บาราคอล
บาราคอล
ชื่อสามัญ Barakol
ประเภทและข้อแตกต่างสารบาราคอล
สารบาราคอลเป็นสารในกลุ่มโครโมน (Chromone) โดยเป็นอนุพันธ์ของ dioxaphenakne มีชื่อทางเคมีว่า 3a, 4-dihydro-3a, 8-dihydroxy-2, 5-dimethyl-1, 4-dioxaphenalene มีสูตรโมเลกุล คือ C13H12O4 มีมวลโมเลกุล 232.235 g/mol-1 มีลักษณะทางเคมีเป็นผลึกสีเหลืองมีรสขม มีความสามารถละลายน้ำได้ดี สำหรับประเภทของบาราคอล นั้นพบว่ามีเพียงประเภทเดียว แต่ทั้งนี้บาราคอลอาจเปลี่ยนเป็นสารใหม่ได้ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยากำจัดน้ำออกจากโมเลกุล (dehydration) โดยจะเกิดเป็นสารแอนไฮโดรบาราคอล (anhydrobarakol)
แหล่งที่พบและแหล่งที่มาสารบาราคอล
สำหรับบาราคอลนั้นเป็นสารที่มีแหล่งที่มาจากใบและดอกของขี้เหล็ก โดยได้มีการสกัดสารดังกล่าวได้เป็นครั้งแรก จากใบขี้เหล็กในปี พ.ศ.2513 จากนั้นจึงมีการศึกษาวิจัยต่อมาจนพบว่าส่วนของดอกขี้เหล็กก็มีสารบาราคอลเช่นเดียวกัน ซึ่งจากการศึกษาวิจัยพบว่า ใบอ่อนขี้เหล็กมีปริมาณสารบาราคอลมากกว่าในใบแก่ แต่มีปริมาณสารแอนทราควิโนนรวม (total anthraquinones) น้อยกว่า โดยใบอ่อนแห้ง (100 กรัม) มีปริมาณบาราคอล 1.67 กรัม และมีแอนทราควิโนน 1.31 มิลลิกรัม ส่วนใบแก่แห้ง (100 กรัม) มีปริมาณบาราคอล 0.78 กรัม และมีแอนทราควิโนนรวม 2.14 มิลลิกรัม
ปริมาณที่ควรได้รับสารบาราคอล
ความจริงแล้วคนไทยมีการใช้สารบาราคอล มาตั้งแต่ในอดีตแล้ว เพราะมีการใช้ขี้เหล็กเป็นสมุนไพรที่ใช้รักษาโรครวมถึงใช้ใบอ่อน และดอกทำเป็นเมนูอาหาร ซึ่งการใช้ในลักษณะนี้จะไม่สามารถทราบได้ว่าร่างกายได้รับสารบาราคอลไปเท่าใด ต่อมาจึงได้มีการสกัดเอาสารบาราคอลมาใช้เป็นยาเพื่อช่วยเสริมการนอนหลับ ช่วยให้คลายเครียด โดยมีสาระสำคัญ คือ แอพโฮโตรบาราคอล 10 มิลลิกรัม/เม็ด ซึ่งมีขนาดรับประทาน 2-4 เม็ดก่อนนอน แต่หลังจากผลิตออกมาพักหนึ่ง พบว่าผู้ที่ใช้ยาดังกล่าวเกิดอาการตับอักเสบ จึงมีการศึกษาวิจัยพบว่าเกิดจากการรับประทานยาในขนาดที่สูงและต่อเนื่องกันนานเกินไป จากนั้นจึงมีการเลิกผลิตแต่ปัจจุบันได้มีการใช้เป็นสูตรยาผสมไม่ใช้เป็นยาเดี่ยวอย่างในอดีต
ประโยชน์และโทษสารบาราคอล
ประโยชน์ของสารบาราคอลนั้น จากการศึกษาวิจัยพบว่า สามารถช่วยในการนอนหลับ ช่วยลดความกังวล ช่วยคลายความเครียด ช่วยขับปัสสาวะ ลดความดันโลหิต และลดอาการชัก ช่วยรักษาอาการโรคอัลไซเมอร์ ต้านเซลล์มะเร็ง ส่วนโทษของสารบาราคอลนั้นก็มีเช่นเดียวกัน โดยมีรายงานความเป็นพิษในปี 2542 โดยเกิดอาการตับอักเสบเฉียบพลัน โดยมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ตัวและตาเหลือง การทำงานของตับผิดปกติ โดยเกิดจากการรับประทานยาที่มีสารบาราคอล มากเกินไป (20-40 มิลลิกรัม/วัน นาน 7-60 วัน) แต่หลังจากหยุดยาอาการก็ดีขึ้นจนเป็นปกติ โดยใช้เวลานานถึง 5-6 เดือน
การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องสารบาราคอล
มีผลการศึกษาวิจัยถึงฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาต่างๆ ของบาราคอลพบว่าออกฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลางสมองไขสันหลัง ทำให้มีอาการซึมในสัตว์ทดลอง กระตุ้นการนอนหลับและสามารถลดการชัก เลือดทั้งในแมวและหนูทดลอง และเมื่อนำไปทดสอบกับผู้ป่วย โดยให้ได้รับสารบาราคอลขนาด 10 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว/กิโลกรัม พบว่าให้ผลเหมือนกับผู้ป่วยที่ได้รับยากดประสาท diazepam 1 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว/กิโลกรัม โดยมีการวิจัยในกลุ่มอาสาสมัครที่กินยาสมุนไพรชนิดเม็ดพบว่าผลการตรวจคลื่นสมองที่เกี่ยวกับอาการง่วงหลับ (N1P1 amplitude) 3 ตำแหล่ง มีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.027,0.0001,0.002) ซึ่งแสดงว่าอาสาสมัครรู้สึกง่วงมากขึ้น แต่ค่า psychomotor performance (card sorting test) ก็กลับลดลงด้วยเช่นกัน และยังพบว่ายาเม็ดสมุนไพรดังกล่าว ยังสามารถช่วยผู้มีปัญหาการนอนไม่หลับ หลับได้เร็วขึ้นหลังเข้านอนจากเดิมใช้เวลา 40-60 นาที จึงหลับ เป็นหลับเร็วขึ้นโดยใช้เวลาต่ำกว่า 30 นาที (p = 0.007) และตื่นกลางดึกลดลงจาก 2-3 ครั้ง เหลือ 1 ครั้ง (p=0.055) อีกทั้งอาสาสมัครก็ยังพอใจในคุณภาพการนอนที่ดีขึ้น
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิจัยถึงฤทธิ์กดประสาทของบาราคอล พบว่า ฤทธิ์กดประสาทของ barakol Barakol ซึ่งสกัดได้จากใบขี้เหล็ก มีฤทธิ์ยับยั้งประสาทส่วนกลาง ทำให้ลดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ทำให้หลับมากขึ้น และเมื่อทดสอบหากระบวนการออกฤทธิ์ พบว่าไม่ได้เกิดผ่าน GABA หรือ glycine และ barakol ไม่มีฤทธิ์ต้านการซึม และมีฤทธิ์ลดการหลั่ง dopamine จึงเป็นไปได้ว่าฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางเนื่องมาจากการลดการหลั่ง dopamine และยังมีฤทธิ์ในการลดการเกิดอัลไซเมอร์โดยมีการศึกษาวิจัยพบว่า senile plaques ในโรคอัลไซเมอร์ เกิดจากการสะสมของโปรตีน beta - amyloid peptide ซึ่งถูกเหนี่ยวนำโดย AChE การใช้ AChE จึงเป็นวิธีการเด่นชัดในการรักษา ผลของบาราคอลที่สกัดให้บริสุทธิ์จากใบขี้เหล็กอ่อนสด โดยใช้เอนไซม์สกัดหยาบ AChE จากสมองหนูและปลาไหลไฟฟ้ายับยั้ง AChE ได้โดยขึ้นกับขนาดและให้ค่า IC50 สมองหนูและปลาไหลเผือกครึ่ง= 0.40 และ 0.21 mmol ตามลำดับ และไฟโซสติกมีน ที่ให้ผลยับยั้ง AChE ให้ผลในสมองหนูเป็น 2 เท่า ของปลาไหลเผือก พบว่าความเข้มข้นของบาราคอลนี้ ไม่แสดงความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งของตัวอ่อน murineP19 น้ำสกัดขี้เหล็กยับยั้ง AChE ได้ไม่แตกต่างกัน (IC50= 1.31 mg/ml) บาราคอลอาจสามารถผ่านชั้น blood-brain barrier ได้เนื่องจากมีฤทธิ์ช่วยลดความกังวลในหนูได้ ผลการยับยั้ง