หงอนไก่ไทย ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

หงอนไก่ไทย งานวิจัยและสรรพคุณ 33 ข้อ

ชื่อสมุนไพร หงอนไก่ไทย
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น หงอนไก่ฟ้า, หงอนไก่ดอกกลม, ดอกด้าย (ภาคกลาง), หงอนไก่, สร้อยไก่ (ภาคเหนือ), หงอกไก่ตัวผู้ (ภาคใต้), หงอนไก่ดง (นครสวรรค์), พอคอที (กะเหรี่ยง), ซิงเซียงจือ, แซเซียง (จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Celosia argentea Linn.
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Celosia aurea T.Moore, C. castrensis L., C. coccinea L., C. comosa Retz., C. cristata L., C. debilis S.Moore, C. huttonii Mast., C. japonica Houtt., C. japonica Mart., C. margaritacea L., C. marylandica Retz., C. pallida Salisb., C. plumosa (Voss) Burv., C. purpurea J.St.-Hil., C. purpurea A.St.-Hil. ex Steud., C. pyramidalis Burm.f., C. splendens Schumach. & Thonn., C. swinhoei Hemsl., Chamissoa margaritacea, Amaranthus cristatus Noronha, A. huttonii H.J.Veitch, A. purpureus Nieuwl., A. pyramidalis Noronha.
ชื่อสามัญ Cockscomb., wool flower.
วงศ์ AMARANTHACEAE


ถิ่นกำเนิดหงอนไก่ไทย

หงอนไก่ไทย จัดเป็นพืชในวงศ์บานไม่รู้โรย (AMARANTHACEAE) ที่มีการสันนิษฐานถิ่นกำเนิดดั้งเดิมว่าอยู่ในหมู่เกาะอินดีสตะวันออก ส่วนอีกข้อมูลหนึ่งระบุว่ามีถิ่นกำเนิดในแถบเขตร้อนของทวีปอเมริกา จากนั้นจึงได้มีการแพร่กระจายพันธุ์ไปยังเขตร้อนต่างๆ ของโลก สำหรับในประเทศในนั้นปัจจุบันสามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศโดยมัจะพบการปลูกไว้ประดับตามบ้านเรือน หรือ บางที่อาจพบได้ตามสองข้างทาง หรือ ตามมที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป

ประโยชน์และสรรพคุณหงอนไก่ไทย

  • บำรุงธาตุ
  • แก้ไข้
  • แก้อาการท้องอืดเฟ้อ
  • แก้ไข้ที่มีอาการอาหารเป็นพิษร่วมด้วย
  • ไข้พิษ
  • แก้โลหิตเป็นพิษ
  • แก้หืด
  • แก้เสมหะ
  • แก้บิด
  • แก้อาเจียนเป็นเลือด
  • แก้ริดสีดวงทวาร
  • แก้ตกขาว
  • แก้ปวดศีรษะ
  • แก้ตาแดง
  • แก้มูกเลือด
  • แก้ตกเลือด
  • แก้ตกขาว
  • แก้ริดสีดวงทวารมีเลือด
  • แก้ตาแดง
  • ใช้ห้ามเลือด
  • แก้ผดผื่นคัน
  • แก้หืด
  • แก้ร้อนในตับ
  • ขับลมร้อนในตับ
  • แก้ความดันโลหิตสูง
  • แก้ปวดศีรษะ
  • แก้ปวดตา
  • แก้เยื่อตาอักเสบ
  • แก้ตาแดง
  • แก้เลือดกำเดาไหล
  • ช่วยขับปัสสาวะ
  • แก้อักเสบ
  • ใช้แก้เลือดกำเดาออก

         หงอนไก่ไทย ถูกนำมาปลูก เพื่อเป็นไม้ดอกไม้ประกับตามบ้านเรือน ตามสวนสาธารณะ และอาคารสถานที่ต่างๆ ทั้งในการปลูกแบบจัดสวนหย่อม และการปลูกแบบลงกระถาง เนื่องจากสีของดอกมีความสวยงามโดดเด่น สามารถออกดอกไม้ตลอดปี และมีความทนทานต่อสภาพอากาศได้เป็นอย่างดี

