สาร OPC
สาร OPC
ชื่อสามัญ Oligomeric Proanthocyanidins
ประเภทและข้อแตกต่างสาร OPC
สาร OPC เป็นสารที่จัดอยู่ในกลุ่มไบโอฟลาโวนอยด์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสารตระกูลฟลาโวนอยด์ถูกค้นพบครั้งแรกโดย ศาสตราจารย์ดอกเตอร์แจ๊ค มาสเควอริเย (Dr. Jack Masquelier) ชาวฝรั่งเศส จากการสกัดเปลือกถั่วลิสง โดยบังเอิญ OPC เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่เคลื่อนที่ได้คล่องแคล่ว เพราะสาร OPC มีขนาดโมเลกุลเล็ก คือ มีสาร Proanthocyanidins มีเพียง 2–3 กลุ่มโมเลกุล (หรือ ไม่เกิน 5 โมเลกุล) และยังมีฤทธิ์แรงกว่าวิตามินซี ถึง 20 เท่า และสูงกว่าวิตามินอี 50 เท่า จึงได้รับขนานนามว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูง (Super antioxidant) อีกทั้งยังสามารถละลายได้ทั้งในน้ำ และในน้ำมัน จึงสามารถแทรกซึมไปได้ทุกส่วนของเซลล์ร่างกาย แม้กระทั่งเซลล์สมอง เพราะสามารถผ่านเยื่อหุ้มหลอดเลือดสมองไปยังเนื้อสมองได้ (Blood Brain Barrier)
สำหรับประเภทของสาร OPC นั้น มีอยู่ในรูปแบบเดียว แต่อาจมีความแตกต่างกันในเรื่องของแหล่งที่มา และความบริสุทธิ์ของสาร OPC ที่สกัดได้จากแหล่งที่มานั้นๆ
แหล่งที่พบและแหล่งที่มาสาร OPC
สาร OPC เป็นสารที่พบในเมล็ด ดอก หรือ เปลือก ของพืช และผลไม้ต่างๆ โดยจะพบมากในพืชหลายชนิด เช่น เมล็ด และเปลือกขององุ่น เปลือกสน เปลือกต้นมะนาว เครนเบอร์รี่ เปลือกส้ม และชา เป็นต้น ซึ่งความเข้มข้นของสาร OPC ที่สกัดจากเมล็ดองุ่น มีความเข้มข้นถึง 80-95 % ในขณะที่สกัดจากเปลือกสนจะมี 85% ส่วนสาร OPC จากแหล่งอื่นๆ จะมีความเข้มข้นลดหลั่นกันลงมา
ปริมาณที่ควรได้รับจากสาร OPC
สำหรับขนาดที่ควรได้รับ ควรรับประทานของสาร OPC ใน 1 วันนั้น จะมีความแตกต่างกันโดยจะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ว่าต้องการประโยชน์ในด้านใด เช่น ในการใช้เพื่อต้านอนุมูลอิสระในชีวิตประจำวัน มีการแนะนำให้ใช้ในขนาด 50-100 มิลลิกรัม/วัน หากใช้เพื่อรักษาโรคเฉพาะโรค มีการแนะนำให้ใช้ในขนาด 100-400 มิลลิกรัม/วัน เป็นต้น
ประโยชน์และโทษสาร OPC
สำหรับประโยชน์ของสาร OPC นั้นมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเป็นสารที่มีความปลอดภัย และมีฤทธิ์เป็น free radical scavenger ทั้งในโมเดล in vitro และ in vivo โดยสามารถป้องกัน lipid peroxidation และความเสียหายต่อ DNA ได้มากกว่า วิตามิน C, E และบีต้าแคโรทีน หลายเท่า และยังมีรายงานว่าสาร OPC สามารถควบคุมเมตาบอลิซึมของ nitric oxide (NO) ในเซลล์ macrophage โดย quenching NO radical และยับยั้ง inducible nitric oxide synthase (iNOS) mRNA expression และ iNOS activity แต่ในทางกลับกัน OPC สามารถกระตุ้นการสร้าง NO ใน endothelial cells ได้โดยปริมาณของ NO ที่เหมาะสมจะช่วยลดการเกาะกลุ่มของ platelet (platelet aggregation) และยับยั้ง low-density lipoprotein (LDL) cholesterol oxidation ได้ และยังสามารถเสริมสร้างคอลลาเจน ในผิวหนัง ทำให้ผิวหนังแข็งแรงโดยลดการทำงานของเอ็นไซม์คอลลาจีเนส (Collagenase) ไฮยาลูโรนิเดส (Hyaluronidase) และอิลาสเตส (Elastase) นอกจากนี้เมื่อรับประทานร่วมกับวิตามินซีจะช่วยเสริมฤทธิ์วิตามินซี ช่วยในการนำวิตามินซีกลับมาใช้ใหม่ หรือ เรียกว่าเป็น Vitamin C cofactor ได้อีกด้วย
นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ด้านอื่นๆ อีกเช่น ป้องกัน การเสื่อมของดวงตา โรคต้อกระจก โรคจอประสาทตาเสื่อม จากโรคเบาหวาน (หลอดเลือดฝอยเสื่อมสภาพจากน้ำตาลล้นเกิน) ช่วยยับยั้งการเกาะตัวของคอเลสเตอรอลที่ผนังหลอดเลือด เพิ่มความสามารถในการไหลเวียนโลหิต ส่งเสริมให้เส้นเลือดฝอยแข็งแรงไม่เปราะ หรือ แตกหักง่าย ช่วยบรรเทาอาการเส้นเลือดขอด หรือ โป่งพองได้ป้องกันโรคหัวใจ บรรเทาอาการมือ และเท้าชา ป้องกันสมองมิให้เสียหายจากอนุมูลอิสระป้องกันโรคสมองเสื่อม หรือ โรคอัลไซเมอร์โดยสาร OPC จะเข้าไปขัดขวางการทำลายเซลล์สมองจากอนุมูลอิสระ ลดการหลั่งสารพรอสตาแกลนดินบางชนิด ที่ทำให้ปวด และอักเสบ จึงอาจใช้ลดอาการปวดก่อนมีประจำเดือนได้ ลดอาการภูมิแพ้ และหอบหืดโดยมีคุณสมบัติต้านสารฮีสตามีน ช่วยลดริ้วรอย ฝ้า และกระให้จางลง ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และป้องกันโรคเบาหวาน ประเภท 2 ลดไขมันคอเลสเตอรอลไม่ดี (LDL) เพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ช่วยบรรเทาอาการโรคสมาธิสั้น หรือ ADHD ( Attention Deficit Hyperactivity Disorder ) บำรุงสมอง เพิ่มความจำและกิจกรรมการเรียนรู้
การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องสาร OPC
มีผลการศึกษาวิจัยกลไกลการทำงานของสาร OPC ในการต้านอนุมูลอิสระในร่างกายของมนุษย์ระบุว่า สาร OPC เป็น Super antioxidant สามารถจับกับอนุมูลอิสระได้ดี และต้านอนุมูลอิสระจำนวนมากได้ทุกรูปแบบ โดยถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว ภายใน 20–30 นาที จากนั้นจึงกระจายไปสู่อวัยวะ และเนื้อเยื่อต่างๆ และยังคงอยู่ภายในร่างกายได้นาน 72 ชั่วโมง และสามารถรวมตัวได้ดีกับคอลลาเจนซึ่งเป็นโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบของผิวหนัง หลอดเลือด และอวัยวะต่างๆ จึงทำให้เซลล์ผิวหนังแข็งแรงไม่เหี่ยวย่น รวมถึงทำให้หลอดเลือดมีความยืดหยุ่นดี ไม่เปราะ หรือ แตกง่าย โดยเฉพาะอวัยวะที่มีเส้นเลือดฝอยที่ละเอียดอ่อนมากที่สุด คือ ดวงตา ซึ่ง Retina ต้องใช้เลือดหล่อเลี้ยงมาก และยังทำงานร่วมกับวิตามินซี ในการทำให้คอลลาเจนทั่วร่างกายแข็งแรงขึ้น และยังช่วยป้องกันการสูญเสียวิตามินซี และวิตามินอี
นอกจากนี้ยังสามารถต้านอนุมูลอิสระที่มาทำลายคอลลาเจน อิลาสติน และการผลิตเม็ดสี อันเป็นสาเหตุทำให้ผิวเสื่อมสภาพ และเกิดริ้วรอยก่อนวัยอันควร
ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดสาร OPC
มีการศึกษาวิจัยในยุโรป โดยมีการศึกษาในผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 1,200 คน ที่ได้รับพิกนอจินอล (สาร OPC สกัดจากเปลือกสน มาริไทน์ฝรั่งเศส) วันละ 20-160 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 6 เดือน จากผลการศึกษาวิจัย พบว่าพิกไนจินอลช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานลดลง และจากการศึกษาเพิ่มเติมพบว่าสารที่มีฤทธิ์เป็นตัวยับยั้งกลูโคส (Alpha-glucosidase inhibitors) คือ สารชนิดหนึ่งที่พบอยู่ในสาร OPC ที่สกัดจากเปลือกสนของต้นสนมาริไทม์ฝรั่งเศส
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิจัยในด้านอื่นๆ อีก เช่น ฤทธิ์ปกป้องเซลล์ประสาทของสาร OPC จากเมล็ดองุ่นต่อการสร้างอนุมูลอิสระ และการทำลายสมองจากการเหนี่ยวนำด้วยอาหารไขมันสูงในหนู โดยมีการศึกษานี้ใช้หนูเพศผู้พันธุ์วิสตาร์จำนวน 40 ตัว ซึ่งจะแบ่งหนูแบบสุ่มออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 8 ตัว ในกลุ่มที่ 1 ได้รับอาหารพื้นฐาน กลุ่ม 2 ได้รับอาหารไขมันสูง กลุ่ม 3 ได้รับอาหารไขมันสูงร่วมกับยาลดไขมัน fenofibrate 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน โดยการป้อนทางปากและเริ่มให้ในสัปดาห์ที่ 4 ของการทดลองจัดเป็นกลุ่มอ้างอิง กลุ่ม 4 และ 5 ได้รับอาหารไขมันสูงร่วมกับ สาร OPC จากเมล็ดองุ่นที่ความเข้มข้น 0.5% และ 1.0% ตามลำดับโดยให้ ผสมในอาหารไขมันสูงติดต่อกันเป็นเวลา 8 สัปดาห์ เมื่อครบกำหนดระยะเวลา ทำให้หนูหมดความรู้สึกโดยการสลบด้วย pentobarbital 60 มิลลิลิตร/กิโลกรัม เจาะเก็บเลือดจากช่องหัวใจล่างซ้ายและเก็บสมอง