ผักกูด ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย
ผักกูด งานวิจัยและสรรพคุณ 21 ข้อ
ชื่อสมุนไพร ผักกูด
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น กูดกิน, กูดขาว (ภาคกลาง), หัสดำ (โคราช, สุราษฎร์ธานี), กูดน้ำ (แม่ฮ่องสอน), แลโพะโด๊ะ, แทรอแป๊ะ (กะเหรี่ยง), เหล้าชั่ว (ม้ง), ผักกูด (เชียงใหม่)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Diplazium rsculentum (Retz) Sw.
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Athyrium esculenttum (Retz.) Copel
ชื่อวิทยาศาสตร์ Small vegetable fern, Paco fern, Vegetable fern
วงศ์ ATHYRIACEAE
ถิ่นกำเนิดผักกูด
จากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของผักกูดพบว่า ไม่พบข้อมูล ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมที่แน่นอนมีแต่เพียงข้อมูลที่ระบุว่าผักกูด มีเขตกระจายพันธุ์ในเขตร้อนของเอเชีย ใช่ตั้งแต่ภาคกลางของประเทศจีน ภาคใต้ของญี่ปุ่น ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ ไปจนถึงหมู่เกาะแปซิฟิก และแอฟริกาตะวันออก สำหรับในประเทศไทยสามารถพบผักกูดได้ทั่วทุกภาคของประเทศที่มีสภาพดินชื้นแฉะ และมีความชื้นสูง หรือ มักขึ้นอยู่บริเวณที่ลุ่มชุ่มน้ำ ริมลำธาร หนองบึง หรือ พื้นที่เปิดโล่ง ที่มีร่มเงา
ประโยชน์และสรรพคุณผักกูด
- ใช้บำรุงร่างกาย
- ช่วยบำรุงกำลัง
- ช่วยบำรุงสายตา
- ช่วยบำรุงโลหิต
- แก้โลหิตจาง
- เสริมภูมิคุ้มกัน
- แก้ไข้ตัวร้อน
- แก้พิษอักเสบ
- ป้องกันเลือดออกตาไรฟัน
- ช่วยขับปัสสาวะ
- ช่วยขับถ่าย
- แก้ผื่นคัน
- ช่วยห้ามเลือด
- ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร
- แก้ไข้ทรพิษ
- แก้หอบหืด
- แก้ท้องร่วง
- แก้ปวดเมื่อย
- แก้บวม
- แก้โรคไขข้อ
- แก้ความดันโลหิตสูง
ผักกูด ถูกนำมาใช้ประโยชน์มาในตั้งแต่อดีตแล้วโดยประโยชน์หลักๆ คือ นำมาใช้เป็นผักในการประกอบอาหาร โดยผักกูดเป็นผักป่าที่มีรสจืดอมหวาน และกรอบ นิยมนำยอดอ่อนและใบอ่อนนิยมมารับประทานโดยนำมาเป็นอาหารได้อย่างหลากหลายเมนูไม่ว่าจะนำมายำ ผัด หรือ แกงต่างๆ หรือ นำมารับประทานลวกจิ้มกับน้ำพริก ก็ได้ ส่วนทางอีสานจะรับประทานยอดสดกับลาบ ก้อย ยำ ส้มตำ ปลาป่น และในปัจจุบันมีการนำผักกูดไว้ขายส่งญี่ปุ่น โดยชาวญี่ปุ่นจะนำผักกูดไปดองกับเกลือไว้รับประทาน หรือ ที่เรียกว่า วาราบิ ทั้งนี้ผักกูดยังเป็นผักที่มีเบต้าแคโรทีนค่อนข้างสูง และให้วิตามินซี ค่อนข้างดี โดยคิดเป็นประมาณร้อยละ 58 ของปริมาณวิตามินซีที่แนะนำให้กินใน 1 วันอีกด้วย
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ผักกูด
ใช้ลดไข้ตัวร้อน ขับปัสสาวะ แก้พิษอักเสบ โดยนำใบผักกูดมาต้ม และนำมาดื่ม ใช้บำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง บำรุงโลหิต เสริมภูมิคุ้มกันโดยใช้ยอดอ่อน หรือ ใบอ่อน ผักกูด มารับประทาน ใช้รักษาโรคริดสีดวงทวารโดยนำหัว หรือ เหง้าผักกูดเปลือกมะเดื่ออุทุมพร รากถั่วพู เมล็ดมะกอก และรากกระทุงหมาบ้า มาฝนให้เป็นผง แล้วนำมาชงกับน้ำซาวข้าว ดื่มครั้งละ 1 แก้ว 3 เวลาหลังอาหาร ใช้แก้ผื่นคัน โดยนำผักกูดทั้งต้นมาแช่ในน้ำประมาณ 30 นาที แล้วนำน้ำมาอาบ ใช้ห้ามเลือด โดยนำใบผักกูดมาขยี้ หรือ ตำพอกบริเวณที่เลือดออก
