ครอบจักรวาล ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย
ครอบจักรวาล งานวิจัยและสรรพคุณ 24 ข้อ
ชื่อสมุนไพร ครอบจักรวาล
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น ข้าวสารเปลือก, ครอบ (ภาคกลาง), มะกองข้าว, แอบข้าว, ตบตาม (ภาคเหนือ), ครอบสี (ภาคใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Abutilon hir tum (Link.) Sweet
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Abutilon hir tum (Lam.) Sweet
ชื่อสามัญ Florida keys, Indian abutilon, Indian mallow
วงศ์ MALVACEAE
ถิ่นกำเนิดครอบจักรวาล
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าครอบจักรในบทความนี้เป็นพืชคนละชนิดกับ “ครอบฟันสี ” (Abutilon indicum (L.) Sweet) เพียงแค่อาจมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ และชื่อท้องถิ่นที่คล้ายคลึงกันเท่านั้น สำหรับครอบจักรวาลจัดเป็นไม้พุ่มที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในเขตร้อนของทวีปเอเชีย เช่นในภูมิภาคเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ อินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ต่อมาจึงได้มีการแพร่กระจายพันธุ์ไปในแอฟริกา ออสเตรเลีย อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ ซึ่งครอบจักรวาล ถูกจัดเป็นวัชพืชในหลายประเทศ โดยสามารถขึ้นได้ทั้งในป่าไม้ทั่วไป ทุ่งหญ้าสะวันนา ทุ่งหญ้ารกจัดริมถนน อีกทั้งยังสามารถเติบโตได้ในที่ราบลุ่มไปจนถึงพื้นที่ที่มีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,800 เมตร ส่วนในประเทศไทยสามารถพบครอบจักรวาลได้ทั่วทุกภาคของประเทศ และยังถูกจัดให้เป็นวัชพืชชนิดหนึ่งอีกด้วย
ประโยชน์และสรรพคุณครอบจักรวาล
- ใช้บำรุงธาตุ
- ใช้บำรุงกำลัง
- ช่วยขับปัสสาวะ
- แก้ไข้
- แก้ผอมเหลือง
- แก้ดี และสม
- แก้มุตกิด ระดูขาว
- แก้ปัสสาวะพิการ
- แก้เบาหวาน
- แก้ไตพิการ
- ใช้สมานเผื่อทางเดินปัสสาวะ
- แก้คอตีบ
- แก้ริดสีดวงทวาร
- ใช้บำรุงโลหิต
- ช่วยขับลม
- ใช้บ่มฝีหนองให้แตกเร็ว ใช้บ่อฝีหนอง
- ใช้ฟอกลำไส้
- แก้อาการท้องเสีย
- ใช้บ้วนปาก
- ใช้แก้โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง
- ใช้รักษาแผล
- ใช้เป็นยาขับเสมหะ
- ใช้เป็นยาระบาย
- รักษาโรคหนองใน
รูปแบบและขนาดวิธีใช้
- ใช้บ่มหนองฝีให้แตกเร็ว โดยใช้ใบสดมาตำพอกปิดแผลไว้ 1-2 วัน ฝีจะแตกออกมา
- ใชบำรุงโลหิต และขับลม โดยนำเปลือกต้นมาต้มกับน้ำดื่ม
