เบต้ากลูแคน
เบต้ากลูแคน
ชื่อสามัญ β-glucan
ประเภทและข้อแตกต่างสารเบต้ากลูแคน
เบต้ากลูแคนเป็นพอลินแซ็กคาไรด์ (polysaccharide) ชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากสารประกอบน้ำตาลกลูโคส (D-glucose) ที่เป็นรูปวงแหวน 6 ด้าน หลายโมเลกุลมาเชื่อมต่อกันด้วยพันธะเบตาไกลโคซิดิก (β-glycosidic) ซึ่งสารเบต้ากลูแคน จะมี 1, 3-β-glucan เป็นโครงสร้างหลักบริเวณแกนกลาง (backbone) และมีสายกิ่งที่แตกแขนงออกมา (branch) โดยสายกิ่งอาจเป็นชนิด 1, 4-β-glucan หรือ 1, 6-β-glucan ก็ได้ และยังสามารถเรียกได้อีกอย่างว่า 1,3/1,4-β-glucan หรือ 1,3/1,6-β-glucan ส่วนการค้นพบ และการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเบต้ากลูแคนครั้งแรกเริ่มขึ้นในทศวรรษที่ 40 เมื่อ Louis Pillemer ได้ ศึกษาตัวยา Zymosan ซึ่งได้จากการสกัดผนังเซลล์ของยีสต์ ที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็นยาที่ออกฤทธิ์กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน แต่ในขณะนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่า โปรตีน ไขมัน น้ำตาลเชิงซ้อน หรือ องค์ประกอบใดของ Zymosan ที่สามารถออกฤทธิ์ต่อระบบภูมิคุ้มกันได้ หลังจากนั้นในทศวรรษที่ 50 Nicholas DiLuzio จากมหาวิทยาลัย Tulane ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ทำการวิจัยเพิ่มเติมจนพบว่าสารที่มีผลต่อการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในยา Zymosan ที่จริงแล้ว คือ เบต้ากลูแคน โดยเฉพาะ Beta-1,3-D-glucan ซึ่งเป็นพอลิแซ็กคาไรด์สายยาวของน้ำตาลกลูโคสที่เชื่อมต่อกันด้วย
จนถึงยุคปี 80 Joyce K. Czop จากมหาวิทยาลัย Harvard ได้ค้นพบตัวรับที่จำเพาะต่อเบต้ากลูแคนบนผิวเซลล์ของ macrophage โดยตัวรับดังกล่าวเป็นกลุ่มของโปรตีนที่มีขนาดประมาณ 1 ไมครอน ซึ่งจะพบอยู่บนผิวเซลล์ macrophage ตั้งแต่เริ่มสร้างจากไขกระดูกจนตาย โดย Joyce K. Czop อธิบายว่าเมื่อสาย α-Helix ซึ่งเป็นโครงสร้างสามมิติของเบต้ากลูแคนที่ประกอบไปด้วยน้ำตาลประมาณ 7 หน่วย เข้าไปจับที่ตัวรับบนผิวเซลล์ ก็จะไปกระตุ้นเซลล์ macrophage ให้อยู่ในสภาวะตื่นตัว เพื่อทำหน้าที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันต่อไปแต่ในภาวะปกติแล้วเซลล์ macrophage ส่วนใหญ่มักจะอยู่ในสภาวะสงบ
สำหรับประเภทของเบต้ากลูแคน นั้น สามารถแยกได้ตามแหล่งที่ได้มาโดยจะมีโครงสร้างที่แตกต่างกัน ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อสภาพการละลายน้ำ ความยาวของสายพอลิแซ็กคาไรด์ความยาวของเส้นแขนงที่เชื่อมต่อ รวมทั้งคุณสมบัติการออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่แตกต่างกันออกไปด้วย ซึ่งเบต้ากลูแคนจากแหล่งที่มาต่างๆ จะมีลักษณะการจัดเรียงตัวกันของน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว คือ น้ำตาลกลูโคสที่ไม่เหมือนกัน จึงทำให้เบต้ากลูแคนแต่ละแหล่งที่มามีโครงสร้างที่ต่างกันออกไป
ลักษณะโครงสร้างของเบต้ากลูแคนจากแหล่งที่มาชนิดต่างๆ
ที่มา : Volman et al.(2008)
แหล่งที่พบและแหล่งที่มาสารเบต้ากลูแคน
