พลูคาว ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

พลูคาว งานวิจัยและสรรพคุณ 45 ข้อ

สมุนไพร พลูคาว
ชื่ออื่นๆ คาวตอง (ภาคเหนือ), ผักก้านตอง (แม่ฮ่องสอน), พลูแก (ภาคกลาง), หื่อชอเช่า (จีนแต้จิ๋ว), ยวีเซียนฉ่าว (จีนกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Houttuynia cordata Thunb.  
ชื่อพ้อง Houttuynia emeiensis Z.Y.Zhu & S.L.Zhang, H. foetida Loudon,
วงศ์ Saururaceae

ถิ่นกำเนิดพลูคาว

พลูคาว เป็นพืชที่มีอายุยืนและเป็นพืชสมุนไพรประจำถิ่นที่พบมากในแถบภาคเหนือของไทย และยังพบในบริเวณเทือกเขาหิมาลัย อินเดีย (india) เรื่อยมาจนถึงจีน (china) ลาว (laos) เกาหลี (korae) เวียดนาม (vietnam) และญี่ปุ่น (japan) ซึ่งถือเป็นพืชตระกูลเดียวกับพลู ชอบขึ้นในพื้นที่ชื้นแฉะ มีร่มเงาเล็กน้อย และสภาพอากาศเย็น โดจะมีลักษณะแตกต่างจากพลู คือ ที่ใต้ใบของพลูคาวจะมีสีแดงอ่อนไปจนถึงสีแดงเข้ม โดยชาวบ้านในเขตภาคเหนือจะเรียกว่า “ผักคาวตอง” ส่วนภาคอื่นๆ ได้มีการนำต้นพลูคาวไปปลูก และพบว่าสามารถปลูกพลูคาว ได้แต่ไม่เจริญงอกงามได้เท่ากับในภาคเหนือ

พูลคาว 

ประโยชน์และสรรพคุณพลูคาว 

  1. แก้กามโรค
  2. แก้เข้าข้อ
  3. แก้น้ำเหลืองเสีย
  4. ใช้เป็นยาดับพิษร้อน ถอนพิษไข้
  5. แก้พิษ
  6. เป็นยาขับปัสสาวะ
  7. แก้บวมน้ำ
  8. รักษาปอดอักเสบเป็นหนอง
  9. แก้หลอดลมอักเสบ
  10. รักษาติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
  11. รักษาไตอักเสบ
  12. แก้บวมน้ำ
  13. รักษาลำไส้อักเสบ
  14. รักษาเต้านมอักเสบ
  15. รักษาหูชั้นกลางอักเสบ
  16. แก้บิด
  17. แก้ริดสีดวงทวาร
  18. แก้พิษงู
  19. แก้แมลงกัดต่อย
  20. แก้โรคผิวหนังกลากเกลื้อน
  21. แก้โรคผิวหนังผื่นคัน
  22. แก้ฝีฝักบัว ฝีแผลเปื่อย
  23. ช่วยต่อต้านมะเร็ง ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง 
  24. ช่วยบำบัดฟื้นฟูโรคความดันโลหิตสูง 
  25. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
  26. ช่วยในการต้านทานโรค
  27. ช่วยยืดอายุผู้ป่วยให้อยู่สู้โรคได้นานมากขึ้น 
  28. ช่วยยับยั้งเบาหวาน
  29. รักษาความสมดุลของร่างกาย
  30. ช่วยต้านเชื้อโรคหวัด ไข้หวัดใหญ่
  31. ช่วยรักษาอาการติดเชื้อเฉียบพลัน
  32. ช่วยรักษาภาวะภูมิแพ้ หอบหืด
  33. เป็นยาระบาย
  34. แก้อาหารไม่ย่อย 
  35. ช่วยขับพยาธิ 
  36. รักษาโรคตับอักเสบชนิดดีซ่าน  
  37. รักษาแผลอักเสบบริเวณคอมดลูก
  38. รักษาการอักเสบบริเวณกระดูกเชิงกราน   
  39. ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของไวรัสชนิดต่าง ๆ เช่น ไข้ทรพิษ หัด งูสวัด เริม เอดส์ (HIV)
  40. แก้วัณโรค
  41. วัณโรคปอดอาเจียนเป็นเลือดหรือมีหนองปน
  42. แก้ฝีอักเสบ
  43. แก้หลอดลมอักเสบ
  44. แก้หนองใน
  45. แก้โพรงจมูกอักเสบเรื้อรัง


