กีปิโนไซด์

กีปิโนไซด์

ชื่อสามัญ Gypenosides


สูตรโครงสร้างทางเคมีของสารประเภทสะโปนินบางชนิดที่พบในสมุนไพรปัญจขันธ์ส่วนเหนือดิน

โครงสร้างกิปิโนไซด์

ประเภทและข้อแตกต่างของกีปิโนไซด์

สารกลุ่มกีปิโนไซด์ (Gepenosides) เป็นสารที่ได้จากธรรมชาติซึ่งเป็นสารในกลุ่ม ไตรเทอร์ปีนซาโปนิน (triterpene saponins) และมีโครงสร้างเป็นสารประเภท dammarane-type saponins ที่คล้ายกับสาร ginsenosides ที่สามารถพบในโสม สำหรับชนิดของกลุ่มสาร กีปิโนไซด์นั้น สามารถแยกออกได้ถึง 82 ชนิด ในจำนวนนี้มี 4 ชนิด ที่มีโครงสร้างเหมือนกับสารในกลุ่มอินเซนโนไซด์ (Ginsenosides) ในโสม ได้แก่ gypenosides III, IV, XII ซึ่งมีสูตรโครงสร้าง เช่น เดียวกันกับ ginsenosides Rd1, Rb3, Rd F2 ในโสม

แหล่งที่พบและแหล่งที่มาของกีปิโนไซด์

ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า สารกลุ่มกีปิโนไซด์มีแหล่งที่มาจากธรรมชาติ ซึ่งได้แก่ ส่วนเหนือดินของปัญจขันธ์ หรือที่เรียกกันว่า เจียวกู่หลาน (gynosemma pentaphyllm (Thunb) Makino) ซึ่งสามารถพบสารดังกล่าวได้ทั้ง 2 สายพันธุ์ คือ สารพันธุ์พื้นเมือง (พันธุ์ไทย) และสายพันธุ์จีน นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีการสักสา gypensides จากปัญจขันธ์เพื่อนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่างๆ รวมถึงนำมาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่างๆ อีกด้วย

กีปิโนไซด์

ปริมาณที่ควรได้รับของกีปิโนไซด์

สำหรับปริมาณที่ควรได้รับและขนาดในการรับประทานของสาร gypenosides นั้นในปัจจุบันยังไม่มีการกำนหดขนาดและเกณฑ์ในการใช้อย่างชัดเจน แต่ในทางการแพทย์มีการใช้ สารสกัดกีปิโนไซด์ชนิดเม็ดชนาด 10 มก. มาใช้บำรุงร่างกาย และใช้เป็นยาเสริมการรักษาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน โรคความดันโลหิตสูง รวมถึงโรคมะเร็ง อีกทั้งทางองค์การเภสัชกรรมยังได้ผลิตสารสกัดปัญจขันธ์ชนิดแคปซูล 250 มิลลิกรัม (ซึ่งใน 1 แคปซูลจะมีสารกีนิโนไซด์รวมอยู่ด้วย) โดยกำหนดขนาดการใช้ 500 มิลลิกรัม/วัน โดยแบ่งเป็นครั้งละ 1 แคปซูล ก่อนอาหาร เช้า-เย็น นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิจัยถึงความปลอดภัยของกีปีโนไซด์ในสารสกัดเจียวกู่หลานพบว่าจากการศึกษาในอาสาสมัครโดยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้รับประทานสารสกัดเจียวกู่หลานแคปซูลครั้งละ 1 แคปซูล ซึ่งประกอบด้วยสาร gypenoside 40 มก./แคปซูล หลังอาหารวันละ 2 ครั้งละ 2 แคปซูล หลังอาหารวันละ 2 ครั้ง (เช้า-เย็น) นาน 2 เดือน พบว่าจากการศึกษาไม่พบอาการผิดปกติใดๆ ในอาสาสมัคร ทั้ง 2 กลุ่ม

ประโยชน์และโทษของกีปิโนไซด์

ในปัจจุบันมีการนำสารกีปิโนไซด์ (Gypenodises) มาใช้ประโยชน์กันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในทางการแพทย์ กล่าวคือ มีการนำสารดังกล่าวมาใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยจะช่วยในด้านลดระดับไขมันในเลือด (เพิ่มค่า HDL) ลดน้ำตาลในเลือด เสริมระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ต้านการอักเสบ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอก แก้ปวด รักษาแผลกระเพาะอาหาร และยับยั้งการเกาะตัวกันของเกล็ดเลือด ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยให้นอนหลับ และยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งบางชนิดได้อีกด้วย
         นอกจากนี้ยังมีการนำสารกีปิโนไซด์มาใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางต่างๆ โดยเชื่อว่าฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระของสารดังกล่าวจะช่วยให้ผิวดูกระจ่างลดเรือนริ้วรอย ทำให้ผิวหนังเต่งตึงลดความเหี่ยวย่น ลงได้

การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกีปิโนไซด์

มีผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสารกีปิโนไซด์ในด้านต่างๆ มากมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดังนี้
           มีรายกงานการศึกษากลวิธานการออกฤทธิ์ต้านการอักเสบ และการบำบัดโรคหลอดเลือดและหัวของสาร gypenoside XLIX และ gynosaponin TR1 ที่แยกได้จากปัญจขันธ์ พบว่าออกฤทธิ์โดยกระตุ้น PPAR-α (Peroxusome proliferator-activated receptor-α) และ LXR-α (Liver X receptor-α) ส่วนผลการศึกษาวิจัยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาก็มีหลายฉบับอาทิ เช่น
           ฤทธิ์ลดความบกพร่อง ในการเรียนรู้ของหนูเม้าส์ มีผลการศึกษาผลของสาร gypenoside LXXIV จากปัญจขันธ์ในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้บก พร่องในการเรียนรู้และความจำด้วยสาร scopolamine โดยป้อนในขนาด 5, 10, 20 และ 40 มก./กก. แล้วทดสอบด้วยวีธี Passive-avoidance และที่ขนาด 20 มก./กก. เมื่อทดสอบด้วยวีธี Morris water maze test พบว่าสาร gypenoside LXXIV มีผลเพิ่มการเรียนรู้และความจำของหนูได้
           ฤทธิ์เพิ่มภูมิต้านทางในร่างกาย มีผลการศึกษาสารสกัด gypenoside จากเจียวกู่หลานเมื่อให้หนูกินขนาด 400 มก./กก./วัน นาน 5 วัน สามารถป้องกันการสลายของเซลล์เม็ดเลือดแดงได้ ส่วนในหนูที่เป็นมะเร็งชนิด Sarcome 180 และได้รับการรักษาด้วย dexamethasone ขนาด 10 มก./กก. โดยฉีดเข้าทางชั้นใต้ผิวหนังนาน 5 วัน และให้ได้รับ gypenoside ขนาด 400 มก./กก. หรือ 150-300 มก./กก. นาน 12 และ 15 วันตามลำดับ พบว่าสารสกัด gypenoside สามารถเพิ่มการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของหนูและต้านการเกิดมะเร็งได้
           ฤทธิ์ต้านมะเร็งมดลูก มีรายงานการศึกษาพบว่า สาร Gypenoside จากเจียวกู่หลาน เมื่อนำมาทดสอบกับเซลล์มะเร็งปากมดลูกของคนพบว่าสามารถต้านการทำงานของ N-acetyltransferase (NAT) ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้เกิดเซลล์มะเร็งที่ปากมดลูกได้
           อีกทั้งยังมีการศึกษาผลของสารสกัดจากปัญจขันธ์ต่อการเรียนรู้และการจดจำของหนูเมาส์ โดยหนูเม้าส์จะถูกทำให้ประสิทธิภาพของการเรียนรู้และการจดจำลดลง โดยการฉีด scopolamine ขนาด 0.9 มก./กก. เข้าทางช่องท้องของหนู หลังจากนั้นจึงป้อนสาร Gypenoside TN-2 ที่ได้จากปัญจขันธ์ให้แก่หนูเม้าส์ ซึ่งได้ทำการแยกสารออกฤทธิ์บริสุทธิ์ด้วยกระบวนการ activity-guided fractionation ในขนาด 10, 20 และ 40 มก./กก. แล้วจึงมีการทดสอบประสิทธิภาพในการเรียนรู้และจดจำ ได้แก่ทดสอบความจำระยะสั้นจากการสำรวจช่องกล (วิธี Y-maze), ทดสอบการเก็บรักษาความจำจากการหลบเลี่ยงอันตราย (วิธี passive avoidance task) และทดสอบความจำระยะยาวจากการค้นหาแท่นพักในน้ำ (วิธี Morris water maze) ซึ่งพบว่าสาร Gypenoside TN-2 เพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้และการจดจำทั้งความจำระยะสั้น การเก็บรักษาความจำ และความจำระยะยาวได้ โดยสาร Gypenoside TN-2 สามารถจะกระตุ้นการทำงานของ transcription factor CREB และเพิ่มปริมาณ brain-derived neurotrophic factor (BDNF) ซึ่งเป็นโปรตีนที่จำเป็นต่อการทำหน้าที่และการอยู่รอดของเซลล์ประสาท
