โพลิโคซานอล
โพลิโคซานอล
ชื่อสามัญ Policosanol
ประเภทและข้อแตกต่างสารโพลิโคซานอล
สารโพลิโคซานอล (policosanol) คือกลุโมของแอลกอฮอล์สายตรงยาว (long chain aliphatic alcohols) ที่มีความยาวคาร์บอน 20-36 อะตอม ซึ่งพบได้ในไขจากสัตว์และพืชบางชนิด มีสูตรทางเคมี คือ CH3–(CH2)n–OH2 OHn = 24-34 โดยมีองค์ประกอบหลัก ได้แก่ docosanol (C22) tetracosanol (C24) hexacosanol (C26) octacosanol (C28) และ triacosanol (C30) ส่วนประเภทของโพลิโคซานอลนั้น จะแตกต่างกันตามไขที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการสกัด กล่าวคือ ปริมาณและองค์ประกอบของโพลิโคซานอล ในไขแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน โดยจะขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่นำมาสกัด เช่น ไชอ้อยมีโพลิโคซานอลที่มีความยาวคาร์บอน 24-34 อะตอม และมีออกตะโคซานอล (octacosanol ; C28) มากที่สุด 66% ส่วนในไขผึ้งมีโพลิโคซานอลที่มีความยาวคาร์บอน 18-34 อะตอม โดยมีไตรอคอนทานอล (triacontanol ; C30) มากที่สุด 30.2% และโพลิโคซานอลที่พบในไขรำข้าวมีความยาวคาร์บอน 22-36 อะตอม โดยมีไตรอคอนทานอลมากที่สุด 30% เป็นต้น
แหล่งที่พบและแหล่งที่มาสารโพลิโคซานอล
โพลิโคซานอล เดิมที่สกัดมาจากอ้อยแต่ในเวลาต่อมาพบว่ายังสามารถสกัดได้จากแหล่งต่างๆ ได้อีกหลายชนิด เช่น ไขจากผึ้ง รำข้าว ข้าวโอ๊ต ข้าวสาลี มันเทศ และถั่ว เป็นต้น ซึ่งจำนวนปริมาณ และองค์ประกอบของโพลิโคซานอลที่ได้จากแหล่งวัตถุดิบต่างๆ จะมีความต่างกันดังที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่ในปัจจุบันนี้การผลิตและการสกัดโพลิโคซานอล ในเชิงพาณิชย์ เพื่อนำมาใช้ทำผลิตภัณฑ์ในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ นั้นจะเป็นการสกัดจากไขอ้อย และไขผึ้งเป็นส่วนใหญ่
ปริมาณที่ควรได้รับจับสารโพลิโคซานอล
ในปัจจุบันยังไม่มีเกณฑ์การกำหนดขนาดและปริมาณการรับประทานโพลิโคซานอล ที่แน่ชัด แต่มีการศึกษาวิจัยถึงขนาดการรับประทานโพลิโคซานอล เพื่อประโยชน์ในการลดโคเลสเตอรอลในเลือดได้ พบว่าการบริโภคโพลิโคซานอลที่มีความยาวคาร์บอน 24-34 อะตอม 5-20 มิลลิกรัม/วัน สามารถลดโคเลสเตอรอลที่ไม่ดี (Low Den-sity Lipoprotein Cholesterol; LDL-C) ได้ 21-29% และยังทำให้มีโคเลสเตอรอลที่ดี (High Density Lipoprotein Cholesterol ; HDL-C) เพิ่มขึ้น 8-15%
นอกจากนี้องค์การอาหารและยาของไทยยังมีการอนุญาตให้ใช้สารโพลิโคซานอล ได้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการสำนักงานอาหารและยา เรื่อง รายชื่อพืชที่ใช้ได้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2560 โดยระบุถึงรายชื่อพืช กรรมวิธีการผลิตสารสำคัญ และขนาดการใช้ว่าอนุญาติให้ใช้อ้อยเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยผ่านกรรมวิธี การสกัดด้วยน้ำและเอทานอล ซุปเปอร์คลิทิคอลคาร์บอนไดออกไซด์ โดยให้มีปริมาณโพลิโคซานอลไม่เกิน 5 มิลลิกรัม/วัน เช่นเดียวกับข้าวที่อนุญาตให้ใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยผ่านกรรมวิธีการบดผง บีบอัด และสกัดด้วยเฮกเซน น้ำและเอทานอลโดยให้มีปริมาณโพลิโคซานอลไม่เกิน 5 มิลลิกรัม/วัน
ประโยชน์และโทษจับสารโพลิโคซานอล
โพลิโคซานอลถูกนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น ในด้านอุตสาหกรรมความงาม มีการนำโพลิโคซานอลมาใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางแทนไขคาร์นูบา (Carnubawax) โดยอาศัยคุณสมบัติการควบคุมความมันยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ และเพิ่มความชุ่มชื้นอ่อนโยนต่อผิวได้ดี โดยทั่วไปในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางปกติจะใช้โพลิโคซานอลเป็นส่วนผสมประมาณ 1%-5% ของน้ำหนักรวม เช่น ในครีมทาผิว โลชั่น ลิปสติก หรือ เจลแต่งผม ด้านการแพทย์มีการนำโพลิโคซานอลมาใช้ผลิตยาที่เกี่ยวกับการลดความดันโลหิต ลดไขมันแอลดีแอล ลดไตรกลีเซอไรด์ ลดปริมาณคลอเรสเตอรอลในกระแสเลือด โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ ลดการรวมตัวของเกล็ดเลือด (Platelet aggregation) ลดอันตรายของเยื่อบุหลอดเลือด (Endothelial damage) และลดการสร้าง โฟมเซลล์
นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีการนำโพลิโคซานอล มาใช้เป็นองค์ประกอบในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่างๆ ที่ระบุถึงสรรพคุณการป้องกันโรค และอาการต่างๆ ดังนี้
ลดปริมาณไขมันโคเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL-Cholesterol) และช่วยกระตุ้นการสร้างไขมันโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-Cholesterol) ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวนำพาไขมันที่สะสม และอุดตันตามผนังหลอดเลือดกลับไปทำลายที่ตับ ช่วยลดการอุดตัน และลดการจับตัวกันของเกล็ดเลือด ช่วยป้องกันภาวะความหนาตัวของผนังหลอดเลือด ฟื้นฟูสมรรถภาพการทำงานของหัวใจ และตับ ช่วยกระตุ้นการหมุนเวียนของเลือดที่บริเวณผิวหนังหลอดเลือด และการยับยั้งการเกิดของสิว
การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องจับสารโพลิโคซานอล
มีผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาต่างๆ ของโพลิโคซานอล หลายฉบับ อาทิเช่น ได้มีการวิจัยถึงผลโพลิโคซานอลทางการแพทย์ครั้งแรกในปี 1984 เนื่องจากพบว่าไขอ้อยสามารถลดระดับไขมันในสัตว์จำพวกหนูได้ จากนั้นจึงมีการทำการศึกษาวิจัยทางการแพทย์มากกว่า 60 การวิจัย จนกระทั่งมีการตีพิมพ์ผลการวิจัยลงในวารสารทางการแพทย์ American Heart Journal ปี 2002 ถึงคุณประโยชน์ของสารสกัดโพลีโคซานอล (Policosanol) ในการลดระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญ คือ ปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียงต่อร่างกายแม้ใช้อย่างต่อเนื่อง เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ยาลดไขมันในเลือด
ฤทธิ์ลดคลอเรสเตอรอลในเลือด ได้มีการศึกษากับผู้ที่มีภาวะไขมันโคเลสเตอรอลสูง มากกว่า 3,000 คน เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ซึ่งมีผลการศึกษาดังนี้ โพลิโคซานอลสามารถช่วยลดระดับของไขมันโคเลสเตอรอลชนิดรวม (TC) และไขมันโคเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL-Cholesterol) โดยปรับสมดุลการสร้างไขมันโคเลสเตอรอล และเสริมการทำงานของตับในการเผาผลาญไขมัน ส่งผลให้ระดับของไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดลดลง และช่วยบำรุงตับให้สร้างไขมันโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-Cholesterol) มากขึ้น ซึ่งโดยปกติไขมันโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-Cholesterol) จะมีหน้าที่นำพาไขมันที่สะสม และอุดตันตามผนังหลอดเลือดกลับไปทำลายที่ตับ แต่ก็มีบางรายงานที่ขัดแย้งในการลดคลอเรสเตอรอลนี้ เช่น
มีการศึกษาวิจัยสาร policosanols เป็นสารให้ความหวานในอ้อย ซึ่งการศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบ Randomized double blind crossover ในชาย และหญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีคอเลสเตอรอลสูง จำนวน 21 คน สุ่มให้รับประทาน policosanols 10 มิลลิกรัม/วัน หรือ ยาหลอกโดยผสมอยู่ในมาการีน เป็นเวลา 28 วัน ทิ้งช่วงล้างยา 28 วัน แล้วสลับมารับประทานมาการีนอีกสูตรที่เหลือ เมื่อจบการทดลองไม่พบความแตกต่างของ LDL oxidation ระหว่างการรับประทาน policosanols และยาหลอก รวมไปถึงปริมาณไขมันในเลือดทั้ง LDL, HDL, ไตรกลีเซอร์ไรด์ และน้ำหนักของผู้ร่วมการทดลอง
ฤทธิ์ป้องกันภาวะเส้นเลือดอุดตัน มีรายงานการศึกษาวิจัยโพลิโคซานอล สามารถช่วยปรับลดการสร้างสารที่ก่อให้เกิดการเกาะตัวของเกล็ดเลือด และเพิ่มการไหลเวียนของเลือด จึงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะหลอดเลือดอุดตัน ป้องกันภาวะหัวใจ และสมองขาดเลือดเฉียบพลันได้
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาในระดับคลินิก และปรีคลินิกซึ่งถูกตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์และทางวิทยาศาสตร์หลายฉบับแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ และข้อดีของสารประกอบโพลิโคซานอลจากไขอ้อยที่ช่วยลดจับตัวกันของเกล็ดเลือดได้ช่วยป้องกันภาวะความหนาตัวของผนังหลอดเลือด และฟื้นฟูสมรรถภาพการทำงานของหัวใจ และตับ ส่วนการศึกษาด้านความปลอดภัยในการใช้โพลิโคซานอลนั้น พบว่าการรับประทานโพลิโคซานอลในประมาณ 20 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นระยะเวลาต่อเนื่องนานมากกว่า 3 ปี จะมีความปลอดภัยสูงและไม่พบผลข้างเคียงจากการศึกษาในครั้งนี้ต่อผู้ป่วย
