ประยงค์ ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆและข้อมูลงานวิจัย
ประยงค์ งานวิจัยและสรรพคุณ 25 ข้อ
ชื่อสมุนไพร ประยงค์
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น ประยงค์บ้าน, ประยงค์ใบใหญ่ (ภาคกลาง), ขะยง, ยม, ขะยม (ภาคเหนือ), หอมไกล (ภาคใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Aglaia odorata Lour.
ชื่อสามัญ Chinese rice flower, Chinese perfume plant, Mock lemon
วงศ์ MELIACEAE
ถิ่นกำเนิดประยงค์
ประยงค์เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิเช่น ในประเทศไทย พม่า ลาว เวียดนาม อินโดนีเซีย รวมถึงในประเทศจีนตอนใต้ อินเดีย และศรีลังกา เป็นต้น โดยมักพบในบริเวณป่าดิบชื้น ป่าเบญจพรรณ หรือ ตามที่รกร้างว่างเปล่าริมแม่น้ำ ที่มีความสูง 10-700 เมตร จากระดับน้ำทะเลรวมถึงอาจพบตามชายทะเลที่มีชายฝั่งเป็นเลนได้อีกด้วย สำหรับในประเทศไทยพบได้ทั่วไปทุกภาคของประเทศ และยังมีหลักฐานของต้นประยงค์ในสมัยอยุธยา โดยปรากฏในวรรณคดีไทยสมัยอยุธยา เช่น ลิลิตรพระลอ ซึ่งเชื่อว่าแต่งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ พ.ศ.2416 ยังได้อธิบายคำว่าประยงค์ ว่า ประยงค์เป็นชื่อต้นไม้อย่างย่อมอย่างหนึ่ง ใบคล้ายใบแก้ว มีดอก เป็นชาติไม้ป่า อีกด้วย
ประโยชน์และสรรพคุณประยงค์
- ใช้นวดบรรเทาอาการปวดเมื่อย (น้ำมัน)
- ใช้ในการทำให้อาเจียน
- แก้ไข้
- ใช่ถอนพิษเมาเบื่อ
- ช่วยให้เจริญอาหาร
- แก้อาเจียนอาหาร
- แก้โรคท้องร่วง
- รักษากามโรค
- ใช้บำรุงหัวใจ
- แก้ประจำเดือนมากกว่าปกติ
- แก้ฟกช้ำ
- รักษาฝีหนอง
- ใช้ฟอกปอด
- ช่วยเร่งการคลอด
- แก้เวียนศีรษะ
- ช่วยบรรเทาอาการไอ
- ช่วยลดเสมหะ
- ช่วยลดอาการอักเสบของลำคอ
- แก้เมาค้าง
- แก้ร้อนดับกระหาย
- แก้อาเจียนเป็นเลือด
- แก้แน่นหน้าอก
- ใช่เป็นยาชูกำลัง (ราก)
- ลดไข้ (ราก)
- อาการคัน (ราก)
เนื่องจากประยงค์เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยจึงถูกนำมาใช้ประโยชน์ต่างๆ ตั้งแต่ในอดีตแล้ว โดยถูกนำมาใช้ประโยชน์ ดอกประยงค์ มีกลิ่นหอมมาก จึงมีการนำมาอบเสื้อผ้าให้มีกลิ่นหอม ใช้ตากแห้งชงเป็นชา หรือใ ช้แต่งกลิ่นใบชา เช่น เดียวกับดอกมะลิเพื่อเพิ่มกลิ่นหอมของชา และยังมีการนำมาผสมในการหุงข้าวให้ข้าวมีกลิ่นหอม อีกด้วย
นอกจากนี้ยังนิยมนำประยงค์มาปลูกเป็นไม้ประดับตามอาคารตามบ้าน สวนสาธารณะต่างๆ หรือ ใช้ปลูกประดับรั้ว เนื่องจากเป็นไม้ที่มีทรงพุ่มสวยงาม และดอกมีกลิ่นหอมแรง กลิ่นลอยไปไกล ออกดอกให้ชมได้บ่อย และยังมีความแข็งแรงทนทาน ปลูกได้ง่าย และมีอายุยืนยาว อีกด้วย
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ประยงค์
ประยงค์ใช้ช่วยเร่งการคลอด ฟอกปอด แก้อาการเมาค้าง แก้ไอ ทำให้หูตาสว่าง แก้ร้อนดับกระหาย อึดอัดแน่นหน้าอก วิงเวียนศีรษะ ทำให้จิตใจปลอดโปร่ง โดยใช้ดอกมาตากแห้งใช้ 3-10 กรัม ต้มกับน้ำดื่ม หรือ ชงเป็นชาดื่มก็ได้ ใช้บำรุงหัวใจ แก้กามโรค ช่วยทำให้ประจำเดือนมาปกติ แก้อาการเมาค้าง ถอนพิษเบื่อเมา แก้อาการปวดศีรษะ ช่วยเจริญอาหาร โดยใช้ใบมาตากแห้ง แล้วใช้ 3-10 กรัม มาต้มกับน้ำดื่ม หรือ ชงเป็นชาดื่มก็ได้ ใช้แก้ปอดอักเสบ บรรเทาอาการไอ ลดเสมหะ ลดอาการอักเสบของลำคอ แก้โรคท้องร่วง โดยใช้เปลือก และแก่นลำต้นมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้เป็นยาทำให้อาเจียนเมื่อมีอาการเมา หรือ เมาค้าง ช่วยลดไข้ ตัวร้อน ช่วยในการเจริญอาหาร และแก้อาเจียนเป็นเลือดโดยใช้รากมาต้มกับน้ำดื่ม
