สำมะงา ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย
สำมะงา งานวิจัยและสรรพคุณ 24 ข้อ
ชื่อสมุนไพร สำมะงา
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น สำมะนา, สำมะลีงา (ภาคกลาง, ภาคตะวันออก), สำบันงา, สำเนรา, สามแร้งสามกา, สักขรีย่าน, เขี้ยวงู, คากี (ภาคใต้), สำมะลิงา (ภาคอีสาน, โฮวหลั่งเช่า, สุ่ยหูหม่าน, ขู่เจี๋ยสู้, จุยหู่มั่ว (จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Volkameria inermis Linn.
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cleroden drum inerme (L.) Gaerth.
ชื่อสามัญ Garden quinine, Seaside clerdendron
วงศ์ LABIATAE
ถิ่นกำเนิดสำมะงา
สำมะงา จัดเป็นพืชประจำถิ่นของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะมีถิ่นกำเนิด และการกระจายพันธุ์เฉพาะในภูมิภาคนี้เท่านั้น โดยมีเขตการกระจายพันธุ์บริเวณ พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย สำหรับในประเทศไทย สามารถพบสำมะงาจัด ได้บริเวณชายป่าใกล้ๆ กับลำห้วย และบริเวณป่าชายหาด โดยจะพบได้มากในภาคใต้
ประโยชน์และสรรพคุณสำมะงา
- ใช้แก้หวัด (ราก)
- แก้ไข้ตัวร้อน (ราก)
- ช่วยขับลมชื้น (ราก)
- แก้ไข้ป่า (ราก)
- แก้ไข้ข้ออักเสบ (ราก)
- แก้ปวดข้อ (ราก)
- แก้ปวดก้นกับ (ราก)
- แก้ตับอักเสบ (ราก)
- แก้โรคตับ (ราก)
- แก้โรคม้าม (ราก)
- แก้อาการบวมตามร่างกาย (ราก)
- ใช้ฆ่าพยาธิ (ใบ)
- แก้ฟกช้ำดำเขียว บวม เคล็ดขัดยอก (ใบ)
- แก้โรคผิวหนังกลากเกลื้อน (ใบ)
- แก้ฝี แก้ฝีพุพอง (ใบ)(ทั้งต้น)
- แก้หัด (ใบ)
- แก้อีสุกอีใส (ใบ)
- แก้ผื่นคัน (ใบ)(ทั้งต้น)
- แก้แผลเน่าเปื่อย (ใบ)
- ช่วยห้ามเลือดสมานแผล (ใบ)
- แก้โรคผิวหนังต่างๆ (ทั้งต้น)
- แก้น้ำเหลืองเสีย (ทั้งต้น)
- แก้ไข้ป่า
- แก้ปวดกระเพาะ
รูปแบบและขนาดวิธีใช้
- ใช้เป็นยาแก้ไข้ ตัวร้อน ขับลมขึ้น แก้หวัด แก้ไข้ป่า แก้ตับอักเสบ แก้บวมตามร่างกาย ไข้ข้ออักเสบ แก้ปวดข้อ ปวดก้นกบ ปวดกระเพาะ โดยนำรากแห้ง 30-60 กรัม นำมาต้มโดยใช้ไฟอ่อนๆ กับน้ำดื่ม
- ใช้แก้น้ำเหลืองเสีย โดยใช้ทั้งต้น สับเป็นชิ้นเล็กๆ มาต้มกับน้ำดื่ม
- ใช้รักษาโรคผิวหนังกลากเกลื้อน ผดผื่นคันตามตัว แก้หัด อีสุกอีใส แก้ฝี ประดง และผื่นคันมีน้ำเหลือง โดยนำใบสำมะงาจัด ตำแล้วนำมาพอก หรือ ต้มกับน้ำอาบ หรือ นำมาใช้ชะล้างตามร่างกาย
- ใช้ห้ามเลือด และสมานแผลสด โดยนำใบตากแห้ง แล้วนำมาบดให้เป็นผงโรยบนแผล
- ใช้รักษาแผลฟกช้ำดำเขียวบวม เคล็ดขัดยอก โดยใช้ใบสำมะงา สดตำผสมกับเหล้า ใช้ทาถูบริเวณที่เป็น
ลักษณะทั่วไปของสำมะงา
สำมะงาจัด จัดเป็นไม้พุ่มกึ่งเถาที่เลื้อย ลำต้นมักจะทอดเกาะเดี่ยวกับต้นไม้อื่นขึ้นไป โดยลำต้นมีความสูงประมาณ 1-2 เมตร มักจะแตกกิ่งก้านมาก ซึ่งกิ่งจะเป็นสีเทา หรือ สีน้ำตาล กิ่งอ่อนเป็นสีเขียวอมม่วง และมีขนปกคลุม ส่วนเปลือกลำต้นเรียบ สีขามอมสีน้ำตาล
