ปวยเล้ง ประโยชน์ดีๆ สรรพรคุณเด่นๆและข้อมูลงานวิจัย
ปวยเล้ง งานวิจัยและสรรพคุณ 16 ข้อ
ชื่อสมุนไพร ปวยเล้ง
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น ป๋วยเล้ง, ผักขมฝรั่ง (ทั่วไป)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Splnacia oleracea Linn.
ชื่อสามัญ Spinach
วงศ์ CHEMOPODIACEAE
ถิ่นกำเนิดปวยเล้ง
ปวยเล้งเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียอีกชนิดหนึ่ง โดยมีหลักฐานทางพฤกษศาสตร์ระบุว่าปวยเล้ง มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในแถบเปอเซีย ในอดีต หรือ อิหร่านในปัจจุบัน ซึ่งคนท้องถิ่นเรียกว่า แอสปานัคห์ จากนั้นได้เริ่มแพร่เข้ามาในประเทศเนปาล และแพร่เข้าสู่ประเทศจีน โดยกษัตริย์แห่งเนปาล ได้นำปวยเล้งเข้ามาถวายแก่จักรพรรดิจีน ส่วนในยุโรปเมื่อชาวเปอร์เซียได้ยกทัพไปบุกสเปนในศตวรรษที่ 11 ก็ได้นำปวยเล้งเป็นเสบียงอาหารในยามสู้รบ ด้วยเหตุนี้ปวยเล้งจึงได้แพร่เข้ายุโรป ในช่วงศตวรรษที่ 14 ผ่านทางประเทศสเปน และได้แพร่กระจายไปทั่วโลกในปัจจุบัน ส่วนในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ แต่พบว่านิยมปลูกกันมากในภาคเหนือและภาคกลาง
ประโยชน์และสรรพคุณปวยเล้ง
- ช่วยบำรุงเลือด
- ช่วยห้ามเลือด
- รักษาอาการกำเดาออก
- แก้อุจจาระเป็นเลือด
- แก้ท้องผูก
- ช่วยบำรุงสายตา
- ช่วยบำรุงสมอง
- บำรุงผิวพรรณให้ผุดผ่อง
- บำรุงประสาท
- แก้โรคมะเร็ง
- รักษาโรคตามองไม่เห็นในเวลากลางคืน
- แก้โรคซึมเศร้า
- รักษาโลหิตจาง
- แก้โรคสมองเสื่อม
- ช่วยกระตุ้นความจำ
- รักษาแผลในกระเพาะอาหาร
ปวยเล้งถูกนำมาใช้ในด้านอาหารเป็นหลักมาตั้งแต่โบราณแล้ว โดยในอดีตชาวชาวอาหรับถึงกับให้สมญาผักปวยเล้งว่า “ราชาแห่งผัก” ซึ่งปวยเล้งสามารถนำมารับประทานได้ทั้งก้านใบ และดอก และยังเป็นผักที่มีคุณค่า ทางโภชนาการสูง นิยมรับประทานเป็นผักสด ผักลวก และใช้ประกอบอาหารหลายเมนู ทั้งนี้มีการศึกษาวิจัยในผักปวยเล้ง 600 กรัม มีโปรตีนถึง 12 กรัม ซึ่งเท่ากับไข่ 2 ฟอง สูงกว่าโปรตีนในผักกาดขาว 2 เท่า และมีแคโรทีน 17.76 มก. ซึ่งมากกว่าในหัวผักกาดขาว และมีวิตามินซี 174 มก. ซึ่งมากกว่าในหัวผักกาดขาว 2 เท่า สูงกว่าผักกาดขาว 1 เท่า โดยนักวิชาการเชื่อว่าผักปวยเล้งเป็นผักที่เหมาะสำหรับเด็ก และผู้ป่วยอีกด้วย นอกจากจะนำปวยเล้งมาเป็นอาหารแล้วในด้านสมุนไพรยังนำปวยเล้งมาเป็นสมุนไพร บำบัดรักษาโรค ต่างๆอีก โดยมีการระบุถึงสรรพคุณดังนี้
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ปวยเล้ง