ลักษณะทั่วไปของผักกูด
ผักกูด จัดเป็นพืชจำพวกเฟิร์นขนาดใหญ่ที่มีเหง้า หรือ ลำต้นตั้งตรง และมีความสูงมากกว่า 1 เมตร เหง้าปกคลุมไปด้วยเกล็ดสีน้ำตาลเข้มถึงดำ ที่มีขนาดกว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ขอบเกล็ดหยักเป็นซี่
ใบ เป็นแบบประกอบขนนกสองชั้น สีเขียว ขนาดใบมีขนาดต่างกัน โดยส่วนด้านล่างจะใหญ่กว่าใบด้านบนมักกว้างได้ถึง 50 เซนติเมตร และยาวกว่า 1 เมตร กลุ่มใบย่อยคู่ล่างมักลดขนาด โคนใบเป็นรูปกึ่งหัวใจ หรือ รูปติ่งหู ปลายเรียวแหลมขอบเว้าลึกเป็นแฉกเกือบถึงเส้นกลาง ส่วนใบย่อยแฉกปลายมน ขอบหยักซี่ฟัน แผ่นใบบาง มีกลุ่มอับสปอร์ อยู่ตามความยาวของเส้นใบย่อย มักเชื่อมอยู่กับกลุ่มสปอร์ที่อยู่ในแฉกติดกันซึ่งอย่นเส้นใบมาสานกัน และมีก้านใบยาว 70 ซม.
การขยายพันธุ์ผักกูด
ผักกูดสามารถขยายพันธุ์ได้โดยวิธีการใช้สปอร์ หรือ ใช้เหง้า หรือ ไหลมาปลูก ซึ่งขยายพันธุ์แบบธรรมชาติโดยการใช้สปอร์มาขยายพันธุ์ แต่ในปัจจุบันได้มีการนำผักกูดมาเพาะปลูกในเชิงพาณิชย์จึงมีการขยายพันธุ์โดยใช้ไหลมาปลูกโดยมีวิธีการดังนี้ เริ่มจากการเตรียมไถแปลง ใส่ปุ๋ยคอกลงหลุม หรือ ผสมดินลงแปลง กับปุ๋ยคอกในอัตราดิน 2 ส่วน ปุ๋ยคอก 1 ส่วน จากนั้นขุดหลุมปลูกระยะ 50x50 เซนติเมตร วางหัวไหลของผักกูดลงในหลุมแล้วกลบโคนเมื่อเหง้าผักกูด ตั้งตัวได้แล้ว ใส่ปุ๋ยยูเรียผสมปุ๋ยสูตร 15:15:15 อัตรา 75 กิโลกรัมต่อไร่ ให้น้ำวันละ 1 ครั้ง ต้นผักกูดที่ปลูกเมื่ออายุประมาณ 6 เดือน จะสามารถเก็บเดี่ยวผลผลิตได้
องค์ประกอบทางเคมี
มีรายงานผลการศึกษาวิจัยในต่างประเทศถึงองค์ประกอบทางเคมีของผักกูด พบว่าพบสารออกฤทธิ์ที่สำคัญหลายชนิดอาทิ เช่น Tetradecanoic acid, N hexadecanoic acid, Octadecane, Pentadecanoic acid, Hexahydrofarnesyl acetone, Pentadecanoic acid, Docosane, Octadecanoic acid, Hexadecanoic acid, 2-hydroxy 1 ethyl ester, Hexacotane, Tetracisane, 1-Tricosene, Tetra pentacotane Ascorbic acid, Quercetin, Pterosin, Ptaquiloside, Terpene, Hopan-triterpene, Lactone, Lutein เป็นต้น
ส่วนการศึกษาวิจัยอีกอย่างหนึ่งระบุว่าองค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยที่แยกได้จากส่วนใบของผักกูดพบสารหอมระเหยที่สำคัญ ได้แก่ Beta pinene, Caryophyllene oxide, sabinene, 1,8-cineole เป็นต้น
นอกจากนี้ผักกูดยังมีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้
คุณค่าทางโภชนาการของผักกูด 100 กรัม (เฉพาะส่วนที่กินได้)
พลังงาน |
19 |
กิโลแคลอรี่ |
ใยอาหาร |
1.2 |
กรัม |
ไขมัน |
0.3 |
กรัม |
36.3 |
มิลลิกรัม |
|
แคลเซียม |
22 |
มิลลิกรัม |
115 |
มิลลิกรัม |
|
เบต้าแคโรทีน |
681 |
ไมโครกรัม |
17,167 |
หน่วยสากล |
|
วิตามิน บี1 |
0.36 |
มิลลิกรัม |
0.08 |
มิลลิกรัม |
|
วิตามิน บี3 |
0.5 |
มิลลิกรัม |
วิตามินซี |
16 |
มิลลิกรัม |
การศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของผักกูด
มีรายงานผลการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาในต่างประเทศของสารสกัดผักกูด จากส่วนต่างๆ ระบุว่ามีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ ต้านเบาหวาน ลดความดันโลหิต ต้านเชื้อจุลชีพ ต้านเชื้อแบคทีเรีย และยังมีฤทธิ์ยับยั้งฮอร์โมนเอนโดรเจน อีกด้วย