ข้อแนะนำและข้อควรปฏิบัติ
ถึงแม้ว่าในการศึกษาวิจัยจะบ่งบอกถึงสรรพคุณต่างๆ ของโพลิโคซานอลและยังมีการศึกษาด้านความปลอดภัยในการใช้ที่ระบุว่ามีความปลอดภัยสูง แต่ในการใช้โพลิโคซานอลก็ควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกับการใช้สารสกัดชนิดอื่นๆ คือ ควรใช้ในขนาดที่พอดีไม่ควรใช้เกินปริมาณที่กำหนด หรือ ใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ อีกทั้งผู้ที่แพ้ผึ้ง หรือ ส่วนประกอบของผึ้งก่อนจะใช้โพลิโคซานอล ควรศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์และยา ที่มีโพลิโคซาอนลเป็นส่วนประกอบให้ดีเสียก่อน เพราะโพลิโคซานอลที่ใช้อยู่อาจเป็นประเภทที่สกัดมาจากไขผึ้งซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้ที่แพ้ผึ้งได้
เอกสารอ้างอิง โพลิโคซานอล
- จิราภรณ์ พึ่งธรรม และคณะ.การสกัดการทำให้บริสุทธิ์ และการวิเคราะห์องค์ประกอบของโพลิโคซานอล จากไขรำข้าวของไทย.วารสารวิจัย และพัฒนา มจธ.ปีที่ 31.ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2551.หน้า 305-317
- ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเรื่อง รายชื่อพืชที่ใช้ได้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2560
- Policosanol จากอ้อย ไม่มีส่วนช่วยลด LDL oxidation ในผู้ที่มีคอเลสเตอรอลสูง.ข่าวความเคลื่อนไหว.สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
- Jimenez, J. J., Bernal, J. L., Aumente, S., Toribio, L., and Bernal, J., 2003, “Quality Assurance of Commercial Beeswax: II Gas ChromatographyElectron Impact Ionization Mass Spectrometry of Alcohols and Acids,” Journal of Chromatography A, Vol. 1007, pp. 101-116.
- Valdes S. Arruzazabala MI, Fernandez L. et al., Effect of policosanol on platelet aggregation in Healthy volunteers, Int J Clin Pharmacol Res, 1996 :16, 67-72.
- Varady, K. A., Wang, Y., and Jones, P. J. H., 2003, “Role of Policosanols in the Prevention and Treatment of Cardiovascular Disease,” Nutrition Reviews, Vol. 61, pp. 376-383.
- Pons P et al. Effects of successive dose increases of policosanol on the lipid profile of patients with type II hypercholesterolemia and tolerability to treatment. Int J Clin Pharm Res 1994;XIV(1);27-33
- Irmak, S., Dunford, N. T., and Milligan, J., 2006, “Policosanol Contents of Beeswax, Sugar Cane and Wheat Extracts,” Food Chemistry, Vol. 95, pp. 312-318
- Policosanol Monograph, Alternative Medicine Review, Volume 9, Number 3, 2004: 312-317.
- Rendon, A., Rodriguez, M. D., Lopez, M., Garcia, H., de la Cajigas, A., and Mas, R., 1992, “Policosanol : A Study of its Genotoxicity and Teratogenicity in Rodents,” Toxicology Letters, Vol. 63, pp. 249
- Zardoya R et al. Effects of policosanol on hypercholesterolemic patients with abnormal serum biochemical indicators of hepatic function. Current therapeutic research 1996;57(7);568-577
- Hargrove, J. L., Greenspan, P., and Hartle, D. K., 2004, “Nutritional Significance and Metabolism of Very Long Chain Fatty Alcohols and Acids fromDietary Waxes,” Experimental Biology and Medicine, Vol. 229, pp. 215-226
- Gouni I. Berthold and Berthold H. K. , Policosanol/clinical pharmacology and therapeutic significance of a new lipid- lowering agent, American Heart Journal, 2002 :143, 356–365.
- Arruzazabala, M. L., Carbajal, D. R. M., Garcia, M., and Fraga, V., 1993, “Effects of Policosanol on Platelet Aggregation in Rats,” Thrombosis Research, Vol. 69, pp. 321-327.
- Mas R et al. Effect of policosanol in patients with type II hypercholesterolemia and additional coronary risk factors. Clinical pharmacology & therapeutics 1999;65(4); 439-447
- Stuchlik, M. and Zak, S., 2002, “Vegetable Lipids as Components of Functional Foods,” Biomedical Papers, Vol. 146, pp. 3-10