ปืนนกไส้ ประโยชน์ดีๆ สรรพรคุณเด่นๆและข้อมูลงานวิจัย

 ปืนนกไส้ งานวิจัยและสรรพคุณ 12 ข้อ

ชื่อสมุนไพร ปืนนกไส้
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น ก้นจ้ำข้าว, หญ้าก้นจ้ำข้าว, กี่นกไส้ (ทั่วไป), บานดี่ (ลั๊วะ), ด่อกพหล่อง (ปะหล่อง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bidens Pilosa Linn. Bidens pilosa L.
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Bidens Pilosa var. Blume Sherff
ชื่อสามัญ Spanish needle
วงศ์ ASTERCEAE


ถิ่นกำเนิดปืนนกไส้

ปืนนกไส้เป็นพืชวงศ์ ASTERACEAE อยู่ในสกุล Bidens ซึ่งมีประมาณ 280 สปีชีส์ โดยมีรายงานถิ่นกำเนิดของปืนนกไส้ ระบุว่ามีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ แล้วจึงมีการกระจายพันธุ์ไปยังพื้นที่ต่างๆ ในเขตร้อนชื้นทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ตามที่รกร้างว่างเปล่า และตามชายป่าต่างๆ ทั่วทุกภาคของประเทศ และยังจัดเป็นวัชพืชตัวร้ายของเกษตรกรในแผลงผลิตผลทางการเกษตรต่างๆ

ประโยชน์และสรรพคุณปืนนกไส้

  • แก้หวัด
  • แก้ไอ
  • แก้ปวดท้อง
  • แก้ท้องร่วง
  • แก้จุกเสียดแน่น
  • แก้งูสวัด
  • ช่วยรักษาโรคผิวหนัง
  • รักษาฝีพุพอง
  • รักษาแผลบวม เน่า
  • ใช้แก้ปวดฟัน
  • ช่วยห้ามเลือด
  • ช่วยรักษาแผล

           ปืนนกไส้ ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในฐานะอาหารได้ เช่น นำมาลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก นะมาผัดหรือไปทำแกงต่างๆ เป็นต้น ส่วนในต่างประเทศชาวอเมริกาใต้ใช้ยอดอ่อน ปืนนกไส้เป็นอาหาร และทำชา ในแอฟริกาใช้ยอดอ่อนและใบอ่อนต้มกับนมเปรี้ยวรับประทานเป็นอาหาร ส่วนในเอเชียใต้ใช้ใบสดทำเป็นเครื่องดื่ม ที่เรียกว่า  ซาลาดัก

ปืนนกไส้

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ปืนนกไส้

ใช้แก้หวัด แก้ปวดท้อง ท้องร่วง จุกเสียด แก้ไอ โดยใช้ทังต้นต้มกับย้ำดื่ม ใช้แก้หวัดโดยใช้รากมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้เป็นยาแก้ไอ มีน้ำมูกข้น โดยใช้รากปืนนกไส้ หรือ ทั้งต้นผสมกับรากสาบเสือ ก้นจ้ำทั้งต้น รากมะเหลี่ยมหิน และผักปลาบทั้งต้น มาต้มกับน้ำดื่ม ใช้แก้งูสวัดโดยใช้ทั้งต้นมาผสมกับเหล้าโรงแล้วใช้ทาบริเวณที่เป็น ใช้แก้โรคผิวหนัง ฝี อาการบวมโดยใช้ทั้งต้นมาตำ ผสมกับน้ำตาลทรายพอกบริเวณที่เป็น ใช้ห้ามเลือด รักษาแผลโดยใช้ใบมาตำพอกบริเวณที่เป็น


ลักษณะทั่วไปของปืนนกไส้

ปืนนกไส้ จัดเป็นพืชล้มลุก อายุปีเดียว (annual) ลำต้นตั้งตรงสูง 30-130 ซม. ลักษณะลำต้นเป็นสี่เหลี่ยมมีแนวเส้นสีน้ำตาลตามยาว และมีขนสั้นๆ สีขาวนั้นปกคลุมเล็กน้อย แตกกิ่งก้านสาขามาก

           ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ออกแบบเรียงสลับโดยมีใบย่อย 3 ใบ ใบกลาง หรือ ใบย่อยตรงปลายจะมีขนาดใหญ่กว่าใบข้าง เป็นรูปไข่แกมรูปขอบขนาน โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบจักเป็นรูปซี่ฟันเลื่อย ใบกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2-9 เซนติเมตร

           ดอก ออกเป็นกระจุกแน่นตามซอกใบ และปลายกิ่งโดยจะเป็นดอกเดี่ยวมีขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร ก้านดอกยาว 5-7 เซนติเมตร ดอกเป็นสีเหลือง หรือ สีครีมมีกลีบดอกประกอบด้วยกลีบดอกวงนอกสีขาวเป็นหมัน และดอกวงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศสีเหลือง ส่วนโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกออกเป็น 5 แฉก มีริ้วประดับลักษณะเป็นรูปซ้อน กลีบเลี้ยงเป็นสีเขียว มีเกสรเพศผู้สีน้ำตาลปลายสีเหลืองโผล่พ้นระดับกลีบดอกวงนอก

