พลับ ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

พลับ งานวิจัยและสรรพคุณ 25 ข้อ


ชื่อสมุนไพร พลับ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Diospyros kaki L.f. (พลับญี่ปุ่น), Diospyros virginiana L. (พลับอเมริกา/ยุโรป)
ชื่อสามัญ Persimmon
วงศ์ EBENACEAE


ถิ่นกำเนิดพลับ

พลับ มีแหล่งกำเนิดดั้งเดิมในบริเวณภาคเหนือของประเทศจีน โดยมีการบันทึกว่ามีการรับประทานลูกพลับตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮัน ต่อมาจึงได้รับการพัฒนาพันธุ์ปลูกจนเป็นไม้ผลประจำชาติญี่ปุ่น ในปัจจุบันมีการปลูกมากในจีน เกาหลี และญี่ปุ่น สำหรับในประเทศไทยมีการปลูกพลับ ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.2470 ทางภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ และเชียงราย


ประโยชน์และสรรพคุณพลับ

  1. ช่วยแก้ปัญหาปอด เนื่องจากพลังงานของปอดที่ลดลง ทำให้มีอาการไอ หายใจติดขัด เส้นผมหลุดร่วง
  2. ช่วยบำรุงลำไส้
  3. ช่วยบำรุงปอด
  4. ช่วยบำรุงม้าม
  5. แก้อาการกระหายน้ำ
  6. แก้ปวดท้องซึ่งมีสาเหตุมาจากความเย็น
  7. ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ
  8. แก้อาการสะอึก
  9. แก้ร้อนใน
  10. แก้อาการท้องเดิน
  11. บำรุงกระเพาะอาหาร
  12. ช่วยขับเสมหะ
  13. แก้พิษสุรา
  14. แก้หืดหอ
  15. แก้ปัสสาวะเป็นเลือด
  16. รักษาริดสีดวงทวาร
  17. ทำให้ชุ่มคอ
  18. รักษาแผลร้อนในช่องปาก
  19. แก้บิด
  20. ใช้ลดการแข็งตัวของหลอดเลือด
  21. แก้เส้นเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ
  22. รักษาอาการนอนไม่หลับ
  23. ช่วยลดความดัน
  24. ช่วยย่อยอาหาร
  25. ใช้แก้ริ้วรอยจ้ำเลือด

           พลับ เป็นผลไม้ที่ใช้รับประทานสด มีรสชาติกรอบหวานหอม มีใยอาหาร และเบต้าแคโรทีนสูง นอกจากนี้ยังมีการนำไปแปรรูปทำเป็นพลับแห้ง และพลับ หมาดสำหรับรับประทานเป็นขนม หรือ นำไปทำแยมลูกพลับก็ได้อีกด้วย ส่วนใบสามารถนำมาทำเป็นชาไว้ชงดื่ม เนื้อไม้สามารถนำมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์

พลับ

รูปแบบและขนาดวิธีใช้

การใช้ลูกพลับ เพื่อเป็นยาสมุนไพร ตามตำรายาจีนนั้น ส่วนใหญ่จะใช้ผลสุกรับประทานสดๆ แต่มีบางกรณีในการใช้เป็นสมุนไพรมีรูปแบบการใช้ดังนี้

  • ใช้แก้ไอ และเจ็บคอ นำลูกพลับไปตากแดด จนผิวด้านนอกเป็นเกล็ดละเอียดสีขาว แล้วนำมาอมทำให้ชุ่มคอ หรือ ต้มน้ำดื่มรักษาแผลร้อนในช่องปาก
  • ใช้แก้บิด ในเด็กที่ถ่ายออกมามีมูกเลือด โดยนำลูกพลับ ไปนึ่งกับข้าวเหนียว พอสุกแล้วก็ปั้นเป็นคำรับประทาน
  • ใช้ลดการแข็งตัวของหลอดเลือด แก้เส้นเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ รักษาอาการนอนไม่หลับ ลดความดัน ช่วยย่อยอาหาร โดยนำใบพลับมาตากแห้งแล้วนำมาต้มกับน้ำดื่ม
  • ใช้แก้ริ้วรอยจ้ำเลือด เนื่องจากเกล็ดเลือด โดยรับประทานวันละ 2 ครั้ง ในประมาณ 3 กรัม ติดต่อกัน 1 เดือน


