จันทน์ชะมด ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

จันทน์ชะมด งานวิจัยและสรรพคุณ 24 ข้อ

ชื่อสมุนไพร จันทน์ชะมด
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น จันทน์หอม, จันทน์ขาว, จันทน์พม่า (ภาคกลาง), จันทน์ (ประจวบคีรีขันธ์)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Mansoniagagei J.R.Drumm. ex Prain
ชื่อสามัญ Kalamet
วงศ์ STERCULIACEAE


ถิ่นกำเนิดจันทน์ชะมด

จันทน์ชะมด จัดเป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บริเวณประเทศอินเดีย บังกลาเทศ พม่า และไทย สำหรับในประเทศไทยสามารถพบจันทน์ชะมด ได้ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ ภาคกลาง และภาคใต้ที่นครศรีธรรมราช โดยมักจะพบตามป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้งหินปูน ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 100-650 เมตร


ประโยชน์และสรรพคุณจันทน์ชะมด

  1. ใช้แก้ลมวิงเวียน
  2. ช่วยขับลม
  3. ช่วยบำรุงหัวใจ
  4. ช่วยบำรุงผิว
  5. ช่วยบำรุงตับ
  6. ช่วยบำรุงปอด
  7. แก้ไข้
  8. แก้ร้อนในกระหายน้ำ
  9. แก้ไข้กำเดา
  10. แก้ไข้เผื่อดี
  11. แก้คลื่นเหียนอาเจียน
  12. แก้ลมวิงเวียน
  13. แก้โลหิตและน้ำดี
  14. ช่วยบำรุงน้ำดี
  15. แก้ตับพิการ
  16. แก้อ่อนเพลีย
  17. แก้ปวดท้อง
  18. แก้บิด
  19. ช่วยขับโลหิต (ระดู)
  20. ใช้บำรุงประสาท
  21. แก้ปวดท้อง
  22. ช่วยขับพยาธิ
  23. ใช้บำรุงหัวใจ
  24. แก้พิษหัด พิษอีสุกอีใส

           นอกจากนี้จันทน์ชะมด ยังเป็นเครื่องยาไทยที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในการแพทย์แผนไทย โดยใช้เป็นส่วนประกอบในตำรับยาไทยต่างๆ เช่น ยาหอมเทพจิตร มีสรรพคุณแก้ลมกองละเอียด ได้แก่ อาการหน้ามืด ตาลาย สวิงสวาย (อาการที่รู้สึกใจหวิววิงเวียน คลื่นไส้ ตาพร่าจะเป็นลม) ใจสั่นและบำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น ยาเขียวหอมมีสรรพคุณบรรเทาอาการไข้ ร้อนในกระหายน้ำ แก้พิษหัด พิษอีสุกอีใส (บรรเทาอาการไข้จากหัดและอีสุกอีใส) ยาจันทน์ลีลา มีสรรพคุณบรรเทาอาการไข้ตัวร้อน ไข้เปลี่ยนฤดู

  • พิกัดจันทน์ทั้ง 5 มีสรรพคุณแก้ไข้เพื่อดีและโลหิต แก้ร้อนในกระหายน้ำ บำรุงตับและปอด แก้พยาธิบาดแผล
  • พิกัดเบญจโลธิกะ มีสรรพคุณแก้ไข้เพื่อดี แก้รัตตะปิตตะโรค แก้ลมวิงเวียน แก้พิษทั้งปวง

           จันทน์ชะมด ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ หลายประการดังนี้ เนื้อไม้ มีกลิ่นหอมจึงมีการนำมากลั่นเอาน้ำมันไป ใช้ทำน้ำหอม น้ำมันหอม น้ำมันเขียว น้ำมันเหลือง ธูป และใช้ผสมในเครื่องประทินผิว ส่วนเนื้อไม้มีกระพี้สีขาว แก่นสีน้ำตาลเข้ม เนื้อไม้แข็งละเอียด เสี้ยนตรง เลื่อยไสกบตบแต่งง่าย และมีกลิ่นหอม จึงนิยมนำมาใช้ทำหีบใส่เสื้อผ้า เครื่องกลึงและแกะสลัก ทำหวี และดอกไม้จันทน์ เป็นต้น