           ผล เป็นผลแห้งรูปแท่งยาวสีดำค่อนข้างตรง ยาวประมาณ 11 มิลลิเมตร มีสันตามยาว 3-4 สัน ปลายแหลม เป็นแฉกหนาม 2-3 อัน

ปืนนกไส้

 ปืนนกไส้

การขยายพันธุ์ปืนนกไส้

ปืนนกไส้ สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด ในอดีตไม่มีการปลูกปืนนกไส้การแพร่กระจายพันธุ์จะเป็นการขยายพันธุ์ ตามธรรมชาติทั้งหมดโดยจะจัดเป็นวัชพืชชนิดหนึ่งที่มีการกระจายพันธุ์เร็ว และกำจัดได้ยาก แต่ในปัจจุบันเริ่มมีการปลูกเพื่อจำหน่าย ในเชิงพาณิชย์มากขึ้น สำหรับวิธีการปลูกง่ายมากเพียงแค่นำผลแก่มาหว่านหรือหยอดลงหลุม ก็สามารถออกเป็นต้นขึ้นมาได้ ทั้งนี้ปืนนกไส้ซึ่งเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ง่าย ทนแล้ง และไม่มีโรคมารบกวน โดยมีการศึกษาพบว่า ปืนนกไส้เพียงต้นเดียวสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ได้ 3000-6000 เมล็ด


องค์ประกอบทางเคมี

มีรายงานการศึกษาวิจัยถึงองค์ประกอบทางเคมีของปืนนกไส้ ระบุว่าพบสารสำคัญหลายชนิด อาทิเช่น สารกลุ่มโพลิอะเซทิลีน เช่น 6-phenylheva-1,3,5-triyn-1-ol,  6-phenylheva-1,3,5-triyn-1-yl acetate, Trideca-1,11-diene-3,5,7,9-tetrayne

           สารกลุ่มฟลาโวนอยส์ เช่น Astragalin Asilaroside Rutin Quersiterone Jecein Luteoside

           สารกลุ่มฟีนอลิก เช่น  Benzois acid, Caffeic acid Chologenic acid Ferulic acidnGallic acid Dimethoxyphenol Pyrocatechin

           สารกลุ่มโมโนเทอปีน เช่น Camphene Myrcene Limonene α-Pinene α-Phelandrene

           สารกลุ่มน้ำมันหอมระเหย เช่น Bornyl acetate Diphenylenemeyhane Hexadecanol Hexadecyl acetate Mesitylene Pentadecanal เป็นต้น

 โครงสร้างปืนนกไส้

การศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของปืนนกไส้

มีการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของปืนนกไส้ ระบุถึงฤทธิ์เภสัชวิทยาที่สำคัญระบุว่า

           ฤทธิ์ต้านมาลาเรีย  มีการศึกษาต้นแห้งของปืนนกไส้ที่สกัดด้วยเอทานอล บิวทานอล และคลอโรฟอร์ม มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อมาลาเรีย สายพันธุ์ Plasmodium falciparum ที่50 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ส่วนสารสกัดคลอโรฟอร์มจากรากมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของ Plasmodium falciparum 86% ในหลอดทดลอง

           ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพ  มีรายงานการศึกษาวิจัยพบว่าฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพ เช่น ไวรัสเริมชนิดที่1 และ 2 โดยสารสกัดจากน้ำร้อนของ B.pilosa แห้งที่ 100 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร แสดงการยับยั้งไวรัส HSV อย่างมีนัยสำคัญ 11.9% สำหรับ HVS-1,p<0.01; 19.2% สำหรับ HVS-2, pp<0.005 นอกจากนี้การทดลองด้วยยาอะไซโคลเวียร์พบว่าการใช้สารสกัด 500 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร สามารถยับยั้ง HSV2 ได้ 33% ในขณะที่ผลกระทบต่อ HSV1 อยู่ที่ 39.02% และของยาอะไซโคลเวียคือ 45.07%

           ความดันโลหิตสูง มีการศึกษาวิจัยสารสกัดน้ำ และเมทิลีนคลอไรด์ของปืนนกไส้พบว่าช่วยลดความดันโลหิตสูง และภาวะไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูงในหนูที่เลี้ยงด้วยฟรุกโตสโดยไม่ทำให้ระดับอินซูลิน หรือ กลูโคสในพลาสมาเปลี่ยนแปลง

           การอักเสบ มีการศึกษาวิจัยพบว่าสารประกอบ polyacetylenic ที่แยกได้จากใบแห้งของปืนนกไส้ แสดงผลต้านการอักเสบ และภูมิคุ้มกันในการทดสอบการต้านของเซลล์เม็ดเลือดขาวและข้ออักเสบที่เกิดจาก Zymosan ในหนูทดลอง


