น้ำมันปลา
น้ำมันปลา
ชื่อสามัญ Fish oil
ประเภทและข้อแตกต่างน้ำมันปลา
“น้ำมันปลา” (fish oil) ในที่น้ำมิได้ หมายถึง “น้ำมันตับปลา” (fish liver oil) ที่เรารู้จักกันมานานแล้ว แต่หมายถึง น้ำมันสกัดได้จากไขมันในส่วนของเนื้อปลา , หนังปลา และหางของปลาทะเลน้ำลึก โดยเฉพาะในทะเลเขตหนาว เช่น ปลาแมคเคอเรล แอนโชวี เฮอริงทูนาแมนฮาเดน และเซลมอน เป็นต้น
โดยในน้ำมันปลาจะอุดมไปด้วยกรดไขมันจำเป็น (Essential Fatty acid) ซึ่งร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นมาได้เอง กรดไขมันชนิดนี้เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (Polyunsaturatedfatty acid ; PUFA) ที่มีชื่อเรียกกว่า โอเมก้า-3 (OMEGA-3) ซึ่งกลุ่มโอเมก้า-3 นี้ ยังแบ่งออกเป็น 2 ชนิด สำคัญที่พบในน้ำมันปลา ได้แก้ กรดโดโคซะเฮกซะอิโนอิก (Docosahexaenoic acid) หรือ ดีเอชเอ (DHA) กรดไอโคซาเพนตะอิโนอกิ (Eicosapentaenoic acid) หรืออีพีเอ(EPA)
สำหรับประเภทของน้ำมันปลานั้นในปัจจุบันในปัจจุบันมีเพียงประเภทเดียวแต่หากจะมีความแตกต่างดังนั้น ก็จะมีความแตกต่างกัน แต่แหล่งของวัตถุดิบที่นำมาสกัดเป็นน้ำมันปลาเท่านั้น ซึ่งไม่ค่อยส่งผลกับปริมาณและคุณประโยชน์เท่าไหร่นัก
แหล่งที่พบและแหล่งที่มาน้ำมันปลา
ดังที่กล่าวไปแล้วนั้นว่า น้ำมันปลาสกัดมาจากไขมันเป็นส่วนของหนังปลา พุงปลา เนื้อปลา และหางของปลาทะเลน้ำลึกในทะเลเขตหนาว เช่น ปลาแซลมอน ปลาแอนโชวี ปลาแมนฮาเดน ปลาเฮอริ่ง ปลาทูนา และปลาแมคเคอเรล เป็นต้น แต่ปลาแต่ละชนิดที่กล่าวมาเมื่อนำมาสกัดเป็นน้ำมันปลา ก็มีกรดไขมันในกลุ่ม โอเมกา 3 ไม่เท่ากัน ดังตาราง
องค์ประกอบของกรดไขมันที่พบในน้ำมันจากทะเลปริมาณ (ร้อยละ) ของกรดไขมัน
น้ำมันปลา |
กรดไขมันอิ่มตัว |
|
กรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดหนึ่งพันธะคู่กลุ่ม (t)-3 |
||
Α-Linolenic acid |
EPA |
DHA |
|||
Cod liver |
18 |
51 |
0.7 |
9.0 |
9.5 |
Herring |
19 |
60 |
0.6 |
7.1 |
4.3 |
Menhaden |
34 |
32 |
1.0 |
12.7 |
8.0 |
Salmon |
24 |
40 |
1.0 |
8.0 |
11.0 |
Pilchard |
25 |
29 |
- |
17 |
9.0 |
Mackerel |
21 |
43 |
- |
11 |
11 |
Anchovy |
28 |
29 |
- |
17 |
9 |
Sardine |
24 |
34 |
- |
15 |
10 |
สำหรับการผลิต สกัดน้ำมันปลานั้นต้องเป็นปลาธรรมชาติที่ได้จากปลาที่อยู่ในแหล่งน้ำเย็น มาจากแหล่งน้ำที่สะอาดที่ไม่มีการป่นเปื้อนของโลหะหนัก เช่น ปรอทและตะกั่ว และจะต้องผลิตในรูปน้ำมันปลาบริสุทธิ์ โดยใช้น้ำปลาดิบ (crude fish oil) มาผ่านขั้นตอนต่างๆ เพื่อทำให้บริสุทธิ์ เช่น การฟอกสี (bleaching) กำจัดกลิ่น (deodorization) การแยกกรดไขมันอิ่มตัวออกด้วยกระบวนการ winterization ในรูปของเหลวข้นหรือบรรจุในแคปซูลซึ่งเป็นการผลิตสกัดในรูปแบบอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ
ปริมาณที่ควรได้รับน้ำมันปลา