หงอนไก่ไทย

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ 

  • ใช้บำรุงธาตุในร่างกาย แก้ไข้พิษ ไข้ท้องอืดท้องเฟ้อ ไข้อาหารเป็นพิษ แก้โลหิตเป็นพิษ แก้หืด แก้เสมหะ โดยนำรากหงอนไก่ไทย มาต้มกับน้ำดื่ม
  • ใช้แก้ความดันโลหิตสูง แก้ร้อนในตับ ขับลมร้อนในตับ แก้ปวดศีรษะ ปวดตา เยื่อตาอักเสบ แก้ตาแดง แก้ริดสีดวงทวาร โดยใช้เมล็ดแห้งประมาณ 4.5–9 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม หรือ ใช้ปั่นเป็นยาลูกกลอนเม็ดกิน
  • แก้อาการปวดศีรษะ แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้ตาแดงปวดตา แก้เยื่อตาอับเสบ ขับปัสสาวะ โดยใช้ดอกสด 30-60 กรัม (ถ้าเป็นดอกแห้งให้ใช้ประมาณ 15-30 กรัม) มาต้มกับน้ำดื่ม
  • ใช้แก้ประจำเดือนมามากผิดปกติ หรือ ประจำเดือนไม่ปกติ แก้ตกขาวในสตรี โดยใช้ดอกสดประมาณ 30-60 กรัม (แห้งใช้ 15-30 กรัม) นำมาต้มกับน้ำดื่ม
  • แก้โรคบิด โดยใช้ก้านและใบสดประมาณ 30-60 กรัม นำมาต้มกับน้ำ หรือ คั้นเอาแต่น้ำกิน
  • แก้โรคท้องเสีย ด้วยการใช้ลำต้นสดนำมาต้มกับน้ำดื่ม
  • ใช้รักษาโรคมะเร็งคุด (อาการปวดศีรษะ ปวดตัวลงข้อ ปวดเอว ปวดข้อ) โดยใช้ไม้มะแฟน ดอกหงอนไก่ไทย รากถั่วพู รากสามสิบ รากผักหวานบ้าน รากรางเย็น รากมังคะอุ้ย หอยกาบ และงาช้าง นำมาฝนกับน้ำผสมกับข้าวสุกกิน
  • รักษาบาดแผลที่มีเลือดออก ใช้เป็นยาห้ามเลือด แก้เลือดไหลไม่หยุด โดยนำก้านใบ ดอก และเมล็ด มาตำให้ละเอียด ใช้พอกบริเวณที่เป็นแผล
  • ใช้รักษาผิวหนังเป็นผดผื่นคัน โดยใช้ก้าน และใบนำมาตำพอกบริเวณที่เป็น