การศึกษาทางพิษวิทยาของปืนนกไส้

มีการศึกษาวิจัยความเป็นพิษของปืนนกไส้ ของหนูทดลองโดยฉีดในปริมาณ 1 กรัม ต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัวเข้าไปในหนูทดลองไม่พบว่ามีความเป็นพิษนอกจากนี้ ยังมีการป้อนสารสกัดของส่วนเหนือดินของปืนนกไส้ที่ความเข้มข้น 100 มก./มล. ทางปากพบว่าไม่เป็นพิษต่อหนูในขนาดยาที่จำกัด 2000 มก./กก. ตลอด 28 วัน


ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

สตรีมีครรภ์ไม่ควรใช้ปืนนกไส้เป็นยาสมุนไพร ในรูปแบบการรับประทานเนื่องจากยังไม่มีข้อมูลด้านความปลอดภัย และขนาดการใช้ที่ชัดเจน

เอกสารอ้างอิง ปืนนกไส้

  1. ปืนนกไส้”. ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. หน้า 47.
  2. พญ. เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ. “ปืนนกไส้”. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. หน้า 135.
  3. Chang SL, Chang CLT, Chiang YM, Hsieh RH, Tzeng CR, Wu TK, Sytwu HK, Shyur LF, Yang WC. Polyacetylenic compounds and butanol fraction from Bidens pilosa can modulate the differentiation of helper T cells and prevent autoimmune diabetes in non-obese diabetic mice. Planta Med. 2004; 70: 1045-1051, doi: 10.1055 / s-2004-832645.
  4. Holm LG, Plucknett DL, Pancho JV, Herberger JP. The world's worse weeds distribution and biology. Honolulu: University Press of Hawaii; 1991.
  5. Wang R, Wu QX, Shi YP. Polyacetylenes and flavonoids from the aerial parts of Bidens pilosa. Planta Med. 2010,76: 893-896. doi: 10.1055 / s-0029-1240814.
  6. Ogunbinu A0, Flamini G, Cioni PL, Adebayo MA, Ogunwande IA. Constituents of Cajanus cajan (L. ) Millps .; Moringa oleifera Lam .; Heliotropium indicum L. and Bidens pilosa L. from Nigeria. Nat Prod Commun. 2009; 4: 573-578. [PubMed] [Google Scholar] 145. )Pereira RL, Ibrahim T, Lucchetti L, Da Silva AJ, Goncalves de Moraes VL. Immuno suppressive and anti-inflammatory effects of methanolic extract polyacetylene isolated from Bidens pilosa L. Int Immunopharmacol. 1999; 43: 31-37.
  7. Andrade-Neto VF, Brandao MG, Oliveira FQ, Casali VW, Njaine B, Zalis MG, Oliveira LA, Krettli AU. Antimalarial activity of Bidens pilosa L. (Asteraceae) ethanol extracts from wild plants collected in various localities or plants cultivated in humus soil. Phytother Res. 2004; 18: 634-639. doi: 10.1002 / ptr.1510.
  8. WHO (World Health Organization) Tropical disease research division. Geneva: WHO; 2000.
  9. Chiang LC, Chang JS, Chen CC, Ng LT, Lin CC. Anti-herpes simplex virus activity of Bidens pilosa and Houttuynia cordata. Am] Chin Med. 2003; 31: 355-362.
  10. Pereira RL, Ibrahim T, Lucchetti L, Da Silva AJ, Goncalves de Moraes VL. Immuno suppressive and anti-inflammatory effects of methanolic extract polyacetylene isolated from Bidens pilosa L. Int Immunopharmacol. 1999; 43: 31-37.
  11. Bohlmann F, Burkhardt T, Zdero C. Naturally Occurring Acetylenes. New York: Academic Press Inc; 1973. [Google Scholar] 24. )Brandao MG, Krettli A, Soares L, Nery CG, Marinuzi HC. Antimalaria activity of extracts and fractions from Bidens pilosa and other Bidens species (Asteraceae) correlated with the presence of acetylene and flavonoid compounds. J Ethnopharmacol. 1997: 57: 131-138.
  12. Priestap HA, Bennett BC. Investigation of the essential oils of Bidens pilosa var. minor, Bidens alba and Flaveria linearis.] Essen Oil Res. 2008; 2: 396-402.
  13. Deba F, Xuan TD, Yasuda M, Tawata S. Herbicidal and fungicidal activities and identification of potential phytotoxins from Bidens pilosa L. var. radiata Scherff. Weed Biol Manag. 2007; 7: 77-83
  14. Brandao MG, Krettli A, Soares L, Nery CG, Marinuzi HC. Antimalaria activity of extracts and fractions from Bidens pilosa and other Bidens species (Asteraceae) correlated with the presence of acetylene and flavonoid compounds. J Ethnopharmacol. 1997: 57: 131-138.