สำหรับรูปแบบการใช้ปวยเล้ง เป็นสมุนไพรนั้นก็มีรูปแบบการใช้รับประทาน เช่นเดียวกับการนำไปทำอาหาร โดยมีรูปแบบปละวิธีการใช้ที่ได้ระบุไว้ในตำรับตำรายาดังนี้
ใช้รักษาโรคตามองไม่เห็นในเวลากลางคืน โดยใช้ผักปวยเล้ง 300 กรัม ตำให้แหลกคั้นเอาน้ำ ดื่มตอนเช้า และเย็นติดต่อกันระยะหนึ่ง แก้อาการท้องผูกไม่ถ่าย โดยใช้ผักปวยเล้ง 300 กรัม ลวกในน้ำเดือดแล้วคลุกกับน้ำมันงา กินเช้า และเย็น ใช้รักษาโลหิตจาง โดยนำผักปวยเล้งผัดกับตับหมูกินเป็นประจำ นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีการนำปวยเล้งมาสกัดในรูปแบบผักปวยเล้งอัดเม็ด รวมถึง ผักรวม อัดเม็ด เพื่อนำมาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ ดังนั้นทางองค์การอาหาร และยาจึงได้มีการกำหนดรูปแบบ และขนาดวิธีใช้เอาไว้ดังนี้ กำหนดให้ใช้ใบ บดผง หรือ สกัดด้วยน้ำ ให้มีปริมาณการบริโภค ไม่เกิน 800 ไมโครกรัม/วัน (คำนวณเป็นวิตามินA) และมีปริมาณอาหารไม่เกิน 25 กรัม/วัน
ลักษณะทั่วไปของปวยเล้ง
ปวยเล้ง จัดเป็นพืชล้มลุกฤดูเดียว สูงได้ถึงประมาณ 30-50 เซนติเมตร โดยเป็นพืชที่มีลำต้นสั้น ส่วนระบบรากประกอบด้วยรากแก้ว และแตกรากฝอยออกด้านข้าง โคนรากมักเป็นสีชมพูเช่นเดียวกับโคนต้น
ใบ ออกเป็นใบเดียวเรียงสลับโดยจะออกเวียนล้อมรอบลำต้น ประกอบด้วยก้านใบเรียวยาว มีความยาวประมาณ 15-30 เซนติเมตร ลักษณะก้านใบด้านล่างบน ก้านใบด้านบนเว้าเป็นร่องตรงกลาง คล้ายก้านผักกาดส่วนแผ่นใบมีลักษณะเป็นรูปไข่หรือฐานสามเหลี่ยมมีขนาดใหญ่สีเขียวเข้มค่อนข้างหนา และเป็นมัน ใต้แผ่นใบมีขนอ่อนขึ้นปกคลุม กว้างประมาณ 5-10 เซนติเมตร ยาว 8-15 เซนติเมตร แผ่นใบ และขอบใบมีทั้งชนิดขอบย่น และเรียบ
ดอก ออกเป็นช่อตรงกลางลำต้น ทั้งดอกสมบูรณ์เพศ ดอกแยกเพศอยู่คนละต้น และดอกแยกเพศแต่อยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกยาว 5-10 เซนติเมตร มีดอกย่อยสีเหลืองเขียวขนาด 3-4 มิลลิเมตร อยู่จำนวนมาก
ผล เป็นรูปทรงกลม หรือ รูปไข่ขนาดเล็ก 5-10 มิลลิเมตร ส่วนด้านในมีเมล็ดจำนวนมาก ส่วนเมล็ดปวยเล้งจะมี 2 ลักษณะ คือ เมล็ดกลม ที่เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกมากในแถบฤดูหนาว และเมล็ดหนาม ที่เป็นพันธุ์ปลูกมากในประเทศอบอุ่น
การขยายพันธุ์ปวยเล้ง
ปวยเล้ง สามารถขยายพันธุ์โดยวิธีการใช้เมล็ด โดยมีวิธีการอยู่ 2 วิธี ขั้นตอนแรก แปลงปลูกจะต้องพรวนดินอย่างน้อย 1 ครั้ง และตากดินนาน 5-7 วัน จากนั้นไถยกร่อง กว้างประมาณ 1-1.5 เมตร ยาวตามขนาดของพื้นที่หรือตัดแบ่งความยาวออกตามความเหมาะสม
การหว่านเมล็ด จากนั้นวิธีการปลูกใช้เมล็ดจะทำได้โดย 2 วิธี คือ การเพาะเมล็ด และการหยอดเมล็ดดังนี้ สำหรับการหว่านเมล็ดควรให้มีระยะห่าง 10-15 เซนติเมตร ก่อนคราดเกลี่ยกลบหน้าดิน แล้วรดน้ำให้ชุ่ม
