ตาเสือ ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นและข้อมูลงานวิจัย

ตาเสือ งานวิจัยและสรรพคุณ 13 ข้อ

ชื่อสมุนไพร ตาเสือ
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น มะหังก่าน, มะอ้า, ขมิ้นดง, เลาหาง (ภาคเหนือ), โกล (ภาคกลาง), แดงน้ำ (ภาคใต้), มะยมหางก่าน (ภาคอีสาน), เซ่ (ไทยใหญ่), โท กาส้า, พุแกทิ, เส่ทู่เก๊าะ (กะเหรี่ยง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Aphanamixis polystachhya (Wall.) R. Parker
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Aglaia polystachya Wall., Aglaia aphanamixis Pellegr., Aglaia janowskyi Harms, Alliaria cunrata (Hiern) Kuntze
วงศ์ MELIACEAE
 

ถิ่นกำเนิดตาเสือ

ตาเสือ เป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในภูมิภาคเอเชียใต้ ได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน ภูฏาน บังคลาเทศ เนปาล และศรีลังกา ต่อมาจึงได้กลายพันธุ์ไปยังเขตร้อนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น พม่า ไทย ลาว เวียดนามตอนใต้ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ นิวกินี รวมถึงยังมีรายงานว่าสามารถพบได้ทางจีนตอนใต้อีกด้วย สำหรับในประเทศไทย พบได้ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ แต่จะพบมากในภาคเหนือ และภาคใต้ บริเวณป่าชายเลนน้ำกร่อย และตามริมชายฝั่งของแม่น้ำ

ประโยชน์และสรรพคุณตาเสือ

  1. ช่วยกล่อมเสมหะ
  2. ช่วยขับโลหิต
  3. แก้ท้องเสีย
  4. ช่วยขับเสมหะ
  5. ช่วยขับระดู
  6. ใช้สมานแผล
  7. แก้บวมตามข้อ
  8. แก้บวม
  9. แก้ปวด
  10. แก้ธาตุพิการ
  11. แก้ท้องเสีย
  12. ช่วยสมานท้องไส้
  13. แก้ปวดตามข้อต่างๆ ในร่างกาย

รูปแบบและขนาดวิธีใช้

ช้กล่อมเสมหะ และขับโลหิต ขับเสมหะ ขับระดู แก้ท้องเสีย แก้บวมตามข้อ โดยใช้เปลือกต้นตาเสือ ตากแห้งมาต้มน้ำดื่ม ใช้แก้บวม โดยใช้ใบมาต้มกับน้ำดื่ม หรือ ใช้ใบมาชงแบบชาก็ได้ ใช้แก้ธาตุพิการ แก้ท้องเสีย สมานท้องไส้ โดยใช้เนื้อไม้ หรือ แก่นมาต้มกับน้ำ หรือ นำมาฝนกินกับน้ำก็ได้


ลักษณะทั่วไปของตาเสือ

ตาเสือ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางไม่ผลัดใบ สามารถมีความสูงได้ถึง 25 เมตร เปลือกต้นเรียบหนาสีชมพูอมเทาแตกเป็นสะเก็ดหลุดร่อนมีรากหายใจยาว 30-50 ซม. รูปร่างคล้ายหลุดออกมาจากผิวดินบริเวณโคนต้น ส่วนตามกิ่งอ่อน และยอดอ่อนมีขนสีเหลือง

           ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ยาว 20-40 ซม. ส่วนใบย่อยมี 3-7 คู่ ลักษณะใบรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ไม่สมมาตรมีขนาดกว้าง 3-6 และยาว 8-17 ซม. ปลายใบแหลมถึงมน ฐานใบมนกลมเบี้ยว ขอบใบเรียบ หรือ อาจเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบสีเขียวเข้ม เกลี้ยงทั้งสองด้าน ผิวใบด้านบนเป็นมัน

           ดอก ออกเป็นช่อแยกแขนงยาว ตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกเป็นแบบแยกเพศ และดอกที่มีทั้งสองเพศ ดอกสีเหลืองอ่อนขนาดเล็ก เป็นรูปทรงกลม ส่วนดอกมี 3 กลีบ สีเหลืองโดยจะมีเกสรเพศผู้เชื่อมติดกันรังไข่อยู่เหนือวงกลีบ และมีกลีบเลี้ยงดอกเชื่อมติดกันปลายแยกออกเป็น 3 ส่วน สีเขียว และมีขน

           ผล เป็นทรงกลมขนาดประมาณ 5-7 ซม. มี 3 พู เมื่อแก่จะแตกออกตรงกลางพู เป็น 3 ซีก ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาลดำ และมีเยื่อหุ้มสีแดงหุ้มอยู่ เมล็ดสีแดง

