ว่านหางจระเข้ ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

ว่านหางจระเข้ งานวิจัยและสรรพคุณ 28 ข้อ

ชื่อสมุนไพร ว่านหางจระเข้
ชื่ออื่นๆ/ชื่อเรียกท้องถิ่น ว่านหางจระเข้ (ภาคกลาง), ว่านหางจระเข้, ว่านแข้, หว่านตะแข่, หว่านตะเข้ (ภาคเหนือ), หว่านเข้ (ภาคใต้), ประเตียล, กระปือ (ภาคเขมร), ช่าเจ๊ายังแป๊ (ภาษาพม่า), หว่านไฟไหม้, หว่านชาละวัล (ไทยใหญ่)
ชื่อสามัญ Aloe vera
ชื่อวิทยาศาสตร์ Aloe vera Linn.
จัดอยู่ในวงค์ Asphodelaceae

ถิ่นกำเนินว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้นั้นมีถิ่นกำเนิดแถวบริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกา ว่านหางจระเข้นั้นมีสายพันธุ์ที่มากกว่า 300 ชนิด ซึ่งมีทั้งพันธุ์ขนาดเล็กกว่า 10 ซม. ไปจนถึงขนาดใหญ่ ว่านห่างจระเข้ เป็นพืชชนิดเดียวกับพลับพลึง หัวหอม ว่านหางจระเข้ยังเป็นพืชที่มีอายุนานหลายปี และสามารถปลูกเป็นไม้ประดับ หรือ พืชเศรษฐกิจก็ได้

ประโยชน์และสรรพคุณว่านหางจระเข้

  1. ช่วยบรรเทาโรคกระเพาะอาหาร
  2. ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร
  3. ช่วยรักษาแผลลำไส้อักเสบ
  4. แก้ท้องผูก
  5. ใช่เป็นยาระบาย
  6. ช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน
  7. ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายมีการเผาพลาญอาหาร
  8. ช่วยทำให้น้ำตาลในเลือดมีระดับคงที่ไม่ให้สูงเกินไป
  9. ช่วยลดความดันโลหิตสูง
  10. ช่วยให้ไหลเวียนของเลือดดีขึ้น
  11. ลดอาการที่เสี่ยงต่ออาการเส้นเลือดในสมองแตก
  12. ช่วยรักษาแผลไฟไหม้
  13. ช่วยทำให้แผลแห้ง และหายไว
  14. ช่วยรักษาแผลสดให้แห้งไว
  15. ช่วยในการห้ามเลือด
  16. ช่วยบำรุงร่างกาย
  17. ช่วยบำรุงสายตา
  18. แก้อาการสายตาพล่ามัว
  19. ช่วยแก้อาการเมารถได้
  20. แก้อาการนอนไม่หลับ
  21. ช่วยให้นอนหลับสบายยิ่งขึ้น
  22. เนื้อของวุ่นว่านหางจระเข้รักษาโรคผิวหนัง
  23. ช่วยฆ่าเชื้อราตามผิวหนัง
  24. ช่วยขจัดรอยแผลเป็น ทำให้แผลเป็นจางลง
  25. ช่วยรักษาตาปลา และฮ่องกงฟุต
  26. ช่วยรักษาอาการผิวหนังไหม้จากแสงแดด หรือ ไหม้เกรียมจากการฉายรังสี หรือ แผลเรื้อรังจากการฉายรังสี
  27. ช่วยรักษาโรคเรื้อนกวางหรือ
  28. ช่วยรักษาโรคสะเก็ดเงิน

         นอกจากนี้ว่านห่างจระเข้ ยังสามารถนำมาแปรูปแบบต่างๆ ได้อีก เช่น

           1.อาหาร ก็นำว่านหางจระเข้มาทำพล่าวุ้นว่านหางจระเข้

           2.อาหารหวานนำมาทำว่านหางจระเข้ลอยแก้ว วุ้นว่านหางจระเข้น้ำกะทิ

           3.เครื่องดื่มนำมาทำน้ำว่านหางจระเข้สมูทตี้ น้ำว่านหางจระเข้

           4.อาหารเสริมว่านหางจระเข้ เป็นต้น และจัดเป็น สมุนไพรชนิดหนึ่งที่นํามาใช้เป็นยารักษาโรคได้ในทุกวันนี้