หงอนไก่ไทย

ลักษณะทั่วไปของหงอนไก่ไทย

หงอนไก่ไทย จัดเป็นไม้ล้มลุกฤดูเดียว ลำต้นฉ่ำน้ำ  สูง 30-90 ซม. ลำต้นและกิ่งก้านที่แตกออกจะตั้งตรงขึ้นและมีร่องตามยาว เปลือกลำต้น สีเขียวถึงม่วงแดง ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ใบเป็นรูปหอกเรียว หรือ ยาวรูปไข่แกมขอบขนาน โคนใบสอบเรียวแหลม ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้าง 1-4 เซนติเมตร ยาว 5-10 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว แต้มสีแดง หรือ เป็นสีแดงอมม่วง และใบตอนล่างจะมีขนาดใหญ่ กว่าใบที่อยู่ส่วนยอด มีก้านใบยาวประมาณ 0.3-1.7 เซนติเมตร ดอก ออกเป็นช่อ ยาว 5-10 เซนติเมตร ลักษณะเป็นแท่งกลม ตั้งตรงขึ้น โดยดอกจะออกบริเวณซอกใบและปลายยอด ส่วนดอกย่อยมีขนาดเล็กจำนวนมากอัดแน่นอยู่ติดกับแกนช่อดอกมี 2 ชนิดด้วยกัน คือ ชนิดขาวมีลำต้นสีเขียว ชนิดแดงลำต้นและใบมีสีแดงอมม่วง โดยดอกย่อยจะบิดจีบม้วนไปมาอยู่ในช่อ ดอกมีกลีบเลี้ยง 3 กลีบ ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบ กลีบดอกมีสีขาวปลายแต้มสีชมพู อยู่ติดกันเป็นกระจุก มีใบประดับ 2 ใบ ไม่มีก้านดอก ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ ลักษณะเป็นรูปไข่กลับกลมรีและมีกลีบเลี้ยงบางหุ้มเมล็ดอยู่ ส่วนเมล็ดกลมแบนแข็งสีดำเป็นมันเงามีจำนวนมาก


การขยายพันธุ์หงอนไก่ไทย

หงอนไก่ไทยสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ด ในอดีตการขยายพันธุ์ของหงอนไก่ไทย จะเป็นการขยายพันธุ์ในธรรมชาติ คือ เมล็ดแก่ของหงอนไก่ไทยจะร่วงลงไปที่พื้นดิน แล้วงอกเป็นต้นไม้ใหม่ขึ้นมา แต่ในปัจจุบันเริ่มมีการนำเมล็ด หงอนไก่ไทยมาเพาะปลูกไว้เป็นไม้ประดับตามบ้านมากขึ้น สำหรับการเพาะเมล็ดและการปลูกหงอนไก่ไทย นั้น สามารถทำได้เช่นเดียวกันกับการเพาะเมล็ด และการปลูกไม้ล้มลุกชนิดอื่นๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในบทความก่อนหน้านี้


องค์ประกอบทางเคมี

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยถึงองค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดหงอนไก่ไทย จากเมล็ดและใบ ของระบุว่าพบสารออกฤทธิ์ที่สำคัญหลายประการอาทิเช่น Moroidin, Celogentins A, Celogentins B, Celogentins C, Celosin A, Celosin B, Celosin C, Celosin D, Arachic acid, Arachidonic acid, Linolenic acid, Hexadecanoic acid, β-Sitosterol, Lutin, Epigallocatechin, Gallic acid, Caffeic acid, Rosmarinic acid, Quercetin, Stigmasterol Seed, Oleanolic acid, β-Carotene, Daucosterol, Ascorbic acid และ citrusi C เป็นต้น 

โครงสร้างหงอนไก่ไทย

การศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของหงอนไก่ไทย

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของสารสกัดจากดอก เมล็ด และใบของหงอนไก่ไทย ระบุว่ามีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาดังนี้

           มีการนำสารสกัดจากเมล็ดและดอกหงอนไก่ไทย มาทดสอบกับสัตว์ทดลองพบว่ามีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ Trichomonas vaginalis ได้ดี และยังมีการศึกษาวิจัยทางคลินิกในผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่อยู่ในช่วง 160-220/100-135 มม. ปรอท โดยทำการรักษาด้วยการใช้เมล็ดหงอนไก่แห้งประมาณ 30 กรัม นำมาต้มสกัดเอาน้ำ 2 ครั้ง แล้วแบ่งกิน 3 ครั้งต่อวัน พบว่า หลังจากที่ได้รับไปแล้ว 1 สัปดาห์ ผู้ป่วยในกลุ่มทดลองมีความดันลดลงเหลืออยู่ในช่วง 125-146/70-90 มม. ปรอท

           นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าสารสกัดจากดอกหงอนไก่ไทย ยังมีฤทธิ์รักษาอาการท้องร่วง แผลใน ช่องปาก มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ลดระดับน้ำตาลในเลือด มีฤทธิ์ลดอาการปวดต่างๆ ฤทธิ์ป้องกันการเกิดโรคในตับ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ลดความดันโลหิตสูง และมีฤทธิ์รักษาโรคตาหลายชนิด อีกด้วย


การศึกษาวิจัยทางพิษวิทยาของหงอนไก่ไทย

ไม่มีข้อมูล


ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

ในตำรายาไทยมีข้อห้ามใช้เกี่ยวกับสมุนไพร หงอนไก่ไทย คือ หญิงที่อยู่ในระหว่างการมีประจำเดือน ไม่ควรนำหงอนไก่มารับประทาน เนื่องจากอาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติได้ ผู้ที่เป็นโรคตาบอดใส ห้ามใช้หงอนไก่ไทยเป็นสมุนไพร โดยเฉพาะในรูปแบบการรับประทาน เพราะอาจทำให้อาการแย่ลงได้ สำหรับผู้ที่มีสุขภาพปกติทั่วไป การใช้หงอนไก่ไทย เป็นยาสมุนไพร ควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกันกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยควรใช้ในขนาดและปริมาณที่เหมาะสมที่ได้ระบุไว้ในตำรับตำรายาต่างๆ ไม่ควรใช้ในขนาดที่มากจนเกินไป หรือ ใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพระยะยาวได้


เอกสารอ้างอิง หงอนไก่ไทย
  1. ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์. “หงอนไก่ไทย (Ngonkai Thai)”. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. หน้า 312.
  2. เดชา ศิริภัทร.หงอนไก่:ความงามและศักดิ์ศรีที่ผูกพันคนไทย.คอลัมน์ต้นไม้ใบหญ้า, นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 259. พฤษภาคม 2546
  3. ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. “หงอนไก่”. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. หน้า 794-796.
  4. ล้านนา. ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “หงอนไก่ไทย”. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้าน หน้า 65.
  5. วิทยา บุญวรพัฒน์. “หงอนไก่ไทย”. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. หน้า 570
  6. มนรดา ทองรอด และคณะ. พฤกษศาสตร์พื้นบ้านและเภสัชวิทยาพื้นบ้านของพืชสมุนไพรจากตำบลปากรอ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา. วารสารไทยไภษัชยนิพนธ์ ปีที่ 16 .ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2564.หน้า 141-164
  7. หงอนไก่ไทย, ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=159
  8. Junjie, S., Jinwei, R., Jing, Y., & Yimin, Z. (2005). Hypoglycemic effect of Celosia argentea firactions in alloxan-induced diabetic mice. Zhongguo Yao Xue Za Zhi, 40(16), 1230-1233.
  9. Vetrichelvan T, Jegadeesan M. Evaluation of antiinflammatory and diuretic activity of Celosia argentea. Indian Drugs. 2000;37(6):286-90.
  10. Vetrichelvan, T., Jegadeesan, M., & Devi, B. A. U. (2002). Anti-diabetic activity of alcoholic extract of Celosia argentea Linn. seeds in rats. Biological & pharmaceutical bulletin, 25(4), 526-528.
  11. Bhujbal SS, Chitlange SS, Suralkar A, Shinde DB, Patil MJ. Anti-inflammatory activity of an isolated flavonoid fraction from Celosia argentea Linn. J Med Plant Res. 2008;2(3):52- 4
  12. Ghule, S., Prakash, T., Kotresha, D., Karki, R., Surendra V., & Goli, D. (2010). Antidiabetic activity of Celosia argentea root in streptozotocin-induced diabetic rats. International Journal of Green Pharmacy (IJGP), 4(3), 206-211.
  13. Tang, Y., Xin, H. L., & Guo, M. L. (2016). Review on research of the phytochemistry and pharmacological activities of Celosia argentea. Revista brasileira de farmacognosia, 26(6), 787-796.