รูปแบบและขนาดวิธีใช้
 
 

ตำราสมุนไพรไทย แนะนำให้ใช้พลูคาว 15-30 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม เป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการบวมน้ำ แก้โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ฝีอักเสบ ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ บิด และวัณโรค 

  • วัณโรคปอดอาเจียนเป็นเลือดหรือมีหนองปน ใช้ต้นแห้ง รากเทียนฮวยฮุ่ง (Trichosanthes kirilowii Maxim) เจ็กแปะเฮี๊ยะ (Biota orientalis Endl.) แห้ง อย่างละ 15 กรัม ใช้ต้มน้ำดื่ม หรือ ใช้ต้นสด 30 กรัม คั้นเอาน้ำใช้ดื่มกับผักกาดดอง วันละ 2 ครั้ง
  • ปอดอักเสบมีหนองในช่องปอด ใช้ต้นแห้ง 30 กรัม กิ๊กแก้ (Platycodon grandiflorum  A.DC.) รากแห้ง 15 กรัม ต้มน้ำ หรือ บดเป็นผงผสมน้ำดื่ม
  • มะเร็งที่ปอด ใช้ต้นแห้ง 18 กรัม ตังขุ่ยจี้ (Malva verticillata L.) แห้ง 30 กรัม เหง้ายาหัว (Smilax glabra Roxb.) แห้ง 30 กรัม กระเม็งตัวเมีย (Eclipta prostrata  L.) และปวงเทียงขิ่มเล้า (Cyathea spinulosa Wall.) ทั้งต้นแห้งอย่างละ 18 กรัม และชะเอมเทศ 5 กรัม ต้มน้ำดื่ม
  • เป็นหวัดหลอดลมอักเสบ ใช้ต้นแห้ง เปลือกต้นเถ่าป๊ก (Magnolia officinalis Rehd. et Wils.) แห้ง ผสมเหลี่ยงเคี้ยว (Forsythia suspensa Vahl.) แห้ง อย่างละ 10 กรัม บดเป็นผง และยอดต้นหม่อน (Morus alba  L.) สด 30 กรัม ต้มเอาน้ำ ชงยาผงนี้ ดื่ม
  • รับผลิตอาหารเสริมพลูคาวเป็นโรคปอด ไอ มีเหงื่อออกมากใช้ต้นสด 60 กรัม ใส่ในกระเพาะอาหารหมู ตุ๋นรับประทาน วันละชุดติดต่อกัน 3 วัน
  • ริดสีดวงทวาร ใช้ต้นสด ต้มน้ำดื่ม จิบตามด้วยเหล้าเล็กน้อย แล้วเอากากพอก ให้รับประทานยานี้ติดต่อกัน 3 วัน หัวริดสีดวงจะค่อยๆ ยุบไป
  • บิด ใช้ต้นสด 20 กรัม เถ้าจากผลซัวจา (Crataegus pinnatifida Bge. var. Major N.E.Br) 6 กรัม ต้มเอาน้ำผสมน้ำผึ้งดื่ม
  • หนองใน ตกขาวมากผิดปกติ ใช้ต้นสด 25-30 กรัม ต้มน้ำดื่ม
  • แก้โพรงจมูกอักเสบเรื้อรัง ใช้ต้นสด คั้นเอาน้ำหยอดจมูกวันละหลายๆ ครั้ง และใช้ต้นสด 21 กรัมต้มน้ำดื่มด้วย
  • ฝีบวมอักเสบ ใช้ต้นแห้ง บดเป็นผง ผสมน้ำผึ้งพอกฝีที่ยังไม่มีหนอง จะยุบหายไป ฝีที่มี่หนองก็จะเร่งให้หนองออกเร็วขึ้น
  • ฝี แผลเปื่อย ใช้ต้นพลูคาว สด ตำให้ละเอียดพอกบริเวณที่เป็น (เปลี่ยนยาเช้า-เย็น) เวลาพอกจะรู้สึกปวด 1-2 ชม. แต่หลัง
    จากนั้น 1-2 วัน ก็จะหาย
  • อาการคันของอวัยวะเพศภายนอกของสตรี ฝีบริเวณทวารหนัก ใช้ทั้งต้น จำนวนพอประมาณ ต้มน้ำชะล้าง
     