แยกส่วนของสมองออกเป็น 2 ส่วน ด้านซ้ายแยกออกเป็น 3 ส่วน คือ cerebral cortex, cerebellum และ hippocampus เพื่อศึกษาการตายของเซลล์ประสาทโดยการนับจำนวน dark neuron และสมองซีกขวานำมาเตรียม brain homogenate เพื่อตรวจวัดปริมาณ malondialdehyde (MDA) ซึ่งเป็น marker ของการเกิด lipid peroxidation และ ตรวจหาปริมาณ MDA ในเลือด และในสมองลดลง ยังลดปริมารการสร้าง NO (nitric oxide) ที่สร้างขึ้น ผลการทดลองพบว่า สาร OPC จากเมล็ดองุ่นมีผลทำให้ปริมาณ MDA ในเลือด และในสมองลดลง ยังลดปริมาณการสร้าง NO ในสมองที่เพิ่มสูงขึ้นจากการได้รับอาหารไขมันสูง และระดับ NO ที่สร้างขึ้นในเลือดเพิ่มสูงขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับอาหารไขมันสูง ผลการศึกษาทางพยาธิวิทยา แสดงให้เห็นการตายของเซลล์ประสาทได้เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับอาหารไขมันสูงผลจากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสาร OPC จากเมล็ดองุ่นมีประโยชน์ในการปกป้องเซลล์ประสาทถูกทำลายจากอนุมูลอิสระที่เหนี่ยวนำด้วยอาหารไขมันสูงโดยมีฤทธิ์ลดไขมันในเลือด และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
ข้อแนะนำและข้อควรปฏิบัติ
- เด็ก และสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน
- งดใช้ สาร OPC ร่วมกับยาที่ทำให้เกล็ดเลือดจับตัวช้า เช่น Warfarin, Heparin, Aspirin
- การใช้ OPC อาจทำให้เกิดการต้านฤทธิ์กินของยาปฏิชีวนะบางชนิด เช่น ยา tetracyclin เป็นต้น
- สาร OPC อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียง คือ ทำให้เลือดออกง่าย และไม่จับตัวกัน ดังนั้นก่อนหรือหลังการผ่าตัด ประมาณ 1 เดือน ไม่ควรบริโภคสาร OPC
เอกสารอ้างอิง สาร OPC
- Van Acker, S.A., Tromp, M. N., Haenen, G.R., van der Vijgh W.J., and Bast, A. 1995. Flavonoids as scavenger of nitric oxide radical. Biochemical and Biophysical Research Communications 214: 755-759.
- National Health and Nutrition Examination Survey. (1997). Intake of vitamins E, C, and A and risk of lung cancer. The NHANES I epidemiologic followup study. First National Health and Nutrition Examination Survey. Am J Epidemiol, 146(3), 231-43
- Bagchi, D., Bagchi, M., Stohs, S.J., Das, D.K., Ray, S.D., Kuszynski, C.A., Joshi, S.S., and Pruess, H.G. 2000. Free radicals and grape seed proanthocyanidin extract: importance in human health and disease prevention. Toxicology 148(2-3), Aug 7, 187-97.
- Murray, M.T. (1995). The healing power of herbs. Rocklin, CA, Prima Publishing.
- Kobuchi, H., Virgili, F., and Packer, L. 1999. Assay of inducible form of nitric oxide synthase activity: effect of flavonoids and plant extracts. Methods in Enzymology 301: 504-513.
- Ward NC, Hodgson JM, Croft KD, et al. The combination of vitamin C and grape-seed polyphenols increases blood pressure: a randomized, double-blind, placebo-controlled trial. J Hypertens. 2005 Feb;23(2):427-34.
- Packer L., Rimbach G., and Virgili, F. 1999. Antioxidant activity and biological properties of a procyanidin-rich extract from pine (Pinus maritima) bark: pycnogenol. Free Radical Biology&Medicine 27(5-6): 704-724
- Tixier, J.M., Godeau, G., Robert, A.M.,& Hornebeck, W. (1984). Evidence by in vivo and in vitro studies that binding of pycnogenols to elastin affects its rate of degradation by elastases. Biochem Pharnacol, 33(24), 3933-3939