เบต้ากลูแคนสามารถพบได้ในสิ่งมีชีวิตหลายชนิดทั้งในแบคทีเรีย รา ยีสต์ ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ แต่โครงสร้างที่พบจากแหล่งต่างๆ ดังกล่าวจะมีความแตกต่างกัน แต่แหล่งของเบต้ากลูแคนที่ปัจจุบันเป็นที่นิยมกันมาก คือ เห็ด ซึ่งอาจจะเป็นเพราะเห็ดสามารถนำมาใช้ทำเป็นอาหาร และมีความคุ้นเคยในการนำเห็ดมาบริโภคมาเป็นเวลานานแล้ว และโดยส่วนมากแล้วเห็ดที่สามารถนำมารับประทานได้นั้นจะมีเบต้ากลูแคนอยู่เกือบทั้งหมด แต่จะมีมากมีน้อยแตกต่างกันไป สำหรับเห็ดที่นิยมนำมารับประทาน หรือ นำมาสกัดเบต้ากลูแคน และมีการศึกษาวิจัยรอบรับ เช่น เห็ดแครง เห็ดหลินจือ เห็ดชิตาเกะ เห็ดนางฟ้าภูฐาน เห็ดนางรม เห็ดดาวดินกลม ฯลฯ นอกจากนี้ในสหรัฐอเมริกายังนิยมนำยีสต์ดำมาสกัดเบต้ากลูแคน อีกด้วย
ปริมาณที่ควรได้รับของสารเบต้ากลูแคน
ปัจจุบันข้อมูลการศึกษาเกี่ยวกับความเป็นพิษ หรือ ความปลอดภัยในการใช้สารเบต้ากลูแคน ยังมีจำนวนน้อย และยังเป็นข้อมูลที่ทดสอบในสัตว์ทดลอง โดยมีการศึกษาวิจัยในสัตว์ทดลองพบว่า การรับประทานเบต้ากลูแคนจากเห็ดในขนาด 2 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน ไม่แสดงความเป็นพิษ และความผิดปกติของอวัยวะรวมถึงระบบการทำงานของร่างกายแต่อย่างใด ส่วนในสำหรับอเมริกา จากข้อมูลของ United States Department of Ageiculture (USDA) มีการแนะนำให้บริโภคเบต้ากลูแคน ที่สกัดได้จากยีสต์ดำ ดังนี้
ปริมาณสารเบต้ากลูแคนที่สกัดได้จากยีสต์ดำ ที่แนะนำในการบริโภคต่อวัน
ประโยชน์และโทษสารเบต้ากลูแคน
มีการศึกษาวิจัยพบว่า เบต้ากลูแคนมีประโยชน์ต่อร่างกายหลายด้าน เช่น เบต้ากลูแคนทำงานร่วมกับเซลล์แมคโครฟากจ์ (macrophage) ซึ่งเป็นเซลล์ภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงที่สุดในร่างกาย โดยจะทำงานได้ดี และมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อรวมตัวกับเบต้ากลูแคน และช่วยในการป้องกันยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง ยับยั้งเนื้องอก ช่วยกระตุ้นวงจรการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำงานเซลล์แปลกปลอกที่เข้ามาในร่างกาย รวมถึงพวกไวรัส และแบคทีเรีย ช่วยปรับสภาพอื่นๆ ของร่างกาย เช่น ระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด ไขมันในเลือดต้านการอักเสบและยังมีคุณสมบัติด้านอนุมูลอิสระอีกด้วย
ส่วนอาการที่ไม่พึงประสงค์จากการรับประทานสารเบต้ากลูแคน ที่สกัดได้จากแหล่งต่างๆ นั้น พบว่า มีรายงานการวิจัยเกี่ยวกับผลจากการรับประทานสารเบต้ากลูแคนที่สกัดได้จากข้าวบาร์เลย์ ระบุว่าหลังจากให้สารเบต้ากลูแคนต่อเนื่องกัน 12 สัปดาห์ ในอาสาสมัครสุขภาพดี และผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัย (diarrhea) ท้องอืด (bloating) และท้องเฟ้อ (flatulence) เป็นต้น
ซึ่งอาการข้างเคียงข้างต้น สอดคล้องกับการศึกาสารสกัดเบต้ากลูแคนจากยีสต์ ซึ่งพบว่าหลังจากให้ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอ้วน (obesity) และมีภาวะไขมันในเลือดสูง (hypercholesterolemia) เป็นเวลาต่อเนื่องกัน 8 สัปดาห์ พบอาการท้องเสีย (diarrhea) ท้องอืด (bloating) และคลื่นไส้ (nausea) แต่อาการดังกล่าวไม่จัดว่ามีความรุนแรง จนทำให้เสียชีวิต ส่วนเบต้ากลูแคนที่สกัดได้จากเห็ดไม่พบว่ามีรายงานเกี่ยวกับอาการไม่พึงประสงค์แต่อย่างใด
การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องสารเบต้ากลูแคน
มีการศึกษาวิจัยพบว่าสารเบต้ากลูแคน ที่สกัดได้จากเห็ดหลินจือ (Ganoderma lucidum) ว่ามีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของ macrophage, inteukin-1 และ tumor necrosis factor ในหนูทดลอง นอกจากนี้ยัง พบว่าหลังจากให้สารเบต้ากลูแคน เป็นเวลา 3 สัปดาห์ ในหนูทดลอง พบว่า ตับ ม้าม และลำไส้เล็ก ของหนูทดลอง มีเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน คือ macrophage, natural killer cell (NK-cell) และ mononuclear cell เพิ่มขึ้นทั้งขนาดและจำนวน
