ติ้วขน ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย
ติ้วขน งานวิจัยและสรรพคุณ 10 ข้อ
ชื่อสมุนไพร ติ้วขน
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น ติ้วเหลือง (ภาคกลาง), ติ้วแดง, ติ้วเลือด, ติ้วยาง (ภาคเหนือ), ติ้วหนาม (ภาคอีสาน), แต้วหิน (ลำปาง), แต้ว (จันทบุรี), ตาว (สตูล), กวยโชง, กุยฉ่องเช้า (กะเหรี่ยง), ราเง้ง (เขมร)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cratoxylum formosum (Jack.) Dyer spp. Prunifrorum (Kurz) Gogel
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ CrTOXYLUM FORMOSUM SUBSP. PRUNIFLORUM (Kurz) Gogelein
วงศ์ CLUSIACEAE-HYPERICACEAE
ถิ่นกำเนิดติ้วขน
ติ้วขน จัดเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปเอเชียภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในประเทศ พม่า ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม นอกจากนี้ยังมีรายงานอีกว่าพบได้ในจีนตอนใต้อีกด้วย สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยมักพบขึ้นตามป่าผลัดใบและป่าเบญจพรรณ ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 200-1,000 เมตร
ประโยชน์และสรรพคุณติ้วขน
- ช่วยขับปัสสาวะ
- แก้ปัสสาวะขัด
- แก้ปัสสาวะพิการ
- แก้ปวดท้อง
- แก้ธาตุพิการ
- แก้คัน
- ช่วยสมานแผล
- ช่วยห้ามเลือด
- แก้เจ็บท้อง
- แก้โรคผิวหนังบางชนิด
ติ้วขน ถูกนำมาใช้ประโยชน์หลากหลายด้านดังนี้ ในอดีตมีการนำเปลือกต้นมาสกัดทำสีสำหรับย้อมผ้าได้สีน้ำตาลเข้ม ส่วนเนื้อไม้มีความทนทานมาก เนื่องจากมีน้ำยางทำให้ปลวกไม่กิน จึงมีการนำมาใช้ทำโครงสร้างบ้าน ทำกระดาน พื้น ทำด้ามเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น จอบ เสียม และเครื่องตกแต่งภายในเรือน กิ่งหรือลำต้นของติ้วขนถูกนำมาใช้ทำฟืน โดยมีการระบุว่าให้ความร้อนได้ดีกว่าไม้กระบกและยังมีการนำมาทำสำหรับใช้ฟืนจุดให้สตรีที่กำลังรมควัน เนื่องจากเนื้อไม้ไม่มีกลิ่นทำให้ไม้เหม็นกลิ่นควัน
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ติ้วขน
ใช้แก้ธาตุพิการ แก้ปวดท้อง โดยใช้เปลือกต้นมาต้มดื่มกับน้ำ แก้อาการปวดท้อง โดยใช้รากติ้วขน และใบใช้ต้นกับน้ำดื่ม หรือ ใช้กิ่ง และลำต้นต้มกับน้ำดื่ม ก็ได้ ใช้ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะขัด แก้ปัสสาวะพิการ โดยใช้รากติ้วขนใช้ผสมกับหัวแห้วหมู และรากปลาไหลเผือก นำมาต้มกับน้ำดื่มวันละ 3 ครั้ง ใช้รักษาโรคผิวหนังบางชนิดโดยใช้เปลือกและใบมาตำผสมกับน้ำมะพร้าว ทาบริเวณที่เป็น ใช้ห้ามเลือดสมานแผล และแก้คันโดยใช้ยางจากต้นมาทา หรือ ประคบแผลบริเวณที่เป็น
ลักษณะทั่วไปของติ้วขน
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าติ้วขน ที่กล่าวในบทความนี้ เป็นคนละชนิดกับติ้วขาวหรือผักติ้ว ที่ใช้รับประทานเป็นผัก ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cartoxylum formusum (Jacq.) Benth&Hook. F. ex Dyer (Cratoxylum formusum subsp. Formusum) ซึ่งจะมีลักษณะบางประการที่แตกต่างกันสำหรับ ต้นติ้วขน (Cartixylum formusum (Jack) Dyer spp. Pruniflorum (Kurz) Gogel จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็กถึงกลางเรือนยอดโปร่งเป็นพุ่งกลม ความสูงประมาณ 5-15 เมตร แตกกิ่งก้านโปร่ง ยอดอ่อนและกิ่งอ่อนมีขนหนานุ่นขึ้นหนาแน่น ส่วนกิ่งขนาดเล็กตามลำต้นนานๆ ไปจะแปรสภาพเป็นหนามแข็งๆ เปลือกต้นด้านนอกเป็นสีน้ำตาลปนดำ แตกเป็นสะเก็ดตามยาวส่วนเปลือกด้านในเป็นสีน้ำตาลเหลือง และมียางสีเหลืองปนแดง ตามแผลของลำต้น