สำหรับคำแนะนำการรับประทานน้ำมันปลาในคนปกตินั้น หากเป็นการบริโภค เช่น ปลาทะเลเป็นอาหาร ควรรับประทานปลาทะเล (เนื้อปลา , พุงปลา , หางปลา) ประมาณ 2 ครั้งต่อสัปดาห์หรือประมาณ 240 กรัมต่อสัปดาห์ แต่หากบริโภคน้ำมันปลาในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ควรรับประทานในปริมาณที่แพทย์หรือเภสัชกรแนะนำแต่มีอีกข้อมูลหนึ่งระบุว่าในน้ำมัน ปลาควรจะมีปริมาณกรดไขมันโอเมก้า 3 อยู่ 30% และมี EPA ที่ 18% และ DHA12% เช่น น้ำมันปลา 1 แคปซูลน้ำหนัก 1 กรัม ควรจะมี EPA 180 มิลลิกรัม และ DHA 120 มิลลิกรัม และในการใช้น้ำมันปลาในรูปแบบอาหารเสริมควร อยู่ที่ 3-5 กรัมต่อวัน และการรับประทานที่ดีที่สุด คือรับประทานพร้อมอาหาร ในขณะที่ US National Institutes of Health แนะนำให้ผู้ใหญ่ได้รับ EPA และ DHA 650 มิลลิกรัม/วัน ซึ่งเทียบเท่าน้ำมันปลา 2,000-3,000 มิลลิกรัม/วัน ส่วนองค์การอนามัยการอนามัยโลกแนะนำให้บริโภค EPA/DHA 0.3-0.5 กรัม/วัน และ alpha-linolenicacid 0.8-1.1 กรัม/วัน
ประโยชน์และโทษน้ำมันปลา
การใช้ประโยชน์น้ำมันปลามุ่งเน้นไปที่กรดไขมัน (fatty acid) ซึ่งเป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย อย่างโอเมกา 3 ที่มีความสำคัญต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย จึงเชื่อกันว่าการบริโภคน้ำมันปลาอาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพในหลายด้าน เช่น สารในกลุ่มกรดไขมัน โอเมก้า 3 ส่วนเกี่ยวข้องในการควบคุม ระบบการแข็งตัวของเลือด การหดตัวของหลอดเลือด และการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบ ซึ่งเป็นกลุ่มกล้ามเนื้อ ที่อยู่ตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกายและยังสามารถช่วยลดอาการหลอดเลือดตีบได้ โดยการช่วยทำให้ระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอร์ไรส์ในเลือดต่ำลง และมีผลต่อการควบคุมการหลั่งสารกลุ่มโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin, PG) ช่วยป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด ลดความดันโลหิต บรรเทาความรุนแรงของหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ป้องกันข้ออักเสบ และภาวะอักเสบอื่นๆ และยังช่วยป้องกันและรักษาดวงตาได้อีกด้วย สำหรับโทษของน้ำมันปลานั้นจะเกิดจากการบริโภคในปริมาณที่มากเกินไป ซึ่งจะก่อให้ผลข้างเคียง เช่น อาจเกิดอาการแพ้ในบางราย โดยจะมีอาการขึ้นผื่นคัน อาหารไม่ย่อย ท้องร่วง คลื่นไส้ โดยเฉพาะคนอ้วน นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า เมื่อเรอจะมีกลิ่นคาวปลา และเมื่อใช้ไปนานมากๆ จะมีกลิ่นคาวออกมาจากผิวหนัง
การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องน้ำมันปลา
มีผลการศึกษาวิจัยน้ำมันปลาอยู่หลายฉบับ เช่น น้ำมันปลาป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด (Ischaemic heart disease) โดยมีรายงานการศึกษาวิจัยระบุว่ากรดไขมันโอเมก้า-3 ในน้ำมันปลามีความเกี่ยวข้องกับการสร้างและรักษาสมดุลของสารกลุ่มที่เรียกว่า อีโคซานอย (Ecosanoid) ซึ่งประกอบด้วย ลิวโคทริอีน (Leukotiene) โพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) และทรอมบอกเซน (Thromboxane) ซึ่งเป็นสารที่มีลักษณะคล้ายฮอร์โมน มีหน้าที่สำคัญทางชีววิทยา ซึ่งสารจำพวกอีโคซานที่สำคัญ และมีการศึกษากันมาแล้วคือ โพรสตาแกลมนดินไอ-2 (PGI) ทรอมบอกเซนเอ-2 (TXA) และทรอมบอกเซนเอ-3 (TAX) โดย PGI และ TXA สร้างขึ้นจากกรดอะราชิโดนิค (AA) ส่วน TXA สร้างจากอีพีเอ (EPA) ซึ่งสารเหล่านี้มีบทบาทโดยตรงต่อการควบคุมการเกิดหลอดเลือดอุดตัน เม็ดเลือดและเกล็ดในร่างกายเราจะแขวนลอยอยู่อย่างอิสระในน้ำเลือด