ลักษณะทั่วไปของพลูคาว

พลูคาว เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กและมีอายุยืน ทอดเลื้อยไปตามพื้นดินชอบที่ชื้นแฉะ มีรากแตกออกตามข้อ สูง 20-40 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรง กลม สีเขียว เรียบมัน อาจพบสีม่วงแดงอ่อน ทั้งต้นถ้านำมาขยี้ดมจะได้กลิ่นคล้ายคาวปลา

           ใบพลูคาว เป็นใบเดี่ยว มีกลิ่นคาว เรียงสลับ แผ่นใบแผ่บาง เกลี้ยง โคนใบเว้าเข้าหากัน คล้ายรูปหัวใจ หรือ รูปไต ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ ใบกว้าง 3.5-9 เซนติเมตร ยาว 4-9 เซนติเมตร เส้นใบออกจากฐานใบ 5-7 เส้น มีขน ผิวใบด้านบนเรียบสีเขียวเข้มกว่าด้านล่าง ด้านล่างมีขนตามเส้นใบ โคนก้านใบแผ่เป็นปีกแคบ ก้านใบยาว 1.5-2 เซนติเมตร หูใบเป็นแผ่นยาวติดกับก้านใบ เมื่อขยี้ใบดมจะได้กลิ่นคล้ายคาวปลา รสฝาดเล็กน้อย

           ดอกพลูคาวสีเหลือง ออกเป็นช่อ ดอกมีขนาดเล็กมาก และมีจำนวนมากอัดกันแน่นบนแกนช่อ รูปทรงกระบอก ออกบริเวณปลายยอดหรือซอกใบใกล้ยอด ไม่มีกลีบดอกและก้านดอก มีใบประดับ 4 ใบ สีขาวนวล รูปขอบขนานแกมรูปไข่ ขนาดไม่เท่ากันรองรับโคนช่อ ช่อดอกยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร เมื่อติดผลจะเจริญยาวขึ้นได้ถึง 2.5-5 เซนติเมตร กลีบรองดอกและกลีบดอกลดรูป เกสรเพศผู้ 3 อัน เกสรตัวเมียมีก้านชูยอดเกสร 3 อัน

           ผลพลูคาว มีขนาดเล็กมาก แห้งแตกได้ ที่บริเวณยอด มีเมล็ดขนาดเล็ก ค่อนข้างกลม มักขึ้นตามที่ชื้นแฉะ ริมน้ำ พบได้ตั้งแต่พื้นที่ราบต่ำไปจนถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 2,500 เมตร ออกดอก และติดผลช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม

พลูคาว 

การขยายพันธุ์พลูคาว

กระบวนการเริ่มตั้งแต่การคัดเลือกสายพันธุ์ เพื่อให้ได้สารสกัดพลูคาวที่มีสารเคมีที่ดี และปริมาณมากสำหรับพัฒนาเป็นเภสัชภัณฑ์ที่มีคุณค่า การดูแลรักษาควรปลูกผักพลูคาวแบบเกษตรอินทรีย์ ไม่นิยมใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิตเชิงการค้า เพราะจะส่งผลต่อปริมาณสารเคมี และสารตกค้างในผลผลิต และเนื่องจากพลูคาว ไม่มีศัตรูพืชมากนักจึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตพลูคาว คือ ความเข้มแสง ควรปลูกพลูคาวในสภาพที่มีความเข้มแสง 100% เพราะใบและลำต้น จะมีน้ำหนักสดและแห้งสูงสุด ในกรณีที่ปลูกเลี้ยงกลางแจ้ง และให้น้ำเพียงพอ (ก็จะยังคงให้ผลผลิตใบ ลำต้นทั้งน้ำหนักสด และน้ำหนักแห้งสูง) ความชื้น คาวตองเป็นพืชที่ต้องการความชื้นสูง ในสภาพที่พืชได้รับแสงมากจำเป็นต้องมีการให้น้ำมากขึ้น เพื่อให้ปริมาณสารเคมีโดยเฉพาะฟลาโวนอยด์สูงขึ้น แต่ปริมาณคลอโรฟิลล์จะลดลงทำให้ใบมีสีเขียวจางลง ความสูงของพื้นที่ การปลูกเลี้ยงพลูคาวควรปลูกบนพื้นที่ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,200 เมตร เพราะจะทำให้ส่วนเหนือดินของพลูคาว มีขนาดใหญ่ขึ้น

