Corilagin

Corilagin

ชื่อสามัญ Corilagin, B-1-O-galloy 1-3,6-(R)-hexahydroxydiphenoyl-d-glucose

ประเภทและข้อแตกต่างของสาร Corilagin

สารคอริลาจิน (Corilagin) จัดเป็นสารประกอบฟินอลิกชนิดหนึ่งหรือ เป็น ellagitannin ที่มีกลุ่ม hexahydroxydiphenoyl เชื่อมระหว่าง 3-O และ 6-O ของแกนกลูโคส ซึ่งถูกแยกได้ในครั้งแรกในปี ค.ศ.1951 โดยสารคอริลาจินมีสูตรทางเคมี คือ C27H22O18 มีมวลโมเลกุล 634.45 g/mol และสามารถพบสารดังกล่าวได้ในพืชธรรมชาติ สำหรับประเภทของสารคอริลาจินนั้น จากการศึกษาวิจัยพบว่ามีเพียงประเภทเดียว นอกจากนี้ในปัจจุบันยังเริ่มมีการนำสารดังกล่าวมาใช้ประโยชน์กันอย่างแพร่หลายอีกด้วย

แหล่งที่พบและแหล่งที่มาของสาร Corilagin

ดังที่กล่าวไปข้างต้นแล้วว่า สารคอริลาจิน (Corilagin) เป็นสาร ellagitannin ที่สามารถพบได้ในพืชธรรมชาติหลายชนิด อาทิเช่น ลูกใต้ใบ (phyllanthus amarus) เอื้องเพ็ดม้า (polygonum Chinese Linn) รวมถึงส่วนของเปลือก เนื้อ ของเมล็ดลำไย (Dimocarous longan Lour.) ซึ่งปริมาณสาร Corilagin ที่พบในเนื้อ เปลือก เมล็ด และแต่ละสายพันธุ์ลำไยจะต่างกันไป รวมถึงสภาพของดิน ฟ้า อากาศ ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ปริมาณของสารดังกล่าวแตกต่างกันไปอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิจัยฉบับหนึ่ง โดยทำการศึกษาเปรียบเทียบปริมาณของสารสกัดน้ำจากส่วนต่างๆ ของเมล็ดลำไยอบแห้ง พบว่าส่วนของเปลือกเมล็ดจะให้ปริมาณของสารสกัดน้ำมากที่สุด อย่างไรก็ดี หากพิจารณาจากความสะดวกในการเตรียมวัตถุดิบ ซึ่งได้แก่เมล็ดลำไยอบแห้งทั้งเมล็ดพบว่า เมล็ดลำไยอบแห้งพันธุ์อีดอ ให้ปริมาณสารสกัดน้ำมากที่สุด คือ 7.75% ของน้ำหนักผงแห้ง เปรียบเทียบกับพันธุ์ชมพูและเบี้ยวเขียว ที่ให้สารสกัดน้ำ 5.39% และ 6.30% ตามลำดับ

แสดงการเปรียบเทียบปริมาณของสารสกัดน้ำจากเมล็ดลำไยอบแห้ง 3 สายพันธุ์

 สายพันธุ์ น้ำหนักสารสกัดต่อน้ำหนักผงแห้ง (%)
ทั้งเมล็ดอบแห้ง เนื้อในเม็ด เปลือกเมล็ด
ชมพู 5.39 8.23 10.11
เบี้ยวเขียว 6.30 9.60 15.59
อีดอ 7.75 6.11 9.16

           และเมื่อศึกษาเปรียบเทียบปริมาณของสาระสำคัญในกลุ่ม polyphynolic compounds 3 ชนิด คือ gallic acid, Corilagin และ ellagic acid สูงที่สุด และพบมากที่สุดจากส่วนของเนื้อในเมล็ด

แสดงปริมาณสาระสำคัญ gallic acid, coraligin และ ellagic acid ในสารสกัดน้ำแต่ละส่วนของเมล็ดลำไยอบแห้ง 3 สายพันธุ์