รูปแบบขนาดและวิธีการใช้

  • การเลือกใช้ใบจากต้นว่านหางจระเข้ จะต้องมีอายุประมาณ 1 ขึ้นไป และใช้ใบข้างล่างสุดที่มีรูปล่างอ้วน อวบ เปล่ง อันเป็นใช้ได้
  • จากการวิจัยวุ้นของว่านห่างจระเข้ ไม่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ ถ้าเป็นไปได้ก็ควรที่ปลอกเปลือกโดยใช้เทคนิคปลอดเชื้อ Aseptic technique เพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อ
  • ก่อนที่จะนำยางของว่านหางจระเข้ มาใช้ในการรักษาแผลก็ควรจะล้างก่อน เพื่อป้องกันน้ำยางจากเปลือกมีสารแอนทราควิโนนที่ติดอยู่ เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการคัน หรือ แพ้ได้
  • เมื่อตัดต้นว่านหางจระเข้มาแล้วควรที่จะใช้โดยทันทีภายใน 6 ชั่วโมง เพราะจะมีคุณค่าทางยาที่ดี และจะได้คุณภาพที่สูงสุด


ลักษณะทั่วไปของว่านหางจระเข้

  • ลำต้น ว่านหางจระเข้จัดเป็นกลุ่มของไม้ล้มลุก มีลำต้นประมาณ 0.5-1 เมตร และมีข้อปล้องสั้นๆสีเขียวนวล มีรูปร่างทรงกลม เปลือกมียางสีเหลือง และขอบใบมีหนาม
  • ใบ ว่านหางจระเข้ เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว และออกเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนรอบ ต้นเรียงสลับซ้อนกัน ใบมีความกว้าง 5-12 เซนติเมตร และมียาว 30-80 เซนติเมตร ใบมีลักษณะอูม และอวบน้ำข้างในเป็นวุ้นใสสีเขียวอ่อน และมีเมือกลื่น
  • ดอก ดอกว่านหางจระเข้แทงออกเป็นช่อ บริเวณกลางต้นดอกจะมีสีแดงอมเหลืองเป็นหลอดๆ ตัวของดอกมี 6 กลีบ ความยาวของดอกประมาณ 2-3 เซนติเมตร กว้าง 0.5-1 เซนติเมตร ส่วนของก้านจะมีความยาวยาวประมาณ 40-90 เซนติเมตร ด้านในมีเกสรตัวผู้ 6 อัน ด้านล่างสุดเป็นรังไข่ ว่านห่างจระเข้ จะออกดอกในช่วงฤดูหนาวของปี และออกดอกมากที่สุดแถวบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย

ว่านหางจระเข้

การขยายพันธุ์ว่านหางจระเข้

การขายพันธุ์ของว่านห่างจระเข้ สามารถขยายพันธุ์ได้ด้วย 3 วิธีหลักๆ ได้แก่

           1.การเพราะเลี้ยงเนื้อเยื่อของว่านหางจระเข้ เหมาะสำหรับการปลูกเชิงพาณิชย์ และการปลูกขนาดใหญ่
           2.การปลูกด้วยการแยกหน่อ หน่อที่สามารถแยกมาปลูกต้องมีขนาดสูง 10-15 เซนติเมตร เหมาะสำหรับการปลูกในแปลงขนาดใหญ่ และปลูกในครัวเรือน การไว้หน่อเพื่อการทำพันธุ์ ไม่ควรเกิน 2 หน่อต่อต้น
           3.การปักชำ วิธีนี้ไม่ค่อยนิยมนำมาใช้กัน เพราะต้องตัดยอดหรือโคลนต้นทำให้ได้รับคาวมเสียหายฉีดขาดหรือแตกของก้านใบ จึงเป็นวิธีที่ไม่ค่อยนิยมกันมากนัก

            ว่านหางจระเข้จะสามารถเติบโตได้ดีในฤดูหนาว การปลูกควรเป็นดินปนทราย เพราะจะระบายน้ำได้ดี เพราะต้นว่านหางจระเข้ไม่ชอบน้ำมาก และน้ำขัง ขุดหลุมลึกประมาณ 10-20 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยคอก หรือ ใบไม้แห้งลงไปในก้นหลุม แล้วกลบดินให้เสมอโค่นต้น ระยะปลูกควรห่างกัน 50x70 เซนติเมตร ช่วงเดือนแรกควรให้น้ำทุกวัน หลังจากต้นติดดินแล้วควรให้น้าลดน้อยลง ไม่ควรใช้ยาฆ่าหญ้า หรือ ใช้ สารเคมีโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้ต้นโตช้า และตายได้ง่าย หลังจาก 6-8 เดือน ก็สามารถเก็บผลผลิตได้ ควรเก็บจากใบล่างไปหาใบบน และให้สังเกตใบจะไม่มีลาย ใบอวบ น้ำเต็ม ก็เป็นอันสามารถเก็บเกี่ยวได้แล้ว ควรเก็บ 2-6 ใบ ต่อต้น/ครั้ง ว่านห่างจระเข้ สามารถเก็บเกี่ยวได้ปีละ 8 ครั้ง