           พลูคาว เป็นพืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ พบตามริมห้วย ลำธาร และที่ชื้นแฉะริมน้ำ หรือ ตามใต้ต้นไม้ใหญ่ที่มีความชื้นสูงเป็นไม้ที่ ชอบที่ลุ่ม ความชื้นสูง พลูคาวขยายพันธุ์ได้ง่ายโดยวิธีการปักชำ แต่ถ้าต้องการปลูกเป็นแปลงใหญ่ ควรเตรียมท่อนพันธุ์ที่เหมาะสม เลือกกิ่งที่สมบูรณ์ ยาว 8-10 เซนติเมตร มีข้อ 2-3 ข้อ ควรตัดปลายกิ่งเฉียงประมาณ 45 องศา ในระหว่างการเตรียมกิ่งชำจำนวนมากควรระวังอย่าให้ถึงเหี่ยวควรแช่น้ำให้กิ่งสดเสมอ แล้วปักชำในภาชนะ หรือ กระบะชำที่มีวัสดุปักชำโปร่งมากนัก แต่มีความชุ่มชื้นเพียงพอ เช่น ใช้ดินร่วนผสมขุยมะพร้าวในอัตราส่วน 4:1 โดยปริมาตรเว้นวรรคประมาณ 1 เดือน กิ่งชำจะออกรากมากขึ้น และมีสภาพแข็งแรงเพียงพอ สามารถย้ายปลูกได้ ส่วนมากนิยมปักชำในภาชนะ และเก็บไว้ในถุงพลาสติกใสขนาดใหญ่ ที่ปากถุงมืดเก็บความชื้น จะให้เปอร์เซ็นต์การงอกรากสูง และมีการเจริญเติบโตของต้นกล้าที่แข็งแรง นอกจากนี้สามารถขยายพันธุ์ได้โยการเพาะเมล็ดและการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อได้อีกด้วย


องค์ประกอบทางเคมี

ใบและต้นของพลูคาว พบน้ำมันระเหยง่ายประมาณ 0.5% และพบสารอื่นๆ ได้แก่ สารกลุ่มเทอร์ปีน caprinaldehyde, myrcene, geraniol, linalool, cineole, limonene, pinene, thymol, caryophyllene, 3-oxodecanol สารกลุ่มฟลาโนอยด์ ได้แก่ quercitrin, rutin, quercetin, afzelin, reynoutrin, hyperin สารกลุ่มอัลคาลอยด์ ได้แก่ อะริสโทแลคแทมเอ, พิเพอโรแลคแทมเอ สารอื่นๆ ได้แก่ capric acid, potassium chloride, potassium sulphate

           ผลของพลูคาว มีน้ำมันหอมระเหย เป็นของเหลวใส สีเหลืองทอง มีกลิ่นเฉพาะตัว ประกอบด้วย alpha pinene, beta pinene, d-limonene, borneol, linalool, beta caryophyllene, eucalyptol

 รูปภาพองค์ประกอบทางเคมีของพลูคาว

สารสกัดพูลคาว

พูลคาว

การศึกษาทางเภสัชวิทยาของพลูคาว

ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย สารสกัดส่วนเหนือดินด้วยน้ำ ออกฤทธิ์อย่างอ่อนต่อเชื้อ Staphylococcus aureus โดยมีค่า MIC เท่ากับ 140 ไมโครกรัม./มลและต้านเชื้อ S. pyogenes โดยมีค่า MIC เท่ากับ 32 ไมโครกรัม./มล. และสารสกัดส่วนเหนือดินแห้งด้วยแอลกอฮอล์ (95%) สารสกัดน้ำร้อน ในขนาด 1% ต้านเชื้อ S. aureus 

