งิ้วป่าดอกขาว ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

งิ้วป่าดอกขาว งานวิจัยและสรรพคุณ 17 ข้อ

ชื่อสมุนไพร งิ้วป่าดอกขาว
ชื่ออื่นๆ/ขื่อท้องถิ่น งิ้วป่า (ภาคใต้), ประจวบคีรีขันธ์), นุ่นป่า, ง้าวป่า (ภาคกลาง), งิ้วดอกขาว, งิ้วผา, ไกร (ภาคเหนือ), หมากงิ้วป่า (ภาคอีสาน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bombax anceps Pierre.
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Bombax anceps Pierre. var. anceps
ชื่อสามัญ Cotton tree, Bombax
วงศ์ BOMBACOIDEAE

ถิ่นกำเนินงิ้วป่าดอกขาว 

งิ้วป่าดอกขาว เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปเอเชีย ตั้งแต่จีนตอนใต้ เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีเขตการกระจายพันธุ์บริเวณทางตอนใต้ของจีน อินเดีย บังคลาเทศ พม่า เวียดนาม ลาว กัมพูชา มาเลเซีย เป็นต้น โดยจะพบได้ตามป่าเบญจพรรณป่าผลัดใบ ป่าเต็งรัง และบริเวณเขตหินปูนรวมถึงตามที่เปิดเชิงเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 400-1000 เมตร สำหรับในประเทศไทยมับจะพบตามภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก

ประโยชน์และสรรพคุณงิ้วป่าดอกขาว

  1. แก้ฟกช้ำ
  2. แก้ต่อมทอนซิลอักเสบ 
  3. ช่วยขับน้ำเหลืองเสีย
  4. ช่วยบำรุงกำลัง
  5. ช่วยกระตุ้นความต้องการทางเพศ
  6. ช่วยห้ามเลือดที่ตกภายใน
  7. แก้ท้องร่วง ท้องเสีย
  8. แก้บิด
  9. แก้ระดูมามากกว่าปกติ
  10. แก้พิษไข้
  11. ช่วยขับปัสสาวะ
  12. ทำให้อาเจียน
  13. รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก
  14. แก้ปวด
  15. แก้คัน
  16. แก้พิษงู
  17. แก้อาหารเป็นพิษ

รูปแบบและขนาดวิธีใช้

ใช้แก้ท้องเสีย แก้บิด โดยใช้เปลือกต้นงิ้วป่าดอกขาว มาต้มกับน้ำดื่ม ใช้บำรุงกำลัง ช่วยขับปัสสาวะ ทำให้อาเจียน โดยใช้รากมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้แก้พิษไข้ แก้ปวด แก้คันโดยใช้ดอกแห้งมาต้มกับน้ำดื่ม หรือ ใช้บดแล้วชงแบบชาก็ได้ ใช้แก้อาหารเป็นพิษ แก้บิด โดยใช้เปลือกต้นผสมกับเปลือกต้นนุ่นต้มกับน้ำดื่ม ใช้แก้ฟกช้ำโดยใช้ใบสดมาตำให้ละเอียดนำมาพอกบริเวณที่เป็น ใช้แก้ทอลซินอักเสบโดยใช้ใบสดมาผสมกับน้ำเล็กน้อยแล้วใช้ทาบริเวณที่เป็น


ลักษณะทั่วไปของงิ้วป่าดอกขาว

งิ้วป่าดอกขาว จัดเป็นไม้ยืนต้นเนื้ออ่อนผลัดใบ สูงได้ถึง 30 เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกต้นสีเทามีความด้ามแข็งตามลำต้น และกิ่งก้านมาก โดยเฉพาะต้นอ้อน และจะลดลงเมื่อโตขึ้น ส่วนเปลือกต้นด้านในมีสีขาว และมีริ้วสีชมพูตามยาวมีกระพี้สีขาว เมื่อต้นยังเล็กเรือนยอดจะเป็นชั้นๆ แต่เมื่อโตเต็มที่เรือนยอดด้านบนจะแบน ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกบริเวณปลายกิ่งโดยจะเรียงเวียนสลับมีใบย่อย 5-8 ใบ แผ่นใบย่อยเป็นรูปไข่กลับ หรือ รูปใบหอกกลับ ขนาด 4-7 x 12-16 ซม. ใบเรียวแหลม หรือ เป็นติ่งแหลม โคนสอบเป็นรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ ผิวเกลี้ยงทั้งสองด้านใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ส่วนด้านล่างมีสีเขียวนวล และมีก้านใบยาว 10-17 ซม. ดอกเป็นดอกเดี่ยวออกกระจายทั่วเรือนยอดที่กำลังผลัดใบ มีขนาด 6.5-8 เซนติเมตร โดยจะออกเป็นกลุ่ม 2-4 ดอก กลีบเลี้ยงเป็นแบบโคนเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง มี 2-4 พู มีสีเขียวสดเชื่อมติดกันบนฐานดอกที่แข็ง ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบ สีขาวครีมแกมสีม่วง และมีกลีบดอกโค้งงอไปด้านหลัง มีขนละเอียดด้านนอก เกสรตัวเพศผู้มีเป็นจำนวนมาก ผลรูปทรงกล้วย ด้านในมีปุยสีขาวห่อหุ้มเมล็ดขนาด 4-5 x 12-15 ซม.มีพูตามยาว 5 พู ผลดิบสีเขียวผลแก่สีน้ำตาล เนื้อแข็งโค้งงอเล็กน้อย และเมื่อผลแก้จะแตกตามรอยตะเข็บ เมล็ดเป็นรูปทรงกลมแข็งสีดำขนาดเล็ก มีปุยสีขาวห่อหุ้มคล้ายเมล็ดฝ้าย

