มะเดื่อปล้อง ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

มะเดื่อปล้อง งานวิจัยและสรรพคุณ 44 ข้อ

ชื่อสมุนไพร มะเดื่อปล้อง
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น เดื่อสาย, เดื่อปล้อง (ภาคเหนือ), เดื่อป่อง (ภาคอีสาน), อะกอเสะนียา (มลายู), ตะดออหน่า, เอาแหน่, ดิ๊โจ่เหมาะ (กะเหรี่ยง), หมากหนอด (ไทยใหญ่)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus hispida L.f.
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Ficus caudiculata Trimen, F. compressa S.S.Chang, F. daemonum K.D.Koenig ex Vahl, F. fecunda Blume, F. goolereea Roxb., F. heterostyla Merr., F. letaqui H.Lév. & Vaniot, F. oppositifolia Willd., F. perinteregam Pennant, F. poilanei Gagnep., F. prominens Wall. ex Miq., F. sambucixylon H.Lév., F. simphytifolia Lam., F. symphytifolia Spreng., Covellia assamica Miq., C. courtallensis Miq., C. daemonum (J.Koenig ex Vahl) Miq., C. dasycarpa Miq., C. hispida (L.f.) Miq., C. oppositifolia (Roxb.) Gasp., C. setulosa Miq., C. wightiana Miq., Gonosuke demonum Raf., G. hispida (L.f.) Raf., G. scaber
วงศ์ MORACEAE


ถิ่นกำเนิดมะเดื่อปล้อง

มะเดื่อปล้อง มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมบริเวณจีนตอนใต้ เวียดนาม ไทย ลาว กัมพูชา และพม่า จากนั้นจึงได้มีการแพร่กระจายพันธุ์ไปยังเขตร้อนต่างๆ ของทวีปเอเชียรวมถึงนิวซีแลนด์ และทางตอนบนของออสเตรเลีย สำหรับในประเทศไทยสามารพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศบริเวณ ป่าดิบแล้ง ป่าละเมาะ รวมถึงที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป โดยเฉพาะตามริมลำธาร


ประโยชน์และสรรพคุณมะเดื่อปล้อง

  • ใช้ขับน้ำนม
  • แก้โรคผิวหนังเรื้อรัง
  • แก้โรคโลหิตจาง
  • แก้ริดสีดวงทวาร
  • แก้โรคตัวเหลือง
  • รักษาอาการปวดกระเพาะ
  • แก้ไข้จับสั่น
  • แก้กระหายน้ำ
  • ใช้ฝาดสมาน
  • แก้บิด
  • แก้บวมอักเสบ
  • ใช้ล้างแผล
  • ใช้สมานแผล
  • แก้เลือดกำเดาไหล
  • รักษาแผลในปาก
  • ช่วยทำให้อาเจียน
  • รักษาอาการไข้หลังคลอดบุตร
  • แก้หนาวสั่น
  • แก้ปัสสาวะเหลืองหรือเป็นเลือด
  • รักษาแผลฝี
  • รักษาแผลหนองอักเสบ
  • รักษาแผลในจมูก
  • ช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำนม
  • แก้หวัด
  • แก้พิษในกระดูก
  • ใช้กล่อมเสมหะ
  • แก้ท้องเสีย
  • แก้ประดง
  • แก้ฝี
  • แก้เม็ดผื่นคันตามผิวหนัง
  • ใช้เป็นยาบำรุง
  • ทำให้อาเจียน
  • ใช้ยาระบาย
  • แก้มาลาเรีย
  • แก้ปวดท้องในเด็ก
  • รักษาสิวฝ้า
  • ใช้พอกฝีมะม่วง
  • รักษากระดูกแตกหัก
  • ใช้ทำเชือกหยาบๆ
  • แก้พิษในกระดูก
  • แก้เม็ดฝี
  • รักษาอาการม้ามโต มีไข้
  • แก้หนาวสั่น
  • รักษาปัสสาวะเป็นเลือด หรือเหลืองจัด

