คะน้าเม็กซิโก ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย
คะน้าเม็กซิโก งานวิจัยและสรรพคุณ 22 ข้อ
ชื่อสมุนไพร คะน้าเม็กซิโก
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น คะน้าเม็กซิกัน, ผักไชยา, ผักชายา, ผักโขมต้น, มะละกอกินใบ, ต้นผงชูรส (ทั่วไป), กกแซ่ม (อีสาน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cnidoscolus Chayamansa, Chaya Spinash
วงศ์ EUPHORBIACEAE
ถิ่นกำเนิดคะน้าเม็กซิโก
สำหรับถิ่นกำเนิดของคะน้าเม็กซิโก นั้น เชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดบริเวณคาบสมุทรยูกาตันของเม็กซิโกในทวีปอเมริกากลาง จากนั้นจึงมีการแพร่พันธุ์ไปยังประเทศกัวเตมาลา อเมริกาและประเทศใกล้เคียง สำหรับในประเทศไทยปัจจุบันสามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ แต่จะนิยมปลูกกันมากในภาคอีสาน โดยเฉพาะจังหวัดมหาสารคาม
ประโยชน์และสรรพคุณคะน้าเม็กซิโก
- ช่วยบำรุงสายตา
- ช่วยบำรุงร่างกาย
- ช่วยบำรุงเลือด
- มีสารต้านอนุมูลอิสระ
- ช่วยทำให้เลือดหมุนเวียนดี
- ช่วยเพิ่มธาตุเหล็กให้กับเลือด
- ช่วยบำรุงกระดูก
- ช่วยเพิ่มแคลเซียมให้กระดูก
- รักษาโรคกระดูกพรุน
- ช่วยป้องกันมะเร็ง
- ช่วยบำรุงสมอง
- ช่วยลดคอเลสเตอรอล
- ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
- ลดการอักเสบในเส้นเลือด
- ช่วยฆ่าเชื้อในปอด
- ช่วยบรรเทาโรคไขข้ออักเสบ
- ช่วยย่อยอาหาร
- ชาวยบำรุงระบบทางเดินอาหาร
- ช่วยบรรเทาริดสีดวงทวาร
- ช่วยในการมองเห็น
- ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
- ใช้เป็นยาระบาย
ประโยชน์หลักๆ ของคะน้าเม็กซิโก คือ การนำมารับประทานเป็นอาหารโดยใช้ส่วนของยอดอ่อนและใบ ซึ่งจะมีรสชาติคล้ายกับคะน้า โดยหลังจากเด็ดยอดอ่อนมา ให้นำมาปอกเปลือก ตัดใบ แล้วแยกก้านใบทิ้งเพราะแข็งมาก ไม่นิยมนำมารับประทาน นำไปประกอบอาหาร เช่น ผัดน้ำมันหอย ชุบแป้งทอด ผัดเผ็ด ผัดน้ำมันจิ้มน้ำพริก ทำแกงส้ม ทำราดหน้า ผัดกับไข่ หรือเนื้อสัตว์ หรือลวกทำยำหรือจิ้มกับน้ำพริก นอกจากนี้ยังมีการนำลำต้นผักไชยา มาตากแห้ง บดให้เป็นผง ใช้แทนผงชูรส หรือใช้ผสมกับอาหาร ซึ่งจะช่วยให้มีรสชาติกลมกล่อมขึ้น
รูปแบบและขนาดวิธีใช้คะน้าเม็กซิโก
สำหรับการใช้คะน้าเม็กซิโก เพื่อหวังผลในการรักษาโรคต่างๆ ตามแนวทางของสมุนไพรนั้น ส่วนมากจะเป็นการใช้ในรูปแบบการรับประทานเป็นอาหาร โดยมีรายงานระบุไว้ดังนี้ ใบและยอด รสจืด มัน หวาน ทำเป็นผักลวก ผัดผัก แกง ก้าน รสเย็น หวาน ลอกเปลือกส่วนก้านออกแล้วนำมาผัดหรือแกง ดอก รสจืด นำมาลวกกินกับน้ำพริก แต่ในปัจจุบันได้เริ่มมีการนำใบของคะน้าเม็กซิโกมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ชงดื่ม เช่น เดียวกับชา และนำมาทำเป็นใบคะน้าเม็กซิโกอัดเม็ด หรือแคปซูล เพื่อใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอีกด้วย
