สาเก ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

สาเก งานวิจัยและสรรพคุณ 19 ข้อ

ชื่อสมุนไพร สาเก
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น ขนุนสำปะลอ (ทั่วไป), สุกุน (อินโดนีเซีย), อุลุ (ฮาวาย), โคโล (ฟิลิปปินส์)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus altilis(Parkinson) Fosberg
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Artocarpus altilis, Artocarpus communis J.R. Forst. & G.Forst, Artocarpus incises (Thunb.) L.f.
ชื่อสามัญ Breadfruit, Breadfruit tree, Bread nut tree
วงศ์ Moraceae

ถิ่นกำเนิดสาเก

สาเก เป็นพืชในวงศ์ขนุน (Moraceae) ที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในหมู่เกาะโพลินีเซียที่อยู่ในมหาสมุทรอินเดียตะวันออกจรดกับมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก อาทิเช่น นิวซีแลนด์ ตองกา ตูวาลู ฮาวาย และเกาะนอร์ฟอลิก เป็นต้น จากนั้นจึงได้มีการแพร่กระจายพันธุ์ ไปยังหมู่เกาะอินดิสตะวันตกรวมถึงภูมิภาคเขตร้อนต่างๆ ทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศโดยเฉพาะภาคตะวันออก และภาคใต้จะพบได้มากกว่าภาคอื่นๆ

ประโยชน์และสรรพคุณสาเก

  • ช่วยปรับสมดุลของร่างกาย
  • ใช้เป็นยาระงับประสาททำให้ผ่อนคลายความตึงเตรียด
  • ช่วยทำให้กระชุ่มกระชวย
  • ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
  • ช่วยรักษากามโรค
  • ช่วยป้องกันโรคความจำเสื่อม
  • ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน
  • ใช้รักษากลากเกลื้อน
  • ช่วยรักษาหิด
  • ช่วยรักษาโรคมะเร็ง
  • รักษาโรคเหงือก
  • ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ
  • ช่วยควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ
  • รักษาความดันโลหิต
  • ช่วยในระบบขับถ่าย
  • ช่วยในการลดการดูดซึมน้ำตาล
  • ช่วยป้องกันโรคความจำเสื่อม
  • ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนในหญิงวัยหมดประจำเดือน
  • ช่วยให้จิตใจสดชื่นมีชีวิตชีวา

           สาเก ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในหลายด้านตั้งแต่อดีตมาแล้ว แต่ประโยชน์ที่เด่นชัดที่สุดคือเป็นผลไม้ที่ถูกนำมารับประทานสดซึ่งมีการศึกษาวิจัยว่าสามารถต้านอนุมูลอิสระในร่างกายได้ดีมีเส้นใยมากและยังมีการนำสาเกมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น นำมาเชื่อม บด อบกรอบ หรือนำไปทำเป็นแป้งทำขนมต่างๆ ส่วนยาวนำมาใช้เป็นชันยาเรือ เนื้อไม้นำมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ สิ่งปลูกสร้างหรือนำมาปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้านจัดสรรหรือสวนสาธารณะต่างๆ และในปัจจุบันยังมีการนำสาเกมาสกัดเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิว อีกด้วย

สาเก

รูปแบบและขนาดวิธีใช้สาเก

ใช้ปรับสมดุลของร่างกาย ช่วยให้กระชุ่มกระชวย ใช้ระงับประสาท ผ่อนคลายความเครียด ทำให้จิตใจสงบโดยใช้เปลือกมาย่างไฟให้แห้งแล้วนำมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้รักษากามโรคโดยใช้รากมาต้มกับน้ำดื่ม หรือ ใช้รากสาเก แห้งฝนกินกับน้ำ ใช้ป้องกันความจำเสื่อมป้องกันโรคกระดูกพรุน โดยใช้ผลสุกมารับประทานสดหรือนำไปแปรรูปรับประทานก็ได้

ลักษณะทั่วไปของสาเก

สาเก จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบสูงได้ประมาณ 10-20 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นทรงพุ่มกว้าง ลำต้นสีน้ำตาลปนเทาถึงสีน้ำตาลเข้มทุกส่วนของสาเกจะมียางสีขาวข้นคล้ายกับยางนุ่น

