กระเม็งตัวเมีย ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

กระเม็งตัวเมีย งานวิจัยและสรรพคุณ 38 ข้อ
 

ชื่อสมุนไพร กระเม็งตัวเมีย
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น กาเม็ง, กระเม็ง, คัดเม็ง (ภาคกลาง), ฮ่อมเกี่ยว, หญ้าส้ม (ภาคเหนือ), บังกี่เช่า, ฮั่นเหลียนเฉ่า (จีน), เฮ็กบักเช่า, บักอั่งเน้ย (จีนแต้จิ๋ว)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Eclipta prostrate Linn.
ชื่อสามัญ False daisy, White head, Herba Ecliptae
วงศ์ COMPOSITAE

ถิ่นกำเนิดกระเม็งตัวเมีย 

กระเม็งตัวเมียเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีป อเมริกากลาง และอเมริกาใต้แล้วมีการแพร่กระจายพันธุ์ไปยังประเทศเขตอบอุ่น เขตโซนร้อน และถึงโซนร้อนหลายประเทศ เช่น บราซิล, สวิตเซอแลนด์, อินเดีย, จีน, ไทย ฯลฯ สำหรับในประเทศไทยถูกจัดให้เป็นวัชพืชชนิดหนึ่งที่สามารถพบกระเม็งตัวเมีย ได้ทั่วทุกภาคของประเทศ ส่วนมากจะพบขึ้นเองตามริมทาง ที่ชุ่มชื้น และชื้นแฉะ ที่รกร้างทั่วไป เช่น ริมคูน้ำ นาข้าว ริมคลอง และในแปลงพืชผักทั่วๆไป

ประโยชน์และสรรพคุณกระเม็งตัวเมีย

  • ใช่เป็นยาอายุวัฒนะ
  • ช่วยบำรุงเลือด
  • ช่วยรักษาโรคตาต่างๆ
  • แก้ปวดฟัน
  • ช่วยใช้ทำให้เลือดเย็น
  • ช่วยห้ามเลือด
  • ช่วยบำรุงไต
  • แก้อาเจียนเป็นเลือด
  • แก้กระอักเลือด
  • แก้หนองใน
  • แก้ปัสสาวะเป็นเลือด
  • แก้เป็นบิด
  • แก้ถ่ายเป็นเลือด
  • แก้ลำไส้อักเสบ
  • แก้ตับอักเสบเรื้อรัง
  • แก้กษัย
  • แก้คอตีบ
  • แก้โรคผิวหนังผื่นคัน
  • แก้โรคผิวหนังเรื้อรัง
  • ช่วยรักษาบาดแผลจากของมีคม
  • ช่วยทำให้คิ้วหนวดดกดำ
  • ใช่เป็นยาถ่าย
  • แก้ปวดหัวข้างเดียว (ลมตะกัง)
  • ช่วยทำให้อาเจียน
  • แก้เป็นลมหน้ามืดจากการคลอดบุตร
  • แก้ท้องเฟ้อ
  • แก้เลือดออกในลำไส้ และในปอด
  • ช่วยบำรุงตับ
  • ช่วยบำรุงม้าม
  • แก้มะเร็ง (อาการแผลเรื้อรัง เน่าลุกลาม รักษายาก)
  • แก้หืด
  • แก้หลอดลมอักเสบ
  • แก้จุกเสียด
  • แก้กลาก เกลื้อน
  • ช่วยแก้ผมหงอกก่อนวัย
  • แก้เด็กปากเปื่อยเจ็บเนื่องจากเชื้อรา
  • แก้สตรีที่ตกขาวมาก
  • ช่วยรักษาอาการดีซ่าน

           ในอดีตคนไทยมีการนำกระเม็งตัวเมีย มาใช้ประโยชน์ต่างๆ เช่น น้ำคั้นจากต้นใช้ย้อมสีผม คิ้ว และหนวด ด้วยการใช้น้ำคั้นจากต้นเคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว หรือ น้ำมันงา ใช้ทาให้ทั่วศีรษะช่วยแก้ปัญหาผมหงอกก่อนวัยได้ นอกจากนี้ทุกๆ ส่วนของกระเม็งตัวเมียใช้ร่วมกับลูกมะเกลือ ดิบ โดยนำมาโขลกเอาน้ำใช้ย้อมสีผ้าให้ดำได้ เช่นกัน ส่วนในประเทศอินเดียมีการใช้น้ำคั้นจากต้นสดมาใช้เป็นน้ำหมึกสำหรับสัก เพื่อให้รอยสักที่ได้เป็นสีเขียวคราม