การศึกษาทางพิษวิทยาของผักกูด
มีรายงานผลการศึกษาวิจัยทางพิษวิทยาของสารสกัดเมทานอล และคลอโรฟอร์มของผักกูด โดยได้ศึกษาความเป็นพิษโดยใช้การวิเคราะห์ทางชีวภาพของกุ้งน้ำเค็มพบว่าสารสกัดทั้งสองชนิดทำให้ปริมาณการตายของกุ้งเพิ่มขึ้นตามขนาดยาสารสกัดในคลอโรฟอร์มมีค่า LC50 เท่ากับ 1.87 ug/ml ส่วนสารสกัดเมทานอลมีค่า LC50 เท่ากับ 1.62 ug/ml
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
ในการใช้ผักกูด เป็นอาหาร หรือ เป็นยาสมุนไพร มีข้อควรระวัง คือ ไม่ควรรับประทานผักกูดแบบดิบๆ หรือ แบบสดๆ เนื่องจากผักกูดมีสารออกซาเลตในปริมาณที่สูง อาจทำให้ไตอักเสบ และทำให้เป็นนิ่วได้ จึงควรนำไปปรุงให้สุกก่อนรับประทาน หรือ ใช้เป็นยาสมุนไพร
เอกสารอ้างอิง ผักกูด
- กัญจนา ดีวิเศษ และคนอื่นๆ. 2542. ผักพื้นบ้านภาคเหนือ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
- เต็ม สมิตินันท์. สวนพฤกษศาสตร์ผป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้. หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย.
- มนตรี แก้วดวง และ วิเซ็น ดวงสา. ผักกูด อาหารต้านอนุมูลอิสระ. หมอชาวบ้าน ปีที่ 35. ฉบับที่ 402 สิงหาคม 2556. หน้า 14.
- สมพร หิรัญรามเดช. สมุนไพรใกล้ตัวเล่มที่ 13 ว่าด้วยสมุนไพรแต่งสี กลิ่น รส. คณะเภสัชมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
- ริญ เจริญศิริ, ศศพินทุ์ ดิษนิล. ยำผักกูด. คอลัมน์ เข้าครัว. นิตยสารหมอชาวบ้านเล่มที่ 335. พฤศจิกายน 2551.
- S. Akter, M. M. Hossain, I. Ara, and P. Akhtar, "Investigation of in vitro antioxidant, antimicrobial and cytotoxic activity of Diplazium esculentum (Retz.) Sw," International Journal of Advances in Pharmacy, Biology and Chemistry, vol. 3, pp. 723-733, 2014.
- Sermakkani M & Thangapandian V 2012. GCMS analysis of Cassia italic leaf methanol extract. Asian journal of pharmaceutical and clinical research .vol 5.
- R.Abe and K. Ohtani, "'An ethnobotanical study of medicinal plants and traditional therap Island, the Philippines," Journal of Ethnopharmacology, vol. 145, no. 2, pp. 554-565, 2013.
- Graw M C, Jagar A K, Van Staden J 2012. Isolation of anti breast cancer compound in olive oil .AUJT 9(2):75-78.
- S. Pathania, P. Kumar, S. Singh et al., "Detection of ptaquiloside and quercetin in certain Indian ferns," Current Science, vol. 102, no. 12, pp. 1683-1691, 2012.
- Seidel V, Taylor P W 2004. Invitro activity of extracts and constituents of Pelagonium against rapidally growing mycobacteria Int.J. Antimicrob .Agen 23:613-619.
- View at: Publisher Site I Google Scholar E. Essien, R. Ascrizzi, and G. Flamini, "Characterization of volatile compounds of Diplazium esculentum," Chemistry of Natural Compounds, vol. 55, no. 5, pp. 958-959, 2019.