ลักษณะทั่วไปของประยงค์
ประยงค์จัดเป็นไม้พุ่มกึ่งยืนต้นขนาดย่อมถึงขนาดใหญ่สูงประมาณ 4-7 เมตร ทรงพุ่มค่อนข้างกลมแตกกิ่งมากโดยกิ่งมีลักษณะเป็นกิ่งเรียบ หรือ แตกเป็นร่องยาวมีเกล็ดสีน้ำตาล หรือ สีเหลืองแก่ปกคลุม พบหนาแน่นบริเวณปลายยอดตาข้าง และกิ่งอ่อน
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกออกเรียงสลับแตกออกตามปลายกิ่ง มีใบย่อย 3-5 ใบ ใบมีลักษณะเป็นรูปรี หรือ รูปไข่กลับ กว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2-5 เซนติเมตร ปลายใบมน โคนใบแหลม ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวใบเป็นสีเขียวเข้ม หลังใบและท้องใบเรียบ และมีก้านใบแผ่ออกเป็นปีก
ดอก ออกเป็นช่อสั้นๆ ยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ในแต่ละช่อจะประกอบด้วยดอกย่อยเล็กๆ 10-20 ดอก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ รูปร่างกลมเล็กคล้ายไข่ปลาสีเหลือง มีกลีบดอกสีเหลือง 5 กลีบ และกลีบรองกลีบสีเขียว 5 กลีบ ดอกย่อยมีกลิ่นหอมแรง
ผล มีลักษณะรูปไข่หรือกลมรี ขนาดผลกว้าง 0.5-0.8 เซนติเมตร ยาว 1-1.5 เซนติเมตร เปลือกผลเรียบ ผลเป็นมัน ผลดิบมีสีเหลือง และค่อยเปลี่ยนเป็นสีส้มหรือส้มแดง เมื่อสุกจัดจะเป็นสีแดงเข้ม
เมล็ด มีลักษณะรูปไข่ เปลือกเมล็ดมีลักษณะสีน้ำตาล ทั้งนี้ 1 ผล จะมีเมล็ด 2 เมล็ด
การขยายพันธุ์ประยงค์
ประยงค์สามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยการเพาะเมล็ด การตอนกิ่งและการปักชำกิ่ง แต่วิธีที่นิยมคือการตอนและการปักชำกิ่งเพราะช่วยให้ได้ต้นพันธุ์ไม่สูง และต้นสามารถออกดอกได้หลังปลูก โดยการตอนกิ่งควรเลือก กิ่งที่จะนำมาตอนเป็นกิ่งสีน้ำตาล และเป็นกิ่งมีความอวบ ไม่ควรเลือกกิ่งแก่ที่มีความหยาบ แห้ง ส่วนวัสดุควรใช้ขุยมะพร้าวที่ได้จากการขยี้ แล้วจึงนำมาหมักด้วยน้ำนาน 1-2 วัน นำใส่ในถุงพลาสติก และรัดด้วยเชือกฟางก่อน ผ้าหุ้มบริเวณกิ่งตอน สำหรับการตอนประยงค์จะใช้เวลาประมาณ 1.5-2 เดือน จึงจะเกิดราก และควรให้รากมีสีน้ำตาลก่อนค่อยตัดกิ่งลงปลูกลงดิน
สำหรับการปักชำ กิ่งปักชำควรเลือกสีน้ำตาลที่มีความอวบ และตัดเป็นท่อนยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร ส่วนวัสดุที่ใช้ปักชำ ควรเป็นดินร่วนผสมกับวัสดุอินทรีย์ เช่น แกลบดำ โดยมีอัตราส่วน (ดิน: แกลบดำ) ที่ 1:2 โดยการปักชำจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน กิ่งประยงค์ก็จะแทงยอดใหม่ และควรให้มีใบแล้ว 3-5 ใบ แล้วค่อยนำลงไปปลูก ทั้งนี้ทั้งการตอนกิ่ง และการปักชำประยงค์ ควรทำในฤดูฝน เนื่องจาก อากาศจะไม่ร้อน และมีน้ำฝนคอยให้น้ำตามธรรมชาติและหากต้องการให้ลำต้นเตี้ย และทรงพุ่มใหญ่หนา ควรทำการตัดแต่งกิ่งในทุกปี เพื่อให้ลำต้นแตกกิ่งมาก
องค์ประกอบทางเคมี
ประยงค์จัดเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีจากส่วนต่างๆ อย่างกว้างขวาง โดยพบข้อมูลรายงานการวิจัยสารออกฤทธิ์สำคัญจากเกือบทุกส่วนของพืช ได้แก่ ใบ ดอก กิ่ง และราก ดังนี้ ในส่วนใบพบสาระสำคัญหลายกลุ่มด้วยกัน อาทิเช่น
- สารกลุ่ม Flavagline เช่น desmethylrocaglamide, methylrocaglate, rocaglamide, rocaglaol, pyrimidone, aglaiastatin และ aglaxiflorin D
