์ต้านการขาดออกซิเจนในร่างกายหนูถีบจักร เนื่องจากสารโปตัสเซียมไซยาไนด์ สาระสำคัญ คือ β-eudesmol
ฤทธิ์แก้ท้องอืดเฟ้อ ฤทธิ์เพิ่มระยะเวลาที่ทำให้กระเพาะอาหารว่าง ของน้ำมันหอมระเหยจากเหง้าโกฐเขมา ในหนูแรทเพศผู้ สายพันธุ์วิสตาร์ ที่อยู่ในภาวะเครียด และผลของฮอร์โมนที่ควบคุมการทำงานของกระเพาะอาหาร และลำไส้ ซึ่งหลั่งจากต่อมไฮโปธาลามัส หรือ corticotropin-releasing factor (CRF) ทดสอบโดยป้อนน้ำมันหอมระเหยจากเหง้า ในขนาดต่างๆ คือ 30, 60 และ 120 mg/kg ต่อวัน แก่หนูเป็นเวลา 7 วัน พบว่าไม่มีผลเปลี่ยนแปลงช่วงเวลาที่ทำให้กระเพาะอาหารว่างในหนูปกติ แต่มีผลทำให้เพิ่มระยะเวลาที่ทำให้กระเพาะอาหารว่างได้ในหนูที่มีภาวะเครียด น้ำมันหอมระเหยสามารถเพิ่มระดับฮอร์โมน motilin (MTL) และ gastrin (GAS) และลดระดับ somatostatin (SS) และ CRF อย่างมีนัยสำคัญ โดยพบว่ากลไกสำคัญเกี่ยวข้องกับระดับฮอร์โมน คือ ยับยั้งการหลั่ง CRF ซึ่งผลเหล่านี้ทำให้เพิ่มระยะเวลาที่ทำให้กระเพาะอาหารว่างเร็วขึ้น จึงลดอาการไม่สบายท้อง ท้องอืดเฟ้อจากความเครียดในหนู (ภาวะเครียดทำให้การทำงานของกระเพาะอาหารและลำไส้ลดลง)
การศึกษาทางพิษวิทยาของโกฐเขมา
การทดสอบพิษเฉียบพลันของสารสกัดเหง้าโกฐเขมา ด้วยเอทานอล 50% โดยให้หนูกินในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (คิดเป็น 1,786 เท่า เปรียบเทียบกับขนาดรักษาในคน) และให้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนู ในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ไม่พบอาการเป็นพิษ
ข้อแนะนำและข้อความระวัง
- ผู้ป่วยที่มีอาการท้องเสีย ที่มีอุจจาระร่วงเป็นน้ำ ควรใช้โกศเขมาด้วยความระมัดระวัง
- สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตรควรปรึกษาแพทย์ ผู้เชียวชาญก่อนใช้เพราะยังไม่มีข้อมูลด้านความปลอดภัยในสตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร
- อาการข้างเคียงที่พบได้ในผู้ที่ใช้โกศเขมา คือ คลื่นไส้ อาเจียน ปากแห้ง และมีกลิ่นปาก
- ไม่ควรใช้โกฐเขมา ในปริมาณที่มากเกินไปหรือใช้เป็นระยะเวลานานเพราะอาจส่งผลต่อระบบต่างๆของร่างกายได้
เอกสารอ้างอิง โกฐเขมา
- วิทยา บุญวรพัฒน์.“โกฐเขมา”. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. หน้า 102.
- นพมาศ สุนทรเจริญนนท์. โกฐเขมา จุลสารข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ปีที่ 28 .ฉบับที่ 3 เมษายน 2554. หน้า 17-19
- ชยันต์ พิเขียรสุนทร, แม้นมาส ชวลิต, วิเชียร จีรวงศ์. คำอธิบายตำราพระโอสถพระนารายณ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อมรินทร์. 2542
- “โกฐเขมา Atractylis”. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. หน้า 217.
- กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 2546. ประมวลผลงานวิจัยด้านพิษวิทยา ของสถาบันวิจัยสมุนไพร เล่ม 1.โรงพิมพ์การศาสนา:กรุงเทพมหานคร.
- โกฐเขมา . ฐานข้อมูลเครื่องยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpaye&pid=27
- Yu KW, Kiyohara H, Matsumoto T, Yang HC, Yamada H. lntestinal immune system modulating poly-saccharides from rhizomes of Atractylodes lancea. Planta Med 1998;64(8):714-9.
- Kimura Y, Sumiyoshi M. Effects of an Atractylodes lancea rhizome extract and a volatile component beta-eudesmol on gastrointestinal motility in mice. J Ethnopharmacology. 2012;141:530-536.
- Yu Y, Jia T-Z, Cai Q, Jiang N, Ma M-Y, Min D-Y, et al. Comparison of the anti-ulcer activity between the crude and bran-processed Atractylodes lancea in the rat model of gastric ulcer induced by acetic acid. J Ethnopharmacology. 2015;160:211-218.
- Nakai Y, Kido T,Hashimoto K, Kase Y, Sakakibara l, Higuchi M, Sasaki H. Effect of the rhizomes of Atractylodes lancea and its constituents on the delay of gastric emptying. J Ethnopharmacol 2003;84(1):51-5.
- Lehner MS, Steigel A, Bauer R. Diacetoxy-substituted polyacetyenes from Atractylodes lancea. Phyto-chemistry 1997;46(6):1023-8
- Resch M, Heilmann J,Steigel A, Bauer Rauer R. Futher phenols and polyacetyenes from the rhizomes of Atractylodes lancea and their anti-inflammatory activity. Planta Med 2001;67(5):437-42.
- Zhang H, Han T, Sun L-N, Huang B-K, ChenY-F, Zheng H-C, et al. Regulative effects of essential oil from Atractylodes lancea on delayed gastric emptying in stress-induced rats. Phytomedicine. 2008;15:602–611.
- Chiou LC, Chang CC. Antagonism by β-eudesmol of neostigmine-induced neuromudcular failure in mouse diaphragms. Eur J Pharmacol 1992;216(2):199-206.
- Kimura M, Nojima H, Muroi M, Kimura l. Mechanism of the blocking action of β-eudesmol on the nicotic acetylcholine receptor channel in mouse skeletal muscles. Neuropharmacology 1991;30(8):835-41.
- Kimura M, Tanaka K, Takamura Y, Nojima H, Kimura l, Yano S, Tanaka M. Structural componets of beta-eudesmol essential for its potentiating effect on succinylcholine-induced neuromuscular blockade in mice. Biol Pharm Bull 1994;17(9): 1232-40.
- Yamahara J, Matsuda H, Naitoh Y, Fujimura H, Tamai Y. Antianoxic action and active constituents of atractylodis lanceae rhizome. Chem Pharm Bull 1990;38(7):2033-4.
- Lnagaki N, Komatsu Y, Sasaki H, Kiyohara H, Yamada H, lshibashi H, Tansho S, Yamaguchi H, Abe S, Acidic polysaccharides from rhizomes of Atractylodes lancea as protective principle in Candida-lnfected mice. Planta Med 2001;67(5):428-31.