มะเม่า ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย
มะเม่า งานวิจัยและสรรพคุณ 22 ข้อ
ชื่อสมุนไพร มะเม่า
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น บ่าเม่า, หมากเม่า (ภาคเหนือ), หมากเม่า (อีสาร), เม่า (ภาคใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Antidesma spp. (มะเม่ามีหลายสายพันธุ์โดยแต่ละสายพันธุ์จะมีชื่อวิทยาศาสตร์แตกต่างกันไปแต่ในบทความนี้ จะนำเสนอถึงภาพรวมของมะเม่าแต่ละชนิดจึงขอใช้ชื่อวิทยาศาสตร์เป็น Antidesma spp. ซึ่งจะรวมมะเม่าทุกสายพันธุ์
วงศ์ Euphobiaceae
ถิ่นกำเนิดมะเม่า
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่ามะเม่า มีด้วยกันทั้งหมดกว่า 170 ชนิด มีถิ่นกำเนิดและกระจายอยู่ในเขตร้อนของอินเดีย แอฟริกา ออสเตรเลีย และหมู่เกาะต่างๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้เพียง 5 สายพันธุ์ ได้แก่ มะเม่าหลวง มะเม่าสร้อย (มะเม่าขี้ตาควาย) มะเม่าไข่ปลา (มะเม่าทุ่ง มะเม่าข้าวเบา) มะเม่าควาย (เม่าเขา เม่าหิน เม่าเหล็ก ส้มเม่าขน) และมะเม่าดง ซึ่งจะสามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ
ประโยชน์และสรรพคุณมะเม่า
- ช่วยบำรุงกำลัง
- แก้อาการซีดเหลือง
- แก้เลือดไหลเวียนไม่ดี
- รักษาโลหิตจาง
- แก้ปวดศีรษะ
- แก้โรคผิวหนัง
- แก้ท้องบวม
- แก้ฟกช้ำดำเขียว
- แก้รักษาฝี
- แก้รังแค
- เป็นยาระบาย
- แก้ช่องท้องบวม
- แก้อาการไข้
- บำรุงไต
- ขับปัสสาวะ
- ขับโลหิต
- ขับน้ำคาวปลา
- แก้กษัยเส้นเอ็นพิการ
- แก้มดลูกพิการ
- แก้ตกขาว
- แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย
- แก้ซางเด็ก
รูปแบบและขนาดวิธีใช้มะเม่า
ช่วยฟอกโลหิต ขับเสมหะ ใช้เป็นยาระบาย บำรุงสายตา โดยนำผลสุกมารับประทานสดมะเม่า หรือ นำไปแปรรูปรับประทานก็ได้ ใช้บำรุงกำลัง บำรุงไต แก้กษัยเส้นเอ็นพิการ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ขับเสมหะ ขับโลหิต ขับน้ำคาวปลา แก้มดลูกพิการ แก้ซางในเด็ก โดยการนำเปลือกต้นและรากมาต้มน้ำดื่ม ใช้แก้โลหิตจาง แก้อาการซีดเหลือง ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี โดยใช้ใบมาต้มกับน้ำอาบ แก้อาการฟกช้ำดำเขียวโดยการนำไปอังไฟแล้วนำมาประคบบริเวณที่เป็น ใช้รักษาแผลฝีหนองโดยนำใบสดมาตำใช้พอกบริเวณที่เป็น
ลักษณะทั่วไปมะเม่า
มะเม่า จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ทรงหนาทึบ ความสูงของลำต้นมีตั้งแต่ประมาณ 2-20 เซนติเมตร มีอายุหลายปีลำต้นมีสีเทาแตกเป็นสะเก็ดและจะแตกกิ่งเป็นจำนวนมากตั้งแต่ระดับล่างขึ้นไป ลักษณะกิ่งค่อนข้างเล็ก แต่ใบดก
ใบ เป็นใบเดี่ยวออกแบบเรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่หรือรูปรี กว้าง 3.5-4.5 ซม. ยาว 5-7 ซม. ปลายใบมน หรือ มีกิ่งแหลมเล็กตามสายพันธุ์ โคนมนกลมถึงหยักเว้า แผ่นใบบางถึงกิ่งหนา ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง หรือ มีขนเล็กน้อยตามเส้นใบหรือด้านหลังใบ มีเส้นแขนง ใบละ 5-8 เส้น มีก้านใบยาว 0.5-1 ซม. มีขนประปรายถึงหนาแน่น หูใบรูปลิ่มแคบยาว 4-6 มม.