ลักษณะทั่วไปของคะน้าเม็กซิโก
คะน้าเม็กซิโก จัดเป็นไม้พุ่ม อายุหลายปี สูงประมาณ 2-6 ม. ลำต้นมีลักษณะอวบน้ำ เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลมีน้ำยางสีขาวอยู่ภายใน ใบเป็นใบเดี่ยวมีลักษณะคล้ายกับใบมะละกอ หรือ ใบเมเปิ้ล ขอบใบหยักแยกออกเป็น 3-4 แฉก ดอกออกเป็นช่อมีสีขาว บริเวณปลายกิ่ง ซึ่งในแต่ละช่อจะประกอบไปด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ส่วนผลมีขนาดเล็กสีเขียว โดยจะออกบริเวณปลายยอด
การขยายพันธุ์คะน้าเม็กซิโก
คะน้าเม็กซิโก สามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี เช่น เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และการปักชำ แต่วิธีที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน คือ การปักชำ เพราะสะดวก รวดเร็ว และมีอัตราการรอดสูง โดยมีวิธีการคือ ตัดกิ่งคะน้าเม็กซิโกที่ติดยอดแล้ว เด็ดใบแก่ออกให้หมดและเหลือกิ่งไว้ยาวประมาณ 2 คืบ (15-18 นิ้ว) จากนั้นนำไปปักชำบริเวณที่ต้องการ แล้วพรวนดิน รดน้ำ คลุมพรางแสงในระยะแรกประมาณ 5-7 วัน จากนั้นก็สามารถดูแลเหมือนพืชชนิดอื่นได้ตามปกติ หรืออีกวิธีหนึ่งสามารถทำได้โดยการนำกิ่งที่ค่อนข้างแก่มาตัดเป็นท่อนๆ แล้วชำลงถุงดำ ใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ กิ่งจะเริ่มแตกใบอ่อน รอให้ต้นแข็งแรงจึงย้ายลงปลูกในดิน ส่วนการดูแลรักษาค่อนข้างง่าย คือ ดูแลรักษาเหมือนต้นไม้ทั่วไป เนื่องจากคะน้าเม็กซิโก เป็นพืชที่ปลูกง่าย โตเร็ว และไม่ค่อยมีแมลงรบกวน
องค์ประกอบทางเคมี
มีรายงานการศึกษาวิจัยถึงองค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดน้ำจากใบคะน้าเม็กซิโก ระบุว่าพบสารออกฤทธิ์ที่สำคัญหลายชนิดอาทิเช่น Coumaric acid, Amentoflavone, Hesperidin, Protocatechuic acid, Kaempferol, Dihydromyricetin, Quercitrin, Rutin เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าใบและส่วนยอดของคะน้าเม็กซิโกยังมีสารพิษในกลุ่ม hydrocyanic glycosides อีกด้วย ส่วนคุณค่าทางโภชนาการของคะน้าเม็กซิโก พบว่ามีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้
คุณค่าทางโภชนการของคะน้าเม็กซิโก (ใบ 100 กรัม)
น้ำ |
85.3% |
โปรตีน |
5.7% |
ไขมัน |
0.4% |
คาร์โบไฮเดรต |
4.2% |
1.9% |
|
199.4 มิลลิกรัม |
|
11.4 มิลลิกรัม |
|
วิตามิน A |
0.085 มิลลิกรัม |
164.9 มิลลิกรัม |
|
ฟอสฟอรัส |
39.0 มิลลิกรัม |
217.2 มิลลิกรัม |
การศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของคะน้าเม็กซิโก
มีรายงานผลการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาจากส่วนต่างๆ ของคะน้าเม็กซิโก ระบุเอาไว้ดังนี้ จากการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาในหลอดทดลอง พบว่าคะน้าเม็กซิโก มีฤทธิ์ต้านจุลชีพ ต้านอนุมูลอิสระ รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ต้านการอักเสบ ลดน้ำตาลในเลือดช่วยปกป้องหลอดเลือดและหัวใจ และลดไขมันในเลือด เป็นต้น
การศึกษาทางพิษวิทยาของคะน้าเม็กซิโก
มีรายงานผลการศึกษาความเป็นพิษของสารสกัด คลอโรฟอร์ม : เมทิลแอลกอฮอลล์ (1:1) ของใบคะน้าเม็กซิโก ในหนูเม้าส์ พบว่าขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่งมีค่ามากกว่า 2 ก./กก. และเมื่อให้สารสกัดเข้าทางกระเพาะอาหารในขนาด 1 ก./กก. เป็นเวลานาน 28 วัน ก้ไม่พบว่าก่อให้เกิดความเป็นพิษกับสัตว์ทดลอง และขณะนี้ยังไม่มีการรายงานความเป็นพิษจากการรับประทานในรูปแบบของอาหารแต่อย่างใด
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
ใบและยอดของคะน้าเม็กซิโก มีสารพิษในกลุ่มไฮโดรไซยานิก ไกลโคไซด์ (hydrocyanic glycosides) ซึ่งหากได้รับสารพิษในกลุ่มนี้ ในปริมาณมากหรือติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดอาการพิษจากการได้รับสารไซยาไนด์ (cyanide) ได้ แต่ทั้งนี้สารดังกล่าวสามารถถูกทำลายได้ด้วยความร้อน ดังนั้นก่อนรับประทานทุกครั้ง ควรทำให้สุกโดยการผ่านความร้อนอย่างน้อย 15-20 นาที และไม่ควรรับประทานแบบดิบ ข้อควรระวังอีกประการหนึ่ง คือ ห้ามต้มคะน้าเม็กซิโกในภาชนะอะลูมิเนียมเนื่องจาก อาจทำให้น้ำต้มเป็นพิษและก่อให้เกิดอาการท้องร่วงได้ และสำหรับผู้ที่แพ้พืชในวงศ์ EUPHORBIACEAE ควรหลีกเลี่ยงหรือระมัดระวังการรับประทานคะน้าเม็กซิโก
นอกจานี้ควรระวังการสับสนระหว่างคะน้าเม็กซิโกกับพืชอื่นๆ เช่น มะละกอ ฝิ่นต้น เนื่องจากมีลักษณะคล้ายกัน โดนเฉพาะฝิ่นต้นซึ่งเป็นพืชพิษ หากน้ำยางถูกผิวหนังจะระคายเคือง บวมแดงแสบร้อน พอกเป็นตุ่มน้ำใส หากโดนตาจะทำให้ตาบอดได้ แต่หากรับประทานเมล็ดเข้าไปจะทำให้ปากบวมพอง น้ำลายไหล เยื่อบุแก้มและลิ้นอักเสบ กระเพาะอักเสบ มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง อาจมีอาการชาตามแขนขาหรือเป็นอัมพาตชั่วคราว และหากรับประทานเมล็ดในปริมาณมากอาจทำให้เสียชีวิตได้
เอกสาร อ้างอิงคะน้าเม็กซิโก
- ภญ.กฤติยา ไชยนอก.คะน้าเม็กซิโก. ต้นไม้แสนอร่อย.บอกกล่าวเล่าเรื่องสมุนไพร. สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
- คะน้าเม็กซิโก. กระดานถาม-ตอบ.สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.medplant.mahidol.ac.th/uscr/reply.adp?id=6864
- Kuti JO, Konuru HB. Antioxidant capacity and phenolic content in leaf extracts of tree spinach (Cnidoscolus spp.). J Agric Food Chem 2004;52(1):117-21.
