กระทงลาย ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย
กระทงลาย งานวิจัยและสรรพคุณ 18 ข้อ
ชื่อสมุนไพร กระทงลาย
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น มะแตก, มะแตกเครือ (ภาคเหนือ, ภาคอีสาน), กระทุงลาย, โชด (ภาคกลาง), นางแตก (โคราช)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Celastrus paniculatus Wild.
ชื่อสามัญ Black ipecac, Black oiltree, Climbing staff tree, Celastrus dependens
วงศ์ CELASTRACEAE
ถิ่นกำเนิดกระทงลาย
กระทงลายเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปเอเชียบริเวณ จีนตอนใต้ พม่า อินเดีย ไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย (แต่ไม่พบที่เกาะบอร์เนียว) อินโดนีเซีย จนถึงออสเตรเลีย สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาคตามป่าดิบ ป่าละเมาะ ป่าโปร่ง และตามพื้นที่โล่งทั่วไป ที่มีความสูง 0-1300 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล
ประโยชน์และสรรพคุณกระทงลาย
- ใช้ถอนพิษฝิ่น
- รักษาโรคบิด
- แก้อาการท้องเดิน
- ช่วยบำรุงโลหิต
- แก้ลมจุกเสียด
- แก้โรคอัมพาต
- แก้ไข้
- ช่วยขับเหงื่อ
- รักษาโรคเหน็บชา
- บำรุงน้ำนม
- แก้วัณโรค
- เป็นยาแก้ไตพิการ
- ช่วยขับปัสสาวะ
- รักษาโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ
- แก้อาการบิด
- แก้มาลาเรีย
- แก้อาการปวดท้อง
- รักษาโรคเก๊าท์
รูปแบบและขนาดวิธีใช้กระทงลาย
ใช้รักษาโรคบิด แก้อาการท้องเดิน ถอนพิษฝิ่นโดยการนำใบมาต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้ใบสดคั้นเอาน้ำดื่มก็ได้ ใช้เพิ่มความจำ โดยใช้เมล็ดนำมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้แก้อัมพาตและปวดตามข้อ โดยใช้เมล็ดมาตำให้ละเอียดแล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็น ใช้แก้โรคท้องเดิน บำรุงน้ำนมโดยการนำเถามาต้มกับน้ำดื่มหรือนำมาฝนกับน้ำดื่มก็ได้ ใช้แก้ไตพิการ ขับปัสสาวะ โดยนำลำต้นมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้แก้บิดโดย นำเปลือกต้นมาตำผสมกับตัวมดแดงและเกลือแล้วจึงรับประทานครั้งเดียว ใช้แก้ปวดท้อง ท้องเดิน แก้ไข้มาลาเรียโดยใช้รากแห้งมาต้มกับข้าวเปลือก 9 เม็ด แล้วเอาน้ำมาดื่ม
ลักษณะทั่วไปของกระทงลาย
กระทงลายจัดเป็นไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่ ผิวขรุขระเล็กน้อย ขึ้นพาดพันต้นไม้อื่น ไปได้ไกลถึง 10 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลอมเทา ตามกิ่งมีรูอากาศกระจายอยู่ทั่วไป
ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปไข่ ออกแบบเรียงสลับ โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย ผิวใบเรียบ ใต้ท้องใบมีขนอ่อนปกคลุมอยู่ประปรายใบมีขนาดกว้าง 3-6 เซนติเมตร ยาว 5-9 เซนติเมตร และมีก้านใบยาว 1-2.5 เซนติเมตร
ดอก เป็นแบบแยกเพศ ออกเป็นช่อแบบแยกแขนงที่ปลายกิ่งหรือปลายยอดช่อดอก ยาวประมาณ 4-8 นิ้ว ซึ่งแต่ละช่อจะมีดอกย่อยขนาดเล็ก สีขาวอมเหลือง จำนวนมาก โดยดอกย่อยจะมีกลีบดอก 5 กลีบ และกลีบเลี้ยง 5 กลีบ เชื่อมติดกันตรงโคนคล้ายรูประฆัง ส่วนปลายกลีบดอกแยกเป็นแฉก รูปร่างของดอกมีลักษณะค่อนข้างกลม ฐานดอกเป็นรูปถ้วยนูน มีขนขึ้นประปราย