สารสกัดน้ำ ปริมาณสารสำคัญ (mg/g DW)
Gallic acid corilagin Ellagic acid
เมล็ดลำไยอบแห้งพันธุ์ชมพู      
ชมพู-ทั้งเมล็ด         2.2223+- 0.0582 15.9598+-0.2280 0.7408+-0.0937
ชมพู-เปลือกเมล็ด                 8.0577+-0.4830 16.5718+-1.1206 3.1462+-0.2882
ชมพู-เปลือกเมล็ด                 3.5374+-0.1265 10.4104+-0.4313 1.2936+-0.1165
เมล็ดลำไยอบแห้งพันธุ์เบี้ยวเขียว      
เบี้ยวเขียว-ทั้งเมล็ด 6.0297+-0.0516 20.7415+-0.2272 2.1964+-0.0359
เบี้ยวเขียว-เนื้อในเมล็ด 10.7175+-0.2042 22.2628+-0.7169 4.3484+-0.3539
เบี้ยวเขียว-เปลือกเมล็ด 4.1031+-0.2488 9.9532+-0.8022 0.9856+-0.1674
เมล็ดลำไยอบแห้งพันธุ์อีดอ      
อีดอ-ทั้งเมล็ด 12.4712+-0.3856 30.4067+-0.9872 4.7284+-0.1775
อีดอ-เนื้อในเมล็ด 13.1872+-0.6131 30.9336+-1.5529 5.0508+-0.3944

 

 corilagin

corilagin

ปริมาณที่ควรได้รับจากสาร Corilagin

สำหรับขนาดและปริมาณของสารคอร์ริลาจิน (Corilagin) ที่สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยต่อวันนั้น ในปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดเกณฑ์หรือขนาดและปริมาณการใช้อย่างชัดเจน เนื่องจากการใช้ประโยชน์ในปัจจุบันไม่นิยมใช้เป็นสารเดียวแต่ส่วนใหญ่จะเป็นการใช้ในรูปแบบของสารสกัดเมล็ดลำไย (longan seed extract) ซึ่งมีสารออกฤทธิ์ถึง 3 ชนิด คือ ellagic acid, gallic acid และ corilagin ซึ่งการใช้ในรูปแบบดังกล่าว จะมีการนำสารคอร์ริลาจิน มาเป็นส่วนประกอบและส่วนผสม ในขนาดและปริมาณที่แตกต่างกันไปตามประเภทของการใช้ เช่น การใช้ในอุตสาหกรรม เครื่องสำอาง อุตสาหกรรมยา รวมถึงผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ เป็นต้น

ประโยชน์และโทษจากสาร Corilagin

ในปัจจุบันมีการนำสารคอริลาจิน (corilagin) มาใช้ประโยชน์ต่างๆ หลายประเภท อาทิเช่น ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เช่น ครีมทาผิว ครีมทาหน้า ครีมกันแดด เนื่องจากสามารถยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส ที่เป็นสาเหตุให้สีผิวหมองคล้ำ และยังช่วยลดเลือนริ้วรอย ช่วยชะลอวัย ป้องกันแดด ทำให้ผิดเต่งตึงได้ เป็นต้น หรือนำมาใช้ในอุตสาหกรรมยา และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เช่น ใช้เป็นส่วนประกอบของยาต้านมะเร็ง ยาต้านการอักเสบ หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ช่วยป้องกันการเสื่อมสลายของเอนไซม์ที่สลายกระดูกอ่อน ใช้เป็นยานวดกล้ามเนื้อและข้อเข่า ป้องกันและยืดอายุกระดูกอ่อน ยับยั้งเอนไซม์ prommp-2 และ prommp-9 รวมถึงใช้รักษาอาการข้อเข่าเสื่อม ได้อีกด้วย

การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องของสาร Corilagin

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยของสารคอริลาจินเกี่ยวกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ดังนี้

           ฤทธิ์ระงับอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง มีการศึกษาฤทธิ์ระงับอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังของลูกใต้ใบ (Phyllanthus amarus ) โดยทดลองฉีด carrageenan เข้าบริเวณกล้ามเนื้อน่องของหนูแรทเพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบและบวมของกล้ามเนื้อแบบเรื้อรัง จากนั้น 2 สัปดาห์ ทำการฉีดสารสกัดชนิดต่างๆ จากลูกใต้ใบซึ่งอุดมไปด้วยสารสำคัญกลุ่ม lignin และ tannin ได้แก่ สารสักดน้ำจากลำต้น, สารสกัดเมทานอลจากใบ (ประกอบด้วยสารสำคัญ phyllanthi และ hypophyllanthin มากกว่า 25%) และสารสกัดน้ำ-เมทานอลจากใบ (ประกอบด้วยสารสำคัญ corilagin มากกว่า 5%) ขนาด 100, 200 และ 400 มก./กก. น้ำหนักตัวเข้าทางช่องท้องของหนู (วันละ 2 ครั้ง ทุก 12 ชั่วโมง) นาน 7 วัน ผลจากการทดสอบพฤติกรรมการตอบสนองต่อความเจ็บปวดกล้ามเนื้อของหนูแรทพบว่า สารสกัดลูกใต้ใบทุกชนิดและทุกขนาดมีฤทธิ์ยับยั้งอาการปวดกล้ามเนื้อได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม โดยสารสกัดลูกใต้ใบขนาด 200 และ 400 มก./กก. ให้ผลใกล้เคียงกับยาแก้ปวด aceclofenac นอกจากนี้ ยังพบว่าสารสกัดลูกใต้ใบมีผลยับยั้งฮอร์โมน prostaglandin E-2 ในกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดถึงการอักเสบและอาการปวดได้อีกด้วย

           นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิจัยสาร Corilagin (β-1-0-galloyl-3,6-(R)-hexahydroxydiphenoyl-D-glucose) ซึ่งเป็นสาร Tannin ที่แยกได้จากต้นลูกใต้ใบ เพื่อที่จะประเมินฤทธิ์ต้านความเจ็บปวดอย่างแรงของสาร Carilagin ในหนูทดลองที่เกิดความเจ็บปวดจากสารเคมีและความร้อน โดยแยกสาร Corilagin จากต้นลูกใต้ใบด้วยเทคนิคโครมาโตกราฟฟี ทำการทดสอบฤทธิ์ต้านความเจ็บปวดในหนูทดลองด้วยการทดสอบ Writhing Test คือการฉีดกรดอะซิติกเข้าช่องท้องเพื่อให้เกิดอาการเจ็บปวดและสังเกตการหดตัวของช่องท้อง (Abdominal Constrictions) และการทดสอบฤทธิ์ระงับปวดที่สัมพันธ์กับการอักเสบ (Inflammatory Analgesia) จากการฉีด Formalin, Capsaicin, และ Glutamate บริเวณด้านหลังเท้าแล้วสังเกตพฤติกรรมการยกเท้าขึ้นเลียของหนูหลังฉีดสารดังกล่าว และการทดลองด้วย Hot Plate Tests (ความสามารถในการทนอยู่บนแท่นร้อน) ผลการทดลองพบว่า การให้ Corilagin ในการทำ Writhing test ในแบบจำลองภาวะปวดด้วย Acetic Acid ได้ค่า ID50 (ขนาดที่ลดอาการปวดได้ร้อยละ 50) เป็น 6.46 (3.09-13.51) ไมโครโมล/กิโลกรัม ประมาณ 20.6 เท่าใน Acetylsalicylic Acid และยังแสดงผลฤทธิ์ต้านความเจ็บปวดด้วย Formalin Test ได้ค่า ID50 เป็น 18.38 (15.15-22.59) ไมโครโมล/กิโลกรัม ใน Capsaicin และ Glutamate Test ที่ 3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม จากผลการทดลองจึงสรุปได้ว่า Corilagin มีฤทธิ์ต้านความเจ็บปวดโดยอาจจะมีผลผ่านการกระตุ้น Glutamatergic System

         ฤทธิ์ต้านมะเร็ง มีการวิจัยพบว่าสารสกัดแยกส่วน (fraction) จากเมล็ดแห้งหรือเนื้อลำไยแห้ง ที่มีสารออกฤทธิ์ในกลุ่ม โพลีฟีนอล ได้แก่ gallic acid, ellagic acid และ corilagin มีฤทธิ์เหนี่ยวนำให้เกิดการตายแบบ apoptosis ของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ RKO-2, DLD-1, HT-15, SW-48 และ HCG และสารสกัดแยกส่วน (fraction) จากเมล็ด มีฤทธิ์ ยับยั้งการสร้างหลอดเลือดใหม่ ยับยั้งการเจริญเติบโตและ ยับยั้งการลุกลามของเซลล์มะเร็ง ไปยังเซลล์ข้างเคียง โดยเมื่อทดสอบกับเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ S-w480 สารสกัดยังมีผลยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ matrix metallo-proteinases-2 และ -9 ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการบุกรุกและการแพร่กระจายของมะเร็ง การทดลองในหนูที่เหนี่ยวนำให้เป็นมะเร็งลำไส้ด้วยสาร dimethylhydrazine ซึ่งพบว่าสารสกัดแยกส่วนจากเนื้อลำไยและเมล็ดมีฤทธิ์ ป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ ส่วนสารสกัดจากเปลือกผลซึ่งมีสารสำคัญ ได้แก่ gallic acid, ellagic acid และ corilagin สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งกระเพาะอาหาร SGC-7901 และเซลล์มะเร็งปอด A-549 ได้ แต่ไม่มีผลกับเซลล์มะเร็งตับ HepG2