กระเม็งตัวเมีย

รูปแบบและขนาดวิธีใช้

สรรพคุณทางยาของกระเม็งตัวเมีย

  • แก้อาเจียนเป็นเลือด กระอักเลือด ใช้ต้นนี้สด หนัก 120 กรัม ตำชงด้วยปัสสาวะเด็กกิน
  • แก้ไอเป็นก้อนเลือด ใช้ต้นนี้สดหนัก 60 กรัม ตำคั้นเอาน้ำมาผสมน้ำอุ่นกิน
  • แก้เลือดกำเดาออก ใช้ยานี้สดประมาณ 1 กำมือ ล้างให้สะอาดตำคั้นเอาน้ำผสมเหล้าต้มกินหลังอาหารวันละ 2 ครั้ง ขณะมีเลือดออกที่จมูกก็ตำคั้นเอาน้ำซุบสำลีอุดจมูกห้ามเลือดได้ดี
  • แก้หนองใน ปัสสาวะเป็นเลือด ใช้ใบสดต้นนี้ร่วมกับใบผักกาดน้ำสดๆ (Plantago asiatica) อย่างละเท่าๆ กัน หนัก 60 กรัม ตำคั้นเอาน้ำกินวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น
  • แก้เลือดออกในลำไส้ และในปอด หรือ มีแผลภายในเลือดออก ใช้เมล็ดต้นนี้ผิงไฟให้แห้งบดเป็นผงผสมน้ำข้าวกินวันละ 6 กรัม หรือใช้ต้นสดหนัก 10 กรัม ผสมน้ำตาลกรวดต้มกิน
  • แก้บิดถ่ายเป็นเลือด ใช้ต้นนี้แห้งหนัก 30 กรัม ต้มน้ำกิน
  • แก้สตรีที่ตกขาวมาก ใช้ต้นนี้หนัก 30 กรัม ต้มกินกับเป็ด หรือ หมูก็ได้
  • แก้คอตีบ ใช้ต้นกระเม็งตัวเมีย หนัก 60-90 กรัม บดใส่เกลือเล็กน้อยชงน้ำกิน จะขับเสลดออกมา
  • แก้กระษัย ด้วยการใช้ทั้งต้นนำมาคั้นเอาแต่น้ำ กรองด้วยผ้าขาวบางผสมกับน้ำร้อนครึ่งแก้ว ผสมกับน้ำผึ้งแท้ 1 ใน 3 ส่วนของน้ำร้อนแล้วนำมารับประทาน
  • รักษาโรคเกี่ยวกับตา อาการเจ็บตา ตาแดง ด้วยการใช้ทั้งต้นประมาณ 1 กำมือนำมาต้มใส่น้ำตาลพอหวานเล็กน้อย ต้มให้เดือดประมาณ 15 นาทีแล้วนำมาดื่มครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3-4 ครั้ง
  • รักษาหนองใน ปัสสาวะเป็นเลือด ด้วยการใช้ใบสดและใบผักกาดน้ำสดๆ อย่างละเท่าๆ กันประมาณ 60 กรัม นำมาตำคั้นเอาแต่น้ำกินวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น
  • แก้อาการอักเสบ บวมช้ำ ด้วยการใช้ต้นสด 3-4 ต้น นำมาล้างให้สะอาดแล้วนำไปต้มน้ำให้เดือดประมาณ 10 นาที แล้วผสมน้ำตาลทรายลงไปพอให้มีรสหวาน แล้วนำมาใช้ดื่มไม่เกิน 2 วัน
  • แก้บาดแผลมีเลือดออก ใช้ต้นนี้สดตำพอก หรือใช้ต้นนี้แห้งบดเป็นผงโรยที่แผล
  • แก้ปวดหัวข้างเดียว (ลมตะกัง) ใช้น้ำคั้นจากต้นนี้หยอดจมูก
  • แก้ของคลอดเป็นผื่นคัน ใช้ต้นนี้หนัก 120 กรัม ต้มเอาน้ำผสมสารส้มชะล้าง
  • แก้ปวดฟัน ใช้ยานี้ผิงไฟไหม้แห้งบดเป็นผง ทาที่เหงือก
  • แก้เด็กปากเปื่อยเจ็บเนื่องจากเชื้อรา ใช้น้ำคั้นจากใบของต้นนี้ 2 หยด ผสมน้ำผึ้ง 8 หยอดทาแผลเปื่อยเจ็บนั้นบ่อยๆ

ลักษณะทั่วไปของกระเม็งตัวเมีย

กระเม็งตัวเมีย จัดเป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็กทอดไปตามพื้น แต่ปลายยอดจะตั้งขึ้นตรง มีความสูงประมาณ 30–60 เซนติเมตร ลำต้นมีสีเขียว หรือ สีน้ำตาลแดง และมีขนละเอียด กิ่งก้านแตกที่โคนต้น เป็นพืชที่สามารถขึ้นได้ตลอดทั้งปี ใบออกตรงกันข้าม ใบมีลักษณะเป็นรูปเรียวยาว ยาว 4-10 ซ.ม. กว้าง 0-8-2 ซ.ม. (ถ้าเกิดในที่ชุ่มชื้นมีน้ำมากใบก็จะใหญ่ เกิดในที่แห้งแล้งใบก็เล็ก) ฐานใบเป็นรอยเว้าเข้าเล็กน้อยทั้งสองด้าน ปลายใบค่อนข้างแหลม ขอบใบมีรอยหยักตื้นๆ ทั้งสองด้านมีขนสั้นๆ มีสีขาวยู่  ดอกออกเป็นช่อกระจุกแน่น โดยจะออกดอกเป็นช่อเดี่ยวที่บริเวณยอด หรือ 1-3 ช่อบริเวณง่ามใบ ดอกวงนอกรูปลิ้น เป็นดอกเพศเมีย มีประมาณ 3-5 ดอก กลีบดอกมีสีขาว ส่วนดอกวงในกลีบดอกติดกันเป็นหลอด ที่ปลายแยกเป็นกลีบ 4 กลีบ มีสีขาว และเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ ส่วนก้านดอกเรียวยาว มีความยาวประมาณ 2-4.5 เซนติเมตร ผลมีลักษณะเป็นรูปลูกข่าง มีสีเหลืองปนดำ เมื่อนำมาขยี้ดูจะมีน้ำสีดำออกมา ส่วนผลแก่แห้งมีสีดำไม่แตก ปลายผลมีรยางค์เป็นเกล็ดยาวประมาณ 2.5 มิลลิเมตร ขนาดของผลยาวประมาณ 3-3.5 มิลลิเมตร และกว้างประมาณ 1.5 มิลลิเมตร

การขยายพันธุ์กระเม็งตัวเมีย

กระเม็งตัวเมีย สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ด แต่โดยส่วนมากแล้วจะเป็นการขยายพันธุ์ทางธรรมชาติมากกว่าถูกนำมาเพาะปลูก เพราะกระเม็งตัวเมีย ถูกจัดให้เป็นวัชพืชชนิดหนึ่ง ที่คอยรบกวนพืช และผลผลิตทางการเกษตรของเกษตรกรจึงมักถูกกำจัดทิ้งอยู่เสมอ

องค์ประกอบทางเคมีกระเม็งตัวเมีย 

กระเม็งตัวเมีย มีองค์ประกอบทางเคมี ที่สำคัญ ได้แก่ สารกลุ่ม coumestans, thiophenes, saponins, alkaloids, flavonoids และ steroids 

รูปภาพองค์ประกอบทางเคมีของกระเม็งตัวเมีย
โครงสร้าง

ที่มา : Wikipedia

การศึกษาทางพิษวิทยาของกระเม็งตัวเมีย

ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพ ส่วนเหนือดินของต้นกะเม็งมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด สารสกัดเฮกเซนจากต้นกระเม็งมีฤทธิ์อย่างแรงในการยับยั้งเชื้อ Staphyllococcus aureus, Bacillus cereus, Escherichia coli, Salmonella typhi, Klebsiella pneumoniae, S. pyogenes และ Pseudomonas aeruginosa (MIC < 100 มคก./มล.) และใกล้เคียงกับยาต้านเชื้อจุลชีพ ciprofloxacin ขนาด 25 มคก./มล. ในขณะที่สารสกัดอะซีโตน สารสกัดเอทานอล สารสกัดเมทานอล และสารสกัดน้ำออกฤทธิ์ปานกลาง สารสกัดเอทิลอะซีเตทจากต้นกะเม็งให้ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย B. subtilis, S. aureus, Proteus mirabilis, B. cereus, E. coli, S. typhi, P. aeruginosa, S. epidermidis และ Candida albicans สารสกัดปิโตรเลียมอีเธอร์มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อราก่อโรคผิวหนังกลุ่ม Microsporum และ Trichophyton (7) รวมถึงสารซาโปนินที่แยกได้จากส่วนใบของต้นกะเม็ง มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราเช่นกัน