         นอกจากนี้น้ำมันหอมระเหย ไม่ระบุขนาด ต้านเชื้อแบคทีเรียชนิดแกรมบวกหลายชนิด และยังพบว่าสารสกัดทั้งต้นด้วยแอลกอฮอล์ (95%) ในขนาด 200 มก./มลพบว่าต้านเชื้อ b-streptococcus group A S84 แต่ไม่ต้านเชื้อ S. aureus 

พูลคาว

           ฤทธิ์ลดการอักเสบเมื่อฉีดสารสกัดน้ำร้อนของยาสมุนไพรพลูคาว เป็นส่วนผสมเข้าช่องท้องหนูขาว พบว่าลดการอักเสบจาก formalin หรือ cotton-pellet granuloma และมีการศึกษากับผู้ป่วยที่มีอาการตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันทั้ง 2 เพศ โดยการฉีดยาสมุนไพรตำรับนี้เข้ากล้ามเนื้อ 10 ราย หลอดเลือดดำ 74 ราย สามารถบรรเทาอาการอักเสบได้ เมื่อให้สารสกัดของตำรับยาซึ่งมีพลูคาวเป็นส่วนผสมแก่หนูขาว พบว่ามีฤทธิ์ลดการอักเสบในหนูที่เหนี่ยวนำด้วย adjuvant และในการทดสอบ granuloma pouch แต่ไม่แสดงฤทธิ์ลดการอักเสบในหนูที่ถูกทำให้อักเสบด้วย carrageenan และ mustard แต่โลชั่นซึ่งมีสารสกัดพลูคาวผสมกับสารสกัดอื่น แสดงฤทธิ์ลดการอักเสบ และสมานแผลในหนูถีบจักร อีกทั้งมีการศึกษากระบวนการอักเสบ พบว่าสามารถยับยั้ง cyclooxygenase (COX-2), nitric oxide synthase (iNOS) ซึ่งทำให้อักเสบ พบว่าเมื่อทดสอบสารสกัดพลูคาวด้วยเมทานอล (100%) ความเข้มข้น 10 ไมโครกรัม./มล. ไม่แสดงฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ cyclooxygenase (COX-2) ในเซลล์ macrophages RAW264.7 ของหนูถีบจักร ที่ถูกเหนี่ยวนำด้วย lipopolysaccharide (LPS) แต่แสดงฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ nitric oxide synthase (iNOS) 13.2%

ฤทธิ์ต้านการแพ้ การวิจัยฤทธิ์ต้านการหลั่งฮีสตามีนซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ พบว่าเมื่อให้สารสกัดส่วนเหนือดินด้วยน้ำร้อนแก่หนูขาว ในขนาด 25 มกมีผลยับยั้ง concanavalin A ต่อ mast cell ในการหลั่งฮีสตามีน มีการศึกษาตำรับยาสมุนไพรที่มีพลูคาวเป็นส่วนผสมในเรื่องต้านการแพ้ พบว่าต้าน picryl-chloride และ passive cutaneous anaphyaxis ในหนูถีบจักร ต้าน masugi's nephritis แต่ไม่ต้าน immune-complex induced glomerulonephritis และ homologous passive cutaneous anaphylaxisในหนูขาว แต่ทดสอบการแพ้โดยการฉีดสารสกัดน้ำของตำรับยาที่มีพลูคาวเข้าช่องท้องหนูตะเภา ไม่พบอาการแพ้ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่อง

ฤทธิ์ระงับปวด โดยเร่งการเจริญเติบโตของเซลล์ ช่วยห้ามเลือด รักษาปริมาณของเหลวในร่างกาย โดยออกฤทธิ์ เช่นเดียวกับยาแก้ปวด และลดการอักเสบ แผนปัจจุบันที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)

ฤทธิ์ขับปัสสาวะ พบสารฟลาโวนอยด์ ที่แยกได้จากใบพลูคาว เป็นสาระสำคัญในการออกฤทธิ์เพิ่มการ ไหลเวียนของเลือดเพื่อไปเลี้ยงไตจึงมีผลในการเพิ่มการขับปัสสาวะ

ฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ น้ำมันหอมระเหยจากการกลั่นส่วนเหนือดินของพลูคาว พบว่ามีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียอย่างแรงต่อเชื้อ Bacillus cereus และ B. Subtilis เชื้ออหิวาต์ Vibrio cholerae 0-1 และ V. Parahaemolyticus

ฤทธิ์ต้านไวรัส น้ำมันหอมระเหยจากพลูคาว ซึ่งประกอบด้วย n-decyl aldehyde, n-dodecyl aldehyde และ methyl-n-nonyl ketone สามารถยับยั้งการเจริญของไวรัสที่เป็นสาเหตุของไข้หวัดใหญ่ในหลอดทดลองได้ นอกจากนี้ยังมีผลต่อไวรัสที่มีเปลือกหุ้ม 3 ชนิด ได้แก่ herpes simplex virus type-1 (HSV-1) ไวรัสไข้หวัดใหญ่ และไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคเอดส์ (HIV-1) และไวรัสที่ปราศจากเปลือกหุ้ม 2 ชนิด คือ โปลิโอไวรัส และคอกซากีไวรัส


การศึกษาทางพิษวิทยาของพลูคาว

  1. การทดสอบความเป็นพิษ เมื่อให้สารสกัดส่วนเหนือดินด้วยน้ำทางสายยางแก่หนูถีบจักร ค่า LD50 (ค่าขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่ง) เท่ากับ 0.75 ./กก.
  2. ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ ารสกัดพลูคาว ส่วนที่อยู่เหนือดินด้วยน้ำ สารสกัดเมทานอลในขนาด 100 มก./มล. รวมถึงสารสกัดใบแห้งด้วยน้ำ หรือ สารสกัดน้ำร้อน ในขนาด 40 มก./จานเพาะเชื้อ ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ใน Salmonella typhimurium TA98 และ TA100 แต่สารสกัดเมทานอล ออกฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์อย่างอ่อนใน Bacillus subtilis H-17 (Rec+) และเมื่อฉีดสารสกัดใบแห้งด้วยน้ำ หรือ สารสกัดน้ำร้อนในขนาด 40 มก./จานเพาะเชื้อ เข้าช่องท้องหนูถีบจักร ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ 
  3. นอกจากนี้สารสกัดใบแห้งด้วยเมทานอล ในขนาด 50 ไมโครลิตร./แผ่น ไม่มีฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ใน Bacillus subtilis Nig-1125 His Met, Escherichia coli B/R-Wp2-Trp
  4. ฤทธิ์ต้านการเกิดมะเร็ง สารสกัดทั้งต้นด้วยเมทานอล ในขนาด 10 ไมโครกรัม./มลต้านการก่อมะเร็งในเซลล์เพาะเลี้ยง และสารสกัดแอลกอฮอล์ (95%) ในขนาด 100 ไมโครกรัม./มลออกฤทธิ์อย่างอ่อนยับยั้ง a-TNF ในเซลล์ Macrophage cell line raw 264.7
  5. พิษต่อเซลล์ พบว่าน้ำมันหอมระเหย ค่า IC50 (ค่าความเข้มข้นที่สารมีประสิทธิภาพในการยังยั้ง 50%) มากกว่า 59 ppm เป็นพิษอย่างอ่อนต่อเซลล์ Hela, cells-MDCK สารสกัดส่วนเหนือดินด้วยเมทานอลและสารสกัดน้ำในขนาด 5% เป็นพิษอย่างอ่อน และแสดงฤทธิ์ไม่แน่นอนต่อเซลล์ CA-Ehrlich-ascites