           มีผลการศึกษาวิจัยว่าเมื่อป้องส่วนสกัดซาโปนินของเจียวกู่หลาน ขนาด 0.5 มก./กก. ให้กับหนูขาวทางสายยางให้อาหาร พบว่าสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ นอกจากนี้สาร phanoside (21,23-epoxy3β-20-21-tnihydroxydammae-24-ene-3-O-([α-D-rhamnopyranosyl(1→2)]-[β-D-glycopyranosyl(1→3)]-[β-D-lyxopyranoside)) เมื่อป้อนให้หนูขาวกินในขนาด 40 และ 80 มก./มล. พบว่าสามารถกระตุ้นการหลั่งอินซูลินในตับอ่อนของหนูได้มากกว่ายาแผนปัจจุบัน glibenclamide (ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด)
           ผลต่อสมอง มีการศึกษาวิจัยสารสกัด Gypenoside จากเจียวกู่หลาน โดยนำมาทดสอบในกระต่าย ซึ่งจะแบ่งกระต่ายออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุม กลุ่มที่ 2 กลุ่ม ที่กระต่ายที่ทำให้กระต่ายได้รับบาดเจ็บที่สมองโดยมีเลือดออก และความดันโลหิตต่ำนาน 1 ชม. ทำให้ขาดเลือดมาเลี้ยงสมอง กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่กระต่ายได้รับบาดเจ็บ เช่น เดียวกับกลุ่มที่ 2 แต่ได้รับสารสกัด Gypenoside 50 มก./กก. โดยฉีดอย่างช้าๆ เข้าทางหลอดเลือดดำก่อนที่จะเหนี่ยวนำให้ได้รับบาดเจ็บที่สมอง ในขณะที่กลุ่มที่ 2 ให้ฉีดน้ำเกลือ (normal saline) เข้าทางหลอดเลือดดำในปริมาตรที่เท่ากัน พบว่าในกลุ่มทีได้รับสาร Gypenoside ไปยับยั้งการเพิ่มขึ้นของ lactate dehydrogenase (LDH) และกระตุ้นการหลั่ง creatinine phosphokinase ในสมองเพิ่มขึ้น จึงทำให้สาร Gypenoside สามารถป้องกันการขาดเลือดมาเลี้ยงสมองอย่างเฉียบพลันได้
นอกจากนี้ยังมีรายงานการศึกษาความเป็นพิษของ Gypenoside ดังนี้
            มีการทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันของสารสกัดน้ำจากส่วนเหนือดินของปัญจขันธ์  ซึ่งมีสาร gypenosides ประกอบอยู่ 6% โดยป้อนสารสกัด ขนาด 5,000 มก./กก. เพียงครั้งเดียวแก่หนูแรท เปรียบเทียบผลกับหนูกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับสารสกัด พบว่าสารสกัดไม่ทำให้หนูตาย หรือเกิดอาการพิษใดๆ และไม่พบความผิดปกติของอวัยวะภายใน ส่วนการทดสอบความเป็นพิษกึ่งเรื้อรัง โดยแบ่งหนูเป็นกลุ่มที่ป้อนสารสกัด ขนาด 1,000 มก./กก./วัน เป็นเวลา 90 วัน (treatment group) กลุ่มที่ป้อนสารสกัด ขนาด 1,000 มก./กก./วัน เป็นเวลา 90 วัน แล้วถูกเลี้ยงต่อไปโดยไม่ได้รับสารสกัดอีก 28 วัน (satellite group) และกลุ่มควบคุม พบว่าในทุกกลุ่มไม่มีหนูตาย หรือเกิดอาการพิษ น้ำหนักตัว น้ำหนักและลักษณะของอวัยวะภายในของหนูที่ได้รับสารสกัด ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม และในหนูเพศเมียพบว่ากลุ่ม treatment จะมีเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิล (neutrophil) และโมโนไซท์ (monocyte) เพิ่มขึ้น ส่วนในกลุ่ม satellite จะมีปริมาณของฮีโมโกลบิน และฮีมาโทคริตสูงกว่ากลุ่มควบคุม สำหรับในหนูเพศผู้พบว่ากลุ่ม treatment จะมีระดับของเอนไซม์ alkaline phosphatase สูงกว่ากลุ่มควบคุม ขณะที่ในกลุ่ม satellite จะมีระดับของกลูโคสต่ำกว่ากลุ่มควบคุม แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในช่วงของหนูปกติ

