วิตามินบี 12

วิตามิน บี 12

ชื่อสามัญ Cobalamin

ประเภทและข้อแตกต่างวิตามินบี 12

วิตามินบี 12 (Cobalamin) จัดเป็นวิตามินอีกชนิดหนึ่งที่สามารถละลายในน้ำได้ โดยเป็นสารที่มีโครงสร้างใหญ่ และซับซ้อนประกอบด้วยวงแหวนคอริน (Corrin ring) ล้อมรอบ  มีโคบอลด์อยู่กลางโมเลกุลซึ่งเป็นที่มาของชื่อ Cobalamin ในส่วนของโครงสร้าง วิตามินบี 12 (Cobalamin) มีสูตรโครงสร้างเป็น C61-64H86-92N14PCo 

            ส่วนลักษณะรูปร่างของวิตามินบี 12 (Cobalamin) เป็นผลึกสีแดงเข้ม สามารถละลายได้ในน้ำ และแอลกอฮอล์ ไม่ทนต่อกรด และต่างมีความไวต่อแสง ซึ่งทั้งวิตามินบี 12 จะแตกต่างจากวิตามินบีตัวอื่นๆ ตรงที่พืชไม่สามารถสังเคราะห์เองได้

            สำหรับประเภทของวิตามินบี 12 นั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่อยู่ในอาหารที่มนุษย์รับประทานเข้าไป (วิตามินบี 12 จะพบได้ในสัตว์เท่านั้น) ซึ่งวิตามินบี 12 ประเภทนี้เรียกว่า cyanocbalamin ส่วนอีกประเภทหนึ่งเป็นสารสังเคราะห์ที่มนุษย์พบสร้างขึ้น ซึ่งถูกสร้างออกมาให้อยู่ในรูปแบบวิตามินเสริมอาหาร ทั้งแบบวิตามินเดี่ยวๆ หรือ วิตามินรวม เรียกว่า Hydroxo cobalamin และ Nitrtocobalamin

แหล่งที่พบและแหล่งที่มาวิตามินบี 12

ในร่างกายของมนุษย์สามารถสร้างวิตามินบี 12 ได้โดยแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ ถึงแม้จะสังเคราะห์ได้ ร่างกายก็ไม่สามารถดูดซึมเอาวิตามินบี 12 มาใช้ได้ เพราะการดูดซึมวิตามินบี 12 ต้องอาศัย jntrinsin factor ที่มีหน้าที่นำพา และปกป้องไม่ให้วิตามินบี 12 ถูกทำลาย ที่หลั่งมาจากกระเพาะอาหารเท่านั้น ดังนั้นมนุษย์จึงต้องรับประทานอาหารที่เป็นแหล่งของวิตามินบี 12 หรือ รับประทานวิตามินบี 12 เสริมเพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินบี 12 ครบ

            ซึ่งแหล่งอาหารที่มีวิตามินบี 12 อยู่มากได้แก่ เนื้อสัตว์ ตับ หัวใจ ไต นม ชีส หอย ไข่แดง นอกจากนี้ยังมีรายงานที่อาหารหมักดองประเภท น้ำปลา กะปิ ปลาร้า ก็เป็นแหล่งวิตามินบี 12 ด้วย ด้วยเหตุนี้ผู้ที่มีภาวะขาดวิตามินบี 12 ที่พบได้บ่อยในปัจจุบันก็ คือ กลุ่มคนที่รับประทานมังสวิรัติที่รับประทาน แต่ผักโดยไม่รับประทานผลิตภัณฑ์จากสัตว์เลย

วิตามินบี 12

ปริมาณที่ควรได้รับของวิตามินบี 12

สำหรับปริมาณของวิตามินบี 12 (Cobalamin) ที่ควรได้รับในแต่ละวัน โดยอ้างอิง จากตารางสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวัน สำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป (IHAI RDI) ตามบัญชีหมายเลข 3 แนบท้ายประกาศกระเพาะสาธารณสุข (ฉบับที่ 182) พ.ศ.2541 ระบุว่าควรบริโภควิตามินบี 12 (Cobalamin) 2 ไมโครกรัม (μg) /วัน ในส่วนของรูปแบบวิตามินเสริมอาหารนั้น ส่วนมากจะพบวิตามินบี 12 ในรูปแบบของวิตามินรวมในขนาด 50-2000 ไมโครกรัม โดยมีขนาดที่แนะนำให้บริโภค คือ 5-100 ไมโครกรัม/วัน

ประโยชน์และโทษวิตามินบี 12

วิตามินบี 12 (Cobalamin) มีประโยชน์หลายประการ เช่น ช่วยให้เซลล์ต่างๆ ในร่างกายสามารถทำงานได้ดีขึ้น โดยเฉพาะระบบประสาท และทางเดินอาหาร ช่วยกระตุ้นให้เซลล์สร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยป้องกันการติดการไขมันในตับ ช่วยในการเมแทบอลิซึมของโพลาซิน หรือ วิตามินบี 9 ช่วยในการเมแทบอลิซึมของโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต จึงทำให้ร่างกายได้รับพลังงานเร็วขึ้นกว่าเดิม ช่วยเพิ่มสมาธิ ความจำ และการทรงตัว ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก และช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน เสริมสร้างการเจริญเติบโต และเพิ่มพลังงานให้แก่ร่างกาย ช่วยบรรเทาอาการหงุดหงิด ลดความเครียด ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ

            สำหรับโทษของวิตามินบี 12 ในกรณีที่ได้รับมากเกินไป มีรายงานว่ายังไม่พบภาวะเป็นพิษ แม้จะได้รับในขนาด 100 เท่า จากความต้องการของร่างกาย โดยเชื่อว่าอาจจะถูกขับถ่ายออกมาทางไต ผ่านปัสสาวะ รวมถึงเหงื่อ ส่วนในกรณีได้รับน้อยเกินไป หรือ การขาดวิตามินบี 12 และทำให้เกิดโรคโลหิตจาง pernicious anemia ซึ่งส่วนมากมักไม่ค่อยพบในคนปกติ เพราะความต้องการวิตามินบี 12 ของร่างกายมีปริมาณต่ำมาก (2 ไมโครกรัม) แต่หากเกิดขึ้น จะทำให้มีการทำลายของประสาทไขสันหลัง ทำให้ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ดีเอ็นเอในไขกระดูกซึ่งทำหน้าที่สร้างเม็ดเลือดแดง โรคนี้จะมีอาการที่แสดง คือ น้ำหนักลด ลิ้นอักเสบ ผิวหนังมีสีเหลืองอ่อน ท้องอึด คลื่นไส้ หายใจขัดข้อง มีความผิดปกติของระบบประสาท และเดินไม่ตรง ส่วนสาเหตุของการขาดวิตามินบี 12 (Cobalamin) นั้นอาจเกิดได้จาก การได้รับอาหารที่เป็นแหล่งของวิตามินบี 12 ไม่เพียงพอ เช่น คนที่ทานอาหารมังสวิรัติ หรือ อาหารเจ ผู้ที่ผ่าตัดกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นแหล่งผลิตสารที่ช่วยในการดูดซึมวิตามินบี 12 หรือ ผู้ที่ผ่าตัดลำไส้เล็กส่วนปลาย ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ดูดซึมวิตามินบี 12  รวมถึงผู้ป่วยที่มีอาการตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง ทำให้ขาดเอนไซม์ในการช่วยดูดซึมวิตามินบี 12

การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องวิตามินบี 12

ผลการศึกษาวิจัย ระบบ netabolism ของวิตามินบี 12 (Cobalamin) ระบุว่า วิตามินบี 12 เป็นวิตามินที่มีโมเลกุลใหญ่กว่าวิตามินชนิดอื่นดังนั้น จึงมีกลไกในการดูดซึมแบบพิเศษ และวิตามินบี 12 ยังเป็นวิตามินชนิดเดียวที่ต้องการน้ำย่อยในทางเดินอาหาร เพื่อช่วยในการดูดซึม โดยน้ำย้อยนี้เรียกว่า อินทรินสิคแฟคเตอร์ (tntrinsicfactor) ทั้งเป็นโปรตีนแบบเป็นเมือกที่กระเพาะอาหารหลังออกมา (mucoproteon) โดยเริ่มจากวิตามินบี 12 เข้ามาที่กระเพาะจากนั้นกรดเกลือจะแยกวิตามินบี 12 ออกมา แล้วไปจับกับอินทรินสิกเฟคเตอร์ (intrinsic Factor)

            จากนั้นอินทรินสิกเฟคเตอร์จะพาวิตามินบี 12 มาที่ลำไส้ตอนปลาย และปล่อยวิตามินบี 12 เข้าผนังลำไส้เล็ก เพื่อเข้าสู่กระแสโลหิต โดยเมื่อเข้าสู่กระแสโลหิต วิตามินบี 12 จะรวมตัวกับโปรตีนขนส่ง ทรานส์โคบาลามิน (Tramacobaiamin) เพื่อส่งวิตามินบี 12 ไปยังอวัยวะต่างๆ ในร่างกายที่ต้องการ