           ใบ ออกเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ ใบเป็นรูปไข่ขอบใบเป็นแฉกเว้าลึกจนเกือบถึงเส้นกลางใบ แผ่นใบหนาเป็นสีเขียวเข้มเป็นมัน กว้างประมาณ 25-35 ซม. ยาวประมาณ 30-40 ซม. เส้นใบและก้านใบมีสีเหลือง มีกาบใบสีเหลืองแกมเขียวหุ้มส่วนที่เป็นยอดปลายอ่อน

           ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายยอด ดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย อยู่บนต้นเดียวกันโดยดอกจะมีสีเหลือง ช่อดอกตัวผู้มีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ลักษณะคล้ายกระบองและห้อยลง

           ผล เป็นผลรวมรูปไข่ หรือ ค่อนข้างกลม คล้ายกับขนุนเปลือกผลมีสีเขียว ขนาดผลประมาณ 15-20 ซม. เนื้อภายในมีสีเหลืองอมเขียว หรือ ขาว ไม่มีเมล็ด ส่วนอีกสายพันธุ์หนึ่งที่มีเมล็ดเรียกว่า ขนุนสำปะลอ

สาเก

 สาเก

การขยายพันธุ์สาเก

สาเกมีสายพันธุ์ทั้งหมดกว่า 120 สายพันธุ์ แต่สำหรับในประเทศไทยนั้นพบได้ 2 สายพันธุ์ คือ

           สาเกพันธุ์ข้าวเหนียว ซึ่งมีลักษณะผลใหญ่ เนื้อแน่น เมื่อเชื่อมเนื้อจะเหนียวหนึบ ไม่ร่วนซุยเป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกกันทั่วไปกับ สาเกพันธุ์ข้าวจ้าว ซึ่งมีผลเล็กกว่าสายพันธุ์ข้าวเหนียว เนื้อค่อนข้างหยาบ ร่วนซุย เหมาะแก่การทำแป้ง และในปัจจุบันไม่ค่อยนิยมปลูกกันแล้ว ส่วนการขยายพันธุ์สาเกนั้นสามารถขยายพันธุ์โดยวิธีการสกัดราก ทำได้โดยสกัดรากที่โคนต้นที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-5 เซนติเมตร แล้วใช้มีดหรือเสียมตัดมีดให้ขาดออกจากกันจากนั้นก็ทิ้งรากไว้ในดิน ต่อมารากที่ถูกตัดจะแตกหน่อออกมาเป็นต้นซึ่งจะได้ต้นเดียวหรือหลายต้นแต่หากแตกหน่อออกมาเป็นต้น ซึ่งจะได้ต้นเดียวหรือหลายต้น แต่หากแตกหน่อออกมาหลายต้นให้สกัดแยกออกเป็นต้นๆ แล้วขุดออกมาปลูกชำในดินปลูกเก็บไว้ในที่ร่มรำไรสัก 2-3 สัปดาห์ ก็สามารถนำไปปลูกต่อได้ และเนื่องจากสาเก เป็นพืชเขตร้อน จึงสามารถปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศ เติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด แต่จะเจริญได้ในดินร่วมที่มีความอุดมสมบูรณ์และแหล่งปลูกสาเกต้องมีปริมาณน้ำฝนต่อปีไม่น้อยกว่า 50 ซม. เป็นพื้นที่ที่ไม่มีน้ำท่วมขัง หรือ ขึ้นแฉะนอกจากนี้สาเกยังเป็นพืชที่ชอบแสงแดดจัดๆ อีกด้วย


