มะกล่ำต้น ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆและข้อมูลงานวิจัย

มะกล่ำต้น งานวิจัยและสรรพคุณ 25 ข้อ

ชื่อสมุนไพร มะกล่ำต้น
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น มะกล่ำตาช้าง (ภาคกลาง), มะโหกแดง, มะหัวแดง (ภาคเหนือ), มะหล่าม (โคราช), ไพ (ปัตตานี), บนซี (สตูล), หมวกแคก (ไทยใหญ่), ซอรีเหมาะ (กะเหรี่ยง), กัวตึมเบล้ (ม้ง)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Adenanthera pavonine L.
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Adenanthera gersenii Scheff., Corallaria parvifolia
ชื่อสามัญ Sandalwood, Red sandalwood, Bead tree, Coralwood tree
วงศ์ MIMOSACEAE

ถิ่นกำเนิดมะกล่ำต้น

มะกล่ำต้น เป็นพรรณไม้ที่มีถิ่นกำเนิดบริเวณเขตร้อนของทวีปเอเชีย โดยเชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคเอเชียใต้ ได้แก่ ศรีลังกา อินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ รวมถึงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น พม่า ไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย เป็นต้น

            สำหรับในประเทศไทย สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศโดยมักจะพบตามป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบ ป่าเต็งรังรวมถึง ตามที่รกร้างทั่วไป และริมถนน ที่มีความสูง 50-400 เมตร จากระดับน้ำทะเล

ประโยชน์และโทษมะกล่ำต้น

  1. แก้จุกเสียด
  2. แก้ริดสีดวงทวาร
  3. แก้หนองใน
  4. พอกดับพิษฝี แผลฝีหนอง
  5. ดับพิษบาดแผล
  6. แก้อักเสบ
  7. แก้ปวดศีรษะ
  8. ขับพยาธิ
  9. เบื่อพยาธิไส้เดือน
  10. ทาขมับแก้ปวดศีรษะ
  11. ใช้ขับเสมหะ
  12. แก้หืดไอ
  13. แก้เสียงแหบแห้ง
  14. แก้สะอึก
  15. แก้ลมในท้อง
  16. แก้ร้อนใน
  17. แก้อาเจียน
  18. แก้ปวดข้อ
  19. แก้ลมเข้าข้อ
  20. แก้บิด
  21. แก้ท้องร่วง
  22. เป็นยาสมาน
  23. บำรุงกำลัง
  24. บำรุงธาตุ
  25. แก้ท้องร่วง

รูปแบบและขนาดวิธีใช้มะละกอ

ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงธาตุ ใช้เป็นยาฝาดสมาน แก้บิด ท้องร่วง แก้ปวดข้อ ลมเข้าข้อ แก้ริดสีดวงทวาร โดยใช้ใบมะกล่ำต้น มาต้มกับน้ำดื่มใช้แก้หนองใน แก้จุดเสียด ขับพยาธิตัวตืด โดยใช้เมล็ดบดเป็นผง ผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นเม็ดกิน ใช้ทำให้อาเจียนโดยฝนเนื้อไม้กินกับน้ำอุ่น ใช้แก้หืด แก้ไอขับเสมหะ แก้สะอึก แก้ลมในท้อง แก้ร้อนใน แก้อาเจียน โดยใช้เนื้อไม้ต้มกับน้ำดื่ม ใช้แก้ฝีหนอง ดับพิษบาดแผล โดยใช้เมล็ดบดเป็นผงโรยบริเวณที่เป็น

ลักษณะทั่วไปของมะกล่ำต้น

มะกล่ำต้น จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง แบบผลัดใบ สูง 15-20 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม โปร่งแผ่กว้าง ยอดอ่อนมีขนนุ่มเป็นมันคล้ายเส้นไหม เปลือกต้นเรียบหนาสีน้ำตาลปนเทา บางครั้งมีรอยแตกระแหงเล็กๆ โคนต้นเป็นพูพอนต่ำ ใบเป็นแบบประกอบแบบขนนกสองชั้นปลายคู่ ออกแบบเรียงสลับ ห่าง 15-40 เซนติเมตร ส่วนใบย่อยรูปวงรี รูปไข่ หรือ รูปขอบขนาน มี 8-16 คู่ เรียงสลับ กว้าง 1-3.5 เซนติเมตร ยาว 2-5.5 เซนติเมตร แผ่นใบ สีเขียวเข้มบาง เรียบเกลี้ยง ขอบใบเรียบ ปลายใบมน โคนใบเบี้ยว ด้านหลังใบเกลี้ยงสีเขียวอมเทา ท้องใบสีอ่อนกว่ามีนวลเล็กน้อย มีขนนุ่ม หลุดร่วงง่าย ก้านใบย่อยสั้นไม่มีหูใบ ดอกออกเป็นช่อ ตามซอกใบช่วงบน หรือ แตกปลายกิ่ง และจะออกดอกเป็นช่อเดี่ยว หรือ หลายช่อรวมกัน โดยช่อมีลักษณะแคบยาวเป็นรูปทรงกระบอก ยาวประมาณ 7.5-20 เซนติเมตร ส่วนดอกย่อยมีขนาดเล็ก ประมาณ 0.3 เซนติเมตร มีกลีบดอกแคบจำนวน 5 กลีบ ปลายกลีบแหลม มีขนาดประมาณ 2.5-3 มิลลิเมตร เชื่อมติดกันที่ฐานเป็นหลอดกลีบดอกเป็นสีเหลืองอ่อนอมสีครีม เมื่อดอกแก่จะเปลี่ยนเป็นสีส้ม และมีกลิ่นหอมแบบอ่อนๆ ในช่วงเย็นคล้ายกลิ่นของดอกส้ม มีขนอยู่ประปราย และมีก้านดอกยาวประมาณ 1.5-3 มิลลิเมตร มีขนเส้นไหม มีเกสรเพศผู้จำนวน 10 ก้าน อับเรณูมีต่อมอยู่ที่ปลาย ผล ออกเป็นฝักแห้งแตก มีลักษณะแบนยาวสีน้ำตาลกว้าง 1.2 ซม. ยาว 12-20 ซม. เมื่อยังอ่อนมีสีเขียว ฝักแก่มีสีน้ำตาลอ่อนและจะบิดงอ มีรอยคอดตามเมล็ดในฝักและจะแตกตามตะเข็บทั้งสอง เมล็ดรูปร่างค่อนข้างกลม สีแดงเลือดนกหรือแดงส้ม เมล็ดแข็ง ผิวมัน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-7 มม. โดยจะมีเมล็ดในฝักประมาณ 10-15 เมล็ดต่อฝัก