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ลักษณะของใบรูปขอบขนานหรือรูปรีแกมรูปไข่กลับ โคนใบสอบเรียว ปลายใบแหลมมนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้าง 2.5-5 เซนติเมตร ยาว 3-13 เซนติเมตร แผ่นใบบางมีขนขึ้นปกคลุมสองด้านโดยหลังใบมีขนสากๆ ส่วนท้องใบเป็นขนนุ่มหนาแน่น ใบอ่อนมีสีส้มหรือสีชมพูเรื่อย ส่วนใบแก่ระยะก่อนผลัดใบมีสีแดง และมีก้านใบสั้นประมาณ 0.3 เซนติเมตร
ดอก ออกเป็นช่อกระจุกตามกิ่งเหนือแผลใบ มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกเป็นสีชมพูอ่อน มีกลีบดอก 5 กลีบ โดยขอบกลีบดอกมีขนสีขาว ขึ้นประปรายส่วนกลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ มีขนขึ้นประปรายอยู่ด้านนอก เช่นกันซึ่งดอกติ้วขน จะมีเกสรเพศผู้มาก และแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ส่วนรังไข่มีลักษณะเป็นรูปรีๆ เกลี้ยงๆ
ผล เป็นผลแห้งแข็งลักษณะเป็นรูปไข่แกมกระสวย ปลายแหลม มีขนาดกว้าง 0.4-0.6 ซม. ยาว 1.8-2 ซม. มีคราบไขสีนวล ติดตามผิวและมีกลีบเลี้ยงหุ้ม ประมาณครึ่งของผล ผลเมื่อแห้งจะแตกแยกออกเป็น 3 พู ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปขอบขนานเล็กๆ และมีครีบเป็นรูปโค้งๆ
การขยายพันธุ์ติ้วขน
ติ้วขน สามารถขยายพันธุ์ได้โดยวิธีการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง โดยวิธีที่นิยมในปัจจุบันคือการเพาะเมล็ดแล้วนำต้นกล้าไปปลูก สำหรับการเพาะเมล็ด และการตอนกิ่งสามารถทำได้เช่นเดียวกับการเพาะเมล็ด และการตอนกิ่งไม้ยืนต้นชนิดอื่นๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วในบทความก่อนหน้านี้
องค์ประกอบทางเคมี
มีรายงานผลการศึกษาวิจัยองค์ประกอบทางเคมีจากสารสกัดส่วนลำต้นและรากของติ้วขน ระบุว่า จากการศึกษาวิจัยถึงองค์ประกอบทางเคมีของติ้วขนพบว่าสามารถแยกสารใหม่ได้ 2 สาร ซึ่งเป็นสารประกอบในกลุ่มแอนทราควิโนน 1 สาร คือ pruniflorone J และสารประกอบไบแนโทรน 1 สาร คือ ianthrone J นอกจากนี้ยังพบสารที่มีการรายงานมาแล้ว อาทิเช่น สารประกอบแอนทราควิโนน 6 สาร ได้แก่ madagoscin, vismiaquinone A, 3-geranyloxy-6-methyl-1,8-dihydroxyantheaquinone, physcion, emodin, 11-hydroxy-5-methoxy-2,2,9-trimethyl-2H-antrapyran-7,12-dione สารประกอบวิสโมน 2 สาร ได้แก่ vismiaquinone E, vismiaquinone D สารประกอบไบแอนโทรน 1 สาร ได้แก่ biamthrone A สารประกอบแซนโทน 6 สาร ได้แก่ flomoxanthone B, macluraxanthone, gerontoxanthone I, Xanthone V, 6-deoxyjacareubin, 3,4-dihydrojacareubin สารประกอบ ไตรเทอร์พีน 3 สาร ได้แก่ lupeol, betulenic acid, friedelin ส่วนอีกการศึกษาหนึ่งระบุว่าพบสาร pruniflorone A-J, formoxanthone A, dulxisxanthone F, α-mangostin, 30isomangostin, β-mangostin, 