นอกจากนี้สารสกัดทั้งต้นด้วยเมทานอลไม่เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง CA-A549, CA-colon-2 (IC50 มากกว่า 20 ไมโครกรัม/มล.) และยังพบว่าสารสกัดทั้งต้นด้วยน้ำร้อนในขนาด 478.5,  526.2, 529.2, 593.4 และ 662.0 ไมโครกรัม/มลไม่เป็นพิษต่อเซลล์ P3-JHR1, LEUK-L1210, U937, LEUK-K562, Raji ตามลำดับ สารสกัดส่วนเหนือดินด้วยน้ำร้อน ในขนาด 30 ไมโครกรัม/มลเป็นพิษอย่างอ่อนต่อเซลล์ HE-1 แต่ในขนาด 500 ไมโครกรัม/มลไม่เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง CA-JTC-26 สารอัลคาลอยด์ 6 ชนิดจากสารสกัดส่วนเหนือดินด้วยเมทานอล ได้แก่ aristolactam B, piperolactam A, aristolactam A, norcepharadione B, cepharadione B และ splendidine เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง 5 ชนิด คือ A-549, SK-OV-3, SK-MEL-2, XF-498 และ HCT-15 ยังพบว่าสารสกัดใบด้วยเมทานอล สารสกัดน้ำในขนาด 50, 500 และ 60 ไมโครกรัม/มลเป็นพิษอย่างอ่อนต่อเซลล์มะเร็ง CA-9KB, CA-mammary-microalveolar และ Human-embryonic HE-1 ตามลำดับ 

           จากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์พบว่าพลูคาว มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย แต่ฤทธิ์ลดการอักเสบ และฤทธิ์ต้านมะเร็งขึ้นอยู่กับชนิดของสารสกัด และวิธีบริหารยา จึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติม พัฒนาผลิตภัณฑ์และทดสอบทางคลินิกก่อน


ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

การรับประทานพลูคาว มากจนเกินไปอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง คือ อาเจียน หายใจสั้นและถี่ อาจเป็นอันตรายได้ หรือ หากนำมาใช้เป็นยารักษาภายนอกมากเกินขนาดอาจทำให้เกิดอาการแพ้ที่ผิวหนังโดยมีอาการเกิดผื่นคัน หรือ แผลพุพองได้ นอกจากนี้ ยังห้ามใช้พลูคาว ในผู้ที่มีอาการเหล่านี้ด้วย เช่น หนาวง่าย (กลัวหนาว) แขนขาเย็น ปวดท้อง ท้องร่วง ปัสสาวะใส และปัสสาวะมากขึ้น มีฝ้าขาวบนลิ้น (ทางการแพทย์จีนเรียกว่า "อาการพร่อง")