- ใช้บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ แก้ดี แก้ลม แก้มุตกิด แก้ไข้ผอมเหลือง แก้เบาหวาน แก้ไตพิการ ปัสสาวะพิการ โดยนำรากมาต้มกับน้ำดื่ม แก้ระดูขาวในสตรี
- ใช้แก้เบาหวาน ขับปัสสาวะ โดยใช้ต้นครอบจักรวาล ทั้งห้า (ใช้ทั้งต้นประกอบด้วย ราก ต้น ใบ ดอก ผล) ต้มดื่ม
- ใช้แก้ริดสีดวงทวาร โดยนำใช้ราก 150 กรัม ต้มเอาน้ำข้นๆ ดื่มประมาณ 1 ถ้วยชา ที่เหลืออุ่นพออุ่นๆ เอาไอรมที่ก้น ใช้รมวันละ 5-6 ครั้ง ร่วมกับเอาน้ำอุ่นๆ ชะล้างแผล
- แก้คอตีบ ใช้รากสด 30 กรัม ต้มน้ำดื่ม หรือ อาจจะเพิ่มรากหญ้าพันงูเขียว สดกับรากว่านหางช้าง สด ลงไปด้วยพอสมควรก็ได้
ส่วนในอินเดีย มีการใช้ใบของครอบจักรวาลมาใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการท้องเสีย ใช้บ้วนปาก และใช้แก้โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในประเทศมาเลเซีย ใช้ส่วนใบทาเป็นยาพอกบรรเทาอาการปวด ใช้รักษาแผล เมล็ดใช้เป็นยาขับเสมหะ รักษาโรคริดสีดวงทวาร ใช้เป็นยาระบาย รักษาโรคหนองใน และโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง
ลักษณะทั่วไปของครอบจักรวาล
ครอบจักรวาล จัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีขนาดความสูงของต้นได้ถึง 2.5 เมตร ลำต้น สีเขียวตั้งตรง บริเวณก้านใบ และก้านดอก มีความหนืดเหนียว มีขนนุ่ม ยาว 2-5 มม. ขึ้นปกคลุม
ใบครอบจักรวาล เป็นใบเดี่ยว ออกแบบเชิงสลับลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจสีเขียว ค่อนข้างกลม ยาว 5-7 ซม. โคนใบวัชรูปหัวใจปลายใบแหลม ขอบใบจักคล้ายซี่ฟันหยาบๆ (dentate) มีขนปกคลุมทั่วไป แต่ด้านล่างมีขนมากกว่าด้านบน มีก้านใบยาว 5-8 ซม.
ดอกครอบจักรวาล เป็นดอกเดี่ยว ออกบริเวณซอกใบ ลักษณะของครอบจักรวาล ดอกค่อนข้างกลม หรือ ค่อนไปทางห้าเหลี่ยม เป็นติ่งช่วงปลายก้าน กลีบดอกมี 5 กลีบ สีเหลือง หรือ เหลืองอมส้ม หมุนเกลียวทับซ้อนกันเล็กน้อย เมื่อดอกบานเต็มที่กลีบดอกจะยาว 18-20 มม. กลางดอกบริเวณโคนกลีบจะมีสีแต้ม เป็นสีแดงเข้ม หรือ สีแดงม่วง มีก้านเกสรยาว 7 มม. ส่วนก้านชูอับเรณูสั้นประมาณ 4 มม. มีอับเรณูสีเหลือง 20-25 เส้น มีกลีบเลี้ยงรูปไข่ ยาว 12-27 มม. และมีก้านดอกยาว 2-3.5 ซม.
ผลครอบจักรวาล เป็นผลแห้ง ยาว 12-14 มม. ทรบกลมแป้นหัวตัด รูปเฟือง มีฟัน 20-22 ซีก แต่ละซีก (mericarp) ปลายค่อนข้างมน ขอบบนของผลหักเป็นมุมฉาก มีขนหนาแน่นรอบผล ยาว 1 มม. ด้านในผลมีเมล็ดยาว 2.4-2.8 มม.
