เหียง ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย
เหียง งานวิจัยและสรรพคุณ 12 ข้อ
ชื่อสมุนไพร เหียง
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น ยางเหียง (จันทบุรี, ราชบุรี), สะแบง(อุตรดิต), ตะแบง(ภาคตะวันออก),เหียงหลวง,เหียงโยน(ประจวบคีรีขันธ์), ตาด(พิษณุโลก,จันทบุรี), ซาด,ชาด(ชัยภูมิ, คราด(นตรพนม),กุง(มลายู),ตะลาอ่ออามือ,สาละอองโว(กะเหรี่ยง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dipterocarpus obtusifolius Teijsm. Ex Mig.
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Diperocarpus punctulatus Pierre.
ชื่อสามัญ Hairy keruing
วงศ์ DIPTEROCARPACEAE
ถิ่นกำเนิดของเหียง
เหียงจัดเป็นพืชในวงศ์ยางนา (Dipterocarpaceae) ที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปเอเชียบริเวณภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยมีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย ศรีลังกา บังคลาเทศ พม่า ไทย ลาว เวียดนาม และกัมพูชา เป็นต้น สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศแต่จะพบมากในภาคเหนือและภาคอีสานบริเวณ ป่าเต็งรัง ป่าสนเขา ป่าชายหาด ป่าแดง และตามป่าเบญจพรรณ ที่ระดับความสูงระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 100-1,000 เมตร
ประโยชน์และสรรพคุณเหียง
- แก้ปวดฟัน ฟันโยกคลอน
- เป็นยาตัดลูก (ทำให้ไม่มีบุตร)
- ช่วยขับเสมหะ
- ช่วยขับปัสสาวะ
- รักษาแผลในทางเดินปัสสาวะ
- แก้ตกขาว
- ช่วยคุมกำเนิด
- ช่วยสมานแผล
- แก้หนอง
- ช่วยรักษาใช้ทาแผลภายนอก
- แก้ท้องเสีย
- แก้บิด
ในอดีตมีการนำเหียงมาใช้ประโยชน์ เช่น กลีบของดอกเหียงสามารถนำมารับประทานเป็นผักชนิดหนึ่ง มีรสเปรี้ยวเล็กน้อย จะใช้จิ้มกับน้ำพริกรับประทาน ใบแก่ มีการนำมาใช้ห่อของ ห่ออาหาร ต่อยาสูบ แทนใบกล้วย และยังสามารถนำมาเย็บเป็นตับใช้มุงหลังคากั้นเป็นฝาผนังได้เหมือนใบพลวงยางไม้หรือน้ำมันจากต้นสามารถใช้ยาแนวเรือเครื่องจักรสวน ยาไม้ ทำไต้ ทาไม้ได้ ส่วนเนื้อไม้มีสีน้ำตาลอ่อนปนแดงมีความแข็งสามารถเลื้อยผ่าไสกบตบแต่งๆได้ง่าย นำมาใช้ในงานก่อสร้างที่อยู่อาศัย เครื่องมือ หรือเครื่องใช้สอย
รูปแบบและขนาดวิธีใช้เหียง
ใช้ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ แก้ตกขาว ใช้คุมกำเนิด โดยใช้ยางของต้นเหียงมาผสมกับน้ำร้อนหรือนำลงต้มกับน้ำดื่ม ใช้แก้บิด แก้ท้องเสีย โดยใช้เปลือกต้นตากแห้งมาต้มน้ำดื่ม ใช้แก้ปวดฟัน ฟันผุ ฟันโยกคลอน โดยใช้ใบมาต้มกับน้ำมาผวมเกลืออม ใช้สมานแผล แก้ฝี แก้หนอง โดยใช้น้ำยางมาทาบริเวณที่เป็น
ลักษณะทั่วไปของเหียง
เหียงจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางผลัดใบสูง 8-30 เมตร เรือนยอดเล็ก แตกกิ่งก้านน้อย ลำต้นเปลาตรง เปลือกต้นหนาสีน้ำตาลหรือเทา แตกเป็นสะเก็ดหนาหรือเป็นร่องลึก ตามยาว เนื้อไม้สีน้ำตาลอ่อนถึงสีน้ำตาลแดง กิ่งอ่อนเป็นขนสีขาวปกคลุม
ใบ เป็นใบเดี่ยวออกแบบเรียงสลับ ใบเป็นรูปไข่ขนาดใหญ่กว้าง 10-18 เซนติเมตร ยาว 15-30 เซนติเมตร โคนใบมนหรือหยักเว้าตื้น ฐานเป็นรูปหัวใจ ปลายใบมน ขอบใบเรียบเป็นหยักคลื่นตามเส้นใบ เนื้อใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ใบอ่อนเป็นขนยาวแหลมผิวใบด้านบนมีสีเขียวเข้ม ท้องใบมีสีอ่อนกว่าแต่ทั้งด้านบนและท้องใบจะมีขนเล็กน้อย ใบมีเส้นข้างประมาณ 10-18 คู่ และมีก้านใบยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร มีขนขึ้นหนาแน่น
ดอก ออกเป็นช่อโดยจะออกรวมเป็นช่อเดียว บริเวณซอกใบใกล้ใบกิ่งโดยจะออกกลุ่มละ 3-7 ดอก มีแกนก้านรูปซิกแซก มีขนขึ้นหนาแน่น มีก้านช่อดอกยาว 2-5 เซนติเมตร สำหรับดอกย่อยมีเส้นผ่านศูนย์กลางดอก 4-5 เซนติเมตร ขนาดกลีบกว้าง 0.5-1 เซนติเมตร ยาว 4.8-5 เซนติเมตร มี 5 กลีบ เป็นสีชมพูสด กลีบดออกรูปกรวย โคนกลีบชิดกันปลายบิดเวียนเป็นรูปกังหัน
ผล เป็นผลแห้งแบบผนังชั้นแข็ง มีลักษณะกลมเกลี้ยงและแข็ง มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5-3 เซนติเมตร เมื่ออ่อนจะมีสีเขียวนวล และมีขนปกคลุม แต่เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเป็นมัน เรียบเกลั้ยงและมีปีกที่พัฒนามาจากกลีบเลี้ยงของดอก 5 ปีก โดยจะแบ่งเป็นปีกยาวลักษณะเป็นรูปขอบขนาน 2 ปีก ซึ่งมีขนาดกว้าง 2.3 เซนติเมตร และยาว 13 เซนติเมตร ส่วนอีก 3 ปีกเล็ก มีขนาดยาว 1-1.5 เซนติเมตร มีหยักลึกติดอยู่รอบๆ ผลโดยเมื่อปีกยังอ่อนจะมีสีแดงสดแต่เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาล ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด
การขยายพันธุ์เหียง
เหียงจัดเป็นไม้ยืนต้นที่มีความสูงชิดหนึ่ง ดังนั้นการขยายพันธุ์จึงทำได้โดยการเพาะเมล็ดโดยมีวิธีการดังนี้ นำเมล็ดแก่ของเหียงมาผ่านการปฏิบัติทำให้เมล็ดงอกได้เร็ว เช่น แช่น้ำร้อน การขลิปตัดหรือแช่กรดแล้ว จากนั้นรดน้ำให้ชุ่มแล้วกรดเมล็ดลงให้จมต่ำกว่าผิวดินประมาณ 3-5 มิลลิเมตร วิธีการวางเมล็ดคือวางนอนราบหรือวางเมล็ดก่อน กดลงให้จมดิน จากนั้นรอให้ต้นกล้าออกและมีใบจริง 1-2 คู่ จึงนำไปปลูกต่อไป สำหรับหารปลูกหลังจากขุดหลุมเตรียมปลูกแล้วให้ใช้มีดกรีดถุงมืออก แล้ววางต้นไม้ลงในหลุมที่ขุดให้ระดับรอยต่อระหว่างลำต้นระหว่างต้นกับรากอยู่เสมอกับระดับขอบหลุม แล้วกลบหลุมด้วยดินที่ผสมที่เตรียมไว้สำหรับปลูกหรือใช้ดินที่ขุดขึ้น จากหลุมที่เป็นดินร่วนปนทราย หรือดินที่มีความร่วนซุย เมื่อกลบหลุมเสร็จแล้วใช้เท้าเหยียบดินให้แน่นพอประมาณ นำเศษใบไม้หญ้าหรือฟางมาคลุมรอบโคนต้นเพื่อรักษาความชุ่มชื้นและป้องกันการกัดเซาะของน้ำในขณะรดน้ำต้นไม้ หาไม้หลักซึ่งมีความสูงมากกว่าต้นไม้พอประมาณมาปักข้างๆ ผูกเชือกยึดกับต้นไม้อย่างหลวมๆ เพื่อช่วยให้การทรงตัวของต้นไม้เมื่อปลูกเสร็จรดน้ำให้ชุ่มและถ้าเป็นไปได้ควรรดน้ำวันละครั้ง จนต้นไม้ตั้งตัวได้
องค์ประกอบทางเคมี
มีรายงานผลการศึกษาวิจัยองค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดจากส่วน ใบ เปลือกต้น และลำต้น ของเหียงระบุว่าพบสารออกฤทธิ์ที่สำคัญหลายชนิด อาทิเช่น Daphneresinol, +-neo-oilxil, methyl gallate, bergenin, Asiatic acid, blumenol A เป็นต้น และสารสกัดจากลำต้นของ เหียงพบสารกลุ่ม ไตรเทอร์ปีน 5 ชนิด ได้แก่ 3-oxo-20-hydroxy-30α-methyl,17α-epoxy-28-norlupane,3-oxo-20-hydroxy-30β-methyl-17α-28-norlupan-3,20 dioxo-28,29-17α-pl,27-demethyl-20-dammar-23-ene-20-ol-3,25-dione, 3-epi-cecropic acid
Sesquiterpenes ได้แก่ Caryophrllene humulene
กลุ่ม Triterpene ได้แก่ Butulinic acid Hedraginic acid dryobolanonoloic acid dryobalanolide
กลุ่ม oilgostibenoid ได้แก่ leavifonol, amppelopsin E, diptoinnodesin A
กลุ่ม Curmarin ได้แก่ Scopoletin, bergrnin
นอกจากนี้สารสกัดจากเปลือกต้นของเหียงยังพบสารกลุ่มต่างๆ อีกเช่น กลุ่ม Resveratol ได้แก่ Bergenin, malavsianol A, lavifinol, ampelopsin E และกลุ่ม Phytosterol ได้แก่ β-sitosterol
การศึกษาทางเภสัชวิทยาของเหียง
มีรายงานผลการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของสารสกัดจากส่วนต่างๆ ของเหียงในต่างประเทศระบุว่ามีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาต่างๆ ดังนี้ มีการต้านไวรัสเอดส์ ฤทธิ์ต้านการอักเสบ ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย ฤทธิ์ต้านเชื้อรา มีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระ และมีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งอีกด้วย
การศึกษาทางพิษวิทยาของเหียง
ไม่มีข้อมูล
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
สตรีมีครรภ์ ไม่ควรใช้เหียงเป็นยาสมุนไพรเนื่องจากในตำรายาไทยและตำรายาพื้นบ้านได้ระบุถึงสรรพคุณของเหียงว่ามีฤทธิ์เป็นยาคุมกำเนิด ซึ่งหากนำมาใช้ในสตรีมีครรภ์อาจทำให้เกิดอาการแท้งบุตรได้ สำหรับบุคคลกลุ่มอื่นก็ควรระมัดระวังในการใช้เหียงมาใช้เป็นสมุนไพรเช่นเดียวกันกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยใช้ในขนาดและปริมาณที่เหมาะสมที่ได้ระบุไว้ในตำรับตำรายาต่างๆ ไม่ควรใช้ในขนาดและปริมาณที่มากจนเกินไปหรือใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไปเพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้
เอกสารอ้างอิง เหียง
- พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ. เหียง. หนังสือสมุนไพรในอุทธยานแห่งชาติภาคเหนือ. หน้า 194.
- สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช. 2552. ฐานข้อมูลพืชสำนักหอพรรณไม้. กรุงเทพฯ: กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.
- วิทยา ปองอมรกุล และเบญจพร ภูกาบหิน. 2561. รายงานโครวการพฤกษศาสตร์พื้นบ้านและภาคเหนือตอนบน. มณฑล นอแสงศรี และคณะ. 2557. พรรณไม้ อช. ถ้ำปลา-น้ำตกผาเสือ.
- ศิรินทิพย์ ชัยมงคล. การผลิตกล้าไม้ยางนา ยางพลวง และยางเหียง เชิงคุณภาพ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการป่าไม้ สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการป่าไม้ สำนักบริหารและพัฒนาการวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2564. 79 หน้า.
- หน่วยวิจัยกสนฟื้นฟูป่า. 2549. ปลูกให้เป็นป่า แนวคิดและแนวปฏิบัติสำหรับการฟื้นฟูป่าเขตร้อน. เชียงใหม่ : ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
- เหียง. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=136
- Fernandes ES, Passos GF, Medeiros R, da Cunha FM, Ferreira J, Campos MM, et al. Anti-infammatory effects of compounds essential oil alpha-humulene and (-)-trans-caryophyllene isolated from the Cordia verbenacea. 2007;569(3):228-36.
- Akter R, Uddin SJ, Grice ID, Tiralongo E. Cytotoxic activity screening of Bangladeshi medicinal plant extracts. J Nat Med 2014;68(1):246-52.
- Chowdhury AR, Mandal S, Mittra B, Sharma S, Mukhopadhyay s, Majumder HK. Betulinic acid, a potent inhibitor of eukaryotic topoisomerase I: identification of the inhibitory step, the major functional group responsible and development of more potent derivatives. Med Sci Monit 2002;8(7):254-65.
- Gupta AS, Dev S. Studies in sesquiterpenes-XLVI: Sesquiterpenes from the oleoresin of Dipterocarpus pilosus:1979;10:885-9.
- Tani MUS. Patent No. 7,638,146. Washington, DC: US Patent and Trademark Office; 2009.