โครงสร้างกิปิไซด์ 

ข้อแนะนำและข้อควรปฏิบัติกีปิโนไซด์

ถึงแม้ว่าจะมีการศึกษาและทดสอบ ความเป็นพิษของสารกีปิโนไซด์ที่มีอยู่ในปัญจขันธ์รวมถึงสารสกัดกีปีโนไซด์จากปัญจขันธ์ว่ามีความปลอดภัยค่อนข้างสูง แต่อย่างไรก็ตามในการใช้สารสกัดดังกล่าว ก็ควรระมัดระวังในการใช้ เช่นเดียวกันกับการใช้สารสกัดจากสมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยควรใข้ในปริมาณที่เหมาะสมรวมถึงไม่ควรใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไป อาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ สำหรับเด็ก สตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร ไม่ควรใช้สารสกัดดังกล่าวเพราะยังไม่มีผลการศึกษาใดรองรับ ส่วนผู้ป่วยโรคเรื้อรังหรือผู้ที่ต้องรับประทานยาต่อเนื่องเป็นประจำ ก่อนใช้สารสกัดดังกล่าว ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้เสมอ

เอกสารอ้างอิงกีปิโนโซด์

⦁ พนิดา ใหญ่ธรรมสาร. 2549. เจียวกู่หลาน (ปัญจขันธ์). จุลสาร ข้อมูลสมุนไพร 23:2-9.
⦁ วิชญา ศรีสุข.ผลผลิตและสารสำคัญของปัญจขันธ์ 3 พันธุ์ ที่ปลูในพื้นที่สูงจังหวัดเลย.วารสารแก่นเกษตรปีที่ 41.ฉบับพิเศษ 1. 2556. หน้า 269-272
⦁ การทดสอบความเป็นพิษของสารสกัดมาตรฐานปัญจขันธ์. ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร.สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
⦁ วารุณี จิราวัฒนาพงค์.และคณะ. คุณภาพทางเคมีของสมุนไพรปัญจขันธ์สายพันธุ์ไทยและสายพันธุ์ในประเทศไทย. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 6. ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2557.หน้า 158-165
⦁  เอมมนัส อัตตวิชญ์, ทรงพล ชีวะพัฒน์, ทรงพล ผดุงพัฒน์,จารีย์ บันสิทธิ์, เย็นจิตร เตชะดำรงสิน, และคณะ. Chronic toxicity of Gynostemma pentaphyllum. Fitoterapia 2004;75:539-51.
⦁ เย็นจิตร เดชะดำรงสิน ธิดารัตน์ บุญรอด จารีย์ ยันสิทธิ วารุณี จิรวัฒนาพงศ์ ประไพ วงศ์สินคงมั่น ดวงเพ็ญ ปัทมดิลก และจิรานุช มิ่งเมือง ปราณี ชวลิตธำรง คุณภาพทางเคมีของปัญจขันธ์สมุนไพรน่ารู้ ปัญจขันธ์ พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพ:โรงพิมพ์กรมการศาสนา 2548 หน้า 45-82.
⦁ ผลของสาร gypenoside LXXIV จากปัญจขันธ์ต่อความบกพร่องในการเรียนรู้ของหนูเมาส์.ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร.สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
⦁ นฤมล มงคลชัยภักดิ์ และคณะ.การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชของปัญจขันธ์และสาระสำคัญ. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกปีที่ 4.ฉบับที่ 1ตุลาคม 2548-มกราคม 2549.หน้า 79-95
⦁ Norberg A,Hoas NK.Liepinsh E.et al. A novel insulin-releasing substance. Phanoside from the plant Gynostemma [entaphyllum. J Biol Chem 2004;279:41361-7.
⦁ Huang TH-W, Tran VH, Roufogalis BD, Li Y. Gypenoside XLIX, a naturally occurring gynosaponin, PPAR-alpha dependently inhibits LPs induced tissue factor expression and activity in human THP-1 monocytic cells. Toxicol Appl Pharmacal 2007;218:30-6.
⦁ Chiu TH. Chen JC. Chung JG N-acetyttransferase is involved in gypenosides-induced N-acetylation of 2-aminofluorene and DNA adduct formation in human cervix epidermoid carcinoma cells (Ca Ski) In Vivo 2003;17(3):281-8.
⦁ Li L , JiaoL , Lau BH. Protective effect of gypenosides against oxidative stress in phagocytes , vascular endothelial cells and liver microsomes. Cancer Biother. 1993 ; 8 (3) : 263 - 272.
⦁ Wang Z.Qiu P.Protective effect of gypenosides on acute incomplete cerebral ischemia in rabbits. Zhongguo Yaollxue Yu Dulixue Zazhi 1992;6(3):204-6.
⦁ Yin F, Hu L, Lou F, Pan R. Dammarane-type glycosides from Gynostemma pentaphyllum. J Nat Prod 2004;67:942-52.
⦁ Qian B Zang X. Chen J et al. Influence of gypenosides on immunological function in rodents.Zhongguo Yaolixue Yu Dulixue Zazhi 1986;1(1)53-6.
⦁ Huang TH-W, Razmovski-Naumovski V, Salam NK, Duke RK, Tran VH, Duke CC, et a/. A novel LXR-<1 activator identified from the natural product Gynostemma pentaphyllum. Biochem Pharmacal 2005;70:1298-308.