ทั้งนี้ครอบจักรวาล มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับ “ครอบฟันสี” มาก ซึ่งพืชทั้ง 2 ชนิด นี้มีลักษณะต่างกันเล็กน้อย ในลักษณะของดอกและใบ กล่าว คือ ครอบจักรวาลขอบใบจtคล้ายซี่ฟันหยาบๆ ก้านใบสั้นกว่าดอกสีเหลือง หรือ ส้ม มีจุดสีม่วงที่ฐาน ส่วนครอบฟันสีก้านใบจะยาว ฐานใบเว้าคล้ายรูปหัวใจ ดอกสีเหลืองแต่ไม่มีจุดสีม่วง
การขยายพันธุ์ครอบจักรวาล
ครอบจักรวาล สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด การปักชำ แต่ในปัจจุบันไม่นิยมนำครอบจักรวาลมาปลูก เนื่องจากครอบจักรวาล จัดเป็นวัชพืชชนิดหนึ่ง ที่มีการขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ควบคุม และกำจัดได้ยาก แต่สำหรับวิธีการเพาะเมล็ด และการปักชำ ครอบจักรวาลนั้นสามารถทำได้เช่นเดียวกันกับการเพาะเมล็ด และการปักชำไม้พุ่มชนิดอื่นๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วในบทความก่อนหน้านี้
องค์ประกอบทางเคมี
มีรายงานผลการศึกษาวิจัยถึงองค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดจากส่วนต่างๆ ของครอบจักรวาล รวมถึงองค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยจากส่วนต่างๆ ของครอบจักรวาล ระบุว่าพบสารออกฤทธิ์ที่สำคัญดังนี้
สารสกัดจาก ราก ลำต้น ใบ ดอก และเมล็ด พบสาร Kaempferol, Quercetin, Rutin, Gallic acid, Caffeic acid, Sulfuric acid, Sulfurous acid, Heptadecane, 9-Hexadecenoic acid, Diethyl Phthalate, 4-propyl, Benzaldehyde, Octane, 2,4,6-trimethyl, 2,6-dimethyl, 2,5-Octadecadinoic acid methyl esters, 1- Heptatriacotanol, dodecyl 2- propyl esters, 3-Cyclopropyl Carbonyloxytridecane, butyl dodecyl ester, 8-Octadecenal, Methoxyacetic acid และ 3-tridecyl ester เป็นต้น
ส่วนน้ำมันหอมระเหยจากส่วนเหนือดินของครอบจักรวาล พบสาร α-pinene, caryophylleneoxide, endesmol, borneol, geraniol, geranyl acetate, farnesol และ cineole เป็นต้น
การศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของครอบจักรวาล
มีรายงานผลการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของสารสกัดครอบจักรวาล จากส่วนต่างๆ ของครอบจักรวาล ระบุว่ามีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหลายประการดังนี้
- ฤทธิ์ต้านโรคเบาหวาน มีรายงานว่าสารสกัดคลอโรฟอร์มปิโตรเลียมอีเทอร์ เอทิลอะซิเดต และสารสกัดน้ำจากใบของครอบจักรวาล มีฤทธิ์ต้านเบาหวาน โดยมีค่าเท่ากับ 47.79, 47.79, 50.04 และ 49.80% ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับ ยาต้านเบาหวานเมตฟอร์มิน (55.45%)
- มีผลการศึกษาวิจัยระบุว่าสารสกัดเอทานอล จากส่วนใบของครอบจักรวาล มีฤทธิ์ลดไข้ได้นานถึงห้าชั่วโมงอย่างมีนัยสำคัญ
- ฤทธิ์ต้านการอักเสบ มีรายงานว่าสารสกัดเอธานอลจากส่วนใบครอบจักรวาล มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ โดยมีอัตราการยับยั้งอยู่ที่ 50.8% ซึ่งใกล้เคียงยา อินโดเมธาซิน (52.4%)
- ฤทธิ์แก้ปวด มีรายงานผลการศึกษาวิจัยระบุว่า สารสกัดน้ำจากใบครอบจักรวาล มีฤทธิ์ระงับปวดสูงสุด (216.6%) ส่วนสารสกัดจากปิโตรเลียมอีเทอร์ และคลอโรฟอร์ม ด้วยสารสกัดทั้งหมด คือ (189.8 และ 189.9 ตามลำดับ)
- ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ มีรายงานว่าสารสกัดน้ำจากใบครอบจักรวาลมีฤทธิ์ป้องกันตับในหนูทดลอง ที่ถูกชักนำให้เกิดพิษ โดยแสดงให้เห็นการลดระดับเอนไซม์ในซีรั่มที่เพิ่มขึ้น (SGOT, SGPT, ALP และระดับบิลิรูบินทั้งหมด) นอกจากนี้การตรวจทางจุลพยาธิวิทยาของเนื้อเยื่อตับได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถป้องกันตับได้
การศึกษาวิจัยทางพิษวิทยาของครอบจักรวาล
มีรายงานผลการศึกษาวิจัยทางพิษวิทยาของสารสกัดเอทอนนอลจากใบของครอบจักรวาล ระบุว่า เมื่อให้หนูทดลองได้รับสารสกัดเอทานอลจากส่วนใบของครอบจักรวาล ในขนาด 3 กรัม/กิโลกรัม (น้ำหนักตัว) พบว่าไม่พบความเป็นพิษในหนูทดลองแต่อย่างใด
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
ถึงแม้ว่าจะมีรายงานผลการศึกษาวิจัยทางพิษวิทยาของสารสกัดจากใบครอบจักรวาล ระบุว่ามีความปลอดภัยสูง แต่สำหรับการใช้ครอบจักรวาลเป็นสมุนไพรในการบำบัดรักษาโรค ก็ควรระมัดระวังในการใช้ โดยควรใช้ในขนาด และปริมาณที่เหมาะสม ที่ได้ระบุไว้ในตำรับตำรายาต่างๆ ไม่ควรใช้ในขนาด และปริมาณที่มากจนเกินไป หรือ ใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลายาวนานจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้
เอกสารอ้างอิง ครอบจักรวาล
- ครอบจักรวาล. ประมวลสรรพคุณสมุนไพร เล่ม 1. กลุ่มงานวิชาการเภสัชกรรมแผนไทย สถาบันแพทย์แผนไทยกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก.
