เทียนหยด ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย
เทียนหยด งานวิจัยและสรรพคุณ 12 ข้อ
ชื่อสมุนไพร เทียนหยด
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น พวงม่วง, ช่อม่วง, ฟองสมุทร, เทียนไข (ภาคกลาง), สาวบ่อลด, เครือออน (ภาคเหนือ), เอี่ยฉิ่ง (จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Duranta repens Linn.
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Duranta erecta Linn.
ชื่อสามัญ Golden dewdrop, Pigeon berry, Sky flower, Crepping Sky
วงศ์ VERBENACEAE
ถิ่นกำเนิดเทียนหยด
เทียนหยด เป็นพรรณไม้ที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในเขตร้อนของทวีปอเมริกาตั้งแต่รัฐแต่ฟลอริดาลงไปถึงบราซิลรวมถึงในหมู่เกาะอินดีสตะวันตกด้วย สำหรับในประเทศไทยไม่ปรากฏบันทึกว่ามีผู้ใดนำเพียงเข้ามาปลูกเมื่อใด แต่สันนิษฐานว่าคงเข้ามาเมื่อไม่นานมานี้เอง และในปัจจุบันสามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยมากจะใช้ปลูกเป็นไม้ประดับตามสวนสาธารณะ หรือ ตามบ้านเรือนทั่วไป
ประโยชน์และสรรพคุณเทียนหยด
- ใช้ตำพอกเป็นยาห้ามเลือด
- ใช้เป็นยาแก้ฝี ฝักบัว
- แก้หนอง
- แก้อักเสบ
- แก้บวม
- รักษาปลายเท้าเป็นห้อเลือด
- แก้บวม
- แก้อักเสบ
- เป็นหนอง
- ใช้เป็นยาแก้ไข้มาลาเรีย
- ใช่เร่งการคลอด (สำหรับสตรีตั้งครรภ์)
- รักษาอาการปวดหน้าอกจากการถูกกระแทก
มีการนำเทียนหยดมาใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป เพราะดอกมีสีสันสวยงาน ผลแก่ก็ที่มีสีเหลืองสดเป็นมันดูสดใสสวยงามส่งกลิ่นหอมอ่อนๆ และสามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี นอกจากนี้มีการนำเอาผลแก่ของเทียนหยด ที่มีสารแอลตาลอยด์ จำพวก NARCOTINE ไปหมักกับน้ำในอัตรา 1 ต่อ 100 ส่วนจะได้สารละลายซึ่งใช้ฆ่าลูกน้ำยุงในบ่อหรือที่น้ำขังได้
รูปแบบและขนาดวิธีใช้
- แก้ไข้มาลาเรีย และใช้เร่งการคลอด ใช้เมล็ดแห้งประมาณ 10-20 เมล็ด บดให้เป็นผงรับประทานก่อนที่จะมีอาการไข้ขึ้นประมาณ 2 ชั่วโมง
- รักษาปลายเท้าเป็นห้อเลือด แก้ฝีฝักบัว แก้หนอง แก้อักเสบ แก้บวม ใช้ใบสด พอประมาณตำผสมกับน้ำตาลทรายแดง 15 กรัม แล้วปั้นเป็นก้อน รมด้วยไฟอุ่นๆ ใช้พอกบริเวณที่เป็น
- รักษาอาการปวดหน้าอก จากการหกล้ม หรือ ถูกกระแทก โดยใช้เมล็ดประมาณ 15 กรัม นำมาตำเทียนหยด ให้ละเอียดผสมกับเหล้ากิน วันละ 1-2 เป๊ก
- ใช้เป็นยาห้ามเลือด โดยใช้ใบสดพอประมาณตำให้ละเอียดพอกบริเวณที่เป็นแผล
ลักษณะทั่วไปของเทียนหยด
เทียนหยด จัดเป็นไม้พุ่มขนาดย่อม มีอยู่ 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ ดอก สีม่วง และสายพันธุ์ดอกสีขาว ชนาดของต้น สูง 1-3 เมตร ลำต้นมักจะแตกกิ่งก้านสาขามากตามกิ่งมีหนามเล็กน้อย ใบดอกเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับตรงข้าม ใบเป็นรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบเรียวยาวไปจนถึงก้านใบ ใบกว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร และยาว 5-6 เซนติเมตร ขอบใบเป็นจักเป็นฟันเลื่อยเล็กน้อยก้านใบสั้น ดอก ออกเป็นช่อตามง่ามใบ โดยจะห้อยลงยาวประมาณ 4-10 ซม. ในแต่ละช่อจะประกอบด้วยดอกขนาดเล็กจำนวนมาก โดยมีดอกย่อยจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. กลีบดอกสีม่วงแกมน้ำเงิน หรือ สีขาวโดยดอกจะค่อยๆ ทยอยบานครั้งละ 4-5 ดอก ผล ติดผลเป็นพวงดกห้อยลงมาเป็นช่อเช่นเดียวกับดอก และจะมีผลขนาดเล็กจำนวนมาก ลักษณะกลมป้อม ผลอ่อนเปลือกผลสีเขียวเมื่อแก่ผิวเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเป็นมันสดใส คล้ายกับขี้เทียนหยด
การขยายพันธุ์เทียนหยด
เทียนหยดสามารถขยายพันธุ์ได้โดยวิธีการเพาะเมล็ด สำหรับวิธีการเพาะเมล็ด และปลูกนั้นก็สามารถทำได้เช่นเดียวกันกับการเพาะเมล็ด และปลูกพืชประเภทไม้พุ่ม และไม้ยืนต้นชนิดต่างๆ ในบทความก่อนหนักนี้ ทั้งนี้เทียนหยด ยังเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่ต้องแสงแดดแบบเต็มวัน แต่ก็ต้องการความชื้น และอินทรียวัตถุในดินสูง โดยทั่วไปควรรดน้ำ 2-3 วัน/ครั้ง และยังเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย หรือ ดินร่วนปนทราย ที่มีการระบายน้ำได้ดี