- Kim, D. O.; Jeong, S. W.; Lee, C. Y. Antioxidant Capacity of Phenolic Phytochemicals from Various Cultivars of Plums. Food Chemistry 2003, 81, 321–326. [Crossref], [Web of Science ®], [Google Scholar]
- Godfrey CO, Nwankpa P, Uloneme GC, Etteh CC, Ben-Udechukwu C, Okafor PN. Toxicity evaluation of Cnidoscolus aconitifolius on female albino wistar rats. IJSER 2015;6(9):165-9.
- Kulathuran Pillai K, Chidambaranathan N, Mohamed HM, Jayaprakash S, Narayanan N. Anti-hyperglycemic effect of alcoholic extracts of Cnidoscolus chayamansa in experimental diabetes and their effects on key metabolic enzymes involved in carbohydrate metabolism. IJRPC 2012;2(1):179-87.
- Kuti JO, Kuti HO. Proximate composition and mineral content of two edible species of Cnidoscolus (tree spinach). Plant Foods Hum Nutr 1999;53(4):275-83.
- Obichi, E. A.; Monago, C. C.; Belonwu, D. C. Effect of Cnidoscolus Aconitifolius (Family Euphorbiaceae) Aqueous Leaf Extract on Some Antioxidant Enzymes and Haematological Susceptibility of Tetranychus Urticae Koch to an Ethanol Extract of Cnidoscolus Aconitifolius Leaves under Laboratory Conditions Parameters of High Fat Diet and Streptozotocin Induced Diabetic Wistar Albino Rats. Journal Applications Sciences Environment Managed 2015, 19, 2, 201–209. [Google Scholar]
- Ramos-Gomez M, Figueroa-Perez MG, Guzman-Maldonado H, Loarca-Pina G, Mendoza S, Quezada-Tristan T, et al. Phytochemical Profile, Antioxidant properties and hypoglycemic effect of chaya (Cnidoscolus chayamansa) in stz-induced diabetic rats. ?J Food Biochem 2017;41(1):e12281.
- García-Rodríguez RV, Gutiérrez-Rebolledo GA, Méndez-Bolaina E, Sánchez-Medina A, Maldonado-Saavedra O, Domínguez-Ortiz MÁ, et al. Cnidoscolus chayamansa Mc Vaugh, an important antioxidant, anti-inflammatory and cardioprotective plant used in Mexico. J Ethnopharmacol 2014;151(2):937-43.
- Kuti, J.O. and E.S. Torres. Potential nutritional and health benefits of tree spinach. In: Janick J, editor. Progress in new crops. Arlington: ASHS Press VA;1996. P.516-520.
- Loarca-Pina G, Mendoza S, Ramos-Gomez M, Reynoso R. Antioxidant, antimutagenic, and antidiabetic activities of edible leaves from Cnidoscolus chayamansa Mc. Vaugh. J Food Sci 2010;75(2):H68-H72.
- Miranda-Velasquez L, Oranday-Cardenas A, Lozano-Garza H, Rivas-Morales C, Chamorro-Cevallos G, Cruz-Vega DE. Hypocholesterolemic Activity from the Leaf Extracts of Cnidoscolus chayamansa. Plant Foods for Human Nutrition 2010;65(4):392-5.
- Pérez-González MZ, Gutiérrez-Rebolledo GA, Yépez-Mulia L, Rojas-Tomé IS, Luna-Herrera J, Jiménez-Arellanes MA. Antiprotozoal, antimycobacterial, and anti-inflammatory evaluation of Cnidoscolus chayamansa (Mc Vaugh) extract and the isolated compounds. Biomed Pharmacother 2017;89:89-97.