ดอก ออกเป็นช่อยาว 1-4 ซม. บริเวณปลายกิ่งหรือตามซอกใบ ปลายยอดมีลักษณะคล้ายช่อดอกพริกไทย บนช่อมีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกมีลักษณะสีครีม หรือ สีเขียวเป็นแบบแยกเพศต่างต้นและอยู่ต้นเดียวกัน โดยดอกเพศผู้มีช่อดอกยาว 4-6 ซม. ส่วนดอกมีขนาด 2-3 มม. ไม่มีกลีบดอก ส่วนดอกเพศเมียยาว 1.5-2 มม.
ผล ออกเป็นพวง ยาว 4-7 ซม. โดยแต่ละพวงจะมีผลเล็กๆ ขนาดค่อนข้างกลม หรือ รี ผิวมีขน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 มิลลิเมตร ผลอ่อนสีขาว เขียวอ่อน หรือ เขียวเข้ม แล้วแต่สายพันธุ์ ผลอ่อนมีสีแดงคล้ำถึงดำ มีรสหวานอมเปรี้ยวและฝาด ด้านในผลมีเมล็ดขนาดเล็ก 1-2 เมล็ด
การขยายพันธุ์มะเม่
มะเม่า สามารถพันธุ์ได้โดยวิธีการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำและเสียบยอด แต่วิธีที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน คือ วิธีการเพาะเมล็ดแล้วจึงนำต้นกล้าที่ได้ไปปลูกเช่นเดียวกับการเพาะเมล็ดไม้ยืนต้นอื่นๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในบทความก่อนหน้านี้
องค์ประกอบทางเคมีมะเม่า
มีรายงานผลการศึกษาวิจัยถึงองค์ประกอบทางเคมีของผลมะเม่า ระบุว่าพบสารออกฤทธิ์ที่สำคัญ ดังนี้ gallic acid anthocyanin, melatonin tannin aspartic acid glutamic acid ascorbic acid เป็นต้น นอกจากนี้ผลสุกของมะเม่า ยังมีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้
คุณค่าทางโภชนาการของผลมะเม่าสุก (100 กรัม)
พลังงาน |
75.2 |
กิโลแคลอรี |
โปรตีน |
0.63 |
กรัม |
เส้นใย |
0.79 |
กรัม |
คาร์โบไฮเดรต |
17.96 |
กรัม |
กรดแอสพาร์ติก |
559.43 |
มิลลิกรัม |
กรดกลูตามิก |
618.62 |
มิลลิกรัม |
ทรีโอนีน |
227.47 |
มิลลิกรัม |
ซีรีน |
285.75 |
มิลลิกรัม |
โพรลีน |
234.94 |
มิลลิกรัม |
ไกลซีน |
250.23 |
มิลลิกรัม |
อะลานีน |
255.17 |
มิลลิกรัม |
ฟีนิลอะลานิน |
317.70 |
มิลลิกรัม |
วาลิน |
57.36 |
มิลลิกรัม |
ซิสทีน |
274.60 |
มิลลิกรัม |
ไลซีน |
389.08 |
มิลลิกรัม |
เมทไธโอนีน |
22.87 |
มิลลิกรัม |
ลิวซีน |
392.53 |
มิลลิกรัม |
ไอโซลิวซีน |
226.78 |
มิลลิกรัม |
ไทโรซีน |
175.17 |
มิลลิกรัม |
ฮิสทิดิน |
129.43 |
มิลลิกรัม |
อาร์จินิน |
213.33 |
มิลลิกรัม |
ทริปโตเฟน |
189.00 |
มิลลิกรัม |
4.50 |
มิลลิกรัม |
|
วิตามิน บี2 |
0.03 |
มิลลิกรัม |
8.97 |
มิลลิกรัม |
|
วิตามินอี |
0.38 |
มิลลิกรัม |
แคลเซียม |
13.30 |
มิลลิกรัม |
1.44 |
มิลลิกรัม |
การศึกษาทางเภสัชวิทยาของมะเม่า
มีรายงานการศึกษาทางเภสัชวิทยาของมะเม่า ได้ระบุถึงฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาต่างๆ ดังนี้
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ มีการศึกษาทางเภสัชวิทยาของสารสกัดมะเม่า ในหนูขาวหนูถีบจักรในสภาพปกติ และต่ออวัยวะที่แยกจากกายหนูขาว หนูตะเภา ประกอบด้วยฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบหายใจ ระบบโลหิต และระบบทางเดินอาหารโดยป้อนสารสกัดสมุนไพรมะเม่าขนาด 60 มก. และ 120 มก./กก. ในหนูขาวปกติติดต่อกัน 7 วัน ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดดังกล่าว เพิ่มจำนวนของ WBC อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลต่อ motor co-ordination โดยทำ Rotarrod test ในหนูถีบจักรปกติพบว่าการให้สมุนไพรมะเม่า ในช่องท้องขนาด 30,60,120 มก. หนูสามารถทรงตัวในการไต่ rotarod bar ได้นาน 1 นาที ในการไต่ทั้งหมด 3 ครั้ง และพบว่าไม่มีผลต่อ motor cooridation balance ส่วนการทดลองผลต่อทางเดินอาหาร โดยดูการเคลื่อนที่ของผลถ่านจากลำไส้เล็กส่วนที่ต่อกับกระเพาะอาหารไปยังลำไส้เล็กส่วน ileo-caecal junction ในหนูขาวปกติ พบว่าสมุนไพรสารสกัดมะเม่า ในขนาด 120มก./กก. มีแนวโน้มที่จะลดการเคลื่อนที่ของผงถ่านส่วนสมุนไพรมะเม่าที่ความเข้มข้น 100+mg., 2--+mg., 400+mg./ml สามารถลดการหดตัวของลำไส้ส่วน ileum ของหนูขาวที่แยกออกจากกายที่ถูกกระตุ้นด้วย mrthacholine ขนาด 1X10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และสารสกัดสมุนไพรมะเม่าที่ความเข้มข้น 50+mg., 100+mg., 200+mg., 400mg/ml ก็ยังไม่มีผลต่อหลอดเลือดแดงใหญ่ของหนูขาวที่แยกออกจากกาย ที่ถูกกระตุ้นให้เกิดการหดตัวด้วย norpenephrine ขนาด 1x10M อีกทั้งยังไม่มีผลต่อกล้ามเนื้อเรียบของหลอดลมที่ถูกกระตุ้นให้เกิดการหดตัวด้วย histamine ขนาด1x10M
ส่วนอีกการศึกษาวิจัยหนึ่งซึ่งศึกษาฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ ของสารสกัดจากผลมะเม่า แก่จัด (ผลมะเม่าสีม่วง) ที่เตรียมโดยวิธีการสกัดและตัวทำละลายต่างๆ ได้แก่ การคั้นสด การต้มกับน้ำและการหมักกับตัวทำละลายอินทรีย์ เช่น อะซีโตน เอธานอล และเมธานอล โดยวิธี 1,1-diphenyl-2-picrylhydrazyl radical scavenging assay พบว่าสารสกัดน้ำต้มผลมะเม่าแสดงฤทธิ์การยับยั้งอนุมูลอิสระได้ดีที่สุด โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 91.62+-4.74 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร อย่างไรก็ตาม สารสกัดน้ำคั้นสดมีปริมาณฟีนอลิกรวมและแอนโทไซยานินรวมสูงที่สุดคือ 2.63+-1.02 กรัม gallic acid equivalent ต่อ 100กรัมสารสกัด และ 61.51+-0.95 กรัม ciyanidine-3-glucoside equivalent ต่อ 100 กรัมสารสกัด จากนั้นทำการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและสารสำคัญในสารสกัดน้ำต้มมะเม่าแก่ (ผลมะเม่าสีแดง) พบว่าสารสกัดผลมะเม่าสีแดงแสดงฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระดีกว่าสารสกัดผลมะเม่าสีม่วง ส่วนอีกรายงานการวิจัยหนึ่งระบุว่า ที่ใช้ตัวทำละลายที่ใช้สารสกัด 5 ชนิดคือน้ำ 25% เอทานอล 50% เอทานอล 75% เอทานอล 95% มะเม่าที่สกัดด้วย 25% เอทานอล มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดีที่สุดโดยมีค่า IC50 เท่ากับ 6.28mg/ml และที่สกัดด้วย 75% เอทานอล มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดสูสุด เท่ากับ 630.01 มิลลิกรัม gallic acid ต่อการสกัด 100 กรัม แตกต่างจากสารสกัดอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็ง มีการศึกษาวิจัยปริมาณของสารเมลาโตนิน (ซึ่งเป็นสารที่แพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง) ก่อนและหลังการทดลอง โดยทำการศึกษาแบบ crossover ในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดีเป็นชาย 15 และหญิง 15 คน อายุระหว่าง 18-25 ปี ซึ่งอาสาสมัครทุกคนต้องรับประทานผลไม้ทั้งหมด 6 ชนิด ที่มีสารเมลาโตนินค่อนข้างสูง ได้แก่ กล้วย สับปะรด ส้ม มะละกอ มะเม่า และมะม่วง โดยรับประทานทีละชนิดในรูปของผลไม้สด หรือ น้ำผลไม้ขนาด 0.5-1 กรัม ครั้งเดียว และมีช่วงพัก 1 สัปดาห์ ก่อนที่จะรับประทานผลไม้ชนิดต่อไป และได้ทำการเก็บรวบรวมปัสสาวะตลอดคืนก่อนและหลังการศึกษาในผลไม้แต่ละชนิด ซึ่งเป็นสารเมตาบอไลท์ของสารเมลาโตนินซึ่งมีความสัมพันธุ์อย่างมากกับระดับเมลาโตนินในเลือด พบว่าการบริโภคผลไม้ 3 ชนิด ได้แก่ มะม่วง มะเม่า และมะละกอ มีผลเพิ่มปริมาณสาร aMT6-s ในปัสสาวะ 178%, 127%, 52% ตามลำดับ ส่วนกล้วยเพิ่มปริมาณสาร aMT6-s เพียง 34% ในขณะที่การบริโภคส้ม และสับปะรดลดปริมาณสาร aMT6-s 4%,10% ตามลำดับจากการศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่าการบริโภคมะม่วง มะเม่า มะละกอ ในรูปของผลไม้สด หรือ น้ำผลไม้ มีผลเพิ่มปริมาณเมาโตนินในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาวิจัยอื่นๆ ระบุว่า สารสกัดของผลมะเม่า มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระในระดับสูง และมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งปอด ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมในระดับกลาง นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์ Staphyllococcus aureus และเชื้อราสายพันธุ์ Candida albican ในระดับสูง สามารถยับยั้งสาร pro-inflammatory หลายชนิด ได้แก่ tumor necrosis factor alpha interleukin-6 vaskular cell adhesion molecule-1 momoccyte chemoattractant protein-1 และ endothelial nitric oxide synthase ส่วนสารสกัดหยาบจากใบมะเม่าชนิด Antidesma thwaitesianum Mull. Arg. พบสารฟีนอลิก และฟลาโวนอยด์สูงและจากผลการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ 50% มีค่าอยู่ระหว่าง 3.54-6.44 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร
การศึกษาทางพิษวิทยาของมะเม่า
ไม่มีข้อมูล
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
มะเม่า เป็นพืชที่คนไทยคุ้นเคยตั้งแต่ในอดีตแล้ว และมีการใช้รับประมาณมากมานานแล้วเช่นกัน ดังนั้นการรับประทานในรูปแบบขออาหารและสมุนไพรจึงค่อนข้างปลอดภัย หากใช้ในขนาดที่ระบุไว้ในตามตำรายาต่างๆ แต่หากใช้ในรูปแบบของสารสกัดแล้วควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเสมอเนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ อีกทั้งผลสุกของมะเม่ามีรสหวานอมเปรี้ยวหรือเปรี้ยวอย่างเดียว ซึ่งหากรับประทานมากจนเกินไปอาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย และปวดไซท้องได้
เอกสารอ้างอิง มะเม่า
- วินัย แสงแก้วและ กาญจนา รติพจน์.2547. พืชสกุลเม่า จากผลไม้ท้องถิ่นสู่ไวน์ราชมงคล ในเอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการปรับปรุงพันธุ์และขยายพันธุ์พืชครั้งที่ 17 ธันวาคม 2537.
- การบริโภคผลไม้ไทยมีฤทธิ์เพิ่มปริมาณสารเมลาโตนิน (melatonin). ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
- กองวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ผลการวิเคราะห์มะเม่าสด กรมวิทยาศาสตร์บริการ. กลุ่มสื่อส่งเสริมการเกษตร มปป. ลิ้นจี่ก่อนฤดู นพ 1, เอกสารเผยแพร่ กลุ่มสื่อส่งเสริมการเกษตร.
- กมลวรรณ จงจิตต์ และคณะ. การวิเคราพห์หาสารต้านอนุมูลอิสระสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและการตั้งตำรับครีมบำรุงผิวหน้จากสารสกัดหมากเม่า. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน ปีที่ 13 ฉบับพิเศษ. มกราคม-มีนาคม 2560 หน้า 209-218.
- มะเม่า. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.phargarden.com/main.php? Action=viewpage&pid=95
- มะเม่า และหมากเม่า ประโยชน์และสรรพคุณมะเม่า. พืชเกษตรดอทคอม เว็ปเพื่อเกษตรไทย (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.puechkaset.com
- Sakulkoo S and Suthum N. Study of Genetic Deversity to Mao-Luang with AFLP Method and Comparison of type and Quantity Antioxidants in Mao-Luang.
- Tuyoien Thammarat&Ittharat Arunporn. Biology activities of Antidesma thwaitessianum Muell. Thai J Pharmacol 32: 126-128.
- Musika J and Saehueng U. Effect of colors and varities of Mao fruits on Physicochemical and Functional Properties. Graduate Res.
- Dechayont, B. Itharat A, Phuaklee P, Chunthorng-Orn J, Juckmeta T, Prommee N, Nuengchamnong N and Hansakul P. Antioxidant activities and phytochemical constituents of Antidesma thwaitesianum Mull. Arg. Leaf extracts. J Integr Med. 15: 310-319.