เมื่อร่างกายได้รับบาดเจ็บเกิดเป็นแผลมีเลือดออก (Bleeding) เซลล์เกล็ดเลือดจะมารวมตัวกัน (Aggregation) ที่ปากแผลและถูกประสานให้แน่นหนาด้วยร่างแหที่เรียกว่า ไฟบริน (Fibrin) เกิดเป็นก้อนแข็งที่เรียกว่า คลอท (Clot) มาอุดปากแผลที่เกิดการฉีกขาดของหลอดเลือดเอาไว้ และการที่เกล็ดเลือดมารวมตัวกันได้นั้นต้องอาศัยสารอีโคซานอยชนิด TXA ดังนั้นหากมีบาดแผลภายนอกร่างกายเกิดขึ้น การเกิดคลอทจะห้ามการสูญเสียเลือดจากบาดแผลและช่วยสมานให้บาดแผลสนิทและหายเร็วขึ้น แต่หากมีบาดแผลภายในผนังหลอดเลือดคลอทจะทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดขึ้น ทำให้มีการคั่งของเลือดเป็นผลให้มีการไหลของกระแสเลือดสะดุด ทำให้ไลโปโปรตีน LDL และคลอเลสเตอรอลมาเกาะรวมกับก้อนคลอทขวางทางเดินของกระแสเลือด และเพิ่มการอุดตันได้มากขึ้น
รักษาโรคที่เกี่ยวกับการอักเสบ
ได้มีวิเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการเสริมน้ำมันปลาในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาทอยด์จำนวน 10 งานวิจัยที่มีรูปแบบการศึกษาเป็น randomized placebo-controlled studies ด้วยวิธี meta-analysis พบว่าการเสริมน้ำมันปลาในการรักษาผู้ป่วยโรคอับเสบรูมาทอยด์เป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือน จะช่วยลดความรุนแรงของโรค และลดระยะเวลาของอาการข้อติดได้ นอกจากนี้ยังมีการรวบรวมผลการศึกษาจำนวน 13 งานวิจัยที่มีรูปแบบการศึกษาเป็น double-blind randomized trials พบว่าการเสริมน้ำมันปลาในผู้ป่วยในปริมาณ 3.1 กรัมต่อวันโดยเฉลี่ยจะช่วยลดความรุนแรงของอาการของโรคได้ ทั้งยังสามารถปรับลดขนาดของยาต้านการอักเสบกลุ่ม NSAIDs ที่ใช้ลงได้ด้วย ในขณะที่มีผลการศึกษาผลของการให้น้ำมันปลาทางหลอดเลือดดำในผู้ป่วยที่ผ่าตัดช่องท้องจำนวน 30 คน ซึ่งมีอายุระหว่าง 18-80 ปี การศึกษาเป็นแบบ double-blind randomized placebo-controlled study โดยกลุ่มควบคุม จำนวน 16 คนจะได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดดำซึ่งประกอบด้วยอิมัลชันไขมันของน้ำมันถั่วเหลือง ส่วนในกลุ่มทดลองจำนวน 14 คน จะได้รับอิมัลซันไขมันที่มีส่วนผสมของน้ำมันปลาร้อยละ 10 ของปริมาณน้ำมันทั้งหมด ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ผลโดยทำการแยกเม็ดเลือดขาวจากกลุ่มตัวอย่างทั้งสองและเปรียงเทียบปริมาณของสารในกลุ่ม leukotrienes พบว่ากลุ่มทดลองมีปริมาณ LTB มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ
รักษาโรคสะเกิดเงิน (psoriasis) การให้ EPA ในปริมาณ 1.8 กรัมต่อวันร่วมกับการรักษาด้วยยา etretinate ในขนาด 20 มิลลิกรัม ในผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ พบว่าทำให้ผู้ป่วยมีอาการของโรคดีขึ้นถึงร้อยละ 75 โดยอาการคัน บวมแดงและการเกิดสะเก็ดของผิวหนังในผู้ป่วยลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และลดระยะเวลาในการรักษาได้ถึงร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับน้ำมันปลา และการเสริมน้ำมันปลาช่วยลดขนาดของยาที่ใช้จากขนาดปกติ คือ 0.75-1 มิลลิกรัม เป็น 0.3-0.5 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวันได้ โดยให้ผลการรักษาที่ดีขึ้นด้วย
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
