พันงูเขียว ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

พันงูเขียว งานวิจัยและสรรพคุณ 27 ข้อ


ชื่อสมุนไพร พันงูเขียว
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น สี่บาท, สารพัดพิษ (ภาคกลาง), หญ้าหนวดเสือ (ภาคเหนือ), หญ้าหางงู (ภาคกลาง), เจ๊กจับแก (ตราด), เดือยงู, พระอินทร์โปรย (ชุมพร), เง็กเล้งเปียง, ยี่หลงเปียน (จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Stachytarpheta jamaicensis (L.) Vahl
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Stachytarphrta indica Vahl.
ชื่อสามัญ Gervao, Brazilian tea, Snakeweed, Jamaica false veravin, Arron’s Rod
วงศ์ VERBENACEAE


ถิ่นกำเนิดพันงูเขียว

มีรายงานการบันทึกของถิ่นดั้งเดิมของพันงูเขียว ระบุว่าพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย เขตร้อน บริเวณภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย กัมพูชา ลาว เวียดนาม และพม่า เป็นต้น จากนั้นจึงได้กระจายพันธุ์ไปยังบริเวณเขตร้อนต่างๆ ทั่วโลก ดังเช่นที่พบเห็นในปัจจุบัน สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ บริเวณ ป่าเบญจพรรณ ป่าโปร่ง เนินเขา และพื้นที่เปิดโล่งต่างๆ เช่น ทุ่งหญ้า ทุ่งนา หรือ ตามริมถนน ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลจนถึง 1,500 เมตร จากระดับน้ำทะเล

ประโยชน์และสรรพคุณพันงูเขียว

  • ใช้บำรุงกำลัง
  • รักษาโรคนิ่ว
  • ใช้ลดไข้
  • แก้ปวดหู
  • แก้โรคปวดข้อ
  • แก้ดีซ่าน
  • รักษาโรคตับ
  • แก้หนองใน
  • รักษาโรคกระเพาะ
  • ช่วยขับเหงื่อ
  • ช่วยขับเสมหะ
  • ช่วยขับพยาธิ
  • ช่วยขับปัสสาวะ
  • แก้อาเจียน
  • รักษาโรคตาแดง
  • รักษาแผลอักเสบ แผลเปื่อย
  • แก้ท้องเสีย
  • แก้บิด
  • ใช้แก้ปวดเมื่อย
  • แก้เจ็บคอ คออักเสบ
  • ช่วยขับพยาธิในเด็ก
  • แก้ฝีหนอง
  • รักษาเคล็ดขัดยอก บวมช้ำ
  • ใช้สมานแผล
  • แก้โรคหนอใน
  • ช่วยขับระดู ในสตรี
  • ใช้รักษาอาการปวดและอักเสบ

           ในปัจจุบันมีการนำพันงูเขียวมาใช้ประโยชน์หลักๆ ดังนี้ ในประเทศบราซิลมีการนำใบพันงูเขียว มาทำเป็นใบชาสำหรับชงดื่ม และยังเป็นสินค้าส่งออกขายไปยังต่างประเทศโดยมีชื่อทางการค้าว่าBrazillian tea และยังมีการนำพันงูเขียวมาประดับตามอาคารสถานที่ต่างๆ หรือตามสวนสาธารณะต่างๆ เนื่องจากมีดอกสีม่วงอมน้ำเงินที่สวยงาม

พันงูเขียว

รูปแบบและขนาดวิธีใช้พันงูเขียว

ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง ขับพิษร้อน ถอนพิษไข้ ช่วยขับเหงื่อ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ แก้อาเจียน แก้โรคกระเพาะ ขับพยาธิ แก้นิ่ว หนองใน แก้ปวดข้อ แก้ดีซ่าน แก้โรคตับ โดยใช้ทั้งต้นมาต้มน้ำดื่ม ซึ่งหากเป็นต้นสดให้ใช้ 35-70 กรัม แต่หากเป็นต้นแห้งให้ใช้ 35-70 กรัม ใช้แก้ตาแดง ตาอักเสบ โดยใช้พันงูเขียวทั้งต้น 35 กรัม อีใต้เถิง 25 กรัมจียวกู้หลา 35 กรัม นำมาตำผสมกับพิมเสน เล็กน้อย ใช้พอกบริเวณตาข้างที่เป็น ใช้แก้ท้องเสีย และโรคบิดโดยใช้เปลือกต้นมาต้มน้ำดื่ม ใช้แก้คออักเสบ โดยใช้ใบสดมาตำผสมน้ำตาล ชนิดใดก็ได้ อมและดูดกินน้ำ ใช้แก้หนองใน ขับระดู โดยใช้รากมาต้มน้ำดื่ม ใช้แก้บวม ฟกช้ำ โดยใช้ทั้งต้นพันงูเขียว สือเซียน เถา และโกศดอกขาว อย่างละเท่าๆ กันมาตำผสมกับเหล้าเล็กน้อย ใช้พอกบริเวณที่เป็น