- สารกลุ่ม bisamide เช่น odorine และ odorinol สารกลุ่ม odorineและodorinol
- สารกลุ่ม dolabellane diterpenoid เช่น (1R,3E,7E,10S,11S,12R)-dolabella-3, 7-dien-10,18-diol, (1R,3S,7E,11S,12R)-d o l a b e l l a - 4, 7 - d i e n - 3 , 1 8 - d i o l ,(1R,7E,11S,12R)-18-hydroxydolabella-4, 7-dien-3-one
- สารกลุ่ม Triterpenoid เช่น cyclodammarane, 21,25-cyclodammar-20-ene-3β,24α-diol, dammar-20, 25-diene-3β,24-diol, dammar-20-ene-3β, 24, 25-triol และ 24(R),25-dihtdroxydammar-20-en-3-one
- สารกลุ่ม flavonoid เช่น narindenin trimetyl ether, 7, 4’-O-dimetylnaringenin,4’, 5, 7-trimethoxydihydroflavonol, 4’, 5, 7-trimethoxyflavan-3,4-diol, 4’, 5, 7-tri-O-metylhaempferol, flavokawain-A
- สารกลุ่ม Lignan เช่น eudesmin และ syringaresinol
สำหรับในดอกประยงค์จะพบสารสำคัญส่วนใหญ่เป็นสารกลุ่ม Flavaglin เช่น N-butanoyldidesmetyl-rocaglamide, desmetylrocaglamide, didesmetylrocaglamide, C-3’-hydroxy demetylrocaglate สาระสำคัญที่พบในน้ำมันหอมระเหยจากดอกประยงค์ส่วนใหญ่เป็นสารในกลุ่ม Sesquiterpene เช่น δ-cadinene, germacrene D, α-humulen, ϒ-elemene, α-copaene, (E)-β-fernesene, β-elemene, caryophyllene, β-humulene, β-humulene-7-ol, α-cubebene, bicycloelemene, calamenene, calacorene, epi-cubebol, cubebol, caryophyllene epoxide, humuladienone, ledol, epi-cubenol, humulene epoxide l, humulene epoxide ll, T-cadinol, humulol, δ-cadinol, cadienenol, caryophyllenol และ humulenol
อีกทั้งสาระสำคัญในกิ่งประยงค์ส่วนใหญ่เป็นสารในกลุ่ม Flavagline เช่น C-1-O-acetyl-3’-hydroxyrocaglamide, C-3’-hydroxydemethylrocaglamide, C-3’-hydroxydidesmethylrocaglamide, C-3’-hydroxyrocaglamide, C-3’-hydroxymethyl rocaglate, C-3’-methoxyrocaglamide, C-1-oxime-C-3’-methoxymethylrocaglate, rocaglamide, desmethyl rocaglamide, 8-methoxy marigarin และ marigarin รวมทั้งมีรายงานพบสารกลุ่ม Coumarin คือ 7-hydroxy-6-methoxy-coumarin อีกด้วย นอกจากนี้ในส่วนเปลือกรากของประยงค์ยังพบว่ามีสาระสำคัญในกลุ่มของ Flavagline เช่น desmethyl rocaglamide, rocaglamide และ rocaglaol สารกลุ่ม flavonoid เช่น 5-hydroxy-4’,7-dimethoxydihydroflavone และ 2’-hydroxy-4,4’,6’-trimethoxychalcone สารกลุ่ม steroid เช่น β-sitosterol, และ 3-didroxycholest-5-en-24-one เป็นต้น
การศึกษาทางเภสัชวิทยาของประยงค์
มีรายงานผลการศึกษาวิจัยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของประยงค์ ดังนี้
ฤทธิ์ต้านไวรัส (Antiviral activity) มีการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของประยงค์พบว่าประยงค์มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อไวรัสได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไวรัสโรคเริมไทป์ (Herpes simplex virus type HSV-1) ซึ่งเป็นดีเอ็นเอไวรัสในวงศ์ Herpesviridae โดยพบว่าสารสกัดด้วยเอทานอลของประยงค์แสดงฤทธิ์ในการยับยั้งการสะสมของแผ่นคราบเชื้อไวรัส HSV-1 ได้มากกว่า 50% ที่ความเข้มข้น 100 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และสารสกัดดังกล่าวยังมีประสิทธิภาพในการกำจัดรอยโรคจากการติดเชื้อไวรัส HSV-1 บริเวณผิวหนังของหนูทดลอง และลดอัตราการตายของหนูทดลองที่ถูกเหนี่ยวนำให้มีการติดเชื้อไวรัส HSV-1 บริเวณผิวหนังได้อย่างมีนัยสำคัญ
