พวงไข่มุก ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

พวงไข่มุก งานวิจัยและสรรพคุณ 9 ข้อ

ชื่อสมุนไพร พวงไข่มุก

ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น  อูน,อูนบ้าน,ดอกอูน(ภาคเหนือ),ระป่า(ภาคตะวันออก),พอตะบุ,ชิตาโหระ(กะเหรี่ยง)ทู่ซือจื่อ(จีน)

ชื่อวิทยาศาสตร์Sambucus canadensis Linn.

ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์Sambucus simpsonii RehderSambucus nigra subsp. canadensis (L.) Bolli

ชื่อสามัญAmerican elder

วงศ์ADOXACEAE

ถิ่นกำเนิด พวงไข่มุกจัดเป็นพืชในวงศ์ เอลเดอร์เบอร์รี่ (ADOXACEAE) ที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในเขตร้อนของทวีปอเมริกาเหนือ ต่อมาจึงได้มีการแพร่กระจายพันธุ์ไปยังเขตร้อนต่างๆทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยพบได้มากทางภาคเหนือบริเวณอาคารบ้านเรือนหรือชายป่าหรือตามที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป ที่มีความสูงชุ่มชื้นสูง ที่มีระดับความสูง 200-1300 เมตร จากระดับน้ำทะเล

ประโยชน์/สรรพคุณ พวงไข่มุกถูกนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ดังนี้

            ในภาคเหนือมีการนำยอดอ่อนของพวงไข่มุกมาใช้รับประทานเป็นอาหาร โดยนำมารับประทานเป็นผักแกล้มน้ำพริก ส่วนผลสุกมีรสเปรี้ยวฝาด ใช้รับประทานได้ หรือในต่างประเทศมีการนำมาใช้ทำแยมไวน์ และพาย รวมถึงนำดอกมาใช้ปรุงอาหาร หรือทำเป็นชาชงน้ำดื่ม ช่อดอกมีกลิ่นหอม มักนำไปวัดเพื่อบูชาพระ หรือใช้ในพิธีกรรมต่างๆ

            นอกจากนี้ยังใช้ปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้านเรือนตามแนวรั้วหรือใช้ปลูกตกแต่งส่วนหย่อยตามอาคารสถานที่ต่างๆ เนื่องจากมีทรงพุ่มที่สวยและดอกมีสีขาวสวยและมีกลิ่นหอม สำหรับสรรพคุณทางยาของพวกไข่มุกนั้น ตามตำรายาพื้นบ้านได้ระบุถึงสรรพคุณเอาไว้ดังนี้

  • ทั้งต้น แก้อาการตัวบวม
  • ราก แก้อาการท้องร่วง
  • ดอก ช่วยขับเหงื่อ แก้มือเท้าเคล็ด แก้เคล็ดขัดยอกตามข้อ
  • ใบ บรรเทาอาการมือเท้าเคล็ดข้อเคล็ดข้อพลิก

รูปแบบ/ขนาดวิธีใช้

  • แก้อาการท้องร่วง โดยนำรากมาต้มกับน้ำดื่ม
  • ช่วยขับเหงื่อ แก้เคล็ดขัดยอก แก้มือเท้าเคล็ด โดยนำดอกแห้งใช้เป็นยาชงดื่มหรือนำดอกมาผสมกับสมุนไพรอื่นหมกประคบบริเวณที่เคล็ดขัดยอก
  • ใช้บรรเทาอาการมือเท้าเคล็ด ข้อเคล็ด ข้อพลิก โดยนำพวงไข่มุก นำมาต้มใส่ไข่กิน หรือใช้ผสมกับสมุนไพรอื่น หมกประคบ
  • ใช้แก้อาการตัวบวม โดยนำทั้งต้นมาต้มกับน้ำอาบ