            มีการใช้ประโยชน์จากมะเดื่อปล้อง ในอดีตปลายประการอาทิเช่น ผลสุกใช้รับประทานเป็นผลไม้มีรสหวาน แต่ไม่เป็นที่นิยมนัก เนื่องจากมักมีแมลงอยู่ข้างในผล และยังมีบางที่ ที่ใช้ผลสุกนำมาทำแยม ส่วนใบอ่อนใช้รับประทานเป็นเครื่องเคียงร่วมกับน้ำพริก แจ่วและลาบ ส่วนช่อดอกและผลอ่อนก็ใช้รับประทานเป็นผักสด หรือ ต้มจิ้มกับน้ำพริก และในภาคใต้ยังมีการนำมาปรุงอาหารจำพวกแกงส้ม และในภาคเหนือมีการนำผลดิบใช้รับประทานกับแกงบอน หรือ หลามบอน ในส่วนเปลือกต้นใช้ทำเชือก และเนื้อไม้ใช้สำหรับทำฟืน

มะเดื่อปล้อง

รูปแบบและขนาดวิธีใช้

  • ใช้รักษาโรคโลหิตจาง แก้ไข้ จับสั่น แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้เลือดกำเดาไหล รักษาแผลในปาก ทำให้อาเจียน แก้บิด แก้ปวดกระเพาะ แก้ริดสีดวงทวาร รักษาโรคตัวเหลือง กระตุ้นการหลั่งน้ำนม โดยนำผลสุกมารับประทาน หรือ นำผลดิบมาตากแห้ง ต้มกับน้ำดื่ม
  • ใช้เป็นยาบำรุง แก้มาลาเรีย กล่อมเสมหะ ทำให้อาเจียน แก้ท้องเสีย ใช้เป็นยาระบาย แก้พิษในกระดูก โดยนำเปลือกต้นมะเดื่อปล้อง มาต้มกับน้ำดื่ม
  • ใช้แก้ท้องร่วง โดยนำผลผสมกับไพล กล้วยดิบที่ฝานเป็นแว่นๆ นำมาแช่ในน้ำ แล้วนำมารับประทาน
  • ใช้แก้ ไข้ หนาวสั่น หรือ รักษาอาการไข้หลังการคลอดบุตร หนาวสั่นแก้ปัสสาวะเป็นเลือด แก้ปัสสาวะเหลือง แก้ม้ามโต โดยนำใบมาต้มกับน้ำดื่ม
  • ใช้แก้ซางปากเปื่อย โดยนำผลใช้ผสมกับเหง้าไพล และรากกล้วยดิบ อย่างละ 3 ชิ้น ใส่ถ้วยเติมน้ำ เอาเหล็ก (ซาง) เผาไฟให้แดงแล้วจุ่มแช่ลงไปแล้วนำน้ำมาดื่ม