AChE ของบาราคอล อาจเสริมประสิทธิภาพการส่งผ่านของกระแสประสาท cholinergic โดยลดอัตราการเกิดไฮโดรไลซิสของอะซิติลโคลีน และป้องกันการเกาะกลุ่มของ beta - amyloid peptide ที่ผ่าน AChE บาราคอลและสารสกัดขี้เหล็กหยาบอาจทำให้การดำเนินโรคช้าลง อีกทั้งจากการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสาร barakol ที่แยกได้จากใบขี้เหล็กในหนูขาว โดยการฉีดเข้าช่องท้องในขนาด 25 และ 100 มก./กก. พบว่ามีผลทำให้หนูนอนหลับได้เร็วกว่าหนูกลุ่มควบคุม โดยที่ขนาด 25 มก./กก. ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง energy ratio ของคลื่นสมอง และเมื่อฉีดสาร harakol ให้แก้หนูขาวทางช่องท้อง พบว่าสารนี้มีฤทธิ์ลดความวิตกกังวล (anxiolytic) คล้ายคลึงกับผลของ diazepam แต่ต่างกันที่ barakol ทำให้หนูมีพฤติกรรม exploratory และ locomoter เพิ่มขึ้น โดยอาจมีกลไกการออกฤทธิ์เป็น dopamine agoinst ยับยั้งการหลั่ง dopam ที่สมองส่วน striatumine ที่สมองส่วน striatum นอจากนี้ฤทธิ์ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังพบว่าสาร barakol จากใบขี้เหล็กมีฤทธิ์ลดความดันเลือดทั้ง systolic และ diastolic ในหนูขาวและแมวเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจในแมวและมีฤทธิ์ลดการหดเกร็งของหลอดเลือดแดงทรวงอกที่เหนี่ยวนำด้วย phenylephrine ของหนูขาวที่แยกออกมาอีกด้วย
สำหรับด้านพิษวิทยาของสารบาราคอลนั้นก็ได้มีผลการศึกษาวิจัยอยู่หลายฉบับดังนี้ มีการศึกษาความเป็นพิษของใบขี้เหล็กซึ่งมีสาร barakol อยู่ 0.17% ในหนูขาวพันธุ์วิสดาร์ ทั้งเพศผู้และเพศเมีย เพศละ 5 กลุ่ม 15 ตัว เป็นเวลา 6 เดือน โดยที่ให้หนูกลุ่มควบคุมได้รับน้ำกลั่น 5 มิลลิลิตร/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน ขณะที่หนูกลุ่มทดลอง 3 ใน 4 กลุ่ม ได้รับผงใบขี้เหล็กขนาด 20,200 และ 2,000 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน (มก./กก./วัน) หนูกลุ่มทดลองกลุ่มที่ 4 (กลุ่ม recobery) ได้รับผงใบขี้เหล็กขนาด 2,000 มก./กก./วัน เป็นเวลา 6 เดือน แล้วหยุดให้ใบขี้เหล็ก 14 วัน ก่อนฆ่าหนู เพื่อศึกษาว่าความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดจากใบขี้เหล็กสามารถกลับสู่ภาวะปกติได้หรือไม่หลังหยุดยา ผลการศึกษาพบว่าระดับของบิลิรูบินของหนูที่ได้รับใบขี้เหล็กขนาด 200 และ 2,000 มก./กก./วัน มีระดับบิลิรูบินในซีรัมสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ อุบัติการณ์ของการเกิดความผิดปกติของตับ ได้แก่ การเสื่อม และการตายของเซลล์ตับพบได้ในหนูที่ได้รับขี้เหล็กทุกขนาดและความรุนแรงของความผิดปกติเพิ่มมากขึ้นตามขนาดของเซลล์ตับพบได้ในหนูที่ได้รับขี้เหล็กทุกขนาด และความรุนแรงของความผิดปกติเพิ่มมากขึ้นตามขนาดของใบขี้เหล็กที่ได้รับทั้งในหนูเพศผู้และเพศเมีย นอกจากนี้ ความรุนแรงของความเป็นพิษต่อตับของขี้เหล็กก็เพิ่มขึ้นตามขนาดที่ได้รับด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหนูเพศผู้ ผลการศึกษาบ่งขี้ว่าหนูเพศผู้มีความไวต่อความเป็นพิษของขี้เหล็กมากกว่าหนูเพศเมีย และการเปลี่ยนแปลงของตับในหนูกลุ่ม recovery แสดงให้เห็นว่าความผิดปกติของตับที่เกิดจากพิษของใบขี้เหล็กลดลงมีแนวโน้มสู่ภาวะปกติได้เมื่อหยุดยาเพียง 14 วัน ผลการศึกษาทั้งหมดชี้ให้เห็นว่าใบขี้เหล็กทำให้เกิดความเป็นพิษต่อตับของหนูได้โดยมีความสัมพันธ์กับขนาดที่ให้แม้ในขนาดที่ใช้เป็นยาในคน
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
ดังที่กล่าวมาแล้วว่ามีรายงานการใช้สารบาราคอล แล้วเกิดการอักเสบของตับเนื่องจากการบริโภคในชนาดที่มากเกินไป และใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไป ดังนั้นในการใช้สารบาราคอลควรต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง โดยทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีข้อแนะนำและข้อบ่งใช้ทั้งในรูปแบบสารสกัดบาราคอลและยาเม็ดสมุนไพร จากใบขี้เหล็ก (ซึ่งมีสารบาราคอลในใบขี้เหล็ก) ดังนี้
⦁ ห้ามใช้ในขี้เหล็กในรูปสมุนไพรเดี่ยวในผู้ป่วยโรคตับ หรือ ผู้ป่วยที่อยู่ในระหว่างการใช้ยาอื่นที่มีผลต่อการทำงานของตับ
⦁ การกินยาเตรียมจากใบขี้เหล็กอาจทำให้เกิดโรคตับอักเสบ (drug-induced hepatitis) อาการอุจจาระเหลวหรือท้องเสียได้
⦁ ไม่ควรใช้ยาเตรียมจากใบขี้เหล็กติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
⦁ ผู้ที่กินยาเตรียมจากใบขี้เหล็กควรได้รับการตรวจการทำงานของตับเป็นระยะๆ
⦁ ผู้ที่กินยาเตรียมจากใบขี้เหล็ก หากมีอาการตัวเหลือง อ่อนเพลีย ควรหยุดยาทันที และพบแพทย์ทันทีเพื่อตรวจการทำงานของตับ
⦁ ไม่ควรใช้ในเด็กและสตรีระหว่างตั้งครรภ์ หรือผู้ป่วยที่มีประวัติโรคตับ
เอกสารอ้างอิง บาราคอล
⦁ ขี้เหล็กใบ (KHI LEK – BAI) .คณะอนุกรรมการจัดทำตำราอ้างอิงสมุนไพรไทยในคณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย.วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกปีที่ 16.ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2561.หน้า 323-327
⦁ กิจจา สุวรรณ 2534.ฤทธิ์การลดความดันเลือดของบาราคอลที่สกัดจากใบขี้เหล็กในหนูแรทและแมว.วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สหสาขาวิชาสรีรวิทยา บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
⦁ ฤทธิ์กดประสาทของ barakol.ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร.สำนักงานข้อมูลสมุนไพรสำนักงานคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
⦁ ประกอบ ผู้วิบูลย์สุข.รายงานการวิจัยตอนที่ 1 ทดสอบฤทธิ์ง่วงนอนของยาเตรียมขี้เหล็กในคนปกติ.คณะเภสัชศาสตร์ศิริราชพยาบาล.มหาวิทยาลัยมหิดล. 2542
