โอเมก้า 9

โอเมก้า 9

ชื่อสามัญ Omega-9 fatty acid

Erucic acid

โครงสร้าง โอเมก้า 9

                                                                       Oleic acid

                                                                          โครงสร้าง โอเมก้า 9

ประเภทและข้อแตกต่างโอเมก้า 9

กรดไขมันโอเมก้า 9 เป็นกลุ่มของกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ที่ไม่ได้เป็นกรดไขมันจำเป็นต่อร่างกายเหมือนโอเมก้า 3 และ โอเมก้า 6 ซึ่งกรดไขมันโอเมก้า 9 ยังเป็นกลุ่มของกรดไขมันที่มีพันธะคู่ของคาร์บอนอยู่ในตำแหน่งที่ 9 จากปลายของโมเลกุลด้านที่มีกลุ่มของเมทิล สำหนับกลุ่มของไขมันโอเมก้า 9 นั้นพบว่ามีหลายชนิดรวมกับดังแสดงในตาราง

กลุ่มกรดไขมันโอเมก้า-9

            แต่ทั้งนี้มีเพียง 2 ชนิด ที่มีความสำคัญต่อสุขภาพของมนุษย์ ได้แก่ Oleic acid ซึ่งเป็นกรดไขมันที่มีสูตรเคมี คือ C18H34O2 มีตารางโมเลกุล 282.46 g/mol-1 และเป็นไขมันที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ส่วนอีกชนิดหนึ่ง ได้แก่ erucic acid ซึ่งเป็นกรดไขมันที่มีสูตรทางเคมี คือ C22H42O3 มีโมเลกุล 338.57 g/mol

แหล่งที่พบและแหล่งที่มาโอเมก้า 9

สำหรับโอเมก้า 9 นั้น ไม่ได้จัดเป็นกรดไขมันจำเป็นเหมือน โอเมก้า 3 และ 6 เพราะร่างกายสามารถสร้างขึ้นมาเองได้ แต่ทั้งนี้หากร่างกายขาดสารตั้งต้นในการสร้างก็ไม่สามารถสร้างโอเมก้า 9 ขึ้นมาได้ ดังนั้นร่างกายจึงจำเป็นต้องได้รับอาหารที่เป็นแหล่งของกรดโอเมก้า 9 เข้าไป เช่นกัน ซึ่งอาหารที่เป็นแหล่งของโอเมก้า9 ได้แก่ ไขมันจากสัตว์ และน้ำมันจากพืชต่างๆ อาทิเช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วลิสง เรพซีด น้ำมันคาโนลา เมล็ดน้ำมันดอกทานตะวัน มัสตาร์ด น้ำมันงา แอลมอนด์ อะโวคาโด ถั่วพิทาชิโอ เป็นต้น

            นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีการสกัดโอเมก้า 9 มาผสมในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น นมผง นมUHT และยังสกัดเอาโอเมก้า 3, 6 และ 9 มารวมกันเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อวางจำหน่ายอีกด้วย


ปริมาณที่ควรได้รับโอเมก้า 9

สำหรับขนาดและปริมาณที่ควรได้รับของโอเมก้า 9 นั้น ยังไม่มีการกำหนดอย่างแน่ชัดเหมือนอัตราส่วนการบริโภค โอเมก้า 3 และ 6 แต่อย่างใด เนื่องจากในการสังเคราะห์โอเมก้า 9 ของร่างกายนั้นจะใช้โอเมก้า 3 และ 6 เป็นสารตั้งต้น ดังนั้น การได้รับโอเมก้า 9 จากแหล่งอาหารจึงอาจเป็นเพียงการเติมในส่วนที่ยังขาดไปในกรณีที่สารตั้งต้นมีไม่พอในการสังเคราะห์ของร่างกายเท่านั้น

ประโยชน์และโทษโอเมก้า 9

ในส่วนของประโยชน์จากโอเมก้า 9 ในด้านสุขภาพนั้นมีดังนี้ ช่วยลดโรคหัวใจ และหลอดเลือด ช่วยขจัดคราบพลัคสะสมในหลอดเลือดแดง ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการหัวใจวาย และโรคหลอดเลือดสมองและช่วยลดอุบัติการณ์ของโรคพาร์กินสัน อัลไซเมอร์ และมะเร็ง เป็นหนึ่งในสารตั้งต้นของการสร้างพรอสตาแกรนดิน เพื่อใช้ในกระบวนการชักนำการอักเสบ และทำลายเชื้อโรคของร่างกาย ช่วยลดระดับโคเลสเตอรอล LDL และเพิ่มระดับโคเลสเตอรอล HDL ในกระแสเลือด และยังทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังช่วยในการทำงานของโอเมก้า 3 และ 6 ในการสร้างความแข็งแรงให้กับเซลล์สมองโดยเฉพาะในเด็กทารก