- ครอบจักรวาล: แก้สารพันโลก. นิตยสารหมอชาวบ้าน
- สมุนไพรครอบจักรวาล. ครอบฟันสี, กระดานถาม-ตอบ สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.medplant.mahidol.ac.th/user/reply.asp?id=5444
- ครอบจักรวาล (พืช). วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.wikipedia.com
- Kirtikar K.R. and Basu B. D. (1980). Indian Medicinal Plants, 2nd Ed., Vol.1, Bishen Singh, Mahendra Pal Singh, India,314-315
- Gomaa, A. A.; Samy, M. N.; Desoukey, S. Y. and Kamel, M. S. (2016). Pharmacognostical studies of leaf, stem, root and flower of Abutilon hirtum (Lam.) Sweet. Int. J. of Pharma. and Phytoch. Res. 8:199-216
- Krisanapun, C.; Lee, S.; Peungvicha, P.; Temsiririrkkul. R. and Baek, S.J. (2011). Antidiabetic activities of Abutilon indicum (L.) Sweet are mediated by enhancement of adipocyte differentiation and activation of the GLUT1 promoter. Evidence-Based Complement Alternat Med. 2011:1-9
- Jain A., Katewa S. S., Galav P. and Sharma P. (2005). Medicinal plantdiversity of Sitamata wildlife sanctuary Rajasthan, India.Journal of Ethnopharmacology,102:143-157.
- Gomaa, A. A-R.; Samy, M. N.; Desoukey, S. Y. and Kamel, M. S. (2018). Phytochemistry and pharmacological activities of genus Abutilon: a review (1972-2015). J. of Adv. Biom. and Pharmaceu. Sci. 1:56
- Reddy, S. (2011). Hepatoprotective Potential of Abutilon hirtum Sweet leaves in carbon tetrachloride induced hepatotoxicity. Asian J. of Biom. and Pharma. Sci. 1(3): 26-31.
- Thongsiri P.,(2001). Anti-diabetic activity of Thai medicinal herbs in normal and streptozotocin-diabetic rats (M.S.thesis). NakornPathom: Faculty of Graduate studies, Mahidol University, Thailand.
- Kapoor, S. L. and Kapoor, L. D. (1980). Medicinal plant wealth of the Karimnagar district of Andhra Pradesh, Bull. Med. Ethnobotanic. Res. 1: 120- 144.
- Owoyele, B. V.; Oguntoye, S.O.; Dare, K.; Ogunbiyi, B.A.; Aruboula, E. A. and Soladoye, A. O. (2008). Analgesic, antiinflammatory and antipyretic activities from flavonoid fractions of Chromolaena odorata. J. Med. Plants Res. 2:219-25
- Khanduri N.C. (2014). Fertility Control of Female Rat through Abutilon Indicum Seeds. International Journal of Tech. Enhancements and Emerging Engg. Research.,2(3):89-91.
- Gomaa, A. A-R.; Samy, M. N.; Desoukey, S. Y. and Kamel, M. S. (2018). Antiinflammatory, analgesic, antipyretic and antidiabetic activities of Abutilon hirtum (Lam.) Sweet. Clin. Phytosci. 4:11.