องค์ประกอบทางเคมี

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยองค์ประกอบทางเคมีของสาเก ระบุว่าพบสารออกฤทธิ์ที่สำคัญหลายชนิด อาทิเช่น เมื่อได้ทำการแยกองค์ประกอบทางเคมีจากส่วนสกัดหยาบ CH2CL2 และ Acetone จากรากต้นสาเก ด้วยวิธีการโครมาโทกาฟี สามารถแยกสารประกอบประเภท flavonoid ได้ 2 สารคือ artocarpin และ cycloartocarpin นอกจากนี้ยังแยกสารประกอบประเภท triterpene 2 สาร คือ Friedelin และ 3β-Friedelenol ส่วนอีกการศึกษาวิจัยหนึ่งในต่างประเทศยังระบุว่าพบสารที่สำคัญจากส่วนต่างๆ ของสาเกได้แก่ Cycloaltilisin, Artonin E, Morusin, Chaplashin, Isocyclomullberin, Cyclomullberin, Cycloartocarpin, Cycloartobiloxanthone, Cycloartnol, Artoindonesianin F อีกทั้งสาเกยังมีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของสาเก (100 กรัม)

พลังงาน

103

กิโลแคลอรี่

คาร์โบไฮเดรต

27.12

กรัม

น้ำตาล

11

กรัม

เส้นใย

4.9

กรัม

ไขมัน

0.23

กรัม

โปรตีน

1.07

กรัม

น้ำ

70.65

กรัม

ลูทีนและซีแซนทีน

22

ไมโครกรัม

วิตามิน บี1

0.11

มิลลิกรัม

วิตามิน บี2

0.03

มิลลิกรัม

วิตามิน บี3

0.9

มิลลิกรัม

วิตามิน บี6

0.457

มิลลิกรัม

วิตามิน บี9

14

ไมโครกรัม

วิตามิน ซี

29

มิลลิกรัม

วิตามิน อี

0.1

มิลลิกรัม

วิตามิน เค

.5

ไมโครกรัม

โคลีน

9.8

มิลลิกรัม

ธาตุเหล็ก

0.54

มิลลิกรัม

แคลเซียม

17

มิลลิกรัม

แมกนีเซียม

25

มิลลิกรัม

แมงกานีส

0.06

มิลลิกรัม

ฟอสฟอรัส

30

มิลลิกรัม

โพแทสเซียม

490

มิลลิกรัม

โซเดียม

2

มิลลิกรัม

สังกะสี

0.12

มิลลิกรัม

 

โครงสร้างสาเก
การศึกษาทางเภสัชวิทยาของสาเก

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยของสาเก ระบุว่า มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาต่างๆดังนี้

           ฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรีย มีการศึกษาวิจัยโดยมีการนำสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (artocarpin และ cycloartocarpin) ที่แยกได้จากต้นสาเกไปทดสอบการออกฤทธิ์การยับยั้งเชื้อแบคทีเรียทั้งที่เป็นแกรมบวก ได้แก่ Bacilus subtilis, Staphylococcus aureus, Enterococcus faecalis TISTR 459, Methicillin-Resistant Staphylococcus aureus AYCC 43300, Vancomycin-Resistant Enterococcus faecalis และแกรมลบ ได้แก่ Salmonella typhi, Shigella sonei, Pseudomonas aeruginosa ผลทดสอบการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย พบว่าสารทั้งสองยับยั้งเชื้อแบคทีเรียเฉพาะสายพันธุ์ MRSA ได้ดี

           ฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็ง มีการนำสารบริสุทธิ์ที่แยกได้จากรากสาเกไปทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง โดยทดสอบทั้งหมด 4 เซลล์คือ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่ และ มะเร็งช่องปาก จากผลการทดสอบ พบว่าสาร artocarpin ซึ่งแยกได้จากต้นสาเกสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ดี ส่วนในสารประกอบอื่นๆ ไม่แสดงสารออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งใดๆ

           ฤทธิ์ลดระดับคอเลสเตอรอล มีการศึกษาวิจัยชิ้นหนึ่งในหนูทดลอง ที่มีคอเลสเตอรอลสูงจากการกินอาหารพบว่า มีน้ำหนักของตับและหัวใจที่น้อยลงอย่างมีนัยสำคัญ หลังจากให้กินสารสกัดจากสาเก (ซึ่งน้ำหนักที่มีปริมาณมากก่อนหน้านี้บ่งบอกถึงการมีสะสมไขมันมมาก) นอกจากนี้ยังพบว่าหนูมีระดับไขมันชนิดดีเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังมีการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีและเนื้อเยื่อภายในร่างกายไปในทางที่ดีกว่าเดิม อีกด้วย

           ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส  มีการศึกษาทดลองฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเมลานินโดยได้ทดลอง กับผิวหนังของหนูตะเภาสีน้ำตาลที่มีสีผิวคล้ำเนื่องจากแสง UV-B ซึ่งผลการทดลองพบว่าสารสกัดจากเนื้อไม้สาเก มีผลการยับยั้งไซม์ไทโรซิเนส ซึ่งมีความแรงเท่ากับกรดโคจิก สารสกัดจากเนื้อไม้สาเกทำให้ผิวของหนูจางลงได้โดยไม่ก่อให้เกิดอาการอักเสบที่ผิวหนังและไม่มีผลก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อเซลล์แต่อย่างใด  นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าสารสกัดจากสาเกยังมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาต่างๆ อีกคือ ฤทธิ์ต้านมาลาเรีย ต้านเชื้อรา และเป็นพิษต่อเซลล์เป็นต้น


การศึกษาทางพิษวิทยาของสาเก

ไม่มีข้อมูล


ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

ในการรับประทานสาเก ในรูปแบบทั่วไปนั้นมีความปลอดภัยเช่นเดียวกับการรับประทานอาหารชนิดอื่น แต่การใช้สาเกเพื่อสรรพคุณสมุนไพร ในการรักษาโรคต่างๆ ตามตำรับตำราต่างๆ ควรใช้ในขนาดและปริมาณที่เหมาะสม ตามที่ได้ระบุไว้อย่างเคร่งครัด เด็กและสตรีมีครรภ์และให้นมบุตรควรหลีกเลี่ยงการใช้สาเกเป็นยาโดยเฉพาะรูปแบบการรับประทานเนื่องจากปัจจุบันไม่มีข้อมูลความปลอดภัย ส่วนผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำ ควรระมัดระวังในการรับประทานสาเก เพราะสาเกอาจส่งผลทำให้ความดันลดต่ำเกินไป นอกจากนี้สาเกยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการมีเลือดออก ดังนั้นผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับเลือดออกไม่ควรรับประทานสาเกมากจนเกินไป

เอกสารอ้างอิง  สาเก
  1. นิดดา หงส์วิวัฒน์และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. สาเก ในผลไม้ 111 ชนิด. คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550 หน้า 245.
  2. สุชาดา จันทร์พรหมมา, ฉัตรชนก กะราลัย, อัครวิทย์ กาญจนโอภาษ. การศึกษาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากรากต้นสาเกและรากต้นจำปาดะ. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประจำปี 2549. 46 หน้า
  3. พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2: ไม้ผลและไม้ผลเคี้ยวมัน. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544. หน้า 105.
  4. สาเก ประโยชน์ต่อสุขภาพ. พบแพทย์ดอทคอม (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.pobpad.com
  5. Patil et al., 2002 A.D. Patil, A.J. Freyer, L. Killmer, P. Offen, P.B. Taylor, B.J. Votta, R.K. Johnson A new dimeric dihydrochalcone and a new pernylated flavone from the bud covers of Aetocarpus altilis: potent inhibitors of cathepsin K J.Nat. Prod.,65,pp.624-627.
  6. Chen et al., 1993 C.C. Chen, Y.L. Huang J.C. Ou, C.F. Lin, T.M. Pan Three new prenylflavonea from Artocarpin altilis J.Nat.Prod., 56,pp.1594-1597.
  7. Jagtap and Bapat 2010 U.B. Jagtap V.A. Bapat Artocarpus: a review of its traditional uses, phytochemistry and pharmacology J. Ethnopharmacol., 129,pp. 142-166.
  8. Boonpong et al., 2007 S. Boonpong A. Baramee P. Kittakoop P. Pakawan Antitubercular and antiplasmodial prenylated flavones from the roots of artocarpus altilis Chiang Mal J. Sci., 34, pp. 339-344.
  9.   Altman and Zito, 1976 L.J. Altman S.w. Zito Sterols and triterpenes from the fruite of artocarpus altilis Phytochem.,15 pp. 829-830.