ขนุนดิน ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

ขนุนดิน งานวิจัยและสรรพคุณ 8 ข้อ

ชื่อสมุนไพร ขนุนดิน
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น กากหมากตาฤาษี (ภาคกลาง, ภาคตะวันออก), กกหมากพาสี (ภาคเหนือ), เห็ดหิน (ภาคอีสาน), ว่านดอกดิน (สระบุรี), ฤฤษนารากไม้, บัวผุด (ภาคใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Balanophora fungosa J.R.Forst & G.Forst.
ชื่อสามัญ Nutmeg tree
วงศ์ BALANOPHORACEAE


ถิ่นกำเนิดขนุนดิน

ขนุนดิน จัดเป็นพันธุ์ไม้ในสกุล Balanophora 1 ใน 5 ชนิด ที่พบในประเทศไทย โดยมีถิ่นกำเนิดเป็นบริเวณกว้าง ได้แก่ ในภูมิภาคเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีนตอนใต้ และออสเตรเลีย สำหรับในประเทศไทยสามารถพบขนุนดิน ได้ทั่วทุกภาคของประเทศบริเวณ ป่าดิบชื้น, ป่าดิบเขา, ป่าเบญจพรรณ และบนภูเขาที่มีความสูงตั้งแต่ 500-2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล


ประโยชน์และสรรพคุณขนุนดิน

  1. แก้หูเป็นน้ำหนวก
  2. แก้แผลเน่าเรื้อรัง
  3. ใช้ทำเป็นยาแก้หอบหืด
  4. แก้ปวดท้อง
  5. แก้อาการมดลูกหดเกร็ง
  6. แก้มดลูกย่อย
  7. แก้โรคหนองใน
  8. รักษาบาดแผล จากการหกล้ม

           ส่วนในต่างประเทศที่อินโดนีเซีย มีการนำสารชนิดหนึ่งที่คล้ายไขขี้ผึ้งที่อยู่บริเวณดอกของขนุนดิน มาใช้ทำเชื้อเพลิงในคบเพลิง

รูปแบบและขนาดวิธีใช้

ใช้แก้หูน้ำหนวก แก้แผลเน่าเปื่อย แก้แผลเรื้อรัง โดยนำทุกส่วนของขนุนดิน มาตากแห้งแล้วนำมาฝนกับน้ำฝนใช้ทาแผล หรือ หยอดหู และใช้อีกส่วนหนึ่งต้มกับน้ำดื่มด้วย ใช้แก้หอบหืดโดยนำทั้งต้นมาหั่นเป็นแผ่นนำไปตากแห้งแล้วนำไปผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น

            ในเวียดนามใช้ทั้งต้นของขนุนดินมาต้มกับน้ำดื่ม แก้ปวดท้อง ในจีนใช้ทุกส่วนของขนุนดิน มาเป็นส่วนผสมของยาโป๊ว ส่วนในภูมิภาคเอเชียใต้ใช้ทุกส่วนของขนุนดินเป็นยาแก้ปวดท้อง อาการมดลูกหดเกร็ง มดลูกย่อย ซิฟีลิส โรคหนองในและบาดแผล จากการหกล้ม


ลักษณะทั่วไปของขนุนดิน

ขนุนดิน จัดเป็นพืชจำพวกพืชเปียน ที่เกาะอาศัยแย่งจากรากพืชชนิดอื่น และลำต้นมีความสูง 10-30 เซนติเมตร อยู่ร่วมกันเป็นก้อนขนาดใหญ่ใต้ดิน โดยลำต้นจะมีหลายสี เช่น สีเหลือง สีเหลืองปนส้ม สีแดง สีแดงปนน้ำตาล หรือ สีน้ำตาล

           ใบขนุนดิน เป็นใบเดี่ยว ขนาดเล็กออกเรียงเวียนสลับรอบลำต้น ประมาณ 10-20 ใบ ปลายใบแหลม มีขนาดกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3 เซนติเมตร มีสีเหลืองอมส้ม สีเหลืองอมแดง หรือ สีน้ำตาล

           ดอกขนุนดิน ออกเป็นช่อขนาดเล็ก เป็นแบบแยกเพศต่างต้น ช่อดอกจะชูก้านขึ้นพ้นผิวดินเป็นกลุ่ม โดยช่อดอกเพศผู้มีลักษณะเป็นรูปไข่แกมรูปรี มีขนาดกว้าง 2-6 เซนติเมตร และยาว 4-15 เซนติเมตร กลีบดอกมีประมาณ 4-5 กลีบ ก้านดอกยาวประมาณ 0.7-1 เซนติเมตร กาบรองดอกเป็นรูปเหลี่ยม หรือ มน ยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ดอกมีจำนวนมาก กลุ่มหนึ่งอาจมีดอกถึง 10 ดอก สีเหลืองอมเขียวอ่อน มีกลิ่นหอมเอียน มีเกสรเพศผู้ 4-5 อัน ส่วนช่อดอกเพศเมียจะมีลักษณะค่อนข้างกลม หรือ รี เป็นสีน้ำตาลอมแดง มีขนาดประมาณ 2-10 เซนติเมตร มีดอกเล็กละเอียดชิดกันแน่นจำนวนมาก

ขนุนดิน

ขนุนดิน

การขยายพันธุ์ขนุนดิน

ไม่มีข้อมูล


องค์ประกอบทางเคมี

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยถึงองค์ประกอบทางเคมีของขนุนดินระบุว่าพบสารออกฤทธิ์ที่สำคัญหลายชนิดอาทิเช่น isolariciresinol, pinoresinol, gallic acid, methyl caffeate, pinoresinol, and epipinoresinol-4-O-β-D-glucopyranoside, ellagic acid, caffeic acid, methyl coniferin, butyl coniferin, brevifolin, balanophorin A, balanophorin B, monogynol A 3-palmitat, β-amyrin, β-amyrin acetate, β-amyrin stearate, β-amyron, daucosterol และ β-sitosterol

           นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า สารสกัดเมทานอลจากทุกส่วนของขนุนดิน ยังพบสารต่างๆ ดังนี้

           Coniferin, Gallic acid, Lariciresinol, Methyl caffeate, Caffeic acid glucoside, p-coumaric acid glucoside, Isolariciresinol และ Pinoresinol เป็นต้น

โครงสร้างขนุนดิน

การศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของขนุนดิน

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของขนุนดินระบุว่า มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหลายประการดังนี้

           มีรายงานผลการศึกษาวิจัยระบุสาร isolariciresinol ที่แยกได้จากขนุนดิน มีผงยับยั้งปานกลางต่อการผลิต nitric oxide (No) = 56.02 ที่ความเข้มข้น 100 µg/mL และยังแสดงให้เห็นถึงความเป็นพิษปานกลางต่อเซลล์มะเร็ง MCF7 (มะเร็งเต้านม) และ PC3 (มะเร็งต่อมลูกหมาก อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีรายงานอีกว่าสารสำคัญที่พบในขนุนดินยังมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ ลดน้ำตาลในเลือด ต้านจุลินทรีย์ ต้านการสังเคราะห์ เมลานิน และมีความเป็นพิษต่อเซลล์ อีกด้วย


การศึกษาวิจัยทางพิษวิทยาของขนุนดิน

ไม่มีข้อมูล


ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

สำหรับการใช้ขนุนดิน เป็นสมุนไพรนั้น ควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกันกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นๆ เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาวิจัยทางพิษวิทยา และยังไม่มีการกำหนดขนาดการใช้ที่ปลอดภัยแน่นอน ดังนั้นในการใช้จึงควรใช้โดยผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงควรใช้ในขนาด และปริมาณที่เหมาะสมที่ได้กำหนดไว้ในตำรับตำรายาต่างๆ ไม่ควรใช้ในขนาดที่มากจนเกินไป หรือ ใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้


เอกสารอ้างอิง ขนุนดิน
  1. พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ “กากหมายตาฤาษี” หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. หน้า 72.
  2. ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร.เพื่อนพิมพ์.
  3. สุภาวรรณ วงค์คำจันทร์. ความหลากหลายทางชีวภาพ. วนอุทยานถ้ำเพชร-ถ้ำทอง, นครสวรรค์, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. 2556.
  4. Zhou, J., Du, S.­Y., Fang, Z.­Y., and Zeng, Z. 2019. New butenolides with anti­inflammatory activity from Balanophora fungosa. Nat. Prod. Res.
  5. Dai, Z., Wang, G. L., Wang, F., Ma, S. C., and Liu, R. C. 2005. Chemical constituents from Balanophora simaoensis (I). Chin. Tradit. Herb. Drugs, 36(6), 830–831.
  6. Bui, H. T., Nguyen, X. N., Pham, H. Y., Tran, H. Q., Nguyen, T.C., Do, T. T., et al. 2019. Three new muurolane­type sesquit ­ erpene glycosides from the whole plants of Balanophora fungosa subsp. indica. Nat. Prod. Res.,
  7. Fang, L., He, T.­T., Wang, X., and Zhou, J. 2018. Isolation and purification of galloyl, caffeoyl, and hexahydroxydiphenoyl esters of glucoses from Balanophora simaoensis by highspeed countercurrent chromatography and their antioxidant activities in vitro. Molecules, 23(8), 2027