จันทน์ชะมด
แหล่งที่มาของภาพ IG : uncle_mustache_garden

รูปแบบและขนาดวิธีใช้

ใช้แก้ไข้ แก้ลมวิงเวียน แก้คลื่นเหียนอาเจียน บำรุงโลหิต บำรุงน้ำดี บำรุงตับ แก้ไข้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไข้กำเดา แก้อ่อนเพลีย แก้ปวดท้อง ขับลม ขับพยาธิ ขับโลหิตระอู โดยนำใบมาต้มกับน้ำดื่ม หรือ นำมาตากแห้งชงกินแบบชาก็ได้ หรือ นำแก่นจันทน์ชะมด มาใช้เข้าเครื่องตามบัญชียาสมุนไพร หรือ ตามพิกัดยาต่างๆ ก็ได้


ลักษณะทั่วไปของจันทน์ชะมด

จันทน์ชะมด จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ผลิตใบลำต้นตั้งตรงเรือนยอดเป็นพุ่มค่อนข้างโปร่ง มีความสูงของต้น 10-20 เมตร เปลือกต้นค่อนข้างเรียบมีสีเทาอมขาวแก่นสีน้ำตาลเข้ม

           ใบจันทน์ชะมด เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับใบมีลักษณะเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน หรือ รูปรีแกมรูปไข่กลับ มีขนาดกว้าง 3-6 เซนติเมตร ยาว 8-14 เซนติเมตร โคนใบตัด หรือ หยักเว้าเล็กน้อย ปลายใบแหลมทู่ๆ ขอบใบเป็นคลื่นห่างๆ ค่อนไปทางปลายใบ เนื้อใบค่อนข้างหนาเป็นสีเขียว ใบอ่อนมีขนขึ้นประปาย ส่วนใบแก่ผิวเกลี้ยง มีเส้นใบออกจากจุดโคนใบ 3 เส้น และเส้นแขนงใบ 4-6 คู่ ก้านใบยาว 5-10 มิลลิเมตร

           ดอกจันทน์ชะมด ออกเป็นช่อแบบแยกแขนง ช่อดอกบานประมาณ 15 เซนติเมตร ในช่อออกเมื่อดอกย่อยขนาด เล็กสีขาว ซึ่งจะออกตามปลายกิ่งและตามง่ามใบใกล้ๆ ปลายกิ่ง ลักษณะของดอกย่อยบริเวณโคนกลีบฐานดอกจะติดกันเป็นรูปเหยือกน้ำ ปลายแยกเป็นแฉกแหลม ยาว 10-13 มิลลิเมตร จำนวน 5 แฉก ด้านนอกมีขนขึ้นปกคลุมแน่นส่วนด้านใบเกลี้ยง กลีบดอกมี 5 กลีบ ทรงกลีบรูปช้อนเกลี้ยง ยาว 10-13 มิลลิเมตร มีเกสรผู้ 10 อัน (เป็นเกสรผู้เทียมเสีย 5 อัน) ส่วนรังไข่ มี 5 พู เบียดกันอยู่เป็นรูปเหยือกน้ำ มีขนคลุมแน่น แต่ละพูมีหลอดท่อรังไข่หนึ่งหลอด

           ผลจันทน์ชะมด เป็นผลแห้ง ออกเป็นคู่ๆ แต่ไม่ติดเป็นเนื้อเดียว ลักษณะของผลจันทน์ชะมด เป็นรูปกระสวยกว้าง 5-7 มิลลิเมตร และยาว 10-15 มิลลิเมตร โดยในแต่ละผลมีปีกทรงรูปสามเหลี่ยมติดที่ปลายผลหนึ่งปีก ซึ่งจะมีขนาด กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 2.5-3 เซนติเมตร และจะมีก้านผลยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร

จันทน์ชะมด
จันทน์ชะมด

การขยายพันธุ์จันทน์ชะมด

จันทน์ชะมด สามารถขยายพันธุ์ได้โดยวิธีการเพาะเมล็ด สำหรับวิธีการเพาะเมล็ด และการปลูกจันทน์ชะมดนั้นสามารถทำได้ เช่นเดียวกันกับการ เพาะเมล็ดและการปลูก ไม้ยืนต้นชนิดอื่นๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในบทความก่อนหน้านี้ ทั้งนี้จันทน์ชะมด สามารถปลูกได้ในทุกสภาพดินทนแล้งได้ดี แต่ต้องการแสงแดดจัดและในธรรมชาติมักจะชอบชื้นตามดินแถบเขาหินปูน