3,4-dihydro-5,9-dihydroxy-8-methoxy-7-3-methylbuthyl-2,2-dimethyl-2H, 6H-pyrano-3,2-b xanthen-6-one,3,4-dihydro-5,9-dihydroxy-7-3-hydroxy-3-mrthylbutyl-8-methoxy-2,2-dimethyl-2H,6H-pyrano-3,2-bxanthen-2-one, xanthone V, 10-o-methylmaaluraxanthone,physcion, empdin, 3-geranyloxy-6-methyl-1,8-dyhydroxyanthraquinone, isocudaniaxanthone B, 11-hydroxy-5-methoxy-2,2,9-trimethyl-2H-anthra-1,2-b pyran-7, 12-dione, madagascin, formoxanthone, macrulaxanthone, geronthoxanthone I, vismaiquinone A, 6-deoxyjacareubin,3,-dihydrojacareobin ส่วนสารสกัดจากรากพบสาร Formoxanthone A,B,C, macluraxanthone, dulxisxanthone F, xanthone V1, gerontoxanthone I, vismiaquinne A, madgascin และ pruniflorn A,B,C,D,E,F,E,H,I,J, mangostin, 3-isomangostin, 3,4-dihydrojacareubin เป็นต้น
การศึกษาทางเภสัชวิทยาของติ้วขน
มีรายงานผลการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของสารสกัดจากลำต้นของติ้วขน ระบุไว้ดังนี้ จากการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีจากส่วนของลำต้นของต้นติ้วขน (Cratoxylum formusum ssp. Pruniflorum) พบสารชนิดใหม่ 6 ชนิด คือ pruniflorones M-R ซึ่งอยู่ในกลุ่มของสารแซนโทนที่มีสมบัติในการยับยั้ง Retinoid X receptors ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่างๆ อาทิเช่น การเจริญเติบโตของตัวอ่อน การรักษาสมดุลของแคลเซียม และไขมันในเลือด รวมทั้งการเผาผลาญกลูโคสในร่างกายได้ ส่วนอีกการศึกษาหนึ่งได้มีการนำแยกสารประกอบที่ได้จากส่วนของเปลือกต้นไปทดสอบการออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย และทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง พบว่าสาร vismiaquinone E, Vismiaquinone D, gerontoxanyhone I มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย และมีความเป็นพิษต่อเซลล์ในขณะที่สาร xanthone V1, 6-deoxyjacareubin,3,4-dihydrojacareubin ออกฤทธิ์เฉพาะการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียที่ทดสอบ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการศึกษาสารสกัดจากลำต้นของติ้วขนด้วย 50% แอลกอฮอล์ พบว่า มีฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งเม็ดเลือด โดยมีค่า IC50=47.4+-9.7 มก./มล. และเซลล์มะเร็งตับ ค่า IC5064.7+-8.7 มก./มล. มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ โดยมีค่า EC50=10.25 มก./มล. มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อไวรัสโรคเริม (Herpes simplex virus type 1) โดยมีค่า IC50=52.33 มก./มล. มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรียชนิด V.cholerae (ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอหิวาตกโรค) ที่ความเข้มข้น 3.125 มก./มล. และมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย S.aureus (สาเหตุของโรคแผลฝีหนอง) ที่ความเข้มข้น 6.25 มก./มล. นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อรา สาเหตุของโรคกลากเกลื้อนที่ความเข้มข้น 2-4 มก./มล.
