วิตามินบี 9
วิตามินบี 9
ชื่อสามัญ Folic acid, Folate
ประเภทและข้อแตกต่างวิตามินบี 9
วิตามินบี 9 (folic acid/folate) จัดเป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ ถูกค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ.1930 โดย Lucy Wills ซึ่งรายงานว่าสารสกัดจากยีสต์สามารถรักษาภาวะโลหิตจางชนิดเมกาโลบลาสติก (megaloblastic anemia) ในหญิงตั้งครรภ์ได้ จากนั้นสารนี้ได้ถูกพบในพืชผักอีกหลายชนิด เช่น ผักขม อัลฟาฟา จึงถูกเรียกว่า “โฟเลต” ซึ่งมาจากคำในภาษาลาตินว่า “folium” ที่หมายถึงใบไม้ และวิตามินบี 9 ยังมีหลากหลายอนุพันธ์ เช่น folic acid tetrahydrofolate 5.10-methylene tetrahydrofolate ฯลฯ ซึ่งจะสลายตัวได้ง่ายเมื่อโดนแสง ความร้อน และอากาศ เช่น เมื่ออาหารที่มีกรดโฟลิกถูกความร้อนจึงมักจะสูญเสียคุณประโยชน์ได้ง่าย จึงต้องใช้วิธีการปรุงอาหารด้วยไฟอ่อนๆ หรือ ทานผักผลไม้สดแทนเพื่อให้ได้รับกรดโฟเลดกอย่างครบถ้วน
สำหรับประเภทของวิตามินบี 9 (Folic acid) นั้นในปัจจุบันสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่มีอยู่ในแหล่งอาหารทั่วไป หรือ ที่เรียกว่า โฟเลต (folate) ซึ่งประเภทนี้จะพบในอาหารหลายชนิด เมื่อมนุษย์รับประทานเข้าไปแล้ว ร่างกายจะสังเคราะห์ และดูดซึมนำไปใช้ในกระบวนการต่างๆ ของร่างกายต่อไป โดยโฟเลตที่พบในธรรมชาติ มักเป็น pteroylpolyglutamate ซึ่งมี glutamyl 2-7 หมู่เชื่อมต่อกันด้วยพันธะเพปไทด์ติดอยู่กับส่วน pteroic acid ส่วนอีกประเภทหนึ่งจะได้จากการสังเคราะห์โดยมนุษย์ เช่น ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่จำหน่ายในท้องตลาดจะอยู่ในรูป pteroylmonglutamic acid (PteGlu1) ซึ่งมี glutamyl เพียงหนึ่งหมู่
แหล่งที่พบและแหล่งที่มาวิตามินบี 9
ร่างกายของคนเราไม่สามารถสังเคราะห์โฟเลตได้ ดังนั้นอาหารจึงเป็นแหล่งที่สำคัญของโฟเลต (วิตามินบี 9) แต่อย่างไรก็ตามอาหารแต่ละชนิดก็มักมีโฟเลตในปริมาณต่ำ และแตกต่างกันไป ซึ่งแหล่งที่มีโฟเลต (วิตามินบี 9) สูง เช่น ผักสีเขียว ถั่วเมล็ดแห้ง ตับ เนื้อสัตว์ นมสด ยีสต์ ข้าวซ้อมมือ ทุเรียน สตอเบอรี่ มะม่วง เป็นต้น
ตารางแสดงปริมาณโฟแลทในอาหาร
อาหาร |
ปริมาณโฟเลท (ไมโครกรัม/100 กรัม) |
กลุ่มผัก |
56.35 |
แขนงกะหล่ำ |
97.00 |
97.30 |
|
ผักกาดหางหงส์ |
93.80 |
ผักโขมจีน |
160.10 |
ผักคะน้า |
80.10 |
ผักชีฝรั่ง |
40.20 |
75.10 |
|
92.30 |
|
59.69 |
|
สะระแหน่ |
74.70 |
106.30 |
|
กลุ่มผลไม้ กล้วยไข่ |
35.41 |
37.16 |
|
กล้วยหอมทอง |
15.28 |
แก้วมังกรเนื้อขาว |
13.51 |
แคนตาลูป |
18.08 |
ชมพูทับทิมจันทร์ |
10.12 |
แตงโมกินรี |
9.15 |
ทุเรียนหมอนทอง |
155.75 |
ฝรั่งกิมจู |
38.89 |
มะม่วงเขียวเสวยสุก |
67.47 |
มะละกอฮอล์แลนด์สุก |
32.25 |
สตรอเบอรี่ |
98.69 |
ส้มจีน |
19.80 |
สับปะรดศรีราชา |
17.89 |
แอปเปิ้ลฟูจิ |
7.36 |
กลุ่มข้าว ข้าวมันปู |
13.69 |
ข้าวไรซ์เบอรี่ |
25.05 |
ข้าวลืมผัว |
17.80 |
ข้าวหอมนิล |
13.38 |
กลุ่มถั่วเมล็ดแห้ง ถั่วเขียว |
186.40 |
ถั่วดำ |
230.11 |
144.2 |
|
ถั่วลิสง |
126.66 |
ถั่วลิสง |
168.89 |
กลุ่มเนื้อสัตว์ เนื้อไก่ตะโพก |
71.86 |
เนื้อไก่อก |
60.9 |
เนื้อปลาดุก |
96.5 |
เนื้อวัวสะโพก |
63.8 |
เนื้อวัวสันใน |
50.09 |
เนื้อหมูสันใน |