องค์ประกอบทางเคมี

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยถึงองค์ประกอบทางเคมี ด้วยสารสกัดไดคลอโรมีเทนา เอทิลอะซีเตด และเมทานอลจากเนื้อไม้ของต้นจันทน์ชะมด โดยอาศัยสมบัติทางกายภาพและเทคนิคทางสเปกโทรปโกปิ สามารถแยกสารต่างได้หลายชนิดเช่น mansoxetane, mansorin A, mansorin B, mansorin C, mansonone N, mansonone O, mansonone P, mansonone Q, mansonone C, mansonone E, mansonone G, mansonone H, mansonone R และ mansonone S mansonones N, O, P, Q, R, S และ dehydrooxoperezinone, 3-methoxy-4, 5- dihydroxybenzaldehyde, mansoxetane

โครงสร้างจันทน์ชะมด

การศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของจันทน์ชะมด

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของสารสกัดจันทน์ชะมด จากแก่นของจันทน์ชะมด ระบุว่ามีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหลายประการดังนี้

           มีรายงานการศึกษาวิจัยระบุว่า สารกลุ่ม coumarins และ mansonones ที่พบในแก่นของจันทน์ชะมดมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ cholines terase ที่ทำหน้าที่ในการทำลายสารสื่อประสาท acetylcholine ที่มีความสำคัญต่อระบบประสาทส่วนกลาง นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ต่อเชื้อจุลชีพ เช่น เชื้อรา Cladosporium cucumerinum, Candida albicans และเชื้อแบคทีเรีย Acetinobacter baumanii ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุสำคัญของการติดเชื้อ

           นอกจากนี้สาร mansonones ที่พบในแก่นของจันทน์ชะมดยังมีฤทธิ์ต่างๆ ดังนี้

           ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย มีรายงานผลการศึกษาวิจัยระบุว่าสาร mansonone E ที่แยกได้จาก Thespesia populnea แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียต่อ Bacillus subtilis โดยมีการยับยั้งน้อยที่สุด ความเข้มข้น (MIC) 4.69 µg /mL และสาร Mansonone E ยังได้แสดงให้เห็นว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่มีศักยภาพต่อเชื้อ Xanthomonas oryzae pv (Xoo) และ Xanthomonas oryzaepv. oryzicola (Xoc) พร้อม MIC และฆ่าเชื้อแบคทีเรียขั้นต่ำความเข้มข้น (MBC) 7.8 และ >500 µg mL-1 ตามลำดับ

           ฤทธิ์ต้านเชื้อรา มีรายงานว่าสาร mansonones C และ E มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา Candida albicans ด้วยปริมาณขั้นต่ำ 1.5 µg และ 2.5 µg ตามลำดับ นอกจากนี้ยังยับยั้งการเจริญเติบโตของ Cladosporium cucumerinum ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยปริมาณการยับยั้งขั้นต่ำที่ 0.6 µg และ 0.6 µg ตามลำดับ นอกจากนี้ mansonone E ยังมีฤทธิ์ต้านเชื้อราต่อเชื้อรา Phytophthora ด้วยการยับยั้งได้ถึง 94% ที่ 1,000 µg mL-1 เช่นเดียวกับ mansonone E ที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรานี้ อย่างมีนัยสำคัญโดย mansonones C และ G ที่ความเข้มข้น 1,000 µg mL-1 โดยมีฤทธิ์ยับยั้ง 81 และ 84% ตามลำดับ

           ฤทธิ์ลดการสะสมของไขมัน มีรายงานผลการศึกษารายงานว่าสาร mansonones C และ G สามารถช่วยลดความแตกต่างของเซลล์ 3T3-L1 ลงในเซลล์ที่มีลักษณะคล้าย adipocyte โดยลดการสะสมของไขมัน 40% ผ่านกลไกการทำงานของ peroxisome proliferator - activated receptor (PPAR)-γ

           ฤทธิ์ต้านมะเร็ง มีรายงานการศึกษาวิจัยฤทธิ์การต้านมะเร็งของสาร mansones E และ F โดยมีค่า IC50 ของแมนโซโนน E คือ 2.2, 7.9, 3.1, และ 0.9 µM ในขณะที่ค่า IC50 ของแมนโซโนน F คือ 13.3, 30.5, 29.4 และ 3.0 µM ในเซลล์มะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา (A375-S2), มะเร็งปากมดลูก (HeLa), มะเร็งเต้านม (MCF-7) และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง (U937) ตามลำดับ

           และยังมีรายงานว่าสาร mansonone E ยังทำให้เกิดการตายของเซลล์ในเซลล์ HeLa โดยการกระตุ้นให้เกิดการกระจายตัวของ oligonucleosomal เปิดใช้งาน caspase-3, ลดการแสดงออกของโปรตีนต่อต้าน apoptotic,Bcl-XL และ Bcl-2 และควบคุมการแสดงออกของโปรตีน proapoptotic Bax อีกด้วย


การศึกษาวิจัยทางพิษวิทยาของจันทน์ชะมด

ไม่มีข้อมูล


ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

สตรีมีครรภ์ไม่ควรใช้จันทน์ชะมดเป็นสมุนไพร โดยเฉพาะในรูปแบบรับประทาน เนื่องจากมีสรรพคุณขับโลหิต ระดูในสตรี ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแท้งบุตรได้ สำหรับบุคคลสุขภาพดีทั่วไปในการใช้จันทน์ชะมด เป็นสมุนไพรก็ควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกันกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยควรใช้ในขนาดและปริมาณที่เหมาะสมที่ได้ระบุไว้ในตำรับตำรายาต่างๆ ไม่ควรใช้ขนาดที่มากจนเกินไป หรือ ใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้


เอกสารอ้างอิง จันทน์ชะมด

  1. ชยันต์ พิเชียรสุนทร และวิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 3 เครื่องยาสัตว์วัตถุ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2556.หน้า 254-255.
  2. ปิยรัษฎ์ เจริญทรัพย์. ต้นจันทน์หอม. คอลัมน์ต้นไม้ใบหญ้า.นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 349. พฤษภาคม 2551.
  3. สุนันทา ศรีโสภณ, จันคนา บูรณะโอสถ และอุทัย โสธนะพันธุ์. "การพิสูจน์เอกลักษณ์ของเครื่องยาจันทน์ชะมดด้วยวิธีโครมาโทกราฟีแบบชั้นบาง."วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ 11, 1 (2559): 53.
  4. อรชวิภา วรรณโชติ. ฤทธิ์ต้านมะเร็งของแมนโซโนนจี และอนุพันธ์ของสารแมนโซโนนจีที่สกัดได้จากต้นจันทน์ชะมด, ต่อมะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก. วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชวิทยา สาขาวิชาเภสัชวิทยา. บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปีการศึกษา 2562. 83. หน้า
  5. Wutthamawech W. Thai formula medicines 1. Silp Siam Packaging and Press; 2009.
  6. Boonsri S, et al. Cytotoxic and Antibacterial Sesquiterpenes from Thespesia populnea. Journal of Natural Products. 2008;71(7):1173-7.
  7. Committee of National Medicine System Development. National List of Essential Medicines 2012. Nonthaburi; 2012. (in Thai)
  8. Hairani R, et al. CBMG, a novel derivative of mansonone G suppresses adipocyte differentiation via suppression of PPARγ activity. Chemico-Biological Interactions. 2017;273:160-70
  9. Changwong N, Sabphon C, Ingkaninan K, Sawasdee P. Acetyl - and butyryl - cholinesterase inhibitory activities of mansorins and mansonones. Phytother Res. 2012;26:392-6
  10. Phengklal,C.(2001).Sterculiaceae.In Flora of Thailand Vol.7(3):590.
  11. Wang D, et al. Cytotoxic effects of mansonone E and F isolated from Ulmus pumila. Biol Pharm Bull. 2004;27(7):1025-30
  12. Kongcharoensuntorn W, Chirathaworn C, Dechdoungchan T, Jaikua W, Hangla S, Fai BS, et al. The potential cotreatment effect of three plant extracts and three antibiotics on multidrugresistant bacteria. J Sci Technol Humanities. 2007;5:17-27.
  13. Pongboonrod S. Mai Tet Muang Thai. 1976:162-3.
  14. Tiew P, Ioset JR, Kokpol U, Chavasiri W, Hostettmann K. Antifungal, antioxidant and larvicidal activities of compounds isolated from the heartwood of Mansonia gagei. Phytother Res.2003;17:190-3
  15. Mongkol R andChavasiri W. Antimicrobial, herbicidal and antifeedant activities of mansonone E from the heartwoods of Mansonia gagei Drumm. Journal of Integrative Agriculture. 2016;15(12):2795-802.