           ส่วนในการศึกษาวิจัยในต่างประเทศมีรายงานระบุว่า corilagin ยับยั้งการปล่อย tumor necrosis factor-α (TNF-α) จากเซลล์มะเร็ง ซึ่ง TNF-α จะกระตุ้นการเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็งในระยะแรก ซึ่งสารคอริลาจินยังมีฤทธิ์ยับยั้งมะเร็งแต่ละชนิด ดังนี้

           มะเร็งเต้านม มีงานวิจัยระบุว่าคอริลาจินสามารถป้องกันการเจริญเติบโตของมะเร็งเต้านมได้ผ่านกระบวนการอะพอพโทซิสและ autophagy ที่อาศัย ROS ดังนั้น corilagin จึงสามารถ ต้านมะเร็งเต้านมได้ corilagin ลดการแสดงออกของโปรตีน E3 ubiquitin ligase RING8 (RNF8) ซึ่งช่วยส่งผลให้ทำให้เกิดการตายของเซลล์ในท้ายที่สุด นอกจากนี้ corilagin ร่วมกับยา cisplatin ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเคมีบำบัดในการต้านมะเร็งของ cisplatin ในหลอดทดลองและร่างกาย

           ฤทธิ์แก้ท้องเสีย  มีการศึกษาฤทธิ์แก้ท้องเสียของเอื้องเพ็ดม้า (Polygonum chinense  Linn.) ในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้ท้องเสียด้วยน้ำมันละหุ่ง และแมกนีเซียม ซัลเฟต พบว่าสารสกัด 75% เอทานอลจากส่วนเหนือดินขนาด 1.117, 2.355 และ 4.710 ก./กก. มีฤทธิ์แก้ท้องเสียในหนูได้ เมื่อนำสารสกัด 75% เอทานอลมาทำการแยกและทดสอบฤทธิ์ พบว่าส่วนสกัดที่มีฤทธิ์แก้ท้องเสีย ได้แก่ ส่วนสกัดเอ็น-บิวทานอล ขนาด 462 มก./กก. และส่วนสกัดน้ำ ขนาด 1,159 มก./กก. ซึ่งเมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี พบว่าสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ในส่วนสกัดทั้งสองคือ กรดแอลลาจิก (ellagic acid) และสารคอริลาจิน (corilagin)

           ฤทธิ์ต้านเชื้อรา  มีการทดสอบฤทธิ์ในการต้านเชื้อราและยีสต์ของการสกัดจากลำไย 2 สายพันธุ์ ได้แก่ สารสกัดจากเมล็ดลำไยพันธุ์ใบดำและสารสกัดจากเมล็ด เนื้อ และลำไยทั้งผลพันธุ์อีดอ เปรียบเทียบกับสารโพลีฟีนอลิก ที่พบในลำไย ได้แก่ กรด gallic กรด ellagic และ corilagin พบว่าสารสกัดจากเมล็ดลำไยทั้ง 2 พันธุ์ มีฤทธิ์ต้านยีสต์ Candida หลายชนิดและเชื้อรา Cryptococcus neoformans ขณะที่สารสกัดจากเนื้อและลำไยทั้งผลไม่มีฤทธิ์ กรด ellagic มีฤทธิ์แรงที่สุดในการต้านเชื้อราตามด้วย corilagin และกรด gallic ตามลำดับ กรด ellagic สามารถต้านเชื้อ Candida palapsilosis และ Cryptococcus neoformans ได้ดีกว่าเชื้อ C.krusei และ C.albicans บางสายพันธุ์ สารสกัดจากเมล็ดลำไยใบดำ มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อราแรงกว่า และมีปริมาณของกรด ellagic และกรด gallic สูงกว่าพันธุ์อีดอ นอกจากนี้ยังพบว่าสาร corilagin และกรด gallic มีฤทธิ์อ่อนจนถึงปานกลางในการต้านเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus และ Streptococcus mutans นอกจากนี้ยังมีรายงานการศึกษาวิจัย อื่นๆ ระบุอีกว่า สารสกัดจากเมล็ดลำไย สาร gallic acic, corilagin และ ellagic acid ที่แยกได้จากเมล็ด มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ xanthine oxidase ลดระดับของกรดยูริกในเซลล์ตับ (clone-9 cells) และลดระดับของกรดยูริกในเลือดของหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะกรดยูริกในเลือดสูงได้ อีกทั้งสารคอริลาจินจากเมล็ดลำไยจะมีอนุมูลอิสระที่ดีกว่าส่วนที่เป็น เนื้อลำไย