เอกสารอ้างอิง พลูคาว
  1. สุนทรี วิทยานารถไพศาล. พลูคาว. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 39. คอลัมน์ อื่นๆ กรกฎาคม 2525
  2. ผักคาวตอง.กลุ่มสมุนไพรแก้มะเร็ง.สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯส ยามบรมราชกุมารี (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_19_1.htm
  3. แน่งน้อย แสงเสน่ห์. 2541. สารต้านเชื้อราและสารต้านเชื้อแบคทีเรียจากใบพลูคาวและต้นพญาไฟ.วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 102 หน้า.
  4. Ye WY, Li MZ, Gian ZK. Sol. "Antinflammation No. 6" proinjection. Wu-Han I Hsueh Yuan Hsueh Pao 1979;8:96-7.
  5. Tsurumi T, Hyaluronic acid formation enhancers and tropical preparation containing them. Patent: Jpn Kokai Tokkyo JP 2001 114,637, 2001:9pp.  
  6. Liu DX, Yin XJ, Wang HC, Zhou Y, Zhang YH. Antimutagenicity screening of water extracts from 102 kinds of Chinese medicinal herbs. Chung-Kuo Chung Yao Tsa Chi Li 1990;15(10):617-22.
  7. Zhang YH. Study on the combined effect of lauryl aldehyde or volatile oil from Houttuynia cordata Thunb. and TMP. Chung Ts'ao Yao 1981;12(4):9-14.
  8. Kakimoto M, Takasugi N, Fuwa T, Saito H. Anti-inflammatory and anti-allergic effects of a preparation of crude drugs, a remedy for nasal disease (Fujibitol). Pharmacometrics 1984;28(4):555-65.
  9. Song HJ, Shin MK.. Effects of Houttuyniae herba on immune responses and histological findings in mice bearing pneumonitis. Korean J Pharmacog 1987; 18(4): 216-32.
  10. Lee JH, Jeong SI, You IS, Kim Sk, Lee Kn, Han Ds, Baek SH. The inhibitory effects of the methanol extract of Houttuynia cordata Thunb against cadmium induced cytotoxicity (V). Korean J Pharmacog 2001;32(1):61-7.
  11. Hong CH, Hur SK, Oh O-J, Kim SS, Nam KA, Lee SK.  Evaluation of natural products on inhibition of inducible cyclooxygenase (COX-2) and nitric oxide synthase (iNOS) in cultured mouse macrophage cells. J Ethnopharmacol 2002;83: 153-9.
  12. Yang HC, Chaug HH, Weng TC. Influence of several Chinese drugs on the growth of some pathologic organisms: preliminary report. J Formosan Med Ass 1953;52: 109-12.
  13. อารีรัตน์ ลออปักษา, สุรัตนา อำนวยผล, วิเชียร จงบุญประเสริฐ. การศึกษาสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ (ตอนที่ 1). ไทยเภสัชสาร 2531;13(1):23-35.
  14. พร้อมจิต ศรลัมภ์ และคณะ. 2543. สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 1. สมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ, ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์, คณะเภสัชศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ. 219 หน้า.
  15. คาวตอง เพื่อชีวิต เศรษฐกิจพอเพียง. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://office.cmcat.ac.th/crowtong/page7htm.
  16. พลูคาว.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
  17. พลูคาว.ฐานข้อมูลสมุนไพร. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=244
  18. Morimoto I, Watanabe F, Osawa T, Okitsu T, Kada T. Mutagenicity screening of crude drugs with Bacillus subtilis Rec-assay and Salmonella microsome reversion assay. Mutat Res1982;97:81-102.
  19. Cho JY, Park J, Kim PS, et al. Inhibitory effect of oriental herbal medicines on tumor necrosis factor-alpha production in lipopolysaccharide-stimulated raw 264.7 cells. Nat Prod Sci1999;5(1):12-9.
  20. Hirai Y, Takase H, Kobayashi H, et al. Screening test for anti-inflammatory crude drugs based on inhibition effect of histamine release from mast cell. Shoyakugaku Zasshi 1983;37(4):374-80.
  21. Nam KA, Lee SK. Evaluation of cytotoxic potential of natural products in cultured human cancer cells. Nat Prod Sci 2000;6(4):183-8.
  22. Sato A. Studies on anti-tumor activity of crude drugs. I. The effects of aqueous extracts of some crude drugs in short term screening test. Yakugaku Zasshi 1989; 109(6):407-23.
  23. Yin XJ, Liu DX, Wang H, Zhou Y.  A study on the mutagenicity of 102 raw pharmaceuticals used in Chinese traditional medicine. Mutat Res 1991;260(1):73-82.
  24. Ishii R, Yoshikawa K, Minakata H, Komura H, Kada T. Specificities of bio-antimutagens in plant kingdom. Agr Biol Chem 1984;48(10):2587-91.
  25. Kim S-K, Ryu SY, No J, Choi SU, Kim YS. Cytotoxic alkaloids from Houttuynia cordata. Archives of Pharmacol Research 2001;24(6):518-21. 218987
  26. Arisawa M.  Cell growth inhibition of KB cells by plant extracts.  Natural Med 1994; 48(4):338-47.
  27. Chang JS, Chiang LC, Chen CC, Liu LT, Wang KC, Lin CC. Antileukemic activity of Bidens pilosa L. var. minor (Blume) Sherff and Houttuynia cordata Thunb. Amer J Chinese Med 2001;29(2):303-12.
  28. Ueki H, Kaibara M, Sakagawa M, Hayashi S. Antitumor activity of plant constituents. I. Yakugaku Zasshi 1961;81:1641-4.
  29. Sato A. Cancer chemotherapy with oriental medicine. I. Antitumor activity of crude drugs with human tissue cultures in in vitro screening. Int J Orient Med 1990; 15(4): 171-83.
  30. Hayashi K, Kamiya M, Hayashi T. Virucidal effects of the steam distillate from Houttuynia cordata and its components on HSV-1, Influenza virus, and HIV. Planta Med 1995; 61(3): 237-41.