โอเมก้า 9

การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องโอเมก้า 9 

สำหรับรางกายการศึกษาวิจัยในด้านต่างๆ ของโอเมก้า 9 นั้นมีน้อยมาก เมื่อเทียบกับ โอเมก้า 3 และ 6 ดังนั้นจึงขอยกตัวอย่างผลการศึกษาวิจัยที่พอจะค้นหาได้มากล่าวถึง ดังนี้ มีการศึกษาวิจัยของสาร Oleic acid ต่อการเผาผลาญไขมันในระกว่าการติดเชื้อโดยได้ทำการศึกษาวิจัยในหนูทดลองที่ถูกชักนำให้เกิดการติดเชื้อ จากนั้นให้ Oleic acid 0.28 มิลลิกรัม/วัน ทางสายยาง เป็นเวลา 14 วัน แก่หนูกลุ่มทดลอง ส่วนหนูกลุ่มควบคุมให้ได้รับน้ำเกลือ 100 ไมโครลิตร/วัน แล้วซึ่งน้ำหนักในวันที่ 1,7 และ 14 จากนั้นทำการตรวจสอบสภาพตับของหนูพบว่า Oleic acid สามารถช่วยป้องกันการเปลี่ยนแปลงหลายหลังจากการชักนำให้เกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด โดยยี่สิบสี่ชั่วโมงหลังจาก CLP หนูที่ติดเชื้อมีระดับคริเอตินินในพลาสมาเพิ่มขึ้น และ Oleic acid สามารถลดระดับ creatinine, glutamic-oxaloacetic transaminase และ alanine aminotransferase ในหนูที่ติดเชื้อได้อีกด้วย

            นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิจัยในไทยเรื่อง ผลของการใช้น้ำมันจระเข้ต่อการพากลูโคสเข้าสู่กล้ามเนื้อกระบังลมของหนูขาว' โดยการให้อาหารที่มีส่วนผสมน้ำมันจระเข้ที่ความเข้มข้นต่างกันแก่หนูขาว พบว่า น้ำมันจระเข้สามารถเพิ่มการพากลูโคสเข้ากล้ามเนื้อในภาวะที่มีฮอร์โมนอินซูลินได้อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งมีโอกาสที่จะพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับป้องกันผู้ที่มีสภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานในอนาคตได้ ส่วนในด้านปริมาณและขนาดในการบริโภคโอเมก้า 9 นั้นมีการศึกษาในต่างประเทศรายงานว่า การบริโภคน้ำมันคาโนลา (ซึ่งเป็นแหล่งของโอเมก้า 9) ประมาณ 1½ ช้อนโต๊ะ (19 กรัม) แทนการใช้ไขมันอิ่มตัวชนิดอื่นในปริมาณที่ใกล้เคียงกันทุกวัน อาจลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้

ข้อแนะนำและข้อควรปฏิบัติ

ถึงแม้ว่าโอเมก้า 9 ร่างกายจะสามารถสร้างขึ้นเองได้ แต่บางทีสารตั้งต้นในการสังเคราะห์โอเมก้า 9 อาจไม่เพียงพอในการสังเคราะห์ได้ ดังนั้นจึงต้องมีการบริโภคอาหารที่เป็นแหล่งของโอเมก้า 9 เสริมด้วย แต่ทั้งนี้การบริโภคอาหารดังกล่าว ก็ไม่ควรบริโภคในขนาดที่มากจนเกินไป เพราะจะเห็นได้ว่าแหล่งของโอเมก้า 9 ส่วนมากจะอยู่ในน้ำมันเป็นส่วนมาก ซึ่งหากบริโภคในขนาดที่มากจนเกินไปก็อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ แต่ในทางกลับกันหากร่างกายขาดโอเมก้า 9 แล้ว ร่างกายก็อาจจะแสดงอาการที่ผิดปกติออกมาได้หลายอย่างเช่น ผิวแห้ง, ผมร่วง, การเต้นของหัวใจผิดปกติ, มีรังแค, ตาแห้งน้ำตาน้อย, เจ็บตามข้อต่างๆ, มีลอนบนท่อนแขนด้านบนเป็นต้น

 

เอกสารอ้างอิง โอเมก้า 9
  1. พรพจน์ ศรีสุวรรยะกุล.กรดไขมัน...ชนิดไหนที่เราต้องการ.วารสารวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี.วว.ปีที่ 21. ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม 2541. หน้า 51-56
  2. Sofi F, Cesari F, Abbate R, Gensini GF, Casini A. ยึดมั่นในอาหารเมดิเตอร์เรเนียนและสถานะสุขภาพ: meta-analysis บีเอ็มเจ . 2551; 337 :a1344
  3.  Madon.P.Fatty acids:which ones do we need? 2004.The Pharmaceutical Joumal.vol.273.PP750-752
  4. Araujo CV, Estato V, Tibirica E, Bozza PT, Castro-Faria-Neto HC, Silva AR PPAR เปิดใช้งานแกมมาปกป้องสมองกับความผิดปกติของหลอดเลือดฝอยในการติดเชื้อ Microvasc ความละเอียด 2555; 84 ( 2 ):218–21. 10.1016/j.mvr.2012.05.06 .
  5. Kokatnur, MG; Oalmann, MC; Johnson, WD; Malcom, GT; Strong, JP (1979). "Fatty acid composition of human adipose tissue from two anatomical sites in a biracial community". The American Journal of Clinical Nutrition. 32 (11): 2198–205. PMID 495536.
  6. Waterman E, ล็อควูด บี. ส่วนประกอบที่ใช้งานและการประยุกต์ใช้ทางคลินิกของน้ำมันมะกอก Altern Med Rev 2550; 12 ( 4 ):331–42. Epub 2007/12/12.