ว่านหางจระเข้

องค์ประกอบทางเคมี

สารไกลโคโปรตีนจากวุ้นใส ชื่อ aloctin เอ,บี และมีฤทธิ์ลดการอักเสบ สามารถสร้างช่วยเนื้อเยื่อบริเวณที่เป็นแผล และจะสลายได้ง่ายเมื่อถูกความร้อน คือ สารกลุ่มของสารแอนทราควิโนน เช่น aloin, barbaloin (aloe-emodin), chrysophanic acid ซึ่งออกฤทธิ์เป็นยาระบาย ยาถ่าย

รูปภาพองค์ประกอบทางเคมีของว่านหางจระเข้
 
  โครงสร้างว่านหางจระเข้

การศึกษาทางเภสัชวิทยาของว่านหางจระเข้

  • จากการนำสารที่ออกฤทธิ์ในว่านหางจระเข้มาทดลองในผู้ป่วยที่มีแผลในกระเพาะอาหารจำนวน 12 ราย โดยนำน้ำวุ้นว่านหางจระเข้มาเตรียมให้อยู่ในรูปแบบ emulsion จากนั้นให้ผู้ป่วยรับประทานครั้งละ 2-2.5 ออนซ์ (1 fluid ounce เท่ากับ 30 มิลลิลิตร) ปรากฎว่าผู้ป่วยทุกรายหาย เชื่อว่ามีสารออกฤทธิ์ traumatic acid ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่พบในพืช ติดอยู่กับวุ้นในใบว่านหางจระเข้ (มิวซิเลจ) โดยที่ออกฤทธิ์ช่วยลดการหลั่งของกรด และน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ส่วนสาร manuronic และ glucuronic acid ที่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดแผลในกระเพราะอาหาร
  • จากการนำขี้ผิ้งที่สกัดมาจากว่านห่างจระเข้ ไปทารักษาผู้ที่มีแผลถลอก ปรากฏว่าแผลแห้งตัวได้ดี และไม่ติดเชื้อ จากการทดลองนี้มีการนำเอาขี้ผึ้งที่สกัดจากว่านหางจระเข้มาใช้ในการรักษาสิวเพราะช่วยในการซ่อมแซมผิวได้ดีขึ้น
  • ได้มีการวิจัยในผู้ป่วย 38 ราย โดยใช้ยางสดของว่านหางจระเข้ ปรากฎว่าได้ผลร้อยละ 95 เมื่อเปรียบเทียบกับยาทาแผลป้องกันการติดเชื้อ silver sulfadiazine ที่ได้ผลเพียงแค่ร้อยละ 83  โดยแผลหายในเวลา 13 ± 2.41 วัน และ 16.15 ± 1.98 วัน ตามลำดับ จากรายงานผลการรักษาในคนไข้ 27 ราย เปรียบเทียบกับ vaseline พบว่าหายในเวลา 11.89 วัน และ 18.19 วันตามลำดับ

