ปอขี้ตุ่น ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

ปอขี้ตุ่น งานวิจัยและสรรพคุณ 29 ข้อ

ชื่อสมุนไพร ปอขี้ตุ่น
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น ขี้ตุ่น, ป่าช้าหมอง (ภาคกลาง), ป่าเห้วหมอง (ภาคเหนือ), ปาขี้ไก่, ปอเต่าไห้, ขี้อ้น (ภาคอีสาน), หญ้าหางอ้น, เข้ากี่น้อย (ภาคตะวันออก), ซัวอิ่วมั้ว, แกอิ่วมั้ว, ซัวจือมั้ว (จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Helicteres angustifolia Linn
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Helicteres obtusa Wall. ex Kurz, H. salicifolia C. Presl, H. parviflora Ridl., Oudemansia integerrima
วงศ์ STERCULIACEAE


ถิ่นกำเนิดปอขี้ตุ่น

ปอขี้ตุ่น จัดเป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดกระจายเป็นวงกว้าง ได้แก่ บริเวณจีนตอนใต้รวมถึงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ เวียดนาม พม่า ลาว ไทย และกัมพูชา จากนั้นจึงได้มีการแพร่กระจายพันธุ์ไปยังเขตร้อนและเขตอบอุ่นใกล้เคียง สำหรับในประเทศไทย สามารถพบได้เกือบทั่วทุกภาคของประเทศ ยกเว้นภาคใต้ โดยจะพบได้บริเวณเขาหินปูนป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรังที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 50-1000 เมตร


ประโยชน์และสรรพคุณปอขี้ตุ่น

  • แก้หวัดแดด
  • แก้ร้อนใน
  • แก้บิดเรื้อรัง
  • รักษาอาการปัสสาวะหยด
  • แก้กษัยเส้น
  • แก้อาการเสียดท้องบริเวณหัวหน่าว
  • แก้ปัสสาวะสีแดงเหลืองเป็นตะกอน
  • แก้ปวดฟัน
  • รักษาแผลเบาหวาน
  • รักษาพิษงู
  • แก้ปวดเกร็งท้อง
  • แก้หวัดแดด
  • แก้อาหารเป็นพิษ
  • แก้ปวดเมื่อย
  • แก้ฝี
  • ช่วยขับเสมหะ
  • แก้ไข้จับสั่น
  • ใช้เป็นยาฝาดสมาน
  • แก้คางทูม
  • ช่วยสมานบาดแผล
  • ใช้เป็นยาธาตุเย็น
  • ใช้แก้ร้อนใน
  • ช่วยไล่ลม
  • แก้ปวดฟัน
  • แก้ปวดท้อง
  • แก้พิษ
  • แก้บิดลงท้อง
  • แก้คัน
  • แก้ผิวหนังเป็นพิษ

           สำหรับประโยชน์หลักๆ ของปอขี้ตุ่น คือ การถูกนำมาใช้เป็นสมุนไพรโดยมีการนำมาใช้ตั้งแต่ในอดีตแล้ว ทั้งในตำรายาไทย และตำรายาจีนโบราณ ส่วนการนำมาใช้ประโยชน์ในด้านอื่นก็มีเพียงประปรายเช่น มีการนำผิวลำต้นมาขดแล้วนำมาผสมกับเปลือกยางบงในการทำธูปหอม

ปอขี้ตุ่น

รูปแบบและขนาดวิธีใช้

  • ใช้แก้หวัดแดด แก้บิดเรื้อรัง แก้ร้อนใน แก้กษัยเส้น (อาการเสียดท้องบริเวณหัวหน่าว ปัสสาวะสีแดงเหลืองเป็นตะกอน) โดยนำรากมาต้มกับน้ำดื่ม
  • ใช้แก้ปวดฟัน โดยนำรากมาทุกกับเกลือ แล้วอม
  • ใช้แก้ไข้จับสั่น เป็นยาฝาดสมาน โดยนำเปลือกต้นมาตากแห้งนำมาต้มน้ำดื่ม
  • ใช้แก้ปวดเกร็งท้อง ขับเสมหะ แก้หวัดแดด แก้อาหารเป็นพิษ แก้ปวดเมื่อย โดยนำส่วนต่างๆ ทั้งต้นมาต้มกับน้ำดื่ม
  • ใช้แก้คางทูม สมานบาดแผล โดยนำใบมาตำพอกตรงบริเวณที่เป็น
  • ใช้เป็นยาระบายโดยการนำรากมาผสมกับรากตูมขาว รากชะมวง และลำต้นกำแพงเจ็ดชั้น แล้วนำมาต้มกับน้ำดื่ม

