เซซามิน
เซซามิน
ชื่อสามัญ Sesamin
ประเภทและข้อแตกต่างสารเซซามิน
สารเซซามินเป็นสารประกอบฟีโนลิคชนิดหนึ่ง ซึ่งอยู่ในกลุ่มของลิกเนน (lignans) ที่สามารถต้านอนุมูลอิสระหรือแอนดิออกซิเดนท์ (amtioxidart) ได้ มีสูตรโครงสร้างทางเคมีคือ C20 H18 O6 และมีมวลโมเลกุลเท่ากับ 354.35g/mol โดยจากสูตรโครงสร้างของเซซามินพบว่ามี two methylenedioxy bridges และมีหมู่ CH 4 กลุ่ม จึงทำให้สามารถยับยั้งหรือจับ Reactive oxygen species (ROS) ในสภาวะปกติได้ดีกว่าเซซามอลที่มีหมู่ 2 กลุ่ม สำหรับประเภทของเซซามินนั้น อาจแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบคือ เซซามินทั่วไป และเซซามินรูปแบบ metabolized form ซึ่งในรูปแบบของ metabolized forms นั้นจะสามารถ metabolized ในตับและเปลี่ยนรูปเป็น antioxidative เพื่อยับยั้งการสร้าง superoxise ใน aortic endotheiium จึงทำให้มีผลต่อการยับยั้ง ROS (o2- OH) ได้ดีกว่าในรูปแบบเซซามินทั่วไป เมื่อทดสอบด้วยวิธี 2.2-diphenyl-1-plcrythdrazyl radical (DPPH) และวิธี Thiobarbituric acid reactive substances (TBARS)
แหล่งที่พบและแหล่งที่มาสารเซซามิน
สำหรับแหล่งที่พบเซซามินนั้น สามารถพบได้ในพืชตระกูลงา ต่างๆ เช่น งาดำ งาขาว งาแดง งาขี้ม้อน ซึ่งจะพบสารเซซามินได้ในงาดำมากที่สุด และในปัจจุบันยังมีการสกัดสารเซซามินจากเมล็ดงาออกมาเพื่อใช้ทำเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ หรือนำไปเติมในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อให้ร่างกายได้รับประโยชน์จากสารเซซามิน เช่น ผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่ม น้ำสลัด ขนมและเบเกอรี่ รวมถึงผลิตภัณฑ์เสริมความงามต่างๆ อีกด้วย
ปริมาณที่ควรได้รับจากสารเซซามิน
สำหรับปริมาณของสารเซซามินที่ควรได้รับต่อวันนั้น ในปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดเกณฑ์ของปริมาณสารเซซามินที่ควรได้รับอย่างเเน่ชัด แต่อย่างไรก็ตามก็มีผลการศึกษาวิจัยหลายฉบับทั้งในและต่างประเทศหลายฉบับได้ศึกษาถึงความเป็นพิษของเซซามิน พบว่ามีความเป็นพิษต่ำมาก นอกจากนี้ตามประเทศของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของไทยยังได้กำหนดให้งาซึ่งเป็นแหล่งของเซซามินเป็นพืชที่สามารถใช้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้โดยได้กำหนดให้ส่วนของเมล็ดที่ผ่านกรรมวิธีการบดผง บีบอัด(น้ำมัน) หรือสกัดด้วยน้ำและประกอบไปด้วยกรดไขมัน กรดไลโนเลอิก กรดนิลมิติก กรดไอเออิกและเซซามิน ต้องให้มีปริมาณโปรตีนไม่เกิน 50 กรัม/วัน
ประโยชน์และโทษสารเซซามิน
ประโยชน์ของเซซามินนั้นจากการศึกษาวิจัย พบว่า เซซามินมีฤทธิ์ในการเพิ่มอัตราการกำจัดสารพิษ ต้านแบคทีเรีย มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ ช่วยยับยั้งการดูดซึมคอเรสเตอรอล ยับยั้งการสร้างคอเรสเตอรอลในตับ ลดความดันโลหิต ต้านการเกิมมะเร็ง ช่วยส่งเสริมกิจกรรมของวิตามินอี ป้องกันการเกิดออกซิเดชั่นของไขมัน ที่มีผลต่อ serum triacylglycerol และ hypocholesteremic เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีรายงานการศึกษาวิจัยถึงสารลิกแนนในงาดำพบว่ามีประโยชน์ต่อร่างกายดังนี้