ลักษณะทั่วไป พวงไข่มุกจัดเป็นไม้พุ่ม ทรงพุ่มโปร่ง ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง เปลือกต้นมีสีน้ำตาล ผิวขรุขระเล็กน้อย สูง 2-4 เมตร มักจะแตกกิ่งก้านจำนวนมาก กิ่งอ่อนมีสีเขียวค่อนข้างเหนียว กิ่งแก่กลวงมีสีน้ำตาลเปราะหักง่าย ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกบริเวณปลายกิ่ง และจะออกเรียงตรงข้าม โดยใน 1 ใบจะมีใบย่อย 2-6 คู่ ใบมีลักษณะเป็นรูปขอบขนานแกมรูปใบหอกหรือรูปไข่แกมใบหอกมีขนาดกว่าง 2-5 เซนติเมตร ยาว 6-15 เซนติเมตร โคนใบมนปลายใบแหลมเป็นติ่ง ดอกออกเป็นช่อบริเวณปลายกิ่ง โดยช่อจะมีขนาดใหญ่ประมาณ 20-45 เซนติเมตร และใน 1 ช่อดอกจะมีดอกย่อยจำนวนมากดอกย่อยมีขนาดเล็กประมาณ 4-4.5 มิลลิเมตร มีกลีบรองดอกเป็นหลอดยาว 1 มิลลิเมตร กลีบดอกมีสีขาว โดยโคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกัน ส่วนปลายแยกออกเป็น 5 แฉก ตรงกลางดอกมีเกสรเพศผู้สีเหลือง 5 อัน ซึ่งดอกพวงไข่มุกจะมีกลิ่นหอมมากในเวลาเย็นจนถึงเช้ามืด ผลเป็นผลสด มีลักษณะเป็นรูปกลม ขนาดของผล 4-5 มิลลิเมตร ผิวผลมัน เมื่อผลอ่อนจะมีสีเขียว จะเปลี่ยนเป็นสีม่วงเข้มเกือบดำ ด้านในมีเมล็ด ลักษณะรูปรีแกมขอบขนาน ที่มีขนาด 2.5 มิลลิเมตรประมาณ 4-5 เมล็ด

การขยายพันธุ์ พวกไข่มุกสามารถขยายพันธุ์ได้โดย การเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง ซึ่งวิธีการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่งพวงไข่มุกนั้น สามารถทำได้เช่นเดียวกันกับการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง ไม้พุ่มชนิดอื่นๆ ตามที่ได้กล่าวถึงมาแล้วในบทความก่อนหน้านี้ ทั้งนี้พวงไข่มุกเป็นพืชที่ชอบความชื้นสูง ต้องการดินที่ชุ่มชื้นมาก ไม่ชอบแสงแดดจัด แต่หากปลูกในที่ที่มีแดดจัดพบว่า ลำต้นและกิ่งจะแข็งแรงไม่เปราะหักง่าย

องค์ประกอบทางเคมี มีรายงานผลการศึกษาวิจัยองค์ประกอบทางเคมทีของสารสกัดจากส่วนผลของพวงไข่มุก ระบุว่า พบสารออกฤทธิ์ที่สำคัญหลายชนิดอาทิเช่น cyanidin 3-O-sambubioside-5-O-glucoside, cyanidin 3-O-sambubioside, cyanidin 3-O-glucoside, cyanidin 3-O-[6-O-(E-p-coumaroyl-2-O-β-D-xylopyranosyl)-β-D-glucopyranoside]-5-O-βD-glucopyranoside, caffeoylquinic acids, neochlorogenic acid , chlorogenic acid, ,, rutin, hyperoside, isoquercitrin, isorhamnetin 3-O-rutinoside, kaempferol , quercetin นอกจากนี้ยังพบสาร petunidin 3-O-rutinoside และ Delphinidin 3-Orutinoside อีกด้วย

การศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยา มีรายงานผลการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาในต่างประเทศของสารสกัดจากส่วนผลของพวงไข่มุกระบุว่า มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลิอิสระ ต้านไวรัส ต้านการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง ต้านเบาหวาน และช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน โดยมีรายงานการศึกษาวิจัยระบุว่าสารสกัดจาผลพวงไข่มุก สามารถยับยั้งการออกซิเดชันได้ในลักษณะที่ขึ้นอยู่กับปริมาณโดยสารสกัดจากผลพวงไข่มุกที่ย่อยในลำไส้ใหญ่ 1 มก./มล. จะออกฤทธิ์ต้าอนุมูลอิสระซึ่งสามารถปกป้องเซลล์ลำไส้ใหญ่จากผลกระทบที่การออกซิเดชันได้ โดยจะทำให้เกิดการลดการผลิต ROS ในเซลล์ที่มากเกินไปและป้องกันความเสี่ยงหายจากออกซิเดชันของ DNA ในเซลล์เยื่อบุลำไส้ใหญ่ของมนุษย์ได้

            นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าสารสกัดจกผลพวงไข่มุกยังมีฤทธิ์ต่อต้านวัยได้ เนื่องจากสารเหล่านี้มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบที่เป็นสาเหตุหลักของการแก่ก่อนวัยและความชราของเซลล์ รวมถึงเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักในการเกิดโรคเรื้อรัง และโรคที่เกี่ยวข้องกับอายุที่พบบ่อย ได้แก่ โรคอัลไซเมอร์ โรคพากินสัน ต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อม ต้อหิน หลอดเลือดแข็ง ความดันโลหิตสูง เบาหวานประเภท 2 และมะเร็ง เป็นต้น