ส่วนฤทธิ์ของสารเบต้ากลูแคนที่สกัดได้จากเห็ดนางฟ้า (Pleurotus floruda) ซึ่งเป็นการทดลองในหลอดทดลอง (In Vitro) ในเซลล์เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เมื่อให้สารเบต้ากลูแคนพบว่าเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทั้ง macrophage, splenocyte และ thymocyte มีการเพิ่มขึ้นทั้งขนาดและจำนวน และการทดสอบฤทธิ์กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันจากสารสกัดเบต้ากลูแคนที่ได้จากเห็ดชิตาเกะ (Grifola frondosa) ที่ทำการทดสอบฤทธิ์ในผู้ป่วยมะเร็งในระยะที่ 2-4 และมีอายุระหว่าง 22-57 ปี พบว่าหลังรับประทานสารเบต้ากลูแคนต่อเนื่องกัน 50 วัน อาการทางคลินิกของผู้ป่วยดีขึ้น คิดเป็น 58.3% ในผู้ป่วยมะเร็งตับ 68.8% ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม และ 62.5% ในผู้ป่วยมะเร็งปอด
ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด (Anti-diabetes activity) สารเบต้ากลูแคน ที่สกัดได้จากเห็ด Agaricus blazei มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดหนูสายพันธุ์ Sprague Dawley ซึ่งถูกเหนี่ยวนำให้เบาหวาน (Diabetes Mellitus) ด้วย streptozotocin เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ ผลการทดลองพบว่ากลุ่มหนูที่ได้รับสารเบต้ากลูแคน มีน้ำหนักลดลงเมื่อเทียบกับเริ่มต้น นอกจากนี้ยังพบกลุ่มหนูที่ได้รับสารเบต้ากลูแคน มีระดับน้ำตาลเบต้ากลูแคน มีน้ำหนักลดลงเมื่อเทียบกับเริ่มต้น
นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มหนูที่ได้รับสารเบต้ากลูแคน มีระดับน้ำตาลกลูโคส (glucose) ไตรกลีเซอร์ไรด์ (triglyceride) คอเลสเตอรอล (total cholesterol) และอินซูลิน (insulin) ในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม และมี HDL cholesterol เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม
ฤทธิ์ต้านการอักเสบ (Anti-inflammation activity) มีศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดเบต้ากลูแคนจากเห็ดนางฟ้าภูฐาน (Pleurotus pulmonarius) พบว่ามีฤทธิ์ลดการอักเสบในหนูทดลองที่ถูกกระตุ้นให้เกิดการอักเสบด้วย formalin เมื่อเปรียบเทียบกับยาไดโคลฟีแนค (diclofenac) นอกจากนี้ยังมีการศึกษาฤทธิ์ของสารเบต้ากลูแคนในเห็ด Lactarius rufus โดยทดลองในหนู Swiss mice ขนาด 25-35 g ทำการฉีด formalin ความเข้มข้น 2.5% ปริมาณ 20 μL เข้าไปยังพังผืดใต้อุ้งเท้าขวาด้านหลังของหนู เพื่อให้เกิดการอักเสบของอุ้งเท้าพบว่าผลของสารเบต้ากลูแคนที่สกัดได้จากเห็ด Lactarius rufrs มีฤทธิ์ระงับอาการปวดที่เกิดจากระบบประสาท (Neurogenic pain)
ฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการเกิดเนื้องอก (Anti-tumor activity) มีการศึกษาวิจัยฤทธิ์ของสารเบต้ากลูแคนที่สกัดได้จากเห็ดในกลุ่ม Basidiomycetes พบว่าสารเบต้ากลูแคนที่มีโครงสร้าง (1-3) –glycosidic linkage สามารถยับยั้ง Sacroma 180 solid cancer และ Ehrtish solidcancer ช่วยยับยั้งกระบวนการเกิดเนื้องอกได้ ส่วนอีกงานวิจัยหนึ่ง ได้ศึกษาฤทธิ์ในการยับยั้งกระบวนการเกิดเนื้องอกของสารเบต้ากลูแคนจากเห็ดหลินจือ (Ganoderma lucidum) ในผู้ป่วยมะเร็ง ผลการทดลองพบว่าหลังจากให้สารเบต้ากลูแคนเป็นเวลา 12 สัปดาห์ ปริมาณของ Interleukin-2,Interleucin-6 และ IFN-GAMMA ในเลือดเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นยังพบว่าช่วยป้องกันรังสี และลดอาการข้างเคียงที่เกิดจากการทำเคมีบำบัดของผู้ป่วยมะเร็ง ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยลดขนาดของเนื้องอกมะเร็งในลำไส้ได้
ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย (Anti-bacterial activity) สารเบต้ากลูแคน ที่สกัดได้จากเห็ด Agaricus blazei พบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการสร้าง Biofilm จากเชื้อ Pseudomonas aeruginosa ซึ่งเป็นเชื้อก่อโรคที่พบบ่อยในสถานพยาบาล อีกทั้งยังพบว่าฤทธิ์ของสารสกัดเบต้าต้ากลูแคนที่สกัดได้จากเห็ดหูหนู (Auricularia auricular-judae) สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ Escherichia coli และ Staphylococcus aureus เมื่อพิจารณาจาก Inhibition zone ของเชื้อทั้งสองชนิด
สารเบต้ากลูแคนที่สกัดได้จากเห็ดนางรม (Pleurotus ostreatu) เมื่อให้ต่อเนื่องเป็นเวลา 3 เดือน ในอาสาสมัครที่เป็นนักกีฬาเพศชาย จำนวน 50 ราย ผลการทดสอบพบว่า อุบัติการณ์การติดเชื้อในระบบทางเดินของอาสาสมัครลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม
งานวิจัยเห็ดแครงในประเทศไทยพบว่า สารสกัดน้ำ และสารสกัดเอทานอลของเห็ดแครง มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ โดยยับยั้งที่เมแทบอลิซึมของโปรสตาแกลนดิน (prostaglandin E2) สารสกัดน้ำ และสารสกัดเอทานอล มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน โดยยับยั้งการหลั่งไซโดไคน์ (cytokine) ชนิด TNF-? และ IL-6 ตามลำดับ
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิจัยความเป็นพิษกึ่งเรื้อรัง (subchronic toxicity) ในหนู Sprague dawley ที่ได้รับสารเบต้ากลูแคนจากเห็ด ขนาดสูงสุดถึง 2,000 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน ไม่แสดงความผิดปกติต่อวัยวะและการทำงานของร่างกาย และไม่พบการก่อกลายพันธุ์หรือผ่าเหล่าของเซลล์ (mutagenicity) ใน Salmonella typhimurium
ข้อแนะนำข้อควรปฏิบัติ
- สารเบต้ากลูแคน อาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ ภาวะท้องเสีย (diarrhea) ท้องอืด (bloating) และท้องเฟ้อ (flatulence) เป็นต้น แต่จะมีอาการที่ไม่รุนแรง
- สตรีมีครรภ์ไม่ควรใช้เบต้ากลูแคน เนื่องจากเบต้ากลูแคนมีฤทธิ์เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน แต่ในสตรีมีครรภ์ร่างกายจะสร้างสมดุล Treg เพื่อปกป้องตัวอ่อนในท้องจากระบบภูมิคุ้มกัน
- สำหรับการฉีดสารเบต้ากลูแคนเข้าทางเส้นเลือดดำ (intravenous route) ซึ่งเป็นการรักษาโดยแพทย์อาจจะทำให้เกิด ไข้หนาวสั่น (chills) ปวดบริเวณตำแหน่งที่ฉีด (pain) ปวดศีรษะ (headache) ปวดหลั งและข้อต่อ (back and joint pain) คลื่นไส้ อาเจียน (nausea and vomit) และท้องเสีย (diarrhea) อย่างรุนแรง เป็นต้น
เอกสารอ้างอิง เบต้ากลูแคน
- รศ.ดร.วีณา จิรัจกริยากุล. เบต้ากลูแคนจากเห็ดแครง. บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ภก.ภูเบศร์ นิลาทะวงศ์.ฤทธิ์ทางชีวภาพของสารเบต้ากลูแคน ในเห็ด.บทความเครื่องยา.คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
- Volman , J.J.,and Nie,S.(2018).D., and Plat, J. (2008).Dietary modulation of immune function by β-glucans.Physiolgy & behavior.94(2)276-284.