36.40 |
ปริมาณที่ควรได้รับจากวิตามินบี 9
สำหรับปริมาณของวิตามินบี 9 (Folic acid) ที่ควรได้รับในแต่ละวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปี ขึ้นไป โดยอ้างอิงตาม THAI RDI ระบุว่าควรได้รับในปริมาณ 200-400 ไมโครกรัม/วัน ตามช่วงอายุดังนี้
ปริมาณกรดโฟลิกที่ควรได้รับต่อวันสำหรับบุคคลทั่วไป โดยแบ่งออกตามช่วงอายุ
ช่วงอายุ |
ปริมาณที่แนะนำต่อวัน |
0-6 เดือน |
65 ไมโครกรัม |
7-12 เดือน |
80 ไมโครกรัม |
1-3 ปี |
150 ไมโครกรัม |
4-8 ปี |
200 ไมโครกรัม |
9-13 ปี |
300 ไมโครกรัม |
14-18 ปี |
400 ไมโครกรัม |
>19 ปี |
400 ไมโครกรัม |
ทั้งนี้ กรดโฟลิก (Folic acid) ที่ได้จากการสังเคราะห์มีชีวปริมาณออกฤทธิ์ (bioavallability) ที่ดีกว่าโฟเลตจากธรรมาชาติเนื่องจากร่างกายดูดซึมโฟเลตที่มี glutamy เพียงหนึ่งหมู่ได้ดีกว่า โดยมีการศึกษาพบว่าได้รับกรดโฟลิกที่ได้จากการสังเคราะห์ 100 ไมโครกรัม จะเทียบเท่ากับโฟเลตในธรรมชาติ 170 ไมโครกรัม
ประโยชน์และโทษวิตามินบี 9
โฟเลต หรือวิตามินบี 9 มีประโยชน์หลายประการ เช่น มีส่วนสำคัญที่ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย การสืบพันธุ์ ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคโลหิตจากชนิดเมกะโลบลาสติกแอนนีเมีย โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดประสาทปลายเปิด โรคมะเร็ง โรคสมองเสื่อม และป้องกันทารกในครรภ์เป็นโรคปากแหว่งเพดานโหว่ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ความผิดปกติของแขน ขา ความพิการของระบบทางเดินปัสสาวะ และโรคไม่มีรูทวารหนัก เป็นต้น
สำหรับโทษของวิตามินบี 9 นั้น ในปัจจุบันยังไม่มีรายงานแต่อย่างใด รวมถึงในการรับประทานเกินขนาด ก็มีรายงานว่าอาจมีอาการผื่นแพ้แค่เล็กน้อยเท่านั้น ส่วนในกรณีของการขาดวิตามินบี 9 หรือ โฟเลตนั้น พบว่าผู้ที่ขาดจะมีอาการเกิดโรคโลหิตจากชนิดที่เม็ดเลือดแดงมีขนาดใหญ่ขึ้น แต่มีปริมาณน้อยลง และอาจมีอาการปวดศีรษะ ท้องเดิน ขี้หงุดหงิด เหนื่อยง่าย มีกรดในกระเพาะอาหารน้อยเกินไป และความจำสั้น ส่วนสตรีมีครรภ์ที่มีภาวะขาดโฟเลต (วิตามินบี 9) เมื่อคลอดออกมาทารกจะมีภาวะผิดปกติของแขน และขา เป็นโรคหัวใจพิการ โรคปากแหว่งเพดานโหว่ รวมถึงโรคไม่มีรูทวาร เป็นต้น สำหรับสาเหตุที่ทำให้ร่างกายขาดวิตามินบี 9 (โฟเลต) มีอยู่หลายประการ เช่น ร่างกายมีความต้องการวิตามินโฟเลตสูงขึ้น เช่น ในสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ สตรีที่ให้นมบุตร และผู้ป่วยโรค โลหิตจากธัลลัสซีเมีย เป็นผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกไตต่อเนื่อง ผู้ที่ทานอาหารไม่หลากหลาย มีภาวะทุพโภชนาการ ผู้ที่ติดสุราเรื้อรัง หรือ ผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำ เพราะแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ต้านการทำงานของโฟเลต
การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องวิตามินบี 9