           ส่วนในตำรายาจีน

  • ใช้แก้ไอหวัดลมร้อน โดยนำรากปอขี้ตุ่น 1 ตำลึง ต้มกับกวยแชะ รับประทาน
  • แก้หวัดแดดปวดท้อง ใช้รากขี้ตุ่น 1 ตำลึง ต้มน้ำ
  • ใช้แก้ร้อนในเป็นบิด นำรากขี้ตุ่น 3 เฉียน ต้มน้ำดื่ม
  • แก้ปวดเมื่อย แขน ขา ใช้รากขี้ตุ่น 1 ตำลึง ต้มน้ำชงเหล้าดื่ม
  • ใช้แก้กินผิดเป็นบิด โดยนำรากขี้ตุ่น กับถั่วดำ อย่างละ 1 ตำลึง ต้มน้ำใส่น้ำตาลแดงรับประทาน
  • แก้ฝีมะคำร้อย นำรากขี้ตุ่น 1 ตำลึง ต้มกับกวยแชะ รับประทาน

           ทั้งนี้ในตำรายาจีน กำหนดให้ใช้รากดิบไม่เกิน 2 ตำลึง และรากแห้งไม่เกิน 1 ตำลึง

ลักษณะทั่วไปของปอขี้ตุ่น

ปอขี้ตุ่น จัดเป็นไม้ล้มลุมอายุหลายปี หรือ ไม้พุ่มขนาดเล็กมีระบบรากที่แข็งแรง ลำต้นตั้งตรง สามารถสูงได้ ถึง 3 เมตร ลำต้น และกิ่งมีขนปุยสีน้ำตาลรูปดาวขึ้นปกคลุมหนาแน่น ใบ เป็นใบเดี่ยวดอกเรียงเวียน รอบลำต้นลักษณะเป็นรูปใบหอก หรือ ขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 2-5 ซม. ยาว 6-10 ซม. โคนใบมนกลม ปลายมน หรือ เรียวแหลม ขอบในเรียบ แผ่นใบบาง หรือ บางที่อาจหนาคล้ายแผ่นหนัง ผิวด้านบนมีขนรูปดาวประปราย ผิวด้านล่างมีขนรูปดาวขึ้นหนาแน่น มีเส้นจากโคนใบ 3-5 เส้น เป็นร่องทางด้านบน มีก้านใบ ยาว 6-8 มม. ดอกออกเป็นช่อกระจุกสั้น บริเวณซอกใบ เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ส่วนดอกย่อยใน 1 ช่อ มีได้ถึง 8-14 ดอก มีใบประดับขนาดเล็ก รูปแถบ ยาวประมาณ 1.5 มม. ส่วนกลีบเลี้ยง ยาว 5-8 มม. โคนเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก ไม่เท่ากัน ปลายหลอด กว้าง 2.5-3 มม. มีขนสั้นทั้งสองด้าน กลีบดอกสีชมพูอมม่วง หรือ ขาว รูปแถบกึ่งรูปช้อน ขนาดไม่เท่ากัน มี 5 กลีบ แยกกัน ยาวกลีบ 7-8 มม. โคนกลีบสอบเป็นก้าน มีติ่ง 2 ติ่ง ปลายกลม หรือ ตัดผิวกลีบมีขน กลีบดอก 3 กลีบ แรกตั้งตรงและมีกระจุกขนบริเวณกลางกลีบ ส่วนอีกสองกลีบ งอบริเวณกลางกลีบ และไม่มีขน ผล เป็นแบบผลแห้งแตก ลักษณะรูปไข่ แกมรูปทรงกระบอกแบ่งเป็นพู 5 พู กว้าง 1.2-1.5 ซม. ยาว 2-3 ซม. มีขนฟูปกคลุมหนาแน่น เมล็ด สีดำรูปไข่ หรือสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน

ปอขี้ตุ่น

ปอขี้ตุ่น

การขยายพันธุ์ปอขี้ตุ่น

ปอขี้ตุ่นสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ดมาเพาะให้เป็นต้นกล้า แล้วจึงนำไปปลูกต่อไป สำหรับวิธีการเพาะเมล็ด และการปลูกต้นหล้าปอขี้ตุ่น นั้น สามารถทำได้เช่นเดียวกันกับการเพาะเมล็ดและการปลูกไม้ล้มลุก หรือไม้ยืนต้นชนิดอื่นๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในบทความก่อนหน้านี้