อีกวิธีหนึ่ง คือ การหยอดเมล็ด โดยใช้ไม้ขีดรากเป็นร่องตื้นๆ ตามแนวยาวของแปลง ระยะห่างระหว่างร่อง 15-20 เซนติเมตร ก่อนหยอดเมล็ดเป็นจุดๆ ห่างกันแต่ละจุด 10-15 เซนติเมตร แล้วคราดเกลี่ยกลบร่อง แล้วรดน้ำให้ชุ่ม
หลังจากการปลูก 5-7 วันแรก ให้รดน้ำทุกวันเพียงพอชุ่ม หลังจากนั้นให้เว้นระยะการให้น้ำเป็นวันละครั้ง หรือ 3-4 ครั้ง/สัปดาห์ ส่วนการให้ปุ๋ยหลังการปลูก 10-15 วัน ใส่ปุ๋ยคอก 1 ถังเล็ก/2 ตารางเมตร หรือ ประมาณ 1.5-2.5 ตัน/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 16-8-8 อัตรา 1 กำมือ/2 ตารางเมตร หรือ ประมาณ 10-20 กิโลกรัม/ไร่
องค์ประกอบทางเคมี
มีการศึกษาวิจัยองค์ประกอบทางเคมีปวยเล้ง ระบุว่าพบสารออกฤทธิ์ที่สำคัญหลายชนิด เช่น Spinacetin spinatoside-glucose hexuronglated methylennedioxy flavonoid, inositol glysorol, palmitic acid, hexadecatrienoic acid, linoleic acid, erucic acid, palmitolic acid, lutein และ neoxanthin เป็นต้น นอกจากนี้ปวยเล้งยังมีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้
คุณค่าทางโภชนาการของปวยเล้ง (100 กรัม)
พลังงาน | 25 | กิโลแคลอรี่ |
โปรตีน | 2.6 | กรัม |
ไขมัน | 0.9 | กรัม |
คาร์โบไฮเดรต | 1.6 | กรัม |
ใยอาหาร | 0.7 | กรัม |
แคลเซียม | 54 | มิลลิกรัม |
เหล็ก | 0.1 | มิลลิกรัม |
ฟอสฟอรัส | 60 | มิลลิกรัม |
วิตามิน A | 0.05 | มิลลิกรัม |
วิตามิน B2 | 0.48 | มิลลิกรัม |
วิตามิน B3 | 0.4 | มิลลิกรัม |
วิตามิน C | 15 | มิลลิกรัม |
วิตามิน B6 | 0.2 | ไมโครกรัม |
เบต้า-แคโรทีน | 2520 | ไมโครกรัม |
การศึกษาทางเภสัชวิทยาของปวยเล้ง
มีรายงานผลการศึกษาเภสัชวิทยาของปวยเล้ง หลายฉบับได้ระบุถึงฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาเอาไว้ ดังนี้
ฤทธิ์ต้านมะเร็ง มีการศึกษาวิจัยอย่างน้อย 13 ชนิด ในกลุ่ม methylenedioxyflavonoid glucuronides ที่มีคุณสมบัติต้านออกซิเดชัน และต้านมะเร็งในสารสกัดปวยเล้งที่มีฤทธิ์ชะลอในการแบ่งตัวของเซลล์ มะเร็งในหลอดอาหารในหลอดทดลอง และเมื่อทำการทดลองในหนูพบว่าสารสกัดปวยเล้ง ลดการเกิดมะเร็งผิวหนัง และยังมีการศึกษาวิจัยในประเทศ สหรัฐอเมริกา พบว่าสตรีที่กินปวยเล้งมีอัตราการเกิดมะเร็งเต้านมต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่กินปวยเล้ง
นอกจากนี้ มีรายงานวารสารโภชนาการว่าสารนีโอแซนทิน กระตุ้นเซลล์อัณฑะให้ทำลายตนเอง และถูกระบบลำไส้เปลี่ยนเป็นสารใหม่ที่มีคุณสมบัติแบ่งตัวของเซลล์ มะเร็งอัณฑะอีกด้วย