ลักษณะทั่วไปของมะเดื่อปล้อง

มะเดื่อปล้อง จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ไม่ผลัดใบ หรือ กึ่งผลัดใบ สามารถสูงได้ถึง 12 เมตร ลำต้นตั้งตรงเปลือกลำต้นเรียบหนา สีเทาปนดำ บริเวณต้นและกิ่งมีลักษณะเป็นข้อปล้องคล้ายรอยขวั้นเป็นข้อๆ ชัดเจน ตลอดถึงกิ่ง ส่วนกิ่งอ่อนกลวง และในทุกส่วนมีน้ำยางสีขาวขุ่น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามแบบเรียงสลับตั้งฉาก ลักษณะรูปไข่แกมขอบขนาน หรือ รูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับคนใบมน ปลายใบแหลม ส่วนขอบใบหยักถี่ๆ  โดยเฉพาะครึ่งปลายบน ใบมีขนาดกว้าง 5-13 เซนติเมตร และยาว 11-28 เซนติเมตร เนื้อใบบางคล้ายกระดาษ เมื่อใบยังอ่อนผิวใบด้านบนมีขนสากคายมือ ส่วนท้องใบด้านล่างมีขนนุ่มแต่เมื่อใบแก่จะมีขนหยาบ และมีก้านใบยาวประมาณ 1.5-4 เซนติเมตร โดยจะมีต่อมเป็นปม ดอกออกเป็นช่อแบบ Syconium โดยจะออกบริเวณลำต้นและกิ่ง แต่ในบางครั้งอาจพบออกบริเวณโคนต้น หรือ ตามกิ่งที่ห้อยลงก็ได้ ส่วนดอกย่อยมีขนาดเล็ก เจริญเติบโตอยู่ในฐานรองดอกที่ห่อหุ้มไว้แน่นเพื่อที่จะเจริญเติบโตไปเป็นผล โดยจะมีลักษณะคล้ายผล ด้านในกลวง ปลายมีช่องเปิดโดยจะมีใบประดับปิดอยู่ ดอกอ่อนเป็นสีเขียว ส่วนดอกแก่เป็นสีเหลือง ที่โคนมีใบประดับรูปสามเหลี่ยม 3 ใบ ยาวประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตร สำหรับดอกมะเดื่อปล้อง จะมี 3 ประเภท คือ ดอกเพศผู้ ดอกเพศเมีย และดอกปุ่มหูด เป็นแบบแยกเพศ อยู่ในช่อดอกเดียวกัน กลีบรวมจักเป็น 3-4 พู ที่ปลายมีขน มีเกสรเพศผู้มี 1 อัน ก้านช่อดอกยาว ส่วนดอกเพศเมียไม่มีก้าน กลีบรวมเชื่อมติดกันคล้ายปลอดหรือท่อสั้นๆ และดอกปุ่มหูดไม่มีก้าน แต่มีกลีบรวมปกคลุมรังไข่ ผลเป็นผลสด รูปกลมแป้น หรือ รูปลูกข่างก้นมีรอยบุ๋ม โดยจะออกติดเป็นกลุ่มแน่น 10-15 ผล ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่สีเหลือง ผลมีขนาด 2.5-4 เซนติเมตร ก้านผลยาว 0.5-2.5 เซนติเมตร ด้านในผลมีเมล็ดเล็กๆ จำนวนมาก ตามแนวขั้นผลถึงก้านผล

มะเดื่อปล้อง

มะเดื่อปล้อง

การขยายพันธุ์มะเดื่อปล้อง

มะเดื่อปล้อง สามารถขยายพัน์ได้โดยวิธีการใช้เมล็ด และการปักชำ ซึ่งมะเดื่อปล้องเป็นพืชที่ขยายพันธุ์ได้ง่าย เป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตได้ทุกสภาพดิน แต่จะชอบดินร่วนที่มีการระบายน้ำดี ชอบความชุ่มชื้น เช่นบริเวณริมลำธาร สำหรับวีธีการเพาะเมล็ด การปักชำ และการปลูก มะเดื่อปล้องนั้นสามารถทำได้เช่นเดียวกันกับการขยายพันธุ์ “มะเดื่อชุมพร” ซึ่งได้กล่าวถึงมาแล้วในบทความก่อนหน้านี้


องค์ประกอบทางเคมี

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยถึงองค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดมะเดื่อปล้อง จากกิ่งและใบ ระบุว่าพบสาระสำคัญหลายชนิดอาทิเช่น ficuhismines A–D, ficushispimine A, ficushispimine C, magnosprengerine, piperidine, isoquinoline, Amphetamine, pyrrolidine นอกจากนี้สารสกัดแอซิโทน และเอทิลแอซิเตดจากยางมะเดื่อปล้อง ยังพบสาร Lup-20 ene-3β-acetate,Urs-12-en-3β-acetate, (หรือ α-Amyrin acetate) และ Lupeol อีกด้วย