ใบสำมะงา เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ บริเวณโคนกิ่งจนถึงปลายกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปรี กว้าง 2-4 เซนติเมตร และยาว 4-8 เซนติเมตร โคนใบมน หรือ แหลมเล็กน้อย ปลายใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบแผ่นใบบางนิ่ม ผิวใบมีสีเขียวและเป็นมัน เมื่อขยี้จะมีกลิ่นเหม็นเขียว ก้านใบยาว 1-2 เซนติเมตร เป็นสีม่วงแดง
ดอกสำมะงา ออกเป็นช่อบริเวณซอกใบ และที่ปลายยอด โดยในแต่ละช่อจะมีดอกย่อยประมาณ 3-7 ดอก (ส่วนมากจะพบ 3 ดอก) ดอกย่อยมีกลีบดอก 5 กลีบ เป็นสีขาวและมีขนาดเล็ก โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาวประมาณ 1 นิ้ว ส่วนปลายแยกเป็นกลีบสีขาว จำนวน 5 กลีบ เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีความกว้างประมาณ 8 มิลลิเมตร และมีกลีบเลี้ยงสีเขียว เป็นรูปถ้วย และในแต่ละดอกจะมีเกสรเพศผู้เป็นเส้นยาวสีม่วงจำนวน 5 เส้น
ผลสำมะงา เป็นผลเดี่ยวรูปทรงกลม หรือ รูปไข่กลับ ตรงกับผล มีรอยหยักแบ่งเป็นพู 4 พู ขนาด 1-1.5 เซนติเมตร ผิวผลเรียบเป็นมันลื่น เนื้อผลนิ่ม ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกแล้วผลจะเป็นสีน้ำเงินหรือสีดำ และเมื่อผลแก่จะแห้งและแตกออกเป็น 4 ซีก ด้านในผลจะมีเมล็ด 4 เมล็ด อยู่ในแต่พู พูละ 1 เมล็ด
การขยายพันธุ์สำมะงา
สำมะงาสามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธีอาทิเช่น การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และการปักชำเป็นต้น โดยในปัจจุบันได้เริ่มมีการนำมาเพาะปลูกกันบ้างแล้ว เนื่องจากสำมะงาในธรรมชาติเริ่มหายากมากแล้ว ซึ่งที่นิยมนำมาขยายพันธุ์ในปัจจุบัน คือ การเพาะเมล็ด โดยมีวิธีการเพาะเมล็ดและการปลูก เช่นเดียวกันกับไม้พุ่ม หรือ ไม้ยืนต้นชนิดอื่นๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในบทความก่อนหน้านี้ ทั้งนี้สำมะงา เป็นไม้พันธุ์ไม้กลางแจ้ง ชอบแสงแดดตลอดวันและจะสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินที่ชื้นแฉะหรือมีความชุ่มน้ำค้าง
องค์ประกอบทางเคมี
มีรายงานผลการศึกษาวิจัยถึงองค์ประกอบทางเคมี ขอบใบ และสารสกัดจากใบรวม ถึงสารสกัดจากส่วนเหนือดินของสำมะงาระบุว่าพบสารออกฤทธิ์ที่สำคัญหลายชนิดอาทิเช่น ในส่วนใบสำมะงาพบสารกลุ่มอัลคาลอยด์ (Alkaloids) ที่ทำให้มีรสขม และละลายน้ำได้ เช่น pectolinarigenin, 4-methylscutellarein และ unsaponified matter สารสกัดจากเอทานอลจากใบของสำมะงา พบสาร inerminoside A-C hispidulin lup-1,5,20-trien-3-O-β-D-glucopyranoside, n-octacosane, friedelin, β-amyrin,flavanolid, friedelin, salvigenin, acacetin, cirsimaritin, pectolinarigenin, luteolin, apigenin และ cleroflavone สารสกัดเฮกเซนจากใบของสำมะงา พบสาร Phenylethanoid glycoside,monomelittoside, melittoside, inerminoside A1, verbascoside, isoverbascoside และcampneoside ส่วนสารสกัดเมทานอลจากส่วนเหนือดินของสำมะงาพบสาร Sammangaoside A-C, 4α-Methylsterol, 24β-Ethyl-25-dehydrolophenol, B-friedoolean-5-ene-3-β-ol, β-sitosterol, stigmasta-5,22,25-trien-3-β-ol, betulinic acid, 5-hydroxy-6,7,4′-trimethoxyflavone, 5-O-ethylcleroindicin D, linalool, benzyl acetate และ benzyl benzoate เป็นต้น
การศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของสำมะงา
มีรายงานผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสกัดสำมะงาระ จากส่วนใบ บุว่ามีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาดังนี้
ฤทธิ์ต่อต้านการอักเสบ และฤทธิ์ระงับปวดของสารสกัดเมธานอล จากส่วนใบของสำมะงาในขนาด 125, 250 และ 400 มก./กก. สามารถยับยั้งการปวด และอักเสบในหนูเมาส์ที่ถูกเหนี่ยวนำโดยกรดอะซิติกได้ แต่อย่างไรก็ตาม ยังลดการอักเสบได้น้อยกว่ายาไดโคลฟีแนค โซเดียมขนาด 10 มก./กก. ฤทธิ์ต้านเบาหวาน ฯลฯ มีการศึกษาวิจัย ฤทธิ์ต้านเบาหวานของสารสกัดเมทานอลจากส่วนใบของสำมะงา ในหนูสวิสต์ที่ถูกชักนำให้เป็นโรคเบาหวาน จากสเตรปโตโซโทซิน พบว่าสารสกัดเมทานอลใบของสำมะงา ที่ขนาด 200 มก./กก. สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูทดลองได้ มีการศึกษาวิจัยฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดเอทานอลจากส่วนใบของสำมะงาพบว่าสามารถยับยั้งเชื้อ Pseudomonas, solanacearum, Xanthomonas citri และ Klebsiella ได้ นอกจากนี้ยังแสดงฤทธิ์ต้านไวรัส atitis B โดยมีค่า ED 50 เท่ากับ 16 มก./มล. มีการศึกษาวิจัยฤทธิ์ขับปัสสาวะ ของสารสกัดเอธานอล และคอลโรฟอร์มจากใบสำมะงา โดยได้ทำการศึกษาในหนูแรท พบว่าในสารสกัดขนาด 200 และ 400 มก./กก. สารสกัดทั้งองมีฤทธิ์ขับปัสสาวะได้ดีหลังผ่านไป 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิจัยในประเทศไทยระบุว่าสารสกัดจากส่วนใบของสำมะงามีฤทธิ์ต้านอักเสบ โดยสารออกฤทธิ์ที่สำคัญได้แก่ luteolin, verbascoside และ apigenin ซึ่งสารเหล่านี้แสดงฤทธิ์ต้านอักเสบอย่างแรง อีกด้วย
การศึกษาวิจัยทางพิษวิทยาของสำมะงา
มีรายงานผลการศึกษาวิจัยทางพิษวิทยาของสารสกัดเอทานอลจากส่วนใบของสำมะงา พบว่ามีความเป็นพิษต่ำ โดยมีการศึกษาวิจัยพบว่าเมื่อให้หนูทดลองรับประทานถึงขนาด 8 กรัม/กิโลกรัม ก็ไม่พบความเป็นพิษแต่อย่างใด
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
ตามตำรายาไทย และตำรายาพื้นบ้านระบุว่าสำมะงา มีพิษในส่วนใบ และก้าน ซึ่งใบจะมีพิษมากกว่าราก ดังนั้นไม่ควรนำมาเป็นยาในรูปแบบรับประทาน ควรนำมาใช้เป็นยาภายนอกเท่านั้น และควรใช้อย่างระมัดระวัง
เอกสารอ้างอิง สำมะงา
- ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. “สํามะงา”. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. หน้า 782-784.
- พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ. “สํามะงา”. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. หน้า 182.
- มัณฑนา นวลเจริญ. พรรณไม้ป่าชายหาด, ปทุมธานี, สำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2552 หน้า 155.
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “สำมะงา Garden Quinine”. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. หน้า 87.
- วิทยา บุญวรพัฒน์. “สำมะงา”. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. หน้า 556.
- ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์. “สำมะงา (Samma Nga)”. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. หน้า 302.
- ศรินรัตน์ ฉัตรธระนันท์, ฤทธิ์ต้านอักเสบของสำมะงา, วารสารวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. ปีที่ 12 ฉบับที่ 1.มกราคม-ธันวาคม 2558. หน้า 67-71
- Chethana G S, Savitha H, Jyothi N, Hari Venkatesh K R and Gopinath S M (2013) Pharmacognostic investigations on different parts of Clerodendrum inerme. Global J Res Med Plants & Indigen Med. 2(7), 485-491.
- Ibrahim SRM, Alshali KZ, Fouad MA, Elkhayat ES, Al Haidari R and Mohamed GA (2014) Chemical constituents and biological investigations of the aerial parts of Egyptian Clerodendrum inerme. Bulletin of Faculty of Pharmacy, Cairo University. 52(2), 165-170.
- Yankanchi SR and Koli SA (2010) Anti-inflammatory and Analgesic activity of mature leaves methanol extract of Clerodendrum inerme L. (Gaertn). J Pharm Sci & Res. 2 (11), 782-785.
- Sharaf A, Aboulezz AF, Abdul-alim MA and Golviaa N(1969) Some pharmacological studies on the leaves of Clerodendron inerme. Qual Plant Mater. XVII, 293-298
- Shrivastava N and Patel T(2007) Clerodendrum and Heathcare: An Overview. Medicinal and Aromatic Plant Science and Biotechnology.1(1), 142-150
- Mehdi H, Tan GT, Pezzuto, JM, Fong, HHS, Farnsworth NR and EL-Feraly FS (1997) Cell culture assay system for the evaluation of natural product mediatedanti-hepatitis B virus activity. Phytomedicine. 43, 369-377.
- Upmanyu G,Tanu M, GuptaM,Gupta AK, Sushma A, and Dhakar RC(2011) Acute toxicity and diuretic studies of leaves of Clerodendrum inerme. Journal of Pharmacy Research. 4(5), 1431-1432.
- Parveen M, Khanam Z, Ali M and Rahman SZ (2010) A novel lupene-type triterpenic glucoside from the leaves of Clerodendrum inerme. Natural Product Research: Formerly Natural Product Letters. 24(2), 167-176.
- Anandhi K and Ushadevi T (2013) Analysis of phytochemical constituents and antibacterial activities of Clerodendrum inerme L. against some selected pathogens. IJBAF. 1(7), 387-393.
- Rajeev P, Kumar YS and Gupta SK (2012) Anti-diabetic activity of Clerodendrum (or Clerodendron) inerme using in vivo and in vitro studies, novel science. Int J Pharm Sci. 1(6), 298-302.
- Haihan N, Jun W and Si Z (2005) A new phenylethanoid glycoside from Clerodendrum inerme. Die Pharmazie - An International Journal of Pharmaceutical Sciences. 60(10), 798-799.