           ฤทธิ์ต้านการอักเสบ สารสกัดเมทานอลจากใบ ขนาด 100 และ 200 มก./กก. มีฤทธิ์ต้านการอักเสบในหนูแรทที่เหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วยคาราจีแนน โดยให้ฤทธิ์ใกล้เคียงกับยาอินโดเมทาซิน (indomethacin) 10 มก./กก. และยับยั้งการบวมของอุ้งเท้าจากการเหนี่ยวนำด้วยไข่ขาวได้ใกล้เคียงกับการใช้ยาไซโปรเฮปตาดีน (cyproheptadine) 8 มก./กก. ซึ่งสารสกัดจากต้นกะเม็งออกฤทธิ์ต้านการอักเสบโดยยับยั้งการหลั่งสารสื่อกลางการอักเสบ prostaglandin E2 และ tumor necrosing factor-α รวมถึงลดการแสดงออกของ nitric oxide และ cyclooxygenase-2 ซึ่งเกี่ยวข้องในกระบวนการอักเสบ

           ฤทธิ์ต้านไวรัส จากการศึกษาโดยการแยกสารสกัด dichloromethane จากต้นกะเม็งด้วย column chromatography ได้สาร 5-hydroxymethyl-(2,2':5',2'')-terthienyl tiglate, 5-hydroxymethyl-(2,2':5',2'')-terthienyl agelate, 5-hydroxymethyl-(2,2':5',2'')-terthienyl acetate และ ecliptal และการแยกสารสกัด methanol ด้วย column chromatography เช่นกัน ได้สาร orobol  และ wedelolactone จากนั้นนำสารที่แยกได้ดังกล่าวไปศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัส human immunodeficiency virus (HIV) พบว่าสาร wedelolactone และ orobol มีฤทธิ์ ยับยั้ง HIV-1 integrase  IC50 เท่ากับ 4.0±0.2  และ 8.1±0.5 µM ตามลำดับ ในขณะที่สารที่แยกได้จากสารสกัด dichloromethane ทั้ง 4 ชนิด ไม่มีผลต่อเอนไซม์ดังกล่าว ส่วนสาร 5-hydroxymethyl-(2,2':5',2'')-terthienyl tiglate, 5-hydroxymethyl-(2,2':5',2'')-terthienyl acetate  และ ecliptal มีฤทธิ์ยับยั้ง HIV-1 protease โดยมีค่า IC50 เท่ากับ58.3±0.8, 83.3±1.6 และ 93.7±0.8 µM ตามลําดับ ในขณะที่สารอื่นที่แยกได้ไม่มีผลต่อเอนไซม์ดังกล่าว

           ฤทธิ์ปกป้องไต จากการศึกษาฤทธิ์ปกป้องไตของกะเม็งในสัตว์ทดลอง โดยการป้อนสารสกัด methanol จากต้นกะเม็งขนาด 300 และ 600 mg/kg ร่วมกับการฉีดยา gentamicin ขนาด 80 mg/kg เข้าทางใต้ผิวหนังแก่หนูขาว เป็นเวลา 7 วัน พบว่าสารสกัด methanol สามารลดระดับ blood urea nitrogen, serum creatinine และ urinary microprotein เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับ gentamycin เพียงอย่างเดียว และยังสามารถลดการทำงายของเนื้อเยื่อหลอดไตได้ โดยมีกลไกการออกฤทธิ์ผ่านการเพิ่มระดับ CAT และลดระดับ lipid peroxidation ซึ่งคาดว่าเป็นผลสืบเนื่องมาจากฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

           ฤทธิ์บรรเทาอาการปวด สารสกัดเอทานอลขนาด 250 และ 500 มก./กก. น้ำหนักตัว และสารอัลคาลอยด์ที่แยกได้จากสารสกัดเอทานอลของต้นกะเม็ง ขนาด 150 มก./กก. น้ำหนักตัว ออกฤทธิ์บรรเทาอาการปวดได้นานถึง 60 นาทีหลังการป้อน เมื่อทดสอบด้วยวิธี tail clip method โดยให้ฤทธิ์ใกล้เคียงกับกลุ่มควบคุมที่ได้รับสาร codeine ขนาด 50 มก./กก. น้ำหนักตัว หรือยาแอสไพริน ขนาด 300 มก./กก. สารสกัดแอลกอฮอล์จากต้นกะเม็ง ขนาด 200 มก./กก. และสาร coumarin ที่แยกได้จากสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ผสมน้ำ (hydroalcoholic extract) มีฤทธิ์บรรเทาอาการปวดจากการเหนี่ยวนำด้วย acetic acid และ formalin แต่เมื่อใช้ร่วมกับมอร์ฟีนขนาด 1.5 มก./กก. น้ำหนักตัว หรือยาแอสไพริน 165 มก./กก.น้ำหนักตัว ไม่พบการเสริมฤทธิ์บรรเทาปวดของสารทั้งสองชนิด