- Rout D, Mondal S, Chakraborty I, et al. Structural characteristion of an immunomodulating polysaccharide isolated from aqueous extract of Pleurotus florida fruit-bodies. Med Chem Res 2004;13:509-17.
- Chen,J., and Raymond,K.(2008).Beta-glucans in the treatment of diabetes and associated cardiovascular risks, vascular heslth and risk management.4(6),1265.
- Bergendiova K, Tibenska E, Majtan J. Pleuran (β -glucan from Pleurotus ostreatus) supplementation, cellular immune response and respiratory tract infections in athletes. Eur J Appl Physiol 2011;111:2033-40.
- Alam,N.,Yoon,K.N.,Lee,j.S.,Cho,H.J.,Shim.M.J.,and Lee,T.S.(2001).Dietary effect of Pleurofus eryngii on biochemical function and histology in hypercholceterlemic rats. Saudi journal of biological sciences.18(4).403-409.
- Yea-W., Ki-Hoon K., Hyun-Ju C. and Dong-Seok L. Anti-diabetic activity of beta-glucans and their enzymatically hydrolyzed oligosaccharides from Agaricus blazei. Biotechnol Lett 2005;27(7):483–7.
- Czop J.K., Austen K.F.; "Properties of glycans that activate the human alternative complementpathway and interact with the human monocyte beta-glucan receptor," J Immunol 135: 3388-3393. 1985.
- Wasser,S,P.(2002).Medicinal mushrooms as a source of antitumor and immunomobulating polysaccharides, Applied microbiology and biotechnology. 60(3),258-274.
- Mouruj A and Reema M. The Usage of ß-glucan extracted from local mushroom as immunomodulator. J of Biol Sci 2011;3(5):535-41.
- Mansell P.W.A., Ichinose H., Reed RJ., Krements E.T., McNamee R.B., Di Luzio N.R.;Macrophage-medicated Destruction of Human Malignant Cells in Vivo. Journal of NationalCancer Institute; 54: 571-580. 1975.
- Kodama N, Komuta K, Nanba H. Can maitake MD-fraction aid cancer patients?. Altern Med Rev 2002;7:236-39.
- Julia J. Volman, Julian D. Ramakers, Jogchum Plat. Dietary modulation of immune function by β -glucans. Physiol Behav 2008;94:276-84
- Cai, M.; Lin, Y.; Luo, Y.L.; Liang, H.H.; Sun, P.L. Extraction, antimicrobial, and antioxidant activities of crude polysaccharides from the Wood Ear medicinal mushroom Auricularia auricula-judae (higher Basidiomycetes). Int J Med Mushrooms 2015; 17:591-600.
- Chen SN, Nan FH, Chen S, Wu JF, Lu CL, Soni MG. Safety assessment of mushroom β -glucan: subchronic toxicity in rodents and mutagenicity studies. Food Chem Toxicol 2011;49(11):2890-8.
- Brown GD, Gordon S. Fungal beta-glucans and mammalian immunity. Immunity 2003;19:311–5.
- Cha,Y.J.,Alam,N.,Lee,J.S.,Lee,K.R.,Shim,M.J.,Lee,M.W.,and Lee,T.S(2012).Anticamcer and immunopotentiating activities of crude poltsaccharides from Pleurotus nebrodensis on mouse sarcoma 180.Mycobiology.40(4)236-343.