ลักษณะทั่วไปของพันงูเขียว

พันงูเขียว จัดเป็นไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า ลำต้นเปราะอ่อนมีสีเขียวตั้งตรง สูงประมาณ 50-100 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านสาขาด้านข้างเป็นคู่จากโคนต้น

           ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันลักษณะเป็นรูปขอบขนาน หรือ รูปไข่ กว้าง 2-5 ซม. ยาว 3-8 ซม. โคนใบสอบ เป็นรูปลิ่ม ปลายใบแหลม ขอบใบหยักฟันเลื่อย แผ่นใบสาก เนื้อใบย่นเป็นคลื่นเล็กๆ

           ดอก ออกเป็นช่อเชิงลดบริเวณปลายกิ่งมีแกนช่อดอกยาว 5-30 เซนติเมตร ดอกเป็นสีม่วงอมน้ำเงิน ลักษณะเป็นรูปท่อกลมงอเล็กน้อย ปลายแยกเป็นกลีบดอก 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม มีฟันเลื่อย 4-5 หยัก มีกาบใบ 1 ใบ แต่ไม่มีก้านดอกมีเกสรเพศผู้ 2 อัน และมีรังไข่ 2 ห้อง

           ผล เป็นผลแห้งเล็ก ลักษณะยาวแคบ รูปขอบขนาน กว้าง 1.5-2.0 มม. ยาว 3-6 มม. ซึ่งจะอยู่ในช่อดอกและเมื่อผลแก่แล้วจะแตกออกเป็นส่วนเมล็ดมีลักษณะยาวรีใน 1 ผลจะมี 1-3 เมล็ด

พันงูเขียว

พันงูเขียว

การขยายพันธุ์พันงูเขียว

พันธุ์งูเขียว จัดเป็นพืชประเภทหญ้า ซึ่งสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ดเช่นเดียวกับหญ้าอื่นๆ และในปัจจุบันพันงูเขียวก็สามารถพบได้ตามธรรมชาติทั่วไปมากกว่าการนำมาปลูก ดังนั้นการขยายพันธุ์จึงเป็นการขยายพันธุ์แบบธรรมชาติ โดยการใช้เมล็ด ทั้งนี้พันงูเขียวเป็นพืชที่ทนต่อสภาวะแห้งแล้งชอบแสงแดด และสามารถแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย


องค์ประกอบทางเคมี

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับองค์ประกอบทางเคมีจากส่วนเหนือดิน ลำต้น รากและใบของพันงูเขียว ระบุว่าพบสาระสำคัญที่ออกฤทธิ์ต่างๆ เช่น Tarohetalin, Catechuic tannins Choline Chologenic acid 6-Hydroxyluteolol 7-gluculonide Apigenol 7-gluculonide Luteolol 7-gluculonide α-spinasterol Iridoid ipolamiide Saturated aliphatic ketone Saturated aliphatic carboxylic acid เป็นต้น

โครงสร้างพันงูเขียว

การศึกษาทางเภสัชวิทยาของพันงูเขียว

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยของพันงูเขียว  ระบุว่ามีฤทธิ์ต่างๆ ดังนี้

           ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพ มีการศึกษาวิจัยตรวจสอบฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพของพันงูเขียว (ราก ลำต้น และใบ) โดยใช้เทคนิคการแพร่กระจายขอดิสก์ซึ่งสารสกัดจากพันงูเขียว ทั้งสามส่วนได้แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพกับเชื้อ Pseudomonas aeruginosa, Micrococcus Luteus, Eschericia coli โดยสารสกัดหยาบจากราก แสดงฤทธิ์ต้านจุลชีพในการต้านเชื้อ Pseudomonas aeruginosa ได้ดี กว่าเมื่อเปรียบเทียบกับสารสกัดหยาบอื่นๆ

           นอกจากนี้ สารสกัดด้วยปิโตรเลียมอีเทอพันธุ์งูเขียว ยังมีฤทธิ์ฆ่าชื้อรา 2 ชนิดได้แก่ Curvularia sp. และ Penicillium sp. ในทางกลับกัน ส่วนสารสกัดเมทานอลมีประสิทธิภาพในการต้านเชื้อรา Curvularia sp., penicillium sp. และ Fusarium sp. อีกด้วย

           ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ มีการศึกษาวิจัยพบว่า สารสกัดของใบต้นพันงูเขียวแห้งที่สกัดด้วยน้ำให้ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดสูงสุด เท่ากับ 64.92 mg gallic acid/g และมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งสูงสุดที่ความเข้มข้น 100 ppm เท่ากับ 82.17 โดยมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งน้อยกว่าวิตามินอี  7.21 เท่า แต่สารสกัดจากส่วนของใบแห้งมีเปอร์เซนต์การยับยั้งมากกว่าวิตามินอีถึง 1.16 เท่า และยังมีรายงานอื่นๆ ระบุว่าสารสกัดน้ำของพันงูเขียว มีฤทธิ์กระตุ้นลำไส้เล็กส่วนปลายของหนูตะเภา ส่วนสารที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์จะมีฤทธิ์กระตุ้นอ่อนกว่า แต่ทั้งสองชนิดจะไม่มีฤทธิ์กระตุ้นต่อหูรูด ระหว่างกระเพาะอาการกับลำไส้เล็กของกระต่ายและมดลูกของหนูขาว นอกจากนี้ยังมีรายงานการศึกษาวิจัยในต่างประเทศระบุว่าสารสกัดจากพันงูเขียวมีฤทธิ์ต่างๆ อีกเช่น ต้านอักเสบ ลดความดันโลหิต ลดระดับไขมันในเลือด ปกป้องตับ และต้านอาการท้องร่วง เป็นต้น


การศึกษาทางพิษวิทยาของพันงูเขียว

มีรายงานผลการศึกษาด้านพิษวิทยาขอสารสกัดพันงูเขียว ระบุว่า เมื่อนำสารสกัดพันงูเขียวจากน้ำและแอลกอฮอล์มาฉีดเข้าช่อท้องของหนูถีบจักร ในปริมาณตัวละ 0.1 กรัม/1 กก. (น้ำหนักตัว) พบว่าทำให้หนูตายภายใน 24 ชม.


ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

สตรีมีครรภ์ไม่ควรใช้พันงูเขียวเป็นยาสมุนไพร เนื่องจากมีฤทธิ์ขับระดู และมีฤทธิ์ทำให้แท้งซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้ นอกจากนี้ในการใช้พันงูเขียวเป็นสมุนไพรก็ควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยใช้ในขนาดที่พอเหมาะที่ได้ระบุไว้ในตำรายาต่างๆ ไม่ควรใช้ในขนาดที่มากจนเกินไปหรือใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไปเพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้
 

เอกสารอ้างอิง พันงูเขียว
  1. ผศ. สุนทรี วิทยนารกไพศาล. พันงูเขียว. คอลัมน์อื่นๆ. นิตยาสารหมอชาวบ้านเล่มที่ 43. พฤศจิกายน 2525.
  2. ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณะธรรม. พันงูเขียว. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. หน้า 557-558.
  3. องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2541. สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 5. พิมพ์ครั้งที่ 1. โอ เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์ กรุงเทพมหานคร. 205 น.
  4. วิทยา บุญวรพัฒน์. พันงูเขียว หนังสือสารานุกรม ไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. หน้า 384.
  5. มูลนิธิโครงการหลวง 2552. องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 3. อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พัลลิชชิ่ง จำกัด. กรุงเทพมหานคร.720 น.
  6. ชัชฎาพร องอาจ, ปวีณา ดารา. การศึกษาสมบัติต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากต้นพันงูเขียว.วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรปีที่ 41. ฉบับที่ 3/1 (พิเศษ) กันยายน-ธันวาคม 2553. หน้า 3329-332.
  7. Lin H.J., Chen A.H. Phytochemical study on Stachytarpheta jamaicensis. Journal of the Chinese Agricuteral Chemical Society. 1976;14:151-154.
  8. Laward F.H., Doorenbosx N.J., Chengt P.C. Tarphetalin: a novel iridoid glucoside from staphetaepheta jamaicensis L. Vahl. Egyptian journal of Pharmaceutical Science. 1977;18: 511-514.
  9. Putera L., Anis shazura K. Antimicrobial activity and cytotoxic effects of starchytarphyta jamaicensis L. vahl crude plant extracts Universiti Teknologi Malaysia; 2010.
  10. Samuel, A.J.S.J., Kalusalingam,A., Chellappan, D.K.., Gopinath,R., Radhamani, S., Husain H.A., Murugananham, V., Promvichit P.2010. Ethnomedical survey of plants uses by the orang asil in kampong bawang Perak, West Malasia. Journal of Ethnobiology and Ethnomedicine.6:5.
  11. Chung K.S., Takeasu K., Paul P.H.B., Ji-Xiang G. International cpllation and folk Medicine: Northeast Asia III. World Scientific publishing; 1997.
  12. Thomas R.., Thomas M., Paul J., Mohan M. Antifungal activity of verbenaceae. Biosciences Biotechnology Research Aasia. 2013;10:355-360. Doi:10.13005/bbra/1134.
  13. Melita R.S., Castro O. Pharmacological and chemical evaluation of stachytarpheta jamaicensis Revistade Biologia Troical. 1996;44:353-359.