           ฤทธิ์ต้านมะเร็ง มีการศึกษาในหลอดทดลองมากมายที่แสดงให้เห็นถึงฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งของกะเม็ง เมื่อนำน้ำกะเม็ง สารสกัดน้ำและสารสกัด methanol จากส่วนที่อยู่เหนือดินของต้นกะเม็งขนาด 50 μg/mL มาทดสอบหาฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งตับเพาะเลี้ยง HCC-S102 ด้วยวิธี invasion and migration assay และ adhesion assay พบว่าน้ำกะเม็งสามารถยับยั้งการ invasion และ migration ของเซลล์มะเร็งตับได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะฤทธิ์ต้าน migration พบว่าขึ้นกับระดับความเข้มข้น ส่วนสารสกัดน้ำและสารสกัด methanol สามารถยับยั้งการ invasion และ migration ของเซลล์มะเร็งตับได้ปานกลาง ในขณะที่น้ำกะเม็ง และสารสกัดทั้งสองชนิดไม่มีผลยับยั้งการ adhesion ของเซลล์มะเร็งตับ และในงานวิจัยเดียวกัน ยังได้นำน้ำกะเม็งมาศึกษาถึงฤทธิ์ยับยั้ง migration ต่อเซลล์มะเร็งตับเพาะเลี้ยง HCC-S102 และ SK-Hep-1, เซลล์มะเร็งปอดเพาะเลี้ยง A549 เซลล์มะเร็งเต้านมเพาะเลี้ยง MDA-MB-231 และเซลล์เอนโดทีเลียมเพาะเลี้ยง HUVEC รวมทั้งฤทธิ์ฆ่าเซลล์ดังกล่าว ผลการทดลองพบว่าน้ำกะเม็งสามารถยับยั้งการ migration ของเซลล์เหล่านี้ ด้วยค่า IC50 ระหว่าง 31-70 μg/ml และยังมีฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งตับเพาะเลี้ยง HCC-S102, SK-Hep-1, เซลล์มะเร็งปอด และเซลล์มะเร้. เต้านมด้วยค่า IC50 เท่ากับ 617, 1,217, 1,183 และ 203 μg/mL ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่น้ำกะเม็งมีฤทธิ์ยับยั้ง angiogenesis ที่ 50% inhibition  เท่ากับ 200 μg/egg เมื่อศึกษาด้วยวิธี chick chorioallantoic membrane assay

           สำหรับสารสกัด hydroalcoholic จากใบกะเม็ง พบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งตับเพาะเลี้ยง HepG2, เซลล์มะเร็งไตเพาะเลี้ยง A498 และเซลล์ประสาทเพาะเลี้ยง C6 glioma ด้วยค่า IC50 22±2.9, 25±3.6 และ 50±8.7 μg/mL ตามลำดับ นอกจากนี้ยังสามารถยับยั้งการแสดงออกของ matrix metalloproteinase-2 (MMP-2), metallo- proteinase-9 (MMP-9) และ NF-ꓗB ได้รวมทั้งมีผลทำให้เกิดความเสียหายต่อดีเอ็นเอที่เวลา 72 ชั่วโมง หลังจากให้สารสกัดดังกล่าว โดยเชื่อว่ากลไลการยับยั้งเซลล์มะเร็งน่าจะเกิดจากการกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งตายผ่านกระบวนการ apoptosis และทำให้เกิดความเสียหายต่อดีเอ็นเอ รวมทั้งยังยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งดังกล่าว

           การศึกษาฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งตับเพาะเลี้ยง smmc-7721 ระหว่างสารสกัดน้ำ สารสกัดด้วย ด้วย 30%, 60% และ 90% ethanol จากมะเร็ง และสาร wedelolactone, eclalbasaponin I, luteolin และ luteolin-7-O-glucoside ที่แยกได้จากกะเม็ง พบว่าสารสกัดด้วย 30% ethanol และสาร eclalbasaponin I สามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งตับ ด้วยค่า IC50 เท่ากับ 74.24 และ 111.17 μg/mL ตามลำดับ ซึ่งมีฤทธิ์ดีกว่ายา 5-fluorouracil ที่มีค่า IC50 เท่ากับ 195.31 μg/mL ซึ่งใช้เป็น positive control ส่วนสารสกัดอื่นๆ อีก 3 ชนิดนั้น พบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งตับต่ำกว่า positive control

           ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ สารสกัดเอทิลอะซีเตท เฮกเซน เอทานอล และน้ำจากส่วนเหนือดินของกะเม็งแสดงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเมื่อทดสอบด้วย ferric thiocyanate method โดยสารสกัดเอทานอลที่ความเข้มข้น 500 มคก./มล. ให้ผลการยับยั้ง 77.62% ซึ่งใกล้เคียงกับการใช้สารมาตรฐานวิตามินอี 500 มคก./มล. ส่วนสกัดบิวทานอลจากต้นกะเม็งสามารถยับยั้งการสังเคราะห์อะซีติลโคลีน (acetylcholine) และการเกิดความเครียดออกซิเดชัน (oxidative stress) ในสมองของหนูแรท ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะความจำเสื่อม

           ฤทธิ์ลดระดับความดันโลหิต  เมื่อป้อนสารสกัด ethanol จากต้นกะเม็งในขนาด 200 และ 400 mg/kg แก่หนูขาวพบว่าสารสกัด ethanol สามารเพิ่มปริมาณการขับปัสสาวะ และเพิ่มการขับทิ้งของโซเดีย และคลอไรด์ ที่เวลา 5 และ 24 ชั่วโมง หลังจากการให้สารสกัดดังกล่าว แสดงให้เห็นว่ากะเม็งมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ และสามารถช่วยลดความดันโลหิตได้

           ฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร สารสกัดเอทานนอลจากต้นกะเม็ง ขนาด 50, 100 และ 200 มก./กก. น้ำหนักตัว สามารถฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร หนูแรท จากการเหนี่ยวนำด้วย cold resistant stress (CRS) และเชื้อ pylorus ซึ่งให้ฤทธิ์ป้องกันเพิ่มขึ้นตามขนาดของสารสกัดที่ได้รับ โดยสารสกัดลดการเกิดความเสียหายของกระเพาะอาหาร ผ่านการต้านการเกิดออกซิเดชันของไขมัน (lipid peroxidation) และเพิ่มการทำงานของเอนไซม์ catalase ซึ่งเกี่ยวข้องกับสารต้านอนุมูลอิสระ นอกจากนี้ยังลดการหลั่งของเหลวในกระเพาะอาหาร ลดการหลั่งกรด และเพิ่ม pH ของกระเพาะอาหาร ส่วนสารสกัดเมทานอลจากต้นกะเม็งสามารถยับยั้งการเกิดแผลในกระเพาะอาหารจากการเหนี่ยวนำด้วยยาแอสไพรินเอทานอล และเชื้อ pylorusโดยออกฤทธิ์ยับยั้งได้ตั้งแต่ 4 ชั่วโมงแรกหลังการป้อน ผ่านอาศัยฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ proton pump ได้เช่นเดียวกับยาราบีพราโซล สำหรับรักษาแผลในกระเพาะอาหาร (rabeprazole)