งิ้วป่าดอกขาว

การขยายพันธุ์งิ้วป่าดอกขาว

งิ้วป่าดอกขาว สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ด ซึ่งจะมีการขยายพันธุ์ในธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ และเป็นพืชที่ชอบดินร่วมที่ไม่อุ้มน้ำ ชอบแสงแดดจัดตลอดวัน ปัจจุบันยังไม่นิยมนำมาเพาะปลูกไว้ในบริเวณบ้านเรือน และเรือกสวยไร่นา เพราะถือว่าเป็นพันธุ์ไม้ที่ไม่เป็นมงคล แต่ก็ยังมีการไปเก็บส่วนต่างๆ ของงิ้วป่าดอกขาว มาใช้ประโยชน์ต่างๆอยู่

องค์ประกอบทางเคมี

มีผลการศึกษาวิจัยถึงองค์ประกอบทางเคมีของรากงิ้วป่าดอกขาว ในต่างประเทศพบว่ามีสารสำคัญอยู่ เช่น Bombaxoin, isohemigossypol2-methyl ether, 3, 5, 7-trimethoxyflavone, 5, 7-dimethoxyflavone, cholestenone, Gossyrertin

โครงสร้างงิ้วป่าดอกขาว

ที่มา : Wikipedia

การศึกษาทางเภสัชวิทยาของงิ้วป่าดอกขาว

มีผลการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของงิ้วป่าดอกขาว ของในต่างประเทศอยู่หลายฉบับ ในที่นี้จะของยกมากล่าวถึงเป็นบางฉบับดังนี้ มีผลการศึกษาวิจัยสารสกัดจากลำต้นของงิ้วป่าดอกขาว ด้วย 50% แอลกอฮอล์ พบว่า มีสารองค์ประกอบอยู่ในกลุ่มแทนนินส์ คาร์ดิแอคไกลโคไซด์ และอัลคาลอยด์ รวมถึงสารในกลุ่มอื่นๆ อีกหลายชนิด ซึ่งจะมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ (EC50 = 88.97 มก./มล.) มีฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งตับปานกลาง (IC50 = 212.74 ±27 มก./มล.) โดยพบว่าสามารถชักนำการตายของเซลล์มะเร็งตับแบบอะพอพโทซิต่ำ เมื่อเซลล์ได้รับสารสกัดนาน 1 วัน มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย S. aureus ที่ทำให้เกิดโรคแผลฝีหนองที่ความเข้มข้น 12.5 มก./มล. และมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อไวรัสโรคเริม Herpes simplex virus type 1 (IC50 = 95.47 มก./มล.) ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ แต่มีฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์ในภาวะที่มีการทำงานของเอนไซม์ร่วมด้วย ไม่มีฤทธิ์ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันโดยตรง แต่สามารถเสริมการกระตุ้นการเพิ่มจำนวนของเซลล์ภูมิคุ้มกันชนิดทีเซลล์ได้เป็นต้น

การศึกษาทางพิษวิทยาของงิ้วป่าดอกขาว

ไม่มีข้อมูล

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

ในการใช้งิ้วป่าดอกขาวเพื่อเป็นสมุนไพรในการบำบัดรักษาโรคต่างๆ ตามสรรพคุณทางยาที่ระบุไว้ในตำรายาต่างๆ นั้น ควรระมัดระวังในการใช้เพราะยังไม่มีข้อมูลการศึกษาทางพิษวิทยาที่แน่ชัด รวมถึงยังไม่มีขนาดและวิธีการใช้ที่แน่นอน ดังนั้นจึงควรใช้ในปริมาณแต่น้อย และไม่ควรใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานเพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ สำหรับเด็กสตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังรวมถึงผู้ที่ต้องรับประทานยาต่อเนื่องเป็นประจำ หากจะใช้งิ้วป่าดอกขาว เป็นสมุนไพรสำหรับบำบัดรักษาโรคต่างๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้เสมอ

เอกสารอ้างอิง งิ้วป่าดอกขาว
  1. คู่มือศึกษาพรรณไม้ในป่าภาคเหนือ 2549 ฉบับแก้ไข (หน้า 76)
  2. งิ้วป่า. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=30
  3. งิ้วป่า, มะเดื่อฝรั่ง. สมุนไพรในพื้นที่เขื่อนอุบลรัตน์. โครงการจัดทำฐานข้อมูลพืชสมุนไพรที่สำรวจ และวิจัยภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (ออนไลน์) .เข้าถึงได้จาก http://www.home.kku.ac.th/orip2/thaiherbs/index.php.
  4. M. A. Johnson and J. R. Tolbert, Torrey Bot. Soc. 87, 173, (1960)
  5. V. Seshadri, A. K. Batta, S. Rangaswamy, Indian J. Chem. 11, 825, (1973).