ลักษณะทั่วไปของพลับ

พลับ จัดเป็นไม้ผลเมืองหนาว เป็นไม้ผลยืนต้นขนาดใหญ่ ลำต้นมีผิวสีน้ำตาลขรุขระหยาบกร้าน

           ใบพลับ เป็นใบเดี่ยวสีเขียว รูปหัวใจ ผิวใบเป็นมันด้านบนมีสีเข้มกว่าด้านล่าง

           ดอกพลับ ออกเป็นช่อรูปทรงคล้ายระฆังมีสีเหลืองอ่อน มีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย ในต้นเดียวกัน

           ผลพลับ เป็นผลเดียวมีลักษณะหลายแบบเช่น กลม กลมแบน กลมยาว ผิวเป็นมัน ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อผลแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมส้ม เนื้อผลแข็งเมื่อสุกเต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีแดงส้ม เนื้อผลกรอบฉ่ำน้ำ มีรสหวานแต่บางสายพันธุ์มีรสฝาด ส่วนเมล็ดมีประมาณ 6-8 เมล็ด เป็นสีน้ำตาลแก่

พลับ
พลับ
พลับ 

การขยายพันธุ์พลับ

พลับ สามารถขยายพันธุ์ได้ 2 วิธี คือ การเพาะเมล็ด และการเสียบยอด สำหรับวิธีการเพาะเมล็ดนั้น เมล็ดพลับ ที่เก็บจากต้นใหม่ๆ สามารถเพาะได้ทันที ส่วนเมล็ดที่เก็บไว้นาน ต้องแช่เมล็ดในตู้เย็นประมาณ 1-2 เดือน จึงจะสามารถนำมาเพาะได้ ส่วนวิธีการเพาะและปลูกนั้นสามารถทำได้เช่นเดียวกันกับไม้ผลยืนต้นชนิดอื่นๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้วใบทความก่อนหน้านี้ แต่ควรมีระยะปลูกที่เหมาะสม คือ 6x6 หรือ 8x8 เมตร และควรขุดหลุมปลูกควรมีขนาดไม่น้อยกว่า 0.7x0.7x0.7 เมตร


องค์ประกอบทางเคมี

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยองค์ประกอบทางเคมีในลูกพลับสด ระบุว่าพบสารออกฤทธิ์ที่สำคัญหลายชนิดอาทิเช่น Gallic acid, pyrogallol, Luteolin, Narengin, Rutin, Rosmarinic, Tyrosol, betulinic acid, Hisperidin, Hispertin, Quercetrin, Chlorogenic acid, Catechol, Caffein, Caffeic acid, Vanillic, Ferulic, Benzoic นอกจากนี้ลูกพลับสดยังมีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้ 

           คุณค่าทางโภชนาการของลูกพลับ สายพันธุ์ D.kaki (100 กรัม)

  • พลังงาน                           70          กิโลแคลอรี
  • คาร์โบไฮเดรต                 18.59      กรัม
  • น้ำตาล                             12.53      กรัม
  • เส้นใย                              3.6          กรัม
  • ไขมัน                               0.19        กรัม
  • โปรตีน                             0.58        กรัม
  • วิตามินเอ                        81          ไมโครกรัม
  • วิตามิน B1                       0.03        มิลลิกรัม
  • วิตามิน B2                       0.02        มิลลิกรัม
  • วิตามิน B3                      0.1          มิลลิกรัม
  • วิตามิน B6                       0.1          มิลลิกรัม
  • วิตามิน B9                       8             ไมโครกรัม
  • โคลีน                              7.6          มิลลิกรัม
  • วิตามิน C                         7.5          มิลลิกรัม
  • วิตามิน E                         7.5          มิลลิกรัม
  • วิตามิน K                         2.6          ไมโครกรัม
  • เบต้าแคโรทีน                253         ไมโครกรัม
  • ลูทีน และซีแซนทีน         834         ไมโครกรัม
  • แคลเซียม                        8             มิลลิกรัม
  • ธาตุเหล็ก                         0.15        มิลลิกรัม
  • แมกนีเซียม                    9             มิลลิกรัม
  • แมงกานีส                        0.355       มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส                       17            มิลลิกรัม
  • โพแทสเซียม                 161          มิลลิกรัม
  • โซเดียม                           1              มิลลิกรัม
  • สังกะสี                             0.11         มิลลิกรัม

โครงสร้างพลับ

การศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของพลับ

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของสารออกฤทธิ์สำคัญในผลพลับ ระบุว่ามีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหลายประการ ดังนี้