นอกจากนี้ควรตัดแต่งทรงพุ่มภายหลังการออกดอกเพราะจะทำให้การออกดอกในงวดต่อไปรวดเร็ว และก็ยังส่งผลให้ได้ทรงพุ่มตามที่เราต้องการอีกด้วย
องค์ประกอบทางเคมีเทียนหยด
จากการศึกษาวิจัยพบว่า ผลเทียนหยด มีสารจำพวกอัลคาลอยด์ ได้แก่ pyridine derivative, sterols, fructose,glucose ใบเทียนหยดมีสาร scutellarein, pectolinarigenin และยังมี durantoside I tethraacetate, durantoside I pentaacetate, durantoside IV tethraacetate, durantoside II tethraacetate, นอกจากนี้ยังมี chlorophyll, β-carotene, xanthophyll, แครอทีน ฯลฯ
นอกจากนี้ยังพบสารที่เป็นพิษในผลของต้นเทียนหยด ได้แก่ สารกลุ่มซาโปนินที่เป็นพิษ เช่น duratoside IV, duratoside V และในใบยังพบกรดไฮโดรไซยานิค (hydrocyanic acid, HCN) หรือ ไซยาไนด์ อีกด้วย
รูปภาพองค์ประกอบทางเคมีของเทียนหยด
ที่มา : Wikipedia
การศึกษาทางเภสัชวิทยาของเทียนหยด
จากการศึกษาวิจัยทั้งในประเทศไทย และในต่างประเทศพบว่า เทียนหยดได้ถูกจัดเป็นพืชที่มีพิษที่ต้องระมัดระวังในการใช้เป็นอย่างมาก เพราะในผลของเทียนหยด มีสารที่เป็นพิษต่อร่างกายมนุษย์ และอาจทำให้เกิดพิษที่รุนแรงจนเสียชีวิตได้
การศึกษาทางพิษวิทยาของเทียนหยด
จากการศึกษาวิจัยพบว่าในส่วนที่เป็นพิษของเทียนหยด คือ ใบ และผลโดยในใบเทียนหยด พบกรดไฮโดรไซยานิค (hydrocyanic acid) หรือ ไซยาไนด์ ผลเทียนหยดพบสารในกลุ่มซาโปนินที่เป็นพิษ เช่น duratoside IV, duratoside V หากรับประทานเข้าไปแล้วเคี้ยว อาจทำให้เสียชีวิตได้ (แต่หากไม่เคี้ยว ก็จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายแต่อย่างใด) ซึ่งหากรับประทานใบในปริมาณมาก จะทำให้เกิดอาการขาดออกซิเจน ทำให้มีอาการตัวเขียว เสียชีวิต ถ้าได้รับประทานในปริมาณน้อยก็อาจมีอาการอาเจียน และท้องเสีย
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
ในการใช้เทียนหยด เป็นสมุนไพรนั้นควรมีการระมัดระวังเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นพืชที่มีพิษโดยเฉพาะส่วนที่จะนำมาเป็นสมุนไพร โดยก่อนที่จะใช้สมุนไพรชนิดนี้ควรปรึกษาแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญก่อนเสมอ และไม่ควรนำมาใช้เอง เพราะอาจได้รับพิษ และก่อให้เกิดผลร้ายต่อสุขภาพร่างกายได้ นอกจากนี้ตามตำรายาไทย ยังได้ห้ามใช้สมุนไพรชนิดนี้ในสตรีมีครรภ์อย่างเด็ดขาดอีกด้วย
เอกสารอ้างอิง เทียนหยด
- เดชา ศิริภัทร. เทียนหยด. ไม้ประดับที่ผลงดงามกว่าดอก.คอลัมน์ต้นไม้ใบหญ้า. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 332. ธันวาคม. 2549
- ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. “ฟองสมุทร”. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. หน้า 579-580.
- ราชันย์ ภู่มา และ สมราน สุดดี. (บรรณาธิการ). (2557). ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันท์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้ และพันธุ์พืชกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. https://medthai.com/เทียนหยด, ฝอยทอง/
- รศ.ดร.นพมาศ สุนทรเจริญนนท์.ไม้ประดับมีพิษ...คิดสักนิดก่อนจะปลูก.ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
- นพมาศ สุนทรเจริญนนท์. พืชพิษ (Poisonous Plants). ใน รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล และคณะ (บรรณาธิการ). สมุนไพร: ยาไทยที่ควรรู้. กรุงเทพมหานคร: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ๊งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2542.
- วีณา จิรัจฉริยากูล (บรรณาธิการ). จุลสารข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2541;15(2):16-7.
- Kuo YH, Chen ZS, Len YL. Chemical components of the leaves Duranta repens Linn. Chem Pharm Bull 1996;44(2):429-36.
- Uamporn Veesommai and Thaya Janjittikul. Plant Materials in Thailand in 2001. 640 p.
- Council of Scientific & Industrial Research. The Wealth of India: A Dictionary of Indian Raw Materials and Industrial Products. Vol III: D-E. Calcutta: United Press, 1952.