การศึกษาทางพิษวิทยาของว่านหางจระเข้

เมื่อป้อนว่านหางจระเข้ให้หนูแรทสายพันธุ์ Sprague-Dawley เพศผู้  ในขนาด 92.5 มก./กก. ไม่พบพิษ  แต่เมื่อผสมผงว่านหางจระเข้ในอาหารให้หนูแรทกิน ปรากฎว่าหนูมีอาการท้องเสีย เมื่อผสมสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ร้อยละ 95 ในน้ำ แล้วป้อนให้หนูเม้าส์กินในขนาด 3 กรัม/กิโลกรัม ไม่พบพิษ แต่ถ้าให้หนูเม้าส์กินในขนาด 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เป็นเวลา 3 เดือน พบว่ามีอาการพิษรวมทั้งมีขนร่วง และการเสื่อมของอวัยวะเพศ ได้มีการศึกษาต่อมาได้มีรายงานผลของสารกลุ่ม anthraquinone ซึ่งจะออกมากับกระบวนการสกัด hydroxyanthraquinone กระตุ้นให้เกิดการขยายตัวของมะเร็ง ผู้ป่วยที่เป็นโรคดีซ่านเสียชีวิตเมื่อรับประทานยาซึ่งมียาดำ โกฐน้ำเต้า และมะขามแขก การชันสูตรพบว่าตับได้ถูกทำลาย และมีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อไต ม้าม หัวใจ และปอด ทำให้ท้องเสียอย่างรุนแรง ยังพบว่าเมื่อฉีด aloin เข้าใต้ผิวหนังสุนัขในขนาด 0.10–0.12 ก./กก. ทำให้สุนัขเป็นไข้เป็นเวลา 24 ชม. และเกิดอาเจียนอย่างรุนแรง
 

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

  • ไม่ควรใช้ในหญิงที่ตั้งครรภ์ และสตรีที่ให้นมบุตร
  • การรับประทานในปริมาณมากทำให้เกิดความผิดปกติที่เฉียบพลันของระบบทางเดินอาหารได้
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ และหลอดเลือดรุนแรงไม่ควรรับประทาน
  • ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงไม่ควรรับประทาน
  • การนำวุ้นใสของว่านห่างจระเข้ มาทาผิวหน้า หรือ เส้นผม ต้องล้างน้ำยางสีเหลืองออกให้หมด เพราะจะเกิดอาการระคายเคืองได้ หรือ ถึงขั้นอาการแพ้ย่างรุนแรงได้
  • ผู้ที่มีอาการแพ้ หรือ โรคที่ระบุไว้ด้านบนควรได้รับการปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะนำมาใช้ 

เอกสารอ้างอิง ว่านหางจระเข้
  1. สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร. 2549. การศึกษาวิจัยเศรษฐกิจสมุนไพรไทยกรณีศึกษา : ว่านห่างจระเข้  http://k-tank.doae.go.th/uploads/18.%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89.pdf
  2. จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี เรื่องว่านหางจระเข้ https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89
  3. วรนุช  เกียรติพงษ์ถาวร และคณะ. การเปรียบเทียบการหายของแผลภายหลังทำแผลด้วยวุ้นว่านหางจระเข้กับน้ำยาโพวิโดน ไอโอดีน. โครงการพัฒนาการใช้สมุนไพร และยาไทยทางคลินิก (2526-2536) โดยคณะกรรมการโครงการพัฒนาการใช้สมุนไพร และยาไทยทางคลินิก มหาวิทยาลัยมหิดล. หน้า 173-183. 
  4. Collins CF, Collins C.  Roentgen dermatitis treated with fresh whole leaf of Aloe vera.  Amer J Roentgen 1935; 33(3):396-7.
  5.  ณรงค์ชัย ประสิทธิ์ภูริปรีชา นิศา อินทรโกเศส โอภา วัชรคุปต์ พิสมัย ทิพย์ธนทรัพย์. การทดลองใช้สารสกัดว่านหางจระเข้ กับแผลที่เกิดจากรังสีบำบัด. รายงานโครงการพิเศษ คณะเภสัชศาสตร์, กรุงเทพ:  มหาวิทยาลัยมหิดล, 2529.
  6. Skousen MB. Aloe Vera Handbook: The Acient Egyptian Medicine Plant. Book Publishing Company; 2005.
  7. Rodríguez-Bigas M, Cruz NI, Suárez A. Comparative evaluation of Aloe vera in the management of burn wounds in guinea pigs. Plast Reconstr Surg 1988;81:386-9
  8. ส านักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร. 2549. การศึกษาวิจัยเศรษฐกิจสมุนไพรไทยกรณีศึกษา : ว่านหางจระเข้ ฟ้าทะลายโจร ตะไคร้หอม และไพล. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  9. Bracken WM, Cuppage F, Mclaury RL, KirwinC, Klaassen CD.  Comparative effectiveness of topical treatment for hydrofluric acid burns. J Occup Med 1985;27(10):733-9.
  10. โครงการสมุนไพร เพื่อการพึ่งตนเอง. คู่มือว่านหางจระเข้สมุนไพรมหัศจรรย์จากธรรมชาติ. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์, 2527.