⦁ ปราณี ชวลิตธำรง, ทรงพล ชีวรพัฒน์, สดุดี รัตนจรัสโรจน์ และคณะ.พิษเรื้อรังของผงใบขี้เหล็กในหนูขาว.วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ปีที่ 45. ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2546. หน้า 101-114
⦁ การยับยั้งเอนไซม์อะซิติลโคลีนเอสเตอเรสของบาราคอล .ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร.สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
⦁ รัชนีวรรณ ทองสะอาด, สุนันท์ ชัยนะกุล.การศึกษาผลของบาราคอล ที่สกัดได้จากใบและดอกขี้เหล็กต่อการหลั่งสาร 5-HT จากเนื้อเยื่อสมองส่วนฮิปโปแคมปัสของหนูขาวในหลอดทดลองการประชุมเสนอผลงานวิชาการด้านการแพทย์แผนไทย วันที่ 274-29 พฤศจิกายน 2543;กรุงเทพ:หน้า 22.
⦁ ประกอบ วิบูลย์สุข,พิมลาวรรณ ทิพยุทธพิจารณ์,ธรัส หิญชีระนันทน์.การศึกษาฤทธิ์ทำให้ง่วงหลับในคนของยาสมุนไพรแปรรูปสกัดจากใบขี้เหล็ก.วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทยปีที่ 43.ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2541.หน้า 251-259
⦁ Hongsirinirachorn M, Threeprasertsuk S, Chutaputti A. Acute hepatitis associated with barakol. J Med Assoc Thai. 2003;86 suppl 2:S484-9.
⦁ Sukma, M., Chaichantipyuth, C., Murakami, Y., Michihisa, T., Matsumoto, K., and Watanabe, H. (2002). CNS inhibitory effects of barakol, a constituent of Cassia Siamia Lamk. Journal of Ethnopharmacology. 83. 87-94.
⦁ Gritsanapan W. Anthraquinone compounds of Cassia species growing in Thailand. Mahidol Univ J Pharm Sci. 1983;10(3):90-6
⦁ Bulyaoert D.Effecl of barakol on the central nervous system: quantilative analysis of EEG in the rat Chiangmai Med Bull 1993;32:191-6.
⦁ Padumanonda T, Gritsanapan W. Barakol contents in fresh and cooked Senna siamea leaves. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 2006;37(2):388-93.
⦁ Thongsaard, W., Deachapunya, C., Pongsakorn, S., Boyd, E. A., Bennett, G. W., and Marsden, C. A. (1996). Barakol: A potential anxiolytic extracted from Cassia siamea. Pharmacology Biochemistry and Behavior. 53. 753-758.
⦁ Bycroft BW,Hassaniali-Walji A,Johnson AW,King TJ,The structure and synthesis of barakol:a novel dioxaphenaline derivative from Cassia siamea J Chem Soc 1686-9.
⦁ Padumanonda T. Determination of barakol and anthraquinone contents and hepatotoxicity evaluation of Senna siamea extracts. Ph.D Thesis, Faculty of Graduate Studies, Mahidol University; 2006. 131 p
⦁ Suwan G,Sudsuang R, Dhummaupakom P. Werawong C Hypotensive effects of barakol extracted from leaves of Cassia siamea Lam In rats cats Thai J Physiol Sci 1992;5:53-65.