มีผลการศึกษาวิจัยระบบ metabolism ของวิตามินบี 9 (Folic acid) ระบุว่า โฟเลตที่อยู่ในอาหารนั้น ร่างกายจะสามารถดูดซึมได้เพียง 50% และบางส่วนเป็นโฟเลตอิสระ (free folate) ที่ร่างกายดูดซึมได้ทันที แต่ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 75 เกาะอยู่กับสารอื่น (bound folate) หรือ ในสภาพของโพลีกลูทาเมท (polyglutamates) ซึ่งร่างกายจะดูดซึมโฟเลตอิสระเข้าทางลำไส้เล็ก ส่วนที่เกาะอยู่กับสารอื่นต้องย่อยก่อนจึงดูดซึมได้ แล้วมีเอนไซม์เปลี่ยนเป็น PGA ที่ผนังลำไส้เล็กขณะที่ซึมผ่านผนังลำไส้เล็ก PGA เปลี่ยนเป็น 5 เมทิลเตตราไฮโดรโฟลเท (5-methyltetrahydrofolate) เข้าสู่เส้นเลือดใหญ่ไปสู่ตับ ประมาณ 5 มิลลิกรัม และในส่วนที่เกินจะถูกร่างกายขับถ่ายออกมาทางใด
ส่วนในร่างกายกรดโฟลิกถูกรีดิวซ์เป็นกรดเดตระไฮโดรโฟลิก (tetrapybro Folic acid) (THF.FH) เพื่อทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ สำหรับขนส่งหมู่ที่ประกอบด้วยคาร์บอนหนึ่งอะตอม เช่น เมทิล (-CH) ฟอร์มิโน (-CHO) ไอดรอกซีเมทิล (-CH-HO) เมทินิล (=CH) เมทิลิน (-CH-) ฟอร์มิโน (-CH=NH=) และการขนส่งหมู่คาร์บอนหนึ่งอะตอมพบว่าคาร์บอนจะจับที่ตำแหน่ง 5 และ10 กล่าว คือ โฟลิกจะทำหน้าที่สารประกอบแกนกลางที่สามารถเพิ่มหน่วยคาร์บอนได้อีกหนึ่งหน่วยแก่สารที่มารับ เช่น ในปฏิกิริยาการเติมหมู่เมทิล (methylation) ชีวสังเคราะห์ของเบส adenine guanine และ thymine ซึ่งเป็นองค์ประกอบของกรดนิวคลีอิก การสังเคราะห์กรดอะมีโน methionine และการเปลี่ยนกรดอะมิโนชนิดหนึ่งไปเป็นกรดอะมิโนอีกชนิดหนึ่ง เช่น serine ↔ glycine หรือ histidine ↔ glutamate เป็นต้น
นอกจากนี้กรดโฟลิกยังมีบทบาทสำคัญในการควบคุมกระบวนการสร้าง และการสลายกรดอะมิโนที่ชื่อว่า โฮโมซีสทีน (homocysteine) ที่เป็นสารที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อหลอดเลือดภายในร่างกาย ซึ่งหากร่างกายมีสารดังกล่าวคั่งสะสมในกระแสเลือดสูงเกิน 15 ไมโครโมลต่อลิตร จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าคนที่มีระดับปกติ โดยในภาวะปกติร่างกายจะอาศัยการทำงานของกรดโฟลิกเป็นตัวช่วยในกระบวนการสลายโฮโมซีสทีน เป็นซีสเตอีน (cysteine) เพื่อไม่ให้เกิดการคั่งสะสมของโฮโมซีสทีนในกระแสเลือด
ทั้งนี้มีรายงานการศึกษาวิจัยพบว่าผู้ที่มีระดับโฮโมซีสทีนในเลือดสูงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง โดยไม่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น ภาวะไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง หรือ โรคเบาหวาน จากกลไกดังกล่าวชี้ให้เห็นว่ากรดโฟลิกมีบทบาทหน้าที่สำคัญที่ควบคุมกระบวนการเผาผลาญโฮโมซีสทีนให้อยู่ในภาวะปกติ และช่วยลดการเกิดภาวะที่มีโฮโมซีสทีนเหลือคั่งค้างในเลือดสูง (homocysteinemia) และยังมีการศึกษาวิจัยในปี 2018 ที่ได้ทำการศึกษาผลของกรดโฟลิกกับโรคหลอดเลือดสมอง โดยเสริมกรดโฟลิกปริมาณ 0.8 มิลลิกรัมต่อวัน ร่วมกับการใช้ยาปกติในผู้ป่วยชายโรคหลอดเลือดสมอง เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาปกติโดยไม่ได้รับการเสริมกรดโฟลิก กลุ่มอาสาสมัครในการศึกษานี้มีจำนวนทั้งสิ้น 8,384 พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการเสริมกรดโฟลิกปริมาณ 0.8 มิลลิกรัมต่อวัน มีความสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองซ้ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ส่วนในการศึกษาทางพิษวิทยา มีผลการศึกษาวิจัยระบุว่า ไม่พบความเป็นพิษจากการได้รับกรดโฟลิกแม้ในปริมาณสูงกว่า 1 มิลลิกรัมต่อวัน และอย่างไรก็ตามเชื่อว่า หากได้รับกรดโฟลิกในปริมาณสูงเกินความต้องการอาจจะบดบังอาการ และการวินิจฉัยภาวะขาดวิตามินบี 12 และโลหิตจากชนิด pernicious anemia ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุ ซึ่งภาวะดังกล่าวอาจทำให้ระบบประสาทถูกทำลายได้