ฤทธิ์ต้านมะเร็ง (Anticancer activity) มีการศึกษาวิจัยทางด้านเภสัชวิทยาเกี่ยวกับฤทธิ์ต้านมะเร็งของประยงค์พบว่าสารสกัดจากประยงค์แสดงความเป็นพิษกับเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว โดยฤทธิ์ในการยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนของสารกลุ่ม Flavagline 3 ชนิด ได้แก่ สาร Rocaglaol, Aglaiaastatin และ Pyrimidone ซึ่งสกัดแยกจากสกัดหยาบด้วยคลอโรฟอร์จากส่วนใบของประยงค์พบว่าสารเหล่านี้สามารถยับยั้งการกลายพันธุ์ของเซลล์ K-ras ซึ่งเป็นเซลล์ปกติที่เปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็งได้ หากมีการกลายพันธุ์ (proto-oncogene) และเหนี่ยวนำให้เกิดการเจริญแบบปกติของเซลล์ K-ras และยังมีรายงานการศึกษากลไกลเกี่ยวกับความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ของสาร Aglaiastatin พบว่า สารดังกล่าวมีประสิทธิภาพสูงในการเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยเกิดผ่านกลไกการยับยั้งวงจรการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งลำไส้ระยะก้าวหน้า ในขณะที่มีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซีส (Mitosis) ระยะโพรเฟส (Prophase) และยังเหนี่ยวนำให้เกิดการตายของเซลล์ (Apoptosis) มะเร็งลำไส้ใหญ่อีกด้วย
นอกจากนี้ ยังมีรายงานฤทธิ์ต้านมะเร็งของสารกลุ่มอื่นๆ ที่แยกจากประยงค์ เช่น สารกลุ่ม Bisamide ได้แก่ Odorin และ Odorinaol โดยพบว่าสารประกอบเหล่านี้ แสดงฤทธิ์ในการยับยั้งการเกิดมะเร็งผิวหนังของหนูทดลองที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดมะเร็งระยะที่ 1 และระยะที่ 2 โดยเคมีบางชนิดได้แก่ 7,12-dimethylbenz anthracene (DMBA), Peroxynitrite และ 12-O-tetradecanoylphorbol-13-acetate (TPA) โดยกระบวนการเกิดมะเร็งมี 3 ขั้นตอน คือ ระยะเริ่มกำหนด (initiation) ระยะส่งเสริม (Promotion) และระยะก้าวหน้า (Progression) จากรายงานการศึกษาสรุปได้ว่า Odorine และ Odorinol มีฤทธิ์ในการยับยั้งมะเร็งผิวหนัง ทั้งในระยะเริ่มกำหนดและระยะส่งเสริม
การศึกษาทางพิษวิทยาของประยงค์
ไม่มีข้อมูล
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
สตรีมีครรภ์ไม่ควรใช้ประยงค์เป็นสมุนไพร ในตำรายาไทยได้ระบุถึงข้อห้ามใช้ประยงค์เป็นสมุนไพร ในสตรีมีครรภ์ เนื่องจากอาจทำให้เกิดภาวะแท้งบุตรได้ ส่วนผู้มีร่างกายแข็งแรงก็ควรใช้ในขนาด และปริมาณที่เหมาะสม โดยไม่ควรใช้มากเกินไป หรือ ใช้ต่อเนื่องกันนานจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ สำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังรวมถึงผู้ที่ต้องรับประทานยาต่อเนื่องเป็นประจำก่อนจะใช้ประยงค์เป็นยาสมุนไพร ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทุกครั้ง
เอกสารอ้างอิง ประยงค์
⦁ เต็ม สมิตินันทน์. (2544). ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2544. กรุงเทพฯ: สวนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้.