การศึกษาวิจัยทางพิษวิทยา  ไม่มีข้อมูล

ข้อแนะนำ/ข้อควรระวัง  สำหรับการใช้พวงไข่มุกเป็นสุมนไพรนั้น ควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกันกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยควรใช้ในขนาด/ปริมาณที่เหมาะสมที่ได้ระบุไว้ในตำรับตำรายาต่างๆ ไม่ควรใช้ในปริมาณที่มากจนเกินไปหรือใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไป เพราะอาจส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวได้ ทั้งนี้มีรายงานว่า ทุกส่วนของลำต้นเมื่อรับประทานสดๆ ในปริมาณที่มากจะทำให้เวียนศีรษะ มึนงง คลื่นไส้ ปวดท้อง

อ้างอิงพวงไข่มุก

  1. ปิยะ เฉลิมกลิ่น,ไม้ดอกหอม เล่ม1.สำนักพิมพ์บ้านและสวน,พิมพ์ครั้งที่ 5.160 หน้า.(44)
  2. พัฒน์ พิชาน.2550.สุดยอดไม้ประดับ-ไม้ดอกหอม.ไทยควอลิตี้บุ๊คส์.กรุงเทพมหานคร.
  3. พวงไข่มุก.หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา.ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.หน้า189.
  4. เศรษฐมนตร์ กาญจนกุล.ไม้มีพิษ,กทม.เศรษฐศิลป์.2552
  5. Ozgen, M.; Scheerens, J.C.; Reese, R.N.; Miller, R.A. Total phenolic, anthocyanin contents and antioxidant capacity of selected elderberry (Sambucus canadensis L.) accessions. Pharmacogn. Mag. 2010, 6, 198–203.
  6. Waswa, E.N.; Li, J.; Mkala, E.M.; Wanga, V.O.; Mutinda, E.S.; Nanjala, C.; Odago, W.O.; Katumo, D.M.; Gichua, M.K.; Gituru, R.W.; et al. Ethnobotany, phytochemistry, pharmacology, and toxicology of the genus Sambucus L. (Viburnaceae). J. Ethnopharmacol. 2022, 292, 115102
  7. Avula, B.; Katragunta, K.; Wang, Y.-H.; Ali, Z.; Srivedavyasasri, R.; Gafner, S.; Slimestad, R.; Khan, I.A. Chemical profiling and UHPLC-QToF analysis for the simultaneous determination of anthocyanins and flavonoids in Sambucus berries and authentication and detection of adulteration in elderberry dietary supplements using UHPLC-PDA-MS. J. Food Comp. Anal. 2022, 110, 104584.
  8. Lee, J.; Finn, C.E. Anthocyanins and other polyphenolics in american elderberry (Sambucus canadensis) and European elderberry (S. nigra) cultivars. J. Sci. Food Agric. 2007, 87, 2665–2675
  9. Tem Samitinand. Thai Plant Names. Revised 2001.810p.(463)
  10. Zakay-Rones, Z.; Thom, E.; Wollan, T.; Wadstein, J. Randomized study of the efficacy and safety of oral elderberry extract in the treatment of influenza a and b virus infections. J. Int. Med. Res. 2004, 32, 132–140.
  11. Hu, X.; Yang, Y.; Tang, S.; Chen, Q.; Zhang, M.; Ma, J.; Qin, J.; Yu, H. Anti-aging effects of anthocyanin extracts of Sambucus canadensis caused by targeting mitochondrial-induced oxidative stress. Int. J. Mol. Sci. 2023, 24, 1528
  12. Młynarczyk, K.; Walkowiak-Tomczak, D.; Łysiak, G.P. Bioactive properties of Sambucus nigra L. As a functional ingredient for food and pharmaceutical industry. J. Funct. Foods 2018, 40, 377–390
  13. Mocanu, M.L.; Amariei, S. Elderberries-a source of bioactive compounds with antiviral action. Plants 2022, 11, 740.
  14. Murkovic, M.; Abuja, P.; Bergmann, A.; Zirngast, A.; Adam, U.; Winklhofer-Roob, B.; Toplak, H. Effects of elderberry juice on fasting and postprandial serum lipids and low-density lipoprotein oxidation in healthy volunteers: A randomized, double-blind, placebo-controlled study. Eur. J. Clin. Nutr. 2004, 58, 244–249