การศึกษาทางพิษวิทยาของติ้วขน
มีผลการศึกษาวิจัยทางพิษวิทยาของเปลือกต้นของติ้วขน ระบุว่า สารสกัดติ้วขนมีพิษต่อเซลล์ม้ามที่ค่า IC50=93.31 มก./มล. ไม่มีผลในการกระตุ้นการเพิ่มจำนวนเซลล์ภูมิคุ้มกันโดยตรง แต่มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเซลล์ภูมิคุ้มกันชนิดทีเซลล์และบีเซลล์
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
ใบอ่อนติ้วขน ไม่สามารถรับประทานได้แต่มีลักษณะทางกายภาพคล้ายคลึงกับติ้วขาวที่ใช้ใบอ่อนรับประทานเป็นผักได้ ดังนั้นจึงควรสังเกตุให้ดีก่อนนำไปรับประทาน สำหรับการใช้เป็นสมุนไพรก็ควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยควรใช้ในขนาดและปริมาณที่เหมาะสมที่ได้กำหนดไว้ในตำรับตำรายาต่างๆ ไม่ควรใช้ในขนาดและปริมาณที่มากจนเกินไปหรือใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไปเพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ สำหรับเด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังรวมถึงผู้ที่ต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำก่อนใช้ติ้วขนเป็นสมุนไพร ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเสมอ
เอกสารอ้างอิง ติ้วขน
- ก่องกานดา ชยามฤต, สมุนไพรไทยตอนที่ 6 กรุงเทพมหานคร 2540.
- สุรพงษ์ เก็งทอง. สมุนไพรพื้นบ้านในหมู่เกาะแสมสาร. รายงานการวิจัยโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. ภาควิชาและเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 20-21
- พญ. เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ. ติ้วขน. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. หน้าที่ 117.
- อรุณ จันทร์คำ. กาญจนา วงศ์กระจ่าง. สารสกัดสมุนไพรไทยต่อการต้านมะเร็งและต้านอนุมูลอิสระ. วารสารสิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาราชภัฎนครสวรรค์ปีที่9. ฉบับที่9 มกราคม-ธันวาคม 2560. หน้า 112-122.
- อัจฉราวดี แผนสนิทและคณะ. ไตรเทอร์ปีนและแซนโทน จากกิ่งอ่อนของต้นติ้วขาว. วารสารวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีปีที่13. ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2559. หน้า 74-81.
- Boonnak N., Kalalai C., Chantrapromma S., Ponglimanont C., Fun H.K., Kanjana-Opas A. and Laphppkhieo S. Bioactive prenylated xanthones and anthraquinones from Cratoxylum formosum ssp. Pruniflorum. Tetrahedron,62,37,2006:8850-8859.
- Duan Y.H., Dia Y., Wanh G,H., Zhang H., Chen H.F., Chen J.B., et al. Bioactive xanthones from the stems of Cratoxylum formosum ssp. Pruniflorum. Journal of natural products. 73: 1283-7.
- Boonsri S., Karalai C., Ponglimanont C., Kanjana-opas A and Chantrapromma K. Antibacterial and cytotoxic xanthones from the roots of Cratoxylum formosum. Phytochemistry, 67,7,2006: 723-727.
- Boonnak N. 2011. Thesis: chemical Constituents from the Cratoxylum cochinchinense and Cratoxylum formosum ssp. Prunifolum. Prince of Songkla University.