ผล ออกเป็นช่อซึ่งในแต่ละช่อจะมีผลย่อยที่มีลักษณะค่อนข้างกลม ขนาดกว้าง 5-8 มิลลิเมตร ยาว 5-10 มิลลิเมตร ผิวเรียบมีลักษณะเป็นพู 3 พู ผลอ่อนมีสีเขียวแต่เมื่อแก่เต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีส้มอมเหลืองและแตกออกตามพูเป็น 3 ซีก ซึ่งในแต่ละผลจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 3-6 เมล็ด ส่วนเมล็ดกระทงลายมีขนาดกว้างประมาณ 2-3 มิลลิเมตร และยาว 3.5-5 มิลลิเมตร ลักษณะเป็นรูปไข่หรือรูปรีและมีเนื้อหุ้มเมล็ดสีแดงติดอยู่
การขยายพันธุ์กระทงลาย
กระทงลายสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ด ซึ่งในอดีตจะเป็นการขยายพันธุ์ตามธรรมชาติมากกว่าการนำมาปลูก แต่ในปัจจุบันได้มีการส่งเสริมให้ปลูกกระทงลายเป็นพืชหลักในหลายพื้นที่สำหรับวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปลูกกระทงลายนั้นสามารถทำได้เช่นเดียวกันกับการปลูกพืชชนิดอื่นๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในบทความก่อนหน้านี้
องค์ประกอบทางเคมีกระทงลาย
มีรายงานผลการศึกษาวิจัยองค์ประกอบเคมีจากส่วนต่างๆของกระทงลายดังนี้
มีรายงานการแยกสารสกัดชั้นคาร์บอนเตตระคลอไรด์ (carbon tetrachloride) ที่สกัดแยกมาจากสารสกัด เมทานอลของเมล็ด (seed) กระทงลายพบว่าสามารถแยกสารกลุ่ม sesquiterpene ชนิดใหม่คือสาร 1a,8b,14-triacetoxy-9b-furoyloxydihydro-b-agarofuran 1a,6b,8b,14-tetraacetoxy-9b-benzoyloxy dihydro-b-agarofuranและสารที่เคยการมีรายงานแล้ว คือ สาร 1a,8b,-diacetacetoxy-9b- benzoyloxydihydro- b-agarofuran1a,6b,8b,-triacetoxy-9b-benzoyloxydihydro-b-agarofuran, 1a,6b,8a,-triacetoxy-9a-benzoyloxydihydro-b-agarofuran, angulatueods) และ 1a,6b,8b,14-tetraacetoxy-9a-benzoyloxydihydro-b-agarofuran ส่วนสารสกัดชั้นเมทานอลจากทุกส่วนของกระทงลาย เมื่อ นำมาทำการแยกบริสุทธิ์พบว่า สามารถแยกได้สารกลุ่ม dihydro-b-agarofuranoid sesquiterpene ใหม่ 6 ชนิด คือ สาร (1a,2a,9b)-1,14-bis (acetyloxy)-9-(benzoyloxy)-2-hydroxydihydro-b-agarofuran(1a,2b,8b,9b)-1,2,8-tris(acetyloxy)-9-(benzoyloxy)dihydro-b-agarofuran (1a,2a,8b,9b)-1,8,14-tris(acetyloxy)-9-(benzoyloxy)-2-hydroxydihydro-b-agarofuran (1a,2a,9b)-2,14-bis(acetyloxy)-9-(benzoyloxy) -1-hydroxydihydro-b-agarofuran (1a,2a,8b, 9b)-1,2,8,14-tetrakis(acetyloxy)-9-(benzoyloxy)dihydro-b- agarofuran และ(1a,2a,8b,9b) -2,8,14-tris(acetyloxy)-9-(benzoyloxy)-1-hydroxy dihydro-b-agarofuran และสารที่เคยการมีรายงาน แล้ว คือ สาร lupeotriptogelin D1 l และ b-sitosterol ส่วนสารสกัดชั้นเฮกเซนของเมล็ดของกระทงลาย เมื่อนำมาทำการแยกบริสุทธิ์พบว่าสามารถ แยกสารกลุ่ม dihydro-b-agarofuranoid sesquiterpenes ใหม่ 3 ชนิด คือ 1a,9b-dibenzoyloxy-6b-cinnamoyloxy4b-hydroxydihydro-b-agarofuran1a,8b,15a-triacetoxy-9a-benzoyloxy-4b-hydroxydihydro-b-agarofuran และ 1a,9b-dibenzoyloxy-2b-acetoxy-6b-cinnamoyloxy-4b-hydroxy dihydro-b-agarofuran
นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์หาองค์ประกอบสำคัญเชิงเคมีในสารสกัดจาดเมล็ดกระทงลายด้วยวิธี Cromatography-mass spectrometry (CG-MS) ระบุว่าพบสารