คาง ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

คาง งานวิจัยและสรรพคุณ 24 ข้อ

ชื่อสมุนไพร คาง
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น จามจุรีป่า, จามจุรีดง, คางแดง, กาง, ก๋าง (ทั่วไป)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Albizia lebbekoides (DC.) Benth.
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Acacia lebbekoides DC.
ชื่อสามัญ Ceylon rose wood, Black siris, Cemba
วงศ์ FABACEAE-LEGUMINOSAE


ถิ่นกำเนิดคาง

คาง จัดเป็นไม้ยืนต้นที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในเขตร้อนของทวีปเอเชีย โดยมีถิ่นกำเนิดบริเวณประเทศ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย พม่า เวียดนาม และลาว สำหรับในประเทศไทยสามารถพบคาง ได้บริเวณที่ราบลุ่มที่มีน้ำชุ่มชื้นในแถบภาคใต้ ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคอีสาน


ประโยชน์และสรรพคุณคาง

  1. ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ
  2. ช่วยบำรุงเส้นเอ็น
  3. ช่วยบำรุงธาตุ
  4. ช่วยแก้ท้องร่วง
  5. แก้ตกโลหิต
  6. ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
  7. ช่วยลดความดันโลหิต
  8. แก้ไอ
  9. แก้พยาธิ
  10. แก้ลำไส้พิการ
  11. แก้บวม
  12. แก้โรคเรื้อน
  13. รักษาแผลเน่าเปื่อยเรื้อรัง
  14. ช่วยบำรุงกำลัง
  15. แก้ท้องลง
  16. แก้คุดทะราด
  17. รักษาตาอักเสบ
  18. แก้ฟกช้ำบวม
  19. แก้ปวดแผล
  20. แก้ฝีบวม
  21. แก้ฝีเปื่อย
  22. แก้โรคผิวหนัง
  23. ใช้รักษาโรคตา
  24. แก้พิษงู

คาง

รูปแบบและขนาดวิธีใช้

  • ใช้ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงเส้นเอ็น แก้ไอ แก้ท้องลง รักษาลำไส้พิการ แก้ตกเลือด โดยใช้เปลือกต้น 3-4 ชิ้น นำมาต้มกับน้ำดื่มก่อนอาหารเช้า
  • ใช้บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ไข้ที่เกิดจากตาอักเสบ แก้ท้องลง แก้พิษงู แก้ปวดบาดแผล โดยนำดอกคาง มาตากแห้งแล้วต้มกับน้ำดื่ม
  • แก้พิษฝี รักษาฝี แก้แผลเน่า ปวดบาดแผล แก้อาการบวม ใช้เปลือกต้นฝนใส่แผล
  • ใช้แก้โรคผิวหนัง แก้ฝี โดยนำใบมาต้มกับน้ำอาบ หรือ ใช้ล้างบริเวณที่เป็นฝี


ลักษณะทั่วไปของคาง

คาง จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ มีความสูง 15-25 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ เปลือกต้นสีเทาอมเหลืองถึงสีน้ำตาล และมีรอยย่นเป็นริ้วตามแนวนอนจำนวนมาก กิ่งอ่อนมีสีน้ำตาลและมีขนขึ้นปกคลุมทั่วไป เมื่อแก่แล้วจะร่วงหลุด

           ใบคาง ออกเป็นช่อโดยเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเป็นช่อยาว 10-30 เซนติเมตร มี 3-4 ใบ ส่วนใบย่อยมี 15-25 คู่ ออกเรียงตรงข้าม ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน โคนใบมนเบี้ยว ปลายใบมน หรือ แหลม เป็นสีเขียวเข้มมีขนขึ้นปกคลุมทั้ง 2 ด้าน ไม่มีก้านใบ

           ดอกคาง ออกเป็นช่อด้านข้าง โดยออกเป็นช่อกลมแยกแขนงบนแกนช่อใหญ่ที่ปลายกิ่ง กลีบดอกเป็นหลอดปลายกลีบแยกเป็น 5 แฉกดอกเป็นสีขาวมีกลิ่นหอมเย็น

           ผลคาง ออกเป็นฝักสีน้ำตาลแดง ลักษณะฝักแบนโต ปลายฝักมนรูปรีๆ ผิวฝักมีขนขึ้นปกคลุมภายในฝักมีเมล็ดฝักละ 6-12 เมล็ด

คาง

คาง

การขยายพันธุ์คาง

คางสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ด โดยในปัจจุบันการขยายพันธุ์ของคาง ส่วนใหญ่ระบุว่าเป็นการขยายพันธุ์ในธรรมชาติไม่ค่อยนิยมมีการนำมาปลูกตามบริเวณบ้าน หรือ เรือกสวนไร่นา เนื่องจากเป็นพันธุ์ไม้ที่สูงใหญ่ สำหรับวิธีการเพาะเมล็ดและการปลูก คางนั้นสามารถทำได้เช่นเดียวกับไม้ยืนต้นชนิดอื่นๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในบทความก่อนหน้านี้


องค์ประกอบทางเคมี

มีรายงานการศึกษาวิจัยถึงองค์ประกอบทางเมีของสารสกัดจากเปลือกต้นของคางระบุว่าพบสารออกฤทธิ์ที่สำคัญหลายชนิดอาทิเช่น lupenone, feridelin, rutin, lupeol, luteolin, sapiol, β-sitosterol, stihmasterol, β-sitosterol-3-O-glucoside และ stigmasterol-3-O-glucoside

           นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าสารสกัดจากใบของค้นคาง ยังพบสาร tri-O-glycoside, quercetin-3-Oβ-D-glucopyranoside, kaempferol-3-O-β-D-glucopyranoside, kaempferol-3-O-(6$-O-galloyl-β-D-glucopyranoside) and quercetin-3-O-(6β-O-galloyl-β-D-glucopyranoside), hexaglycoxylated, leucocyanidin, melacacidine และ lebbecacidin ในเปลือกต้นของคางอีกด้วย

โครงสร้างคาง

การศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของคาง

มีรายงานการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของสารสกัดคาง จากเปลือกต้น และใบ ระบุว่ามีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหลายประการดังนี้

           มีรายงานผลการศึกษาวิจัยสารสกัดเอทานอล จากเปลือกต้นคางพบว่ามีฤทธิ์ต้านการเหนี่ยวนำการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง โดยมีค่า IC25 ที่ความเข้มข้น 36.05 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร นอกจากนี้ยังพบว่าสารสกัดเปลือกต้นคางยังมีฤทธิ์เพิ่มการแบ่งตัวของเม็ดเลือดขาวอีกด้วย ส่วนอีกการศึกษาวิจัยหนึ่งระบุว่า สารสกัดเอทิลอะซิเตต จากใบของต้นคาง มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Escherichia coli, Staphylococcus aureus, Pseudomonas aeruginosa และ Bacillus cereus, P. aeruginosa, Salmonella typhi, Klebsiella pneumoniae, Proteus mirabilis และ Shigella spp. สำหรับอีกการศึกษาหนึ่งระบุว่า สารสกัดจากเปลือกต้นของคางมีฤทธิ์ ต้านการอักเสบ แก้ปวด ต้านอนุมูลอิสระ ต้านเชื้อจุลชีพ และเป็นพิษต่อเซลล์อีกด้วย ในประเทศอินเดีย ได้มีการศึกษาทดลองโดยใช้สารสกัดจากเปลือกต้นคาง มาฉีดให้กับหนูขาว พบว่าสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูขาวได้


การศึกษาวิจัยทางพิษวิทยาของคาง

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยทางพิษวิทยาของสารสกัดจากเปลือกต้นคางระบุว่า สารสกัดจากเปลือกต้นคาง ด้วยเอทานอล และน้ำในขนาด 10 กรัมต่อกิโลกรัม เมื่อให้ทางปาก หรือ ฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนูทดลองพบว่าไม่พบความเป็นพิษแต่อย่างใด


ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

สำหรับการใช้ส่วนต่างๆ ของต้นคาง เป็นยาสมุนไพรนั้นควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกันกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยควรใช้ในขนาด และปริมาณที่เหมาะสมที่ได้ระบุไว้ในตำรับตำรายาต่างๆ ไม่ควรใช้ในขนาดที่มากจนเกินไป หรือ ใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้


เอกสารอ้างอิง คาง

  1. ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. "คาง". หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. หน้า 182-183.  
  2. กมลทิพย์ ประเทศ และคนอื่นๆ. (2543). การสำรวจพรรณไม้ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร พิษณุโลก มหาวิทยาลัยนเรศวร.
  3. เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก “คาง ” หนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด. หน้า 70.
  4. ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล,สมุนไพรพื้นบ้านล้านนา, วงศ์สถิต ฉั่วสกุล, พร้อมจิต ศรลัมพ์, วิชิต เปานิล บรรณาธิกร, 2539. 265 หน้า
  5. ธนสร ต้นศกุลมาร และคณะ. ฤทธิ์ต้านการเหนี่ยวนำการตกตะกอนของเม็ดเลือกแดง และการแปรตัวของเม็ดเลือดขาวของสารสกัดสมุนไพรไทย. วารสารไทเภสัชสาร มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์. หน้า 650-678
  6. Chulet, R., P. Pradhan, S.K. Sarwan and J.K. Mahesh, 2010. Phytochemical screening and antimicrobial activity of Albizzia lebbeck. J. Chem. Pharm. Res., 2: 476-484.
  7. Suwansuksri J, Wiwanikit V, Sooganrun S, Prachasilp J and Chotipheut A, 2003. Study of antioxidant property of some selected Thai medicinal flowers and roots. an in vitro by Heinz body induction The 3rd World Congress on Medicinal and Aromatic Plants for Human Welfare, 3-7 February, Chiangmai, Thailand.
  8. Kokila, K., S.D. Priyadharshini and V. Sujatha, 2013. Phytopharmacological properties of Albizia species: A review. Int. J. Pharm. Pharm. Sci., 5: 70-73.
  9. Huang WY. Cai YZ Zhang Y. 2010. Natural phenolic compounds from medicinal herbs and dietary plants: potential use for cancer prevention. Nutr Cancer. 62(1):1-20.
  10. Suruse, P.B., S.B. Bodele, N.J. Duragkar and Y.G. Saundankar, 2013. In-vitro evaluation of antioxidant activity of Albizia Lebbeck bark. Int. J. Biol. Sci. Ayurveda Res., 1: 06-17
  11. El-Mousallamy, A.M.D., 1998. Leaf flavonoids of Albizia lebbeck. Phytochemistry, 48: 759-761.
  12. Note, O.P., J.N. Mbing, M.C. Kilhoffer, D.E. Pegnyemb and A. Lobstein, 2018. Lebbeckoside C, a new triterpenoid saponin from the stem barks of Albizia lebbeck inhibits the growth of human glioblastoma cells. Natl. Prod. Res. 10.1080/14786419.2018.1440231