ข้อแนะนำและข้อควรปฏิบัติ
- สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร จะมีความต้องการของร่างกายเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งในการรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยกรดโฟลิค หรือ รับประทานกรดโฟลิคในรูปแบบยาเม็ดเสริมเข้าไป
- ผู้ที่รับประทานอาหารไม่หลากหลาย หรือ ผู้ที่รับประทานอาหารในปริมาณน้อย มีโอกาสเสี่ยงในการขาดวิตามินบี 9 (folic acid) ดังนั้นควรรับประทาน folic acid ในรูปแบบยาเม็ดเสริมด้วย
- folic acid ในรูปแบบยาเม็ดจะมีความไวต่อแสง และความร้อน ดังนั้นควรเก็บในภาชนะทับแสง และเก็บไว้ห่างความร้อน และความชื้น
เอกสารอ้างอิง วิตามินบี 9
- ภก.ดร.ธีรศักดิ์ โรจนธารา.โฟเลต : จากวิตามินสู่การพัฒนายา. วารสารไทยไภษัชยนิพนธ์ปีที่ 3. ฉบับ เดือน เมษายน 2549.หน้า 39-52
- ดร.วันวิสา อุดมสินประเสริฐ. โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) กับกรดโฟลิค. คุณประโยชน์ที่ไม่ควรมองข้าม. บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน. คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
- นิธิยา รัตนาปนนท์ 2551. เคมีอาหาร.ภาควิชาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการอาหารคณะอุตสาหกรรมเกษตร วิทยาเขตดอยคำ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.กรุงเทพมหานคร:โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์. 504 หน้า
- พญ.ลลิตา นรเศรษฐ์ธาดา.โรคเลือดจากจากการขาดวิตามินโฟเลต. ความรู้สู่ประชาชน.สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย
- สุปราณี แจ้งบำรุง และคณะ 2546. วิตามินบี และโฟเลต.ปริมาณสารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย.กรุงเทพมหานคร.โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้า และพัสดุ (รสพ). 116-121.
- Huo Y, Qin X, Wang J, et al. Efficacy of folic acid supplementation in stroke prevention: new insight from a meta-analysis. Int J Clin Pract. 2012;66:544-51.
- From the Centers for Disease Control and Prevention. Recommendations for use of folic acid to reduce number of spina bifida cases and other neural tube defects. JAMA. 1993;269:1236-8.
- Homocysteine Studies Collaboration. Homocysteine and risk of ischemic heart disease and stroke: a meta-analysis. JAMA 2002;288:2015–22.
- A. V. Hoffbrand. Folate absorption. J. clin. Path., 24, Suppl. (Roy. Coll. Path.), 5, 66-76.
- Clarke R, Daly L, Robinson K, et al. Hyperhomocysteinemia: an independent risk factor for vascular disease. N Engl J Med 1991;324:1149–55.
- Zhou Z, Li J, Yu Y, et al. Effect of Smoking and Folate Levels on the Efficacy of Folic Acid Therapy in Prevention of Stroke in Hypertensive Men. Stroke. 2018;49:114-120.
- Graham IM. Plasma homocysteine as a risk factor for vascular disease. JAMA 1997;277:1775–81.