- ผู้ที่แพ้ปลาทะเลและอาหารทะเลไม่ควรรับประทานน้ำมันปลา
- ผู้ที่กำลังอยู่ในช่วงผ่าตัด หรือกำลังคลอดบุตรไม่ควรรับประทานน้ำมันปลาเพราะอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือดได้
- น้ำมันปลามีอันตรกริยากับยาตัวอื่น โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับยาด้านการแข็งตัวของเลือด เช่น Coumarin , aspirin , warfarin ต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้น้ำมันปลา เนื่องจากน้ำมันปลาและยาต้านการแข็งตัวของเลือดจะมีฤทธิ์ในการทำให้เลือดเหลวและอาจจะทำให้เลือดหยุดไหลได้ยาก
- การรับประทานน้ำมันปลาเป็นระยะเวลาต่อเนื่องควรรับประทานวิตามินและอาหารเสริมในกลุ่ม ต้านอนุมูลอิสระร่วมด้วย เช่น วิตามินอี วิตามินซี หรือฟลาโวนอยด์ เพื่อป้องกันกันความเสี่ยงจากรับประทานกรด EPA จากน้ำมันปลาซึ่งมีโครงสร้างเป็นไขมันไม่อิ่มตัวชนิดหลายพันธะคู่ และมีความไวต่อการทำปฏิกิริยากับออกซิเจน ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นอนุมูลอิสระจำพวก hydroxyl ion และ superoxide anion ซึ่งมีผลทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อเนื่องในการทำลายเยื่อบุเซลล์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ของเซลล์เสี่ยงต่อการเกิดเซลล์มะเร็งได้
อ้างอิงน้ำมันปลา
- ภญ.หทัยพร ศิรินามารัตนะ,ภญ.ผศ.ดร.วรางคณา วารีสน้อยเจริญ.การเสริมน้ำมันปลาในการรักษาโรคที่เกิดการอักเสบ.วารสารไทยไภษัยชยนิพนธ์ปีที่2.ฉบับเดือนกันยายน 2548.หน้า179-188
- ธนิสร์ ปทุมมานนท์.น้ำมันปลา.แหล่งที่มาของกรดไขมันที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ.คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- น้ำมันปลากับประโยชน์ต่อสุขภาพที่ควรรู้.พบแพทย์ดอทคอม(ออนไลน์).เข้าถึงได้จากhttp://www.pobpad.com
- Fortin PR, Lew RA, Liang MH , et. Validation of a meta-analysis: the effects of in rheumatois anthritis Joumal of Clinical Epidemiology 1995;48(11):1379-1390.
- Simopoulos AP.Omega-3 fatty acid in growth and development. In : Lees RS , Karel (ed) Omega-3 fatty acid in health and disease. Marcel Dekker .1990:115-116.
- Bittiner SB,Cartwright l. A doudornized, placebo-placebo-controlled trial of fish oil in psoriasis. The Lancet 1988;331:378-380.
- Vanschoonbeek, K., De Maat, M. P. M. and Heemskerk, J. W. M. 2003. Fish oil consumption and reduction of Arterial Disease. The Journal of Nurition, 133(3 ), 657-660.
- Koller M, Senkai M, Kermen M, Kemen M, et lmpact of ompact of omega-3 fatty acid enriched TPN on leukotriene synthesis by leukocytes after major surgery. Clinical Nutrition 2003;22(1):59-64.
- James MJ,Proudman SM.Dietary n-3 fats as adjunctive therapy in a prototypic inflammatory disease:issues and obstacles for use in rheumatoid arthritis. Prostaglandins Leukotrienes Essential Fatty Acids 2003:68:399-405
- Holub, B. J. 2002. Clinical nutrition : 4. Omega-3 fatty acids in cardiovasicular care. JAMC, 166(5), 608-615.
- Wardlaw GM, Lipids.Perspactives in Nutrition 4 edition USA:McGraw-Hill, 1999:120.