ตาเสือ

ตาเสือ

การขยายพันธุ์ตาเสือ

ตาเสือ สามารถขยายพันธุ์ได้โดยวิธีการใช้เมล็ด ซึ่งการขยายพันธุ์ส่วนมากจะเป็นการขยายพันธุ์แบบธรรมชาติ มากกว่าถูกนำมาปลูกขยายพันธุ์โดยมนุษย์ เนื่องจากตาเสือเป็นไม้ยืนต้นที่สูงอีกทั้งยังไม่เป็นที่นิยมในการใช้มากนักเพราะหลายส่วนมีความเป็นพิษสูงอีกด้วย สำหรับวิธีการเพาะเมล็ด และวิธีการปลูกตาเสือ นั้นสามารถทำได้เช่นเดียวกันกับการเพาะเมล็ด และการปลูกไม้ยืนต้นชนิดอื่นๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วในบทความก่อนหน้านี้

องค์ประกอบทางเคมี

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยถึงองค์ประกอบทางเคมีของส่วนต่างๆ ของตาเสือ ระบุว่าพบสารออกฤทธิ์ที่สำคัญหลายชนิดดังนี้ เปลือกลำต้นและใบ พบสาร haptanornemoralisin-type diterpenoids A,B, namixol, namixinin,nemoralisin, nemoralisin

           ส่วนน้ำมันในเมล็ดพบสาร Stearic acid, palmitic acid, oleic acid, linoleic acid, isomeric linoleic acid, linoleic acid เป็นต้น ในส่วนผลพบสาร polystanins A-C สารสกัดเอทานอลจากรากพบสาร limonoid flavonoids, aphanamixinin และสารสกัดผงจากเปลือกลำต้นพบสาร poriferasterol-3-rhamnoside

โครงสร้างตาเสือ 

การศึกษาทางเภสัชวิทยาของตาเสือ

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาจากส่วนต่างๆ ของตาเสือ ระบุว่า มีรายงานการศึกษาวิจัยความเป็นพิษต่อเซลล์ ACHN, Hela SMMC-7721, MCF-7 จากสารออกฤทธิ์ในเปลือกต้นของตาเสือพบว่าสาร Nornemoralisins A,B แสดงความเป็นพิษต่อเซลล์ อย่างมีนัยสำคัญบน ACHN ด้วย IC50 ค่า 13.9+-0.8 และ 10.3+--.4 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีรายงานระบุฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาอื่นๆ ของตาเสือ ระบุว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อรา แบคทีเรีย ต้านเชื้อจุลชีพ ต้านอนุมูลอิสระ มีฤทธิ์เป็นยาระบาย ปกป้องตับ และมีฤทธิ์สลายลิ่มเลือด อีกด้วย

การศึกษาทางพิษวิทยาของตาเสือ

มีรายงานการศึกษาทางพิษวิทยาจากต่างประเทศระบุว่าส่วนต่างๆ ของตาเสือ มีความเป็นพิษทุกส่วน

ข้อแนะนำและข้อควรระวังตาเสือ

ทุกส่วนของตาเสือมีความเป็นพิษดังนั้นในการใช้ตาเสือเป็นสมุนไพรควรเตรียม และใช้โดยแพทย์แผนไทยหรือผู้ที่มีความชำนาญเท่านั้น ไม่ควรนำมาใช้เอง เพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ สำหรับสตรีมีครรภ์ หรือ ผู้ที่มีปัญหาด้านความแข็งตัวของเลือดไม่ควรใช้ตาเสือเป็นสมุนไพร เพราะตาเสือ มีฤทธิ์ทำให้มดลูกบีบตัว และมีฤทธิ์สลายลิ่มเลือด

เอกสารอ้างอิง ตาเสือ
  1. พญ. เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ. “ตาเสือ ”. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. หน้า 115.
  2. ตาเสือ. กลุ่มยาขับประจำเดือน. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด. โดยการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีฯ (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.rspg.or.th/plants_data/gerbs/herns_26_8.htm.
  3. Sadhu SK, Panadda P, Shahabuddin M, Choudhuri K, Takashi O, Masami I. lignan from Aphanamixis polystachya. J Nat Med, 2006; 60: 258-260.
  4. Apu AS, Chowdhury FA, Khatun F, Jamaluddin ATM, Pathan AH, Pal A. Phyto cening and in vitro evaluation of pharmacological activitics of Ap polystachya (Wall) Parker fruit extracts. Trop J Pharm Res, 2013; 12(1): 111-116.
  5. Chopra RN, Nayar SL, Chopra IC. Glossary of Indian Medicinal Plants: Delhi: 1956, pp. 330.
  6. utabl EA, El-Sakhawy FS, Fathy MM, Megid RMA. Antimicrobi Amoora rohituka leaf. Journal of Essent Oil Res, 2000; 12: 635-638.
  7. Kong LY, Zhang Y, Wang JS, Wang XB, Gu YC. Polystanins A--D, Four New Protolimonoids from the Fruits of Aphanamixis polystachya. Chem Pharm Bull, 2013; 61(1): 75-81
  8. Talukder FA, Howse PE. Deterrent and Insecticidal ffects extracts Ecol, 1993; of pithraj, Aphanamixis polystachya, against Tribolium castanneum in storage.J Chem Ecol 1993; 19:2463-2471.