ฤทธิ์ต้านอนมูลอิสระและปกป้องสมอง มีรายงานจากวารสารการทดลองประสาทวิทยา มีรายงานว่าเมื่อกระตุ้นให้สมองขาดออกซิเจน ในหนูทดลองที่ได้รับผักปวยเล้ง ร้อยละ 2 ในอาหารเป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าบริเวณที่สมองถูกทำลาย มีขนาดเล็กกว่ากลุ่มได้รับอาหารธรรมดาครึ่งหนึ่ง โดยหนูเหล่านี้เพิ่มความสามารถในการเคลื่อนไหวได้หลังการทดลองดีกว่ากลุ่มควบคุม ซึ่งนักวิจัยเชื่อว่าสารออกซิเดชันในปวยเล้งเข้าไปต้านอนุมูลอิสระที่ถูกปลดปล่อยในเซลล์สมองหลังขาดออกซิเจน และลดความเสียหายของไลปิด โปรตีน และสารพันธุกรรมในเซลล์สมองอันเป็นเหตุให้สัตว์ ทดลองถึงแก่ความตายได้
ฤทธิ์ลดความดันโลหิต มีรายงานการศึกษาวิจัยฉบับหนึ่ง ได้ศึกษาสรรพคุณของปวยเล้ง ในคนสุขภาพดีจำนวน 27 คน โดยให้กลุ่มนี้บริโภคปวยเล้งติดต่อกัน 7 วัน พบว่าความดันโลหิตของคนกลุ่มนี้ลดลงอยู่ในระดับที่เหมาะสม
การศึกษาทางพิษวิทยาของปวยเล้ง
ไม่มีข้อมูล
ข้อแนะนำและข้อควรรวัง
ในการนำปวยเล้ง มาบริโภคควรระมัดระวังในการรับประทานเนื่องจาก ผักปวยเล้งมีสารออกซาเลตมราสามารถสะสมในร่างกาย และรบกวนการดูดซึมแคลเซียม ในร่างกายได้ ดังนั้นผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับนิ่ว กรดยูริก และผู้ที่เป็นโรคเก๊าส์ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคแบบสดๆ และไม่ควรบริโภคในปริมาณมาก และควรบริโภคปวยเล้งร่วมกับผักผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น ฝรั่ง พริกหวาน มะเขือเทศ เพื่อช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กจากปวยเล้งได้ดีขึ้น ส่วนการทำปวยเล้งผัดน้ำมันควรลวกผักในน้ำเดือดก่อนผัด เพราะความร้อนจะทำลายกรดออกซาลิกได้ถึง ร้อยละ 80
เอกสารอ้างอิง ปวยเล้ง
- วิทิต วัณนาวิมูล. ผักป๋วยเล้ง ธาตุเหล็กจากพืช. คอลัมน์อาหารสมุนไพร. นิตยาสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 96. เมษายน 2530.
- ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่องรายชื่อพืชที่ใช้ได้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2560.
- รศ. ดร. สุธาทิพย์ ภมรประวัติ. ผักขม. คอลัมน์ เรื่องเด่นจากปก. นิตยาสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 333. มกราคม 2550.
- ปวยเล้ง /ป็วยเล้ง (Spinach) สรรพคุณการปลูกปวยเล้ง. พืชเกษตรดอทคอม เว็บเพื่อพืชเกษตรไทย (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.puechkaset.com
- ประโยชน์ของปวยเล้ง ผักใบเขียวเพื่อสุขภาพ. พบแพทย์ดอทคอม (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.pobpad.com