มะกล่ำต้น

มะกล่ำต้น  มะกล่ำต้น

การขยายพันธุ์มะกล่ำต้น

มะกล่ำต้น สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ดมาเพาะเป็นต้นกล้าก่อนจะนำไปปลูกต่อไป สำหรับวิธีการเพาะเมล็ด และการนำต้นกล้าไปปลูกสามารถทำได้เช่นเดียวกันกับไม้ยืนต้นชนิดอื่นๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วในบทความก่อนหน้านี้ ทั้งนี้มะกล่ำต้นเป็นพืชที่ทนแล้งได้ดีชอบแสงแดดจัด และดินร่วนซุยที่ระบายน้ำได้ดี รวมถึงเป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อยอีกด้วย

องค์ประกอบทางเคมี

มีรายงานการศึกษาวิจัยถึงองค์ประกอบทางเคมีของเปลือกต้นของมะกล่ำต้น ระบุว่าพบสารออกฤทธิ์ที่สำคัญได้แก่ ethyl 3,3-dimethyl-13-hydroxytridecanoate, stigmasta-5,22-dien-3β-ol, tert. butyl tridecanoate, 6-a-hydroxy stigmast-20(21)-en-3-one dichloromethane extract and 18-(2’,3’-dihydrocyphenyl)nonadec-17-en-2-ol,I-(N-propyl amino)-2-henecosanone และ stihmast-5(6),20(21)-diene-3-one aspartic acid, threonine, serine, glutamic acid, glycine, alanine, valine, methionlne, isoleucine, thnosine, histidine, lysine,arginine และยังพบกรดไขมัน ได้แก่ lauric และpalmiticacid, oleic acid และ stearic acid  อีกด้วย

โครงสร้างมะกล่ำต้น

การศึกษาทางเภสัชวิทยาของมะกล่ำต้น

มีรายงานการศึกษาวิจัยถึงฤทธิ์ทางเภสัชของสารสกัดจากเปลือกต้น และสารสกัดจากส่วนใบ ของมะกล่ำต้น ในต่างประเทศ ระบุว่ามีฤทธิ์ระงับปวด, ต้านการอักเสบ, ต้านการอาเจียน และมีฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพทั้งแกรมบวกและแกรมลบได้

การศึกษาวิจัยพิษวิทยาของมะกล่ำต้น 

ไม่มีข้อมูล

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

การใช้มะกล่ำต้นเป็นสมุนไพร ควรระมัดระวังในการใช้โดยควรใช้ในขนาด และปริมาณที่พอเหมาะที่ได้ระบุไว้ในตำรับตำรายาต่างๆ และไม่ควรใช้ต่อเนื่องกันนานจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ สำหรับเด็ก และสตรีไม่ควรใช้มะกล่ำต้นเป็นยาสมุนไพร เพราะยังไม่มีข้อมูลด้านความปลอดภัยอย่างชัดเจน นอกจากนี้การใช้ส่วนของเมล็ดมะกล่ำต้น มาเป็นสมุนไพรควรศึกษาหรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อน เพราะเมล็ดของมะกล่ำต้นคล้ายคลึงกับเมล็ดมะกล่ำของหนู ซึ่งมีความเป็นพิษสูง
 

เอกสารอ้างอิง มะกล่ำต้น
  1. ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์. “มะกล่ำต้น (Ma Klam Ton)”. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. หน้า 210.
  2. มัณฑนา นวลเจริญ. พรรณไม้ป่าชายหาด. ปทุมธานี. สำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2552 หน้า 118
  3. พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ. “มะกล่ำต้น ”. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. หน้า 144.
  4. เอื้อมพร วีสมหมาย และปณิธาน แก้วดวงเทียน. 2552. ไม้ป่ายืนต้นของไทย 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. เอช เอ็น กรุ๊ป จำกัด. กรุงเทพมหานคร.
  5. “มะกล่ำตาช้าง Red Sandalwood tree”. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. หน้า 36.
  6. ชยันต์ พิเชียรสุนทร ศุภชัย ติยวรนันท์ และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 6 เภสัชกรรม. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2555. หน้า 66–67
  7. มะกล่ำต้น.ฐานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=255
  8. Adedapo ADA, Osude YO,Adedapo AA, Moody JO, Adeagbo AS, Olajide OA, Makinde JM (2009) Blood pressure lowering effect of Adenanthera pavonine seed extract on normotensive rats. Res Nat Prod 3:82-89
  9. Ghani A(2003) Medicinal plants of Bangladesh (chemical constituents and uses), 2nd edn.Asiatic Society of Bangladesh, Dhaka,pp 331-332
  10. Watt JM,Breyer-Brandwijk MG(1962) The medicinal and poisonous plants of Southern and Eastern Africa, 2nd edn. E and S Livingstone Ltd, London