           ฤทธิ์ลดน้ำตาล และไขมันในเลือด การศึกษาโดยนำสารสกัดเมทานอลจากต้นกะเม็ง และeclalbasaponin II สารสารคัญที่พบในต้นกะเม็งมาใช้ในการลดน้ำตาลในเลือดในหนูแรทที่เป็นเบาหวาน โดยป้อนให้หนูแรทกินเป็นเวลา 28 และ 7 วัน ตามลำดับ (ไม่ระบุขนาด) พบว่าให้ผลลดน้ำตาลได้ดีใกล้เคียงกับการใช้ยารักษาเบาหวาน glibenclamide โดยไม่มีผลต่อปริมาณเอนไซม์ alanine aminotransferase, aspartate aminotransferase และ alkaline phosphatase ในตับ เมื่อป้อนในหนูแรทที่เป็นโรคอ้วนจากการป้อนด้วยอาหารไขมันสูง ด้วยสารสกัดจากต้นกะเม็งขนาด 75มก./กก. น้ำหนักตัว มีผลลดปริมาณไขมันในเลือด โดยเฉพาะกรดไขมันอิสระ เพิ่มปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ ลำน้ำตาลในเลือด และชะลอการเกิดเบาหวานในหนูแรทที่กินอาหารไขมันสูงได้ดี การป้อน silymarrinขนาด 100มก./กก.น้ำหนักตัว ร่วมกับสารสกัดจากต้นกะเม็ง ยิ่งให้ผลการป้องกันมากขึ้นกว่าการใช้เดี่ยว และให้ผลดีกว่าการใช้ยามาตรฐานmetforminขนาด 200 มก./กก. เช่นเดียวกับการป้อนสารสกัดแอลกอฮอล์ของต้นกะเม็ง ขนาด 150 และ 200มก./กก. ให้แก่หนูแรท ร่วมกับการป้อนอาหารที่มีไขมันสูงจากน้ำมันถั่วลิสง และคอเลสเตอรอลเทียบกับการป้อนยาโคลไฟเบรต (clofibrate) ขนาด 10 มก./กก. และ guggul (ยางจากต้นไม้ Commiphora mukul ในอินเดีย) ขนาด 50มก./กก. ติดต่อกันเป็นเวลา 30 วัน ช่วยลดไขมัน คอเลสเตอรอลรวม และไตรกลีเซอไรด์ในสัตว์ทดลองได้ใกล้เคียงกับการใช้ยามาตรฐาน นอกจากกะเม็งจะช่วยลดไขมันในเลือดแล้ว ยังมีผลช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดแข็งตัว (atherogenic index) ได้เมื่อป้อนสารสกัดจากน้ำใบกะเม็งขนาด 100 และ 200 มก./กก.น้ำหนักตัวให้หนูแรทที่ได้รับอาหารไขมันสูงซึ่งเหนี่ยวนำให้เกิดหลอดเลือดแข็งตัว (atherogenic diet) หรือ ให้หนูแรทกินอาหารที่มีส่วนผสมของสารสกัดแห้งโดยวิธีเยือกแข็ง (freeze dry) ของสกัดบิวทานอลจากต้นกะเม็งขนาด 25, 50 และ 100 มก./กก. อาหาร กินเป็นเวลา 6 สัปดาห์ ช่วยเพิ่มปริมาณ high-density lipoprotein (HDL) ลดปริมาณคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และ LDLรวมถึงลดค่าดัชนีชี้วัดความเสี่ยงอัตราการเกิดหลอดเลือด ได้ถึงร้อยละ 9.8 - 30.5

           ฤทธิ์ยับยั้งพิษงู มีการศึกษาการดัดแปลงพันธุกรรมของกระเม็งโดยใช้ Agrobacterium rhizogenes LBA 9402 เพื่อผลิตยาต้านเอนไซม์ Phospholipases A2 ในพิษงู และต้านความเป็นพิษต่อกล้ามเนื้อของพิษงู สารสกัดจากส่วนเหนือดิน และส่วนรากกระเม็งตามธรรมชาติ และกระเม็งดัดแปลงพันธุกรรม (ในหลอดทดลอง) ถูกจัดเตรียม และวิเคราะห์ด้วยเครื่อง HPLC จากการวิเคราะห์กระเม็งตามธรรมชาติ ส่วนเหนือดินพบสาร coumestan wedelolactone เข้มข้นสูงกว่าส่วนอื่น ขณะที่ส่วนรากพบสาร demethylwedelolactone เข้มข้นสูงกว่าส่วนอื่น ในจำนวนทั้งหมดของการดัดแปลงพันธุกรรมส่วนราก clone19 มีความเข้มข้นของ coumestan สูงกว่าส่วนอื่น จากผลการศึกษาแสดงว่าสารสกัดจากกระเม็งตามธรรมชาติ ซึ่งถูกเก็บมาจากเมือง Botucatu และเมือง Ribeirao Preto ในประเทศบราซิล มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเอนไซม์ Phospholipases A2 ในพิษงู และ clone19 มีประสิทธิภาพดีที่สุดในการยับยั้งพิษงู Crotalus durissus terrificus  นอกจากนี้ clone19 และสารสกัด coumestan (wedelolactone และ demethylwedelolactone) ยังยับยั้งความเป็นพิษต่อกล้ามเนื้อจากเอนไซม์ Phospholipases A2 ซึ่งสังเคราะห์มาจากพิษงู Crotalus durissus terrificus และ งู Bothrops jararacussu (BthTX-I และ II)

           ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ 5-lipoxygenase การทดลองใช้สารสกัดเมทานอล โดยศึกษาในหมู พบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ 5-lipoxygenase มีค่า IC50 เท่ากับ 2 มคก./มล. 

           ฤทธิ์ต้านฮีสตามีน น้ำต้มจากกระเม็งตัวเมีย ที่ให้ทางกระเพาะอาหาร (intragastric) กับหนูขาวทั้ง 2 เพศ โดยให้ในขนาด 1 ก./กก. พบว่านอกจากสามารถต้านฤทธิ์ฮีสตามีนยังสามารถยับยั้งการหลั่งสารนี้ได้ด้วย

           การศึกษาทางคลินิก จากการศึกษาฤทธิ์ลดระดับความดันโลหิต ฤทธิ์ลดระดับไขมันในเลือด และฤทธิ์ขับปัสสาวะของกะเม็งในผู้ป่วยชายที่มีระดับความดันโลหิตสูงเล็กน้อย อายุระหว่าง 40 ถึง 55 ปี จำนวน 60 คน โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม ผู้ป่วยกลุ่มแรกได้รับยาแคปซูลที่บรรจุผงแห้งจากในกะเม็งในขนาด 500 mg วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 60 วัน และผู้ป่วยกลุ่มที่สองได้รับยาหลองในขนาดเท่ากันเป็นเวลา 60 วัน เช่นเดียวกัน พบว่าผู้ป่วยที่รับประทานยาแคปซูลที่บรรจุผงแห้งจากใบกะเม็ง มีค่า mean arterial pressure, cholesterol,  LDL,  triglyceride, VLDL, plasma  lipid peroxide ลดลงร้อยละ 15,17,24,14,14 และ 18 ตามลำดับ ส่วนระดับวิตามินซี tocopherols ปริมาตรปัสสาวะ และปริมาณโซเดียมในปัสสาวะเพิ่มขึ้นร้อยละ 17,23,23 และ 24 ตามลำดับ เมื่อเปรียงเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาหลอก

           นอกจากนี้มีการศึกษาการใช้ครีมที่มีส่วนผสมของกระเม็ง (ไม่ระบุขนาด) ในผู้ป่วยที่มีแผลเรื้อรัง เช่นแผลกดทับ แผลเบาหวาน แผลฝีแผลมะเร็ง แผลไฟไหม้จำนวน 121 ราย โดยให้ทาครีมวันละ 1 ครั้ง หลังจากทำความสะอาดแผล แล้วปิดแผลด้วยผ้าก๊อซ 1-2 แผ่น พบความก้าวหน้าของแผลในผู้ที่เข้าร่วมการศึกษาทั้ง 121 ราย การหายของแผลดีขึ้น ไม่มีกลิ่นเหม็น สภาพผิวเนื้อสีแดงอมชมพูขอบแผลเรียบ ขนาดแผล พื้นที่เนื้อตาย และปริมาณสิ่งคัดหลั่งลดลง โดยไม่พบอาการไม่พึงประสงค์โดยคาดว่าเป็นผลมาจากฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพ ต้านอนุมูลอิสระ และต้านการอักเสบของกะเม็ง

การศึกษาทางพิษวิทยาของกระเม็งตัวเมีย

จากการศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันของกะเม็ง พบว่าสารสกัด ethanol มีค่า lethal concentration (LC50) เท่ากับ 94.3 μg/mL เมื่อศึกษาด้วยวิธี brine shrimp lethality bioassay และการป้องสารสกัดน้ำจากใบกะเม็ง ในขนาด 500, 1750, 2000, 2500 และ 3000 mg/kg แบบครั้งเดียวแก่หนูขาว แล้วสังเกตอาการต่อเนื่องเป็นเวลา 7 วัน พบว่าสารสกัดน้ำที่ขนาดมากกว่า 2000 mg/kg มีผลเปลี่ยนแปลงพยาธิสภาพของเซลล์ดับ รวมทั้งมีผลเพิ่มระดับ serum glutamate, pyruvate transaminase, total protein และ albumin ในซีรัมของหนูโดย median LD50 ของสารสกัดน้ำ มีค่าเท่ากับ 2313.63 mg/kg อย่างไรก็ตาม สารสกัดน้ำที่ขนาดต่ำกว่า 2000 mg/kg ไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียง และไม่ก่อให้เกิดพิษต่อสัตว์ทดลองจากผลการทดลองสรุปได้ว่า สารสกัดน้ำจากใบกะเม็งสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยในขนาดไม่เกิน 2000 mg/kg แต่ในขนาดที่มากกว่า 2000 mg/kg ควรเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์

            ส่วนรายงานผลการศึกษาอีกฉบับหนึ่งระบุว่า มีการทดสอบความเป็นพิษโดยให้ทางปากหนูถีบจักรในขนาด 0.2 มก./วัน พบว่าไม่มีพิษ เมื่อฉีดสารสกัดเอทานอล (95%) ขนาด 2 ก./กก. เข้าทางช่องท้องหนูถีบจักร และให้ทางกระเพาะอาหารในขนาดเดียวกัน พบว่าไม่มีพิษ แต่ถ้าฉีดสารสกัดเอทานอล (50%) ทางช่องท้องหนูถีบจักร พบว่าขนาดที่เป็นพิษเท่ากับ 1 ก./กก.

           พิษต่อตัวอ่อน สารสกัดเอทานอล (50%) เมื่อให้ทางปากหนูขาวเพศเมีย ขนาด 100 มก./กก. พบว่าไม่มีพิษ 

           ฤทธิ์ก่อมะเร็ง มีการทดสอบด้วย Vero cells พบว่าไม่มีพิษ ไม่มีรายงานเรื่องก่อมะเร็ง แต่มีการศึกษาพบว่าเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งหลายชนิด ได้แก่ สารสกัดเอทิลอะซีเตท ทดสอบด้วยเซลล์ Hela S3 พบว่ามีพิษต่อเซลล์อ่อนๆ โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 27 มคก./มล. แต่ที่ความเข้มข้น 100 มคก. เมื่อทดสอบด้วย Vero cells พบว่าไม่มีพิษ สารสกัดเมทานอลนำไปทดสอบด้วย CA-A549, CA-colon-2 โดยมีค่า IC50 มากกว่า 20 มคก./มล. พบว่าไม่มีพิษ แต่ที่ความเข้มข้น 1.25 มก./มล. เมื่อทดสอบด้วย CA-Ehrlich-ascites พบว่ามีพิษ นอกจากนี้ยังมีการทดสอบกับเซลล์ M-109 พบว่าสารอัลคาลอยด์ในสารสกัดดังกล่าวมีพิษอ่อนๆ สารสกัดเอทานอล (50%) ทดสอบด้วย CA-9KB โดยมีค่า ED50 มากกว่า 20 มคก./มล. พบว่าไม่มีพิษ และเมื่อใช้สารสกัดดังกล่าวทดสอบด้วย CA-mammary-microalveolar โดยใช้ความเข้มข้น 500 มคก./มล. พบว่าไม่มีพิษเช่นกัน 

       พิษต่อตับ มีการทดสอบโดยให้ทางปากหนูถีบจักรในขนาด 0.2 มก./วัน เป็นเวลา 90 วัน พบว่าไม่มีพิษ

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

  1. ต้นกะเม็งตัวเมีย ที่จะนำมาใช้ทำยา ควรนำมาทำยาตอนสดๆ เพราะถ้าเก็บไว้นานประสิทธิภาพจะเสื่อมไป
  2. ห้ามใช้กระเม็งตัวเมียในผู้ป่วยที่มีอาการม้ามพร่อง ไตหยินพร่อง มีอาการปัสสาวะบ่อยๆ ไม่หยุด หรือ ถ่ายเป็นน้ำมาก
  3. ในการใช้กระเม็งตัวเมียเพื่อบำบัดรักษาโรค ตามตำรับยาต่างๆ นั้น ควรระมัดระวังในการใช้ โดยควรใช้ตามขนาดที่ระบุไว้ในตำรายาไม่ควรใช้ในปริมาณที่มากจนเกินไป หรือ ใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ สำหรับ เด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยเรื้องรัง รวมถึงผู้ที่ต้องรับประทานยาเป็นประจำ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้กระเม็งตัวเมียในการช่วยรักษาโรคต่างๆ เสมอ