           ผลพลับอ่อนมีสารแทนนิน (tannin) สูง มีฤทธิ์ช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์อัลฟ่า-อะไมเลส (a-amylase) และชะลอการดูดซึมคาร์โบไฮเดรตในหนูทดลอง ซึ่งจะมีผลในการช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด

           นอกจานี้ยังมีผลการศึกษาการสกัดสารพฤกษาเคมี และฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสำคัญในสารสกัดพลับ ดิบพันธุ์ซิชู และพันธุ์หงเหม่ย ที่สกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอล พบว่ามีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสได้ ส่วนการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย พบว่า สารสกัดจากผลพลับทั้งสองสายพันธุ์มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus epidermidis Staphylococcus aureus และ Propionibacterium acnes


การศึกษาวิจัยทางพิษวิทยาของพลับ

ไม่มีข้อมูล


ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

สำหรับการรับประทานผลสุกของพลับ เป็นผลไม้นั้น มีความปลอดภัยสูงสามารถรับประทานได้ แต่ควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะมีรสหวานอาจทำให้ระดับน้ำตาลในลือดสูงได้ ส่วนในการนำส่วนต่างๆ ของพลับ มาใช้เป็นสมุนไพร นั้น ควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสมตามตำรับตำรายาต่างๆ ไม่ควรใช้ในขนาดและปริมาณที่มากจนเกินไป หรือ ใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไปเพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้


เอกสารอ้างอิง พลับ
  1. นิดดา หงส์วิวัฒน์. ทวีทอง หงส์วิวัฒน์ พลับในผลไม้ 11 ชนิด, คุณค่าอาหารและการกิน. กทม.[ม.ป.พ.],[ม.ป.ป].หน้า 115-117.
  2. ธิดารัตน์ จันทร์ดอน. ผลไม้เพื่อสุขภาพจากโครงการหลวง. บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน. คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลับมหิดล.
  3. ปวิณ ปุณศรี.2541.แนะนำโครงการไม้ผลเมืองหนาว.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพมหานคร.
  4. สำนักงานโครงการเกษตรที่สูง 2520 เอกสารวิชาการงานศึกษาไม้ผล. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพมหานคร.
  5. โอฬาร ตัณฑวิรุฑห์ 2520.การปลูกพลับ วารสารส่งเสริมการเกษตร
  6. Kato K. (1984). The conditions for tannin and sugar extraction, the relation of tannin concentration to stringency and the behavior of ethanol during astringency removal from persimmon fruit. J Japanese Soc. Hort Sci. 53:127-134.
  7. Gato N, Kadowaki A, Hashimoto N, Yokoyama S, Matsumoto K. Persimmon fruit tannin-rich fiber reduces cholesterol levels in humans. Ann Nutr Metab 2013;62(1):1-6.
  8. Oksuz T, Surek E, Caba ZT, Erdil D. (2015). Phenolic Contents and antioxidant activities of persimmon and red beet jams produced by sourose impregnation. Food Sci Technol. 3(1):1-8.
  9. Gorinstein S, Zachwieja Z, Folta M, Barton H, Piotrowicz J, Zemser M, et al. Comparative contents of dietary fiber, total phenolics, and minerals in persimmons and apples. J Agric Food Chem 2001;49(2):952-7.
  10. Lee JH, Lee YB, Seo WD, Kang ST, Lim JW, Cho KM. (2012). Comparative Studies of Antioxidant Activities and Nutritional Constituents of Persimmon Juice (Diospyros kaki L. cv. Gapjubaekmok). Prev Nutr Food Sci. 17:141.
  11. Tsujita T. Persimmon-tannin, an ?-amylase inhibitor, retards carbohydrate absorption in rats. J Nutr Sci Vitaminol (Tokyo) 2016;62(3):192-7.
  12. Denev P, Yordanov A. (2013). Total polyphenol, proanthocyanidin and flavonoid content, carbohydrate composition and antioxidant activity of persimmon (Diospyros kaki L.) fruit in relation to cultivar and maturity stage. Bulgarian J Agri Sci. 19(5):981-988.
  13. Yaqub S, Farooq U, Kausar T, Hayat Z, Jaskani M, Ullah SM. (2013). Hypocholestrolemic effect of persimmon peel powder in rabbits. J Sci Inter. 25(3):605–609.