⦁ พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ. “ประยงค์” หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. หน้า 132.
⦁ นันทวัน บุญยะประภัศร; และ อรนุช โชคชัยเจริญพร. (2539). สมุนไพรไม้พื้นบ้าน 2. กรุงเทพฯ: ประชาชน.
⦁ พร้อมจิต ศรลัมภ์; รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล; วงศ์สถิต ฉั่วกุล; อาทร ริ้วไพบูลย์; สมภพ ประธานธุรารักษ์; จุฑามณี สุทธิสีสังข์; และคณะ. (2539). หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง.
⦁ ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์. (ประยงค์ Prayong). หนังสือสมุนไพรไทยเล่ม 1. หน้า 169.
⦁ เดชา ศิริภัทร. (2545). ประยงค์ช่อน้อยลอยกลิ่นไกล. หมอชาวบ้าน. 23(273): 48-49.
⦁ นันทิยา จ้อยชะรัด, นันท์นภัส เพชรวรพันธ์, บุญหลง ตุ้ยสุข, รัตนาวดี ศรีนวล. พืชสมุนไพรไทย: ประยงค์ (Aglaia adorata Lour.) วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) ปีที่ 5. ฉบับที่ 9 มกราคม-มิถุนายน 2556. หน้า 93-110.
⦁ วุฒิ วุฒิธรรมเวช. (2540). รวมหลักเภสัชกรรมไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
⦁ ประยงค์ สรรพคุณ และการปลูกประยงค์. พืชเกษตรดอทคอม เว็บเพื่อพืชเกษตรไทย (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก ⦁ http://www.puechkaset.com.
⦁ Nugroho BW; Edrada RA; Wray V; Witte L; Bringmann G; Gehling M; et al. (1999). An insecticidalrocaglamide derivatives and related compounds from Aglaia odorata (Meliaceae).Phytochemistry. 51: 367-376.
⦁ Inada A; Nishino H; Kuchide M; Takayasu J; Mukainaka T; Nobukuni Y; et al. (2001).Cancer chemopreventive activity of odorine and odorinol from Aglaia odorata. Biol PharmBull. 24(11): 1282-1285.
⦁ Hausott B; Greger H; and Marian B. (2004). Flavaglines: A group of efficient growth inhibitorsblock cell cycle progression and induce apoptosis in colorectal cancer cells. Int J Cancer.109: 933-940.
⦁ Prats SM; and Jimenez A. (2005). Essential oil: analysis by GC. 2nd ed. CRC Press.
⦁ Christophe Wiart. (2006). Medicinal Plants of Asia and the Pacific. USA: CRC Press.
⦁ Lipipun V; Kurokawa M; Suttisri R; Taweechotipatr P; Pramyothin P; Hattori M; et al. (2005).Efficacy of Thai medicinal plant extracts against herpes simplex virus type 1 infectionin vitro and in vivo. Antivir Res. 67: 107-119.
⦁ Cai XH; Wang YY; Zhao PJ; Li Y; and Luo XD. (2010). Dolabellane diterpenoids fromAglaia odorata. Phytochemistry. 71: 1020-1024.
⦁ Hayashi N; Lee KH; Hall IH; Mcphail AT; and Huang HC. (1982). Structure and stereochemistryof (-)-odorinol, an antileukemic diamide from Aglaia odorata. Phytochemistry. 21: 2371-2373.
⦁ Ishibashi F; Satasook C; Isman MB; and Towers GHN. (1993). Insecticidal 1H-cyclopentatetrahydro[b]benzofurans from Aglaia odorata. Phytochemistry. 32: 307-310.
⦁ Cai XH; Luo XD; Zhou J; and Hao XJ. (2005). Compound representatives of a new type oftriterpenoid from Aglaia odorata. Organic Lett. 7(14): 2877-2879.