 โครงสร้างมะเดื่อปล้อง

การศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของมะเดื่อปล้อง

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของเปลือกต้นมะเดื่อปล้องระบุว่า มีการศึกษาวิจัยในสัตว์ทดลองสำหรับฤทธิ์ต่อระบบสืบพันธุ์ในสัตว์ทดลองพบว่า สารสกัดอะซีโตนจากเปลือกมะเดื่อปล้องมีฤทธิ์ปกป้องไต และอัณฑะของหนูแรทเพศผู้ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดความเสียหายด้วยการป้อนยา doxorubicin ส่วนการทดลองในหนูแรทเพศเมียพบว่า สารสกัดน้ำ-แอลกอฮอล์ (hydroalcoholic extracts) จากเปลือกมะเดื่อปล้อง มีฤทธิ์ยับยั้งการตกไข่ (antiovulatory) และมีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมน เอสโตรเจน (estrogenic effect) ยังมีรายงานว่าสารสกัดจากส่วนต่างๆ (ไม่ระบุส่วน) ของมะเดื่อปล้องมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านเบาหวาน ต้านเนื้องอก และปกป้องตับ ส่วนอีกการศึกษาหนึ่งระบุว่า สารสกัดจากเปลือกต้นและรากมะเดื่อปล้องมีฤทธิ์รักษาบาดแผล ต้านการอักเสบ ต้านเชื้อจุลชีพ มีฤทธิ์กล่องประสาท ต้านอาการท้องร่วง ต้านแผลในกระเพาะ ต้านอนุมูลอิสระ ป้อนกันตับ ต้านมะเร็ง และต้านเบาหวาน อีกด้วย


การศึกษาวิจัยทางพิษวิทยาของมะเดื่อปล้อง

ไม่มีข้อมูล


ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

ยางทั้งจากใบ เปลือก และผลมะเดื่อปล้อง มีความเป็นพิษที่สามารถทำให้ผิวหนังเป็นผื่นเป็นแผลได้ สำหรับการใช้มะเดื่อปล้องเป็นสมุนไพร ควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกันกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยควรใช้ในขนาด และปริมาณที่เหมาะสมที่ได้ระบุไว้ในตำรับตำรายาต่างๆ ไม่ควรใช้ในขนาด และปริมาณที่มากจนเกินไป หรือ ใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาที่นานจนเกินไปเพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้


เอกสารอ้างอิง มะเดื่อปล้อง
  1. พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ. “มะเดื่อปล้อง”. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. หน้า 153.
  2. มัณฑนา นวลเจริญ. พรรณไม้ป่าชายหาด. ปทุมธานี. สำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2552 หน้า 116
  3. ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์. “มะเดื่อปล้อง (Ma Duea Plong)”. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. หน้า 220.
  4. ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “มะเดื่อปล้อง”. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. หน้า 112.
  5. มะเดื่อปล้อง, ฐานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=261
  6. V.A. Yap, B.J. Loong, K.N. Ting, S.H. Loh, K.T. Yong, Y.Y. Low, T.S. Kam, K.H. Lim, Phytochemistry 109, 96–102 (2015)
  7. Z. Zhou, M.G. Gilbert, Flora China 5, 37–71 (2003)
  8. W. Xu, P. Wang, S.Z. Li, Q.S. Song, Nat. Prod. Res. Dev. 22, 1003–1005 (2010)
  9. M.S.I. Howlader, M.A. Siraj, S.K. Dey, A. Hira, A. Ahmed, M.H. Hossain, Evid-Based Compl. Alt. 7390359 (2017)
  10. Z.F. Shi, C. Lei, B.W. Yu, H.Y. Wang, A.J. Hou, Chem. Biodivers. 13, 445–450 (2016)
  11. S.C. Mandal, B. Saraswathi, C.K. Kumar, S.M. Lakshmi, B.C. Maiti, Phytother. Res. 14, 457–459 (2000)