            นอกจากนี้ยังมีรายงานการศึกษาวิจัยอาการแสดงในช่องปาก ของผู้ที่มีภาวะขาดวิตามินบี 12 พบว่า ผู้ป่วยที่มีภาวะขาดวิตามินบี 12 จะมีการคั่งของ methyimalonyl CoA เกิดการสร้างกรดไขมันที่ผิดปกติ และทำให้เกิดการสร้างไมอีลินที่ผิดปกติส่งผลทำให้เกิดความผิดปกติในระบบประสาท ตามมา โดยภาวะขาดวิตามินบี 12 มีผลต่อเซลล์เยื่อบุผิว โดยเฉพาะเซลล์เยื่อบุผิวในบริเวณที่มีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็วซึ่งได้แก่บริเวณในช่องปาก และทางเดินอาหารทำให้เกิดลักษณะของเนื้อเยื่อที่ฝ่อลีบ ในช่องปากทำให้เกิดลักษณะลิ้นอักเสบ (glossitis) และอาการเจ็บแสบลิ้น โดยไม่ทราบสาเหตุ (glossodynia) ซึ่งถือเป็นสองอาการหลักที่พบในผู้ป่วยที่มีภาวะขาดวิตามินบี 12 อาการลิ้นอักเสบตรวจพบได้ตั้งแต่ลิ้นมีลักษณะเป็นปกติ จนถึงลิ้นที่เรียกว่า “Beet tingue” ซึ่งเกิดจาการฝ่อลีบของตุ่มรับรสที่มีรูปร่างเรียวปลายแหลม (fillifom papillae) ทำให้เกิดลักษณะลิ้นเรียบแดง เป็นมันวาวในรายที่เป็นมานานอาจทำให้เกิดลักษณะเป็นก้อน (lobulation) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของล้ำดังกล่าวมักเป็นสาเหตุของอาการเจ็บแสบลิ้น จนถึงทำให้เกิดอาการชาที่ล้ำ และอาจพบเกิดลักษณะคล้ายแฟลร้อนในบริเวณด้านบน และด้านข้างล้ำร่วมด้วย นอกจากอาการที่ลิ้นยังอาจพบอาการแสดงในช่องปากอย่างอื่นได้แก่ เกิดลักษณะฝ่อลีบ และมีสีแดงจัดของเยื่อบุผิวในช่องปาก (diffuse  erythematous mucositis) เกิดการอักเสบมุมปาก (angular cheilitis) เกิดแผลร้อนในช้ำบ่อย (recurrent aphthous stomatitis) การติดเชื้อราในช่องปก (oral candidiasis) และอาการแสบร้อนช่องปากโดยไม่ทราบสาเหตุ (burning mouth syndrome) อีกด้วย

โครงสร้างวิตามินบี 12

ข้อแนะนำและข้อควรปฏิบัติ

  1. เนื่องจากแหล่งของวิตามินบี 12 ในอาหารมีมากในอาหารที่ได้จากสัตว์ ดังนั้น เพื่อให้ได้วิตามินบี 12 อย่างครบถ้วนในแต่ละวัน จึงควรรับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์ และเครื่องในสัตว์ รวมถึงไข่ นม เนย ในอัตราส่วนที่เหมาะสม ส่วนในผู้ที่รับประทานมังสวิรัติ หรือ ผู้ที่รับประทานอาหารเจ ควรรับประทาน วิตามินบี 12 หรือ วิตามินบีรวมเสริมด้วย
  2. วิตามินบี 12 จะทำให้ได้ผลดีหากรับประทานร่วมกันกับ วิตามินบีอื่นๆ รวมถึงวิตามินเอ และวิตามินซี

เอกสารอ้างอิง วิตามินบี 12
  1. เรืองลักขณา จามิกรณ์. (2544). ชีวเคมีเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  2. ทพญ.พรรณนิภา ธรรมสมบัติ. อาการแสดงในช่องปากจากภาวะขาดวิตามินบี 12 : รายงานผู้ป่วย.ชัยภูมิเวชสารปีที่ 37. ฉบับที่ 2. สิงหาคม 2560. หน้า 5-14
  3. พญ.ลลิตา นรเศรษฐ์ธาดา. โรคเลือดจากจากการขาดวิตามินบี 12. ความรู้สู่ประชาชน. สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย
  4. Miller, Ariel; Korem, Maya; Almog, Ronit; Galboiz, Yanina (June 15, 2005). “Vitamin B12, demyelination, remyelination and repair in multiple sclerosis”. Journal of the Neurological Sciences. 233 (1–2)
  5. Tyidesley  WR. Oral signe.and symptoms in anemia. Br Dent J.1985:139:232-6.
  6. Andres E.Loukli NH.Noel E.Kaltenbach G.Abdeigheni MB.Perrin AE et al.Vitmin B12 (Cobalamin) deficlency in elderly patients. CNAJ. 2004:171930:251-9.
  7. Greenberg MS. Clinical and histologic changes of the oral mucosa in pernicious anemia Oral Surg Oral Med Oral Pnthol,1981:52(1):38-42.
  8. Yamada, Kazuhiro (2013). “Chapter 9. Cobalt: Its Role in Health and Disease”. In Sigel, Astrid; Sigel, Helmut; Sigel, Roland K. O. Interrelations between Essential Metal Ions and Human Diseases. Metal Ions in Life Sciences. 13. Springer. pp. 295–320.
  9. Powell FC. Glossodynia and other disorders of the tongue Dermatol Clin 1987:5(4):687-93.
  10. Pontes HA Neto NC Parreira KB.Fonseca FP Vallinoto GM Pontes FS et al Oral manifestions of vitamin B12 deficiency:case report J Can Dent Assoc 2009;75(7)533-7.