เอกสารอ้างอิง กระเม็งตัวเมีย
  • กระเม็งตัวเมีย. คอลัมน์สมุนไพรน่ารู้. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 7. พฤศจิกายน 2522.
  • กนกพร อะทะวงษา. กะเม็ง: วัชพืชมีคุณค่า. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
  • วงศ์สถิต ฉั่วกุล รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล พร้อมจิต ศรลัมพ์ วิชิต เปานิล,บรรณาธิการ. สยามใภษัชยพฤกษ์.กรุงเทพฯ:บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด, 2538 : 272 หน้า
  • กะเม็งตัวเมีย. สมุนไพรที่มีการใช้ในผู้ติดเชื้อ และผู้ป่วยเอดส์. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
  • สุภาภรณ์ ปิติพร, บรรณาธิการ.บันทึกของแผ่นดิน 1 หญ้า ยา สมุนไพร ใกล้ตัว, ปราจีนบุรี:ห้างหุ้นส่วนจำกัด เจตนารมภัณฑ์. 2551 : 118 หน้า
  • สารสกัดจากกะเม็งตามธรรมชาติ และกระเม็งดัดแปลงพันธุ์กรรมยับยั้งพิษงู และเอนไซม์ Phospholpases Az. ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร. สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
  • นันทวัน บุณยะประภัศร อรนุช โชคชัยเจริญพร. บรรณาธิการ,สมุนไพรไม้พื้นบ้าน เล่ม 1 กรุงเทพฯบริษัทประชาชน จำกัด, 2542 : 895 หน้า
  • ยามาระตี จัยสิน กระเม็ง วารสารเภสัชวิทยา ปีที่ 38. ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2559. หน้า 30-47
  • อนันต์ กนกนศิลป์. การใช้ตำรับสมุนไพรครีมกะเม็งในการรักษาผู้ป่วยแผลเรื้องรัง. เอกสารประกอบการบรรยายในงานสัมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “แผลเบาหวานกับการแพทย์แผนไทย : องค์ความรู้ การบูรณาการ และประยุกต์ใช้” กรุงเทพ 14 กันยายน 2560
  • ลัดดาวัลย์ ไขยวงษ์. การดูแลแผลผู้ป่วยด้วยการใช้ตำรับสมุนไพรครีมกะเม็ง. การประชุมวิชาการ ผลงานดี วิชาการเด่น สมคุณค่าพยาบาลไทย. ชลบุรี 16 พฤษภาคม 2560.
  • Raveesha KA, Shrisha DL. Antidermatophytic activity of Eclipta prostrata L. against human infective Trichophyton and Microsporum spp. Int J Chem Anal Sci 2013;4(2):136-8.
  •   Nivedita, Vijay P. Physiochemical and phytochemical analysis of Eclipta alba. Int J Pharm Bio Sci. 2013;4(3):882-9.
  • Tewtrakul S, Subhadhirasakul S, Cheenpracha S, Karalai C. HIV-1 protease and HIV-1 integrase inhibitory substances from Eclipta prostrata. Phytother Res. 2007;21(11):1092-5.
  • Jayaram S, Thyagarajan SP, Panchanadam M, Subramanian S.  Anti-hepatitis-B virus properties of Phyllanthus niruri Linn. andEclipta alba Hassk: in vitro and in vivo safety studies.  Bio-Medicine 1987;7(2):9-16.
  • Singh T, Sinha N, Singh A. Biochemical and histopathological effects on liver due to acute oral toxicity of aqueous leaf extract of Eclipta alba on female Swiss albino mice. Indian J Pharmacol. 2013;45(1):61-5
  • Unemoto S, Koyama H. A new species of Eclipta (Compositae:Heliantheae) and its allies in Eastern Asia. Thai Forest Bull, Bot. 2007;35:108-18.
  • Ghada Me, Suzan Fie, Salah Ag, et al. Comparative study for the protective effect of Silymarin, Eclipta alba extract against high fat diet induce insulin resistance and hyperglycemia in rats. J Drug Res 2005;26(1/2):63-71
  • Zhang M, Chen Y. [Chemical constituents of Eclipta alba (L.) Hassk]. Zhongguo Zhong Yao Za Zhi. 1996;21(8):480-1, 510.
  • Pandey MK, Singh GN, Sharma R, Lata S. Antibacterial activity of Eclipta alba (L.) hassk. J Appl Pharm Sci. 2011;1:104-7.
  •  Nam KA, Lee SK.  Evaluation of cytotoxic potential of natural products in cultured human cancer cells.  Nat Prod Sci 2000;6(4):183-8.
  • Liu QM, Zhao HY, Zhong XK, Jiang JG. Eclipta prostrata L. phytochemicals: Isolation, structure elucidation, and their antitumor activity. Food Chem Toxicol. 2012;50(11):4016-22.
  • Rangineni V, Sharada D, Saxena S. Diuretic, hypotensive, and hypocholesterolemic effects of Eclipta alba in mild hypertensive subjects: a pilot study.                       J Med Food. 2007;10(1):143-8.
  • Tabata A, Taniguchi M, Shibano M. Ecliptamines A–D, four new guanidine alkaloids from Eclipta prostrata L. Phytochem Lett. 2015;11:224-8.
  • Dhar ML, Dhar MM, Dhawan BN, Mehrotra BN, Ray C.  Screening of Indian plants for biological activity: part I.  Indian J Exp Biol 1968;6:232-47.
  • Chaudhary H, Dhuna V, Singh J, Kamboj SS, Seshadri S. Evaluation of hydro alcoholic extract of Eclipta alba for its anticancer potential: an in vitro study. J Ethnopharmacol. 2011;136(2):363-7.
  • Abdel-Kader.  DNA-damaging steroidal alkaloids from Elipta alba from the Suriname rainforest. 1.  J Nat Prod 1998;61(10):1202-8.
  • Gani AMS, Devi DN. Antioxidant activity of methanolic extract of Eclipta prostrata (L.)L. Int J of Phyto Pharm. 2015;5(2):21-4.
  • Lirdprapamongkol K, Kramb JP, Chokchaichamnankit D, Srisomsap C, Surarit R, Sila-Asna M, et al. Juice of Eclipta prostrata inhibits cell migration in vitro and exhibits anti-angiogenic activity in vivo. In Vivo. 2008;22(3):363-8.
  •  Kosuge T, Yokota M, Sugiyama K, Yamamoto T, Ni MY, Yan SC.  Studies on antitumor activities and antitumor principles of Chinese herbs. I. Antitumor activities of Chinese herbs.  Yakugaku Zasshi 1985;105(8):791-5.