- สารเซซามินช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสารเสริมสร้างมวลกระดูกและทำลายสารที่ทำลายมวลกระดูกและน้ำหล่อเลี้ยงระหว่างข้อกระตุ้นเอ็นไซค์ตับ ทำลายสารพิษที่สะสม ช่วยกระตุ้นเซลผิวหนังสร้างคอลลาเจนและกรดไฮยาลูโรนิคซึ่งทำให้ผิวหนังเรียบ ยืดหยุ่น ชุ่มชื้นและเต่งตึง
- สารเซซามินและเซซาโมลีน ช่วยดูดซับคอเลสเตอรอลเลวในเลือดและยับยั้งการสะสมในตับช่วยทำลายแบคทีเรียที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของวิตามินอี
อีกทั้งยังมีรายงานผลการวิจัยอีกว่าจุลินทรีย์ในลำไส้ของมนุษย์สามารถเปลี่ยนสารเซซามินเป็นสารเอนเทอโรแลกโตน (enterolactone) ได้ ซึ่งมีการศึกษาวิจัยพบว่าสารเอนเทอโรแลกโตนสามารถช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคเรื้อรังบางชนิดได้ เช่น โรคมะเร็งและโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้อีกด้วย
การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องสารเซซามิน
มีผลการศึกษาวิจัยของเซซามินเกี่ยวกับโรคต่างๆ หลายฉบับ เช่น
ฤทธิ์ปกป้องกระดูกอ่อนและรักษาอาการข้ออักเสบการศึกษาในเซลล์กระดูกอ่อนของหมู (porcine cartilage explant) พบว่าสารเซซามินช่วยยับยั้งการหลั่ง sulfated-glycosaminoglycan (s-GAG) และ hydroxyproline ที่ถูกกระตุ้นด้วย interleukin-1-beta (IL-1β) โดยผ่านกระบวนการลดการแสดงออกของ metalloproteinase (MMP) ชนิดที่ 1, 3 และ 13 ที่ผลต่อการสลายตัวของ proteoglycans (PGs) และ type-II collagen ทั้งในระดับของยีนและโปรตีน ร่วมกับการออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ MMP-3 ด้วย นอกจากนี้ยังพบว่าสารเซซามินมีผลขัดขวางการส่งต่อสัญญาณของ IL-1β โดยยั้บยั้งการเติมหมู่ฟอตเฟสของโปรตีน p38 และ JNK และเมื่อทดสอบในเซลล์กระดูกอ่อนของมนุษย์ (human articular chondrocyte) และการศึกษาในหนูแรทที่ถูกกระตุ้นให้เกิดข้ออักเสบด้วย papain ก็พบว่าการฉีดเซซามินความเข้มข้น 1 และ 10 ไมโครโมลลาห์ ที่บริเวณหัวเข่าที่อักเสบ ติดต่อกัน 5 สัปดาห์ ช่วยลดการเรียงตัวของเซลล์กระดูกอ่อนที่ผิดปกติ ช่วยเพิ่มความหนาของกระดูกอ่อน และลดการสูญเสีย type-II collagen และ PGs จากกระดูกอ่อนได้ นอกจากนี้พบว่าการป้อนสารเซซามินช่วยเพิ่มการสร้าง type-II collagen และ PGs ในเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนในหนูปกติอีกด้วย
ฤทธิ์ลดคอลเรสเตอรอล มีรายงานการศึกษาวิจัยพบว่าสารเซซามินจะออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานโปรตีน sterol regulatory element binding protein ซึ่งมีผลลดการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลที่เซลล์ตับ และยังพบว่าสารเซซามินยังสามารถกระตุ้นการทำงานของโปรตีน Adenosine binding cassette G 5/8 (ABCG 5/8) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลจากลำไส้เล็กเข้าสู่กระแสเลือดได้ นอกจากนี้ยังพบว่าสารเซซามินยังเพิ่มการขับคอเลสเตอรอลออกจากเซลล์เม็ดเลือดขาวแมโครฟาจซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรหลอดเลือดแดงแข็งอีกด้วย