องค์ประกอบทางเคมี

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับองค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดปอขี้ตุ่น จากส่วนราก ระบุว่าพบสารออกฤทธิ์ที่สำคัญหลายชนิด อาทิเช่น Gallic acid, Quercetin, Rosmarinic acid, Caffeic acid, Catechol, p-coumaric acid นอกจากนี้ล่าสุดยังมีข้อมูลการศึกษาวิจัยพบว่า ส่วนรากของปอขี้ตุ่นยังพบสารที่ต่อต้านการเกิดพังผืดในตับ คือ สาร methyl helicterate อีกด้วย

โครงสร้างปอขี้ตุ่น

การศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของปอขี้ตุ่น

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยพบว่าเปลือกรากของต้นปอขี้ตุ่นมีสารสำคัญ 12 ชนิด ที่สามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้หลายชนิดได้แก่มะเร็งลําไส้ (colorectal cancer) มะเร็งตับ Human Hepatocellular Carcinoma (HepG2 ) และมะเร็งในกระเพาะอาหาร (human gastric cancer AGS และยังมีรายงานผลการศึกษาข้อมูลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ระบุว่ารากของต้นปอขี้ตุ่น มีสารสําคัญมีชื่อว่าเมททิลเฮลิกเทอเรต (methyl helicterate) ที่มีคุณสมบัติในการต้านการสร้างพังผืดในตับ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดภาวะตับแข็ง (antifibrotic activities) ได้อีกด้วย

            นอกจากนี้ยังมีรายงานผลการศึกษาวิจัยในต่างประเทศระบุว่า สารสกัดจากส่วนรากของปอขี้ตุ่น ยังมีฤทธิ์ต้านเบาหวาน สารต้านอนุมูลอิสระ เสริมภูมิคุ้มกัน และต้านมะเร็งอีกด้วย


การศึกษาทางพิษวิทยาของปอขี้ตุ่น

ไม่มีข้อมูล


ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

ทั้งในตำรายาไทยและตำรายาจีน ได้มีระบุข้อควรระวังในการใช้ปอขี้ตุ่นว่า “สตรีมีครรภ์ไม่ควรใช้ปอขี้ตุ่นเป็นสมุนไพร โดยเฉพาะในรูปแบบการรับประทาน เนื่องจากมีฤทธิ์ที่อาจทำให้เกิดภาวะแท้งบุตรได้”


เอกสารอ้างอิง ปอขี้ตุ่น
  1. ราชันย์ภู่มา และสมรานสุดดีบรรณาธิการ. 2557. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทยเต็มสมิตินันทน์ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2557. สํานักงานหอพรรณไม้สํานักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้ และพันธุ์พืชกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรุงเทพฯ
  2. ชัยพร กาญจนอักษร,ประดิษฐา ดวงเนตร. ข่าวปลอมปอขี้ตุ่น ต้มอาบช่วยแก้แผลเบาหวานและพิษงู. แบบฟอร์มรายงานการตรวจสอบข่าวปลอม. กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกระทรวงสาธารณสุข.
  3. ปอขี้ตุ่น. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=234
  4. Li et al., 2016 K. Li, X. Yang, X. Hu, C. Han, Z. Lei, Z. Zhang In vitro antioxidant, immunomodulatory and anticancer activities of two fractions of aqueous extract from Helicteres angustifolia L. root Journal of the Taiwan Institute of Chemical Engineers, 61 (2016), pp. 75-82
  1. Wei Y, Wang G, Zhang X, Wang Y and Ye W. Studies on chemical constituents in roots of Helicteres angustifolia. China Journal of Chinese Materia Medica. 2011;36(9):1193-97
  2. Lin et al.,2012 X. Lin, R. Huang, S. Zhang, L. Zheng, L. Wei, M. He, Y. Zhou, L. Zhuo, Q. Huang Methyl helicterate protects against CCl4-induced liver injury in rats by inhibiting oxidative stress, NF-κB activation, Fas/FasL pathway and cytochrome P4502E1 level Food and Chemical Toxicology, 50 (2012), pp. 3413-3420
  1. Dan Su, Yu-qiao Gao, Wei-bo Dai, Ying Hu, Yan-fen Wu and Quan-xi Mei. Helicteric Acid, Oleanic Acid, and Betulinic Acid, Three Triterpenes from Helicteres angustifolia L., Inhibit Proliferation and Induce Apoptosis in HT-29 Colorectal Cancer Cells via Suppressing NF-κB and STAT3 Signaling. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine. 2017
  2.  Hu et al., 2016 X.S. Hu, D.L. Cheng, K.J. Li, L.B. Wang, X. Yang, S. Sun, Y.P. Wang, S.H. Li, Z.F. Lei, Z.Y. Zhang  Glucose consumption and alpha-glucosidase inhibitory activities of aqueous root extract of Helicteres angustifolia European Review for Medical and Pharmacological Sciences, 20 (2016), pp. 1423-1429