โครงสร้าง corilagin

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

ถึงแม้ว่าจะมีการศึกษาทางเภสัชวิทยาระบุว่าสารคอริลาจิน มีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายๆ ประการ แต่ทั้งนี้ในปัจจุบันก็ยังไม่มีการกำหนดขนาด และปริมาณ ในการใช้อย่างชัดเจน ดังนั้น ในการใช้ก็ควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกันกับการใช้สารธรรมชาติชนิดอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เป็นสารเดียวหรือใช้เป็นสารผสม กับสารชนิดอื่นๆ ส่วนการใช้ในรูปแบบการบริโภคส่วนเนื้อของลำไยเพื่อให้ได้สารคอริลาจินควรระมัดระวังในการบริโภคด้วยเช่นกัน เพราะเนื้อลำไยมีรสหวาน ซึ่งอาจทำให้น้ำตาลในเลือดสูงได้

เอกสารอ้างอิง คอริลาจิน
  1. อรัญญา ศรีบุศราคัม.ลำไย...คุณค่าที่มากกว่าความหวาน.บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  2. ฤทธิ์ต้านเชื้อราของสารสกัดจากเมล็ดลำไย. ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  3. ดร.เพียงเพ็ญ ธิโสดา. ฤทธิ์ของสารสกัดเมล็ดลำไยต่อการทำงานของเกล็ดเลือด. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  4. ฤทธิ์แก้ท้องเสียของเอื้องเพ็ดม้า. ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวอทยาลัยมหิดล
  5. สุกัญญา เขียวสะอาด, อัศวิน ดาดูเคล, อาทิตย์ ยาวุฑฒิ, พิสิษฐ์ วิมลธนสิทธิ์.วิธีการและสภาวะที่เหมาะสมของสารสกัดการต้านอนุมูลอิสระในเมล็ดลำไย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 28. ฉบับที่ 11 พฤศจิกายน 2563. หน้า 2053-2063
  6. ฤทธิ์ระงับอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังของลูกใต้ใบ. ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  7. วิริยา นิตย์ธีรานนท์, จตุพร อรุณกมลศรี. ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของเมล็ดลำไยเถาและการนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์แยมลำไยเถา. วารสารวิทยาศาสตร์ มข. ปีที่ 46. ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2561. หน้า 219-227.
  8. ฤทธิ์ต้านความเจ็บปวดอย่างแรงของสาร Corilagin สาร tannin ที่แยกได้จากลูกใต้ใบ. ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  9. Soong, Y.Y. and Barlow, P.J. (2005). Isolation and structure elucidation of phenolic compounds from longan (Dimocarpus longan Lour.) seed by high-performance liquid chromatography-electrospray ionization mass spectrometry. J Chromatogr A. 1085: 270-277.
  10. Qiu F. , Liu L. , Lin Y. , Yang Z. , Qiu F. Corilagin ยับยั้งมะเร็งเซลล์ squamous ของหลอดอาหารโดยการกระตุ้นความเสียหายของ DNA และการควบคุม RNF8 ที่ลดลง ยาต้านมะเร็ง Med. เคมี. 2019; 19
  11. Rangkadilok, N., Worasuttayayangkurn, L., Bennett, R.N. and Satayavivad, J., 2005, Identification and quantification of polyphenolic compounds in Longan (Euphoria longana Lam.) fruit, J. Agric. Food Chem. 53: 1387-1392.
  12. Tong Y. , Zhang G. , Li Y. , Xu J. , Yuan J. , Zhang B. , Hu T. , Song G. Corilagin ยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็งเต้านมผ่าน apoptosis ที่ขึ้นกับชนิดของออกซิเจนและ autophagy เจเซลล์. มล. เมดิ. 2018; 22 :3795–3807.
  13. Kunworarath, N., Rangkadilok, N., Suriyo, T., Thiantanawat, A., Satayavivad, J. (2016). Longan (Dimocarpus longan Lour.) inhibits lipopolysaccharide-stimulated nitric oxide production in macrophages by suppressing NF-κB and AP-1 signaling pathways. J Ethnopharmacol.179: 156-161.