  • Pandey PS, Upadhyay KK, Pandey DN. Experimental evaluation of the analgesic property of Eclipta alba (L) hassk. Anc Sci Life. 1997;17(1):36-40.
  • Leal LK, Ferreira AA, Bezerra GA, Matos FJ, Viana GS. Antinociceptive, anti-inflammatory and bronchodilator activities of Brazilian medicinal plants containing coumarin: a comparative study. J Ethnopharmacol. 2000;70(2):151-9.
  • Kim D-I, Lee S-H, Choi J-H,et al.The butanol fraction of Eclipta prostrata(Linn) effectively reduces serum lipid levels and improves antioxidant activities in CD rats. Nutr Res 2008;28(8):550-4
  •  Singh B, Saxena K, Chandan B, Agarwal S, Bhatia M, Anand K.  Hepatoprotective effect of ethanolic extract of Eclipta alba on experimental liver damage in rats and mice.  Phytother Res 1993;7(2):154-8.
  • Uddin N, Rahman A, Ahmed ND, Rana S, Akter R, Chowdhury AM MA. Antioxidant, cytotoxic and antimicrobial properties of Eclipta alba ethanol extract. Int J Biol Med Res. 2010;1(4):341-6.
  • Upadhyay RK, Pandey MB, Jha RN, Pandey VB. Eclalbatin, a triterpene saponin from Eclipta alba. J Asian Nat Prod Res. 2001;3(3):213-7.
  • Tewtrakul S, Subhadhirasakul S, Tansakul P, Cheenpracha S, Karalai C. Antiinflammatory constituents from Eclipta prostrata using RAW264.7 macrophage cells. Phytother Res. 2011;25(9):1313-6
  • Borkataky M, Kakoty BB, Saikia LR. Proximate analysis and antimicrobial activity of Eclipta alba (L.) Hassk. - a traditionally used herb. Int J Pharm Pharm Sci. 2013;5(1):149154.
  • Nivedita, Vijay P. Physiochemical and phytochemical analysis of Eclipta alba. Int J Pharm Bio Sci. 2013;4(3):882-9.
  • Dungca NT. Protective effect of the methanolic leaf extract of Eclipta alba (L.) Hassk. (Asteraceae) against gentamicin-induced nephrotoxicity in Sprague Dawley rats. J Ethnopharmacol. 2016 ;184:18-21.
  • Sawant M, Isaac JC, Narayanan S. Analgesic studies on total alkaloids and alcohol extracts of Eclipta alba (Linn.) Hassk. Phytother Res. 2004;18(2):111-3
  • Wagner H, Fessler B.  In vitro 5-lipoxygenase inhibition by Eclipta alba extracts and the coumestan derivative wedelolactone.  Planta Med 1986;52(5):374-7.
  • Manvar D, Mishra M, Kumar S, Pandey VN. Identification and evaluation of anti hepatitis C virus phytochemicals from Eclipta alba. J Ethnopharmacol. 2012;144(3):545-54.
  • Raveesha KA, Shrisha DL. Antidermatophytic activity of Eclipta prostrata L. against human infective Trichophyton and Microsporum spp. Int J Chem Anal Sci 2013;4(2):136-8.
  • Jena M, Jena J, Biswal SB, Pal  A. Effect of  Eclipta alba on urinary volume and electrolyte excretion in albino rats. Indo Am J Pharm Sci. 2013;3(10):846873.
  • Kim HY, Kim HM, Ryu B, Lee JS, Choi JH, Jang DS. Constituents of the aerial parts of Eclipta prostrata and their cytotoxicity on human ovarian cancer cells in vitro. Arch Pharm Res. 2015;38(11):1963-9.
  • Arunachalam G, Subramanian N, Pazhani GP, Ravichadran. Anti-inflammatory activity of methanolic extract of Eclipta prostrata L. (Astearaceae). Afri J Pharm Pharm 2009;3(3):97- 100.
  • Roy RK, Thakur M, Dixit VK. Hair growth promoting activity of Eclipta alba in male albino rats. Arch Dermatol Res. 2008;300(7):357-64.
  • Mishra A, Dogra JV, Singh JN, Jha OP.  Post-coital antifertility activity of Annona squamosa and Ipomoea fistulosa.  Planta Med 1979;35:283-5.
  • Banerjee A, Shrivastava N, Kothari A, Padh H, Nivsarkar M, Antiulcer activity of methanol extract of Eclipta alba. Indian J Pharm Sci 2005;67(2):165-8
  • Dhandapani R. Hypolipidemic activity of Eclipta prostrata(L.) L. Leaf extract in atherogenic diet induced hyperlipidemic rats. Indian J Exp Biol 2007;45(7):617-9
  • Takatsuki S, Narui T, Ekimoto H, Abuki H, Niijima K, Okuyama T.  Studies on cytotoxic activity of animal and plant crude drugs.  Natural Med 1996;50(2):145
  • Kumar SP, Kumar BS, Chandana VR, Vijaykumar M, Ojha SK, Bavani ME. Antisecretory and antiulcer activities of Eclipta alba Linn. In rats,” in Proceedings of the 5th World Ayurveda Congress, Oral Presentation, Abstract No. OA01.03, Bhopal, India, December 2012.
  • Reddy KRK, Tehara SS, Goud PV, Alikhan MM .  Comparison of the anti-inflammatory activity of Eclipta alba (bhangra) and Solanum nigrum (makokhushk) in rats.  J Res Edu Ind Med 1990;9(4):43-6.
  • Kumari CS, Govindasamy S, Sukumar E. Lipid lowering activity of Eclipta prostrata in experimental hyperlipidemia. J Ethnopharmacol 2006;105(3):332-5
  • Hattori M, Nakabayashi T, Lim YA, et al.  Inhibitory effects of various ayurvedic and panamanian medicinal plants on the infection of Herpes simplex virus-1 in vitro and in vivo.  Phytother Res 1995;9(4):270-6.  
  • Rashid Am, Rahman Sm. Antidiabetic principle from Eclipta prostrata. Planta Med 2008;74(9):PA321