ผลของการรับประทานสารเซซามินจากงา ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดและสารที่ทำให้เกิดการอักเสบ และอคิโพเนคตินในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีการศึกษาวิจัยทั้งแบบสุ่มและปกปิดทั้ง 2 ฝ่ายในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 48 คน ที่มีอายุระหว่าง 30-60 ปี และมีดัชนีมวลกาย (BMI) น้อยกว่า 30 กก./ตรม. โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้รับประทานสารสกัดเซซามินชนิดแคปซูลขนาด 200 มก./วัน กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มควบคุม ให้รับประทานยาหลอกในขนาด 200 มก./วัน เช่นกัน นาน 8 สัปดาห์ และทำการเจาะเลือดก่อนและหลังการศึกษาเพื่อดูระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting blood sugar), hemoglobinA1c, อินซูลิน, สารที่ก่อให่เกิดการอักเสบต่างๆ เช่น tumor necrosis factor-alpha (TNF-α), interleukin-6 (IL-6), high-sensitivity C-reactive และอดิโพเนคติน (เป็นฮอร์โมนที่มีส่วนช่วยในการเมตบอลิสมของน้ำตาลและกรดไขมันในเลือด) พบว่ากลุ่มที่ได้รับสารสกัดเซซามิน มีระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting blood sugar), hemoglobinA1c, อินซูลิน, สารที่ก่อให่เกิดการอักเสบต่างๆ เช่น tumor necrosis factor-alpha (TNF-α), interleukin-6 (IL-6), high-sensitivity C-reactive ลดลง และระดับและอดิโพเนคตินมีค่าเพิ่มมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
สำหรับผู้ที่ต้องการได้รับ เซซามินโดยการรับประทานงาควรระมัดระวังในผู้ที่แพ้งาและพืชตระกูลงา รวมถึงไม่ควรรับประทานมากจนเกินไปเพราะมีแคลอรีสูง (100 กรัม ให้พลังงาน 700 แคลอรี่) และผู้ที่เป็นโรค Wilsam’s disease ไม่ควรรับประทานงาดำ เพราะมีปริมาณทองแดงค่อนข้างสูง ซึ่งโรคดังกล่าวจะทำให้ร่างกายขับทองแดงค่อนข้างยาก และจะทำให้มีอาการข้างเคียงได้ นอกจากนี้ถึงแม้ว่าจะมีรายงานการศึกษาวิจัยต่างๆ สนับสนุนว่า เซซามินมีประโยชน์กับร่างกายหลายๆด้าน แต่ในการรับประทานก็ควรระมัดระวังในการใช้ เพราะยังไม่มีการกำหนดเกณฑ์และขนาดการรับประทาน หรือปริมาณที่ควรได้รับต่อวันอย่างแน่ชัด ดังนั้นในผู้ป่วยโรคต่างๆ ก่อนจะรับประทานเซซามินในรูปแบบเมล็ดงาต่างๆ (นอกเหนือจากรับประทานในรูปแบบเมล็ดงาต่างๆ) ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนทุกครั้ง
อ้างอิง เซซามิน
- Penalvo, J.L., S.M. Heinonen, A.M. Aura and H. Adlercreutz. 2005. Dietary sesamin is converted to enterolactone in humans. J. Nutr. 135: 1056-1062
- กัษมาพร ปัญต๊ะบุตร.งาธัญพืชเพื่อสุขภาพ.วารสารอาหารปีที่42.ฉบับที่4.ตุลาคม-ธันวาคม2555.หน้า297-301
- ฤทธิ์ปกป้องกระดูกอ่อนและรักษาอาการข้ออักเสบของสารเซซามินที่ได้จากงา.ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร.สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
- อิทธิพล ชีวภูเขียว,ปรัญดา แข็งขัน.ความแปรปรวนของปริมาณเซซามินและฤทธิ์ต่อต้านออกซิเดชันของงา 22 พันธุ์.วารสารแก่นเกษตรปีที่43.ฉบับที่3 พฤษภาคม-มิถุนายน2561.หน้า571-580
- ชัยสิทธิ์ สิทธิเวช.ปริมาณสารสเตอรอลและสตานอลในเมล็ดงา (Sosamun indicumL.) ที่ปลูกในประเทศไทย.วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคามปีที่35.ฉบับที่1 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2559.หน้า75-82
- ผลของการรับประทานสารเซซามินจากงาต่อระดับน้ำตาล สารที่ทำให้เกิดการอักเสบและอดิโพเนคตินในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2.ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร.สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
- ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่องรายชื่อพืชที่ใช้ได้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ลงวันที่7 สิงหาคม พ.ศ.2560
- ศิริรัตน์ กริชจนรัช และนฤทัย วรสถิตย์.2549.งา...อาหารสุขภาพ.วารสารกสิกร ปีที่79 ฉบับที่3(พ.ค.-มิ.ย.)
- Liu N, Wu C, Sun L, Zhen J, Guo P. Sesamin enhance cholesterol effl ux in RAW264.7 macrophages. Molecules 2014 Jun 6;19(6):7516-7527
- Nakai, M.;Harada,M.;Nakahara, K;Akimoto K;Shibata H;Miki W.;Kiso,Y.novel.2003.antioxiidative metaboliles in rat liver with ingested Sesamin J Agric Food Chem 51:1666-70
- Lde T., Kushiro.,M., Takahashi, Y., Shinohara, K., Fukuda, N.,& Sirato-Yasumoto.S.2003 Sesamin. A sesame lignin,as a potent serum lipid-hwering food component Japan Agricuttural Research Quarterty,37.151-158.
- Pietinen, P., K. Stumpf, S. Mannisto, V. Kataja, M. Uusitupa and H. Adlercreutz. 2001. Serum enterolactone and risk of breast cancer: a case-control study in eastern Finland. Cancer Epidemiol. Biomark. Prev. 10: 339-344
- ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. 2547. เซซามินกับสุขภาพ (Sesamin and health). วารสารโภชนบำบัด. 15: 98-105
- Nakano, D.,ltoh C., Takacka. M;. Kiso Y., Tamaka T., Matsumura,Y.biol .2002.Artihypertensive effect of Sesamin IV .lnhibition of vascular superoxide produruction by sesamin Phamin Pharm Bull.25(9):1247-9
- Ide T, Ashakumary L, Takahashi Y, Kushiro M, Fukuda N, Sugano M. Sesamin, a sesame lignan, decreases fatty acid synthesis in rat liver accompanying the down-regulation of sterol regulatory element binding protein-1. Biochim Biophys Acta 2001 Nov 30;1534(1): 1-13
- Vanharanta, M., S. Voutilainen, T.H. Rissanen, H. Adlercreutz and J.T. Salonen. 2003. Risk of cardiovascular disease-related and allcause death according to serum concentrations of enterolactone: Kuopio Ischaemic Heart Disease Risk Factor Study. Arch. Intern. Med. 163: 1099–1104.
- Bodowsld.P.1950.Sesame oil lll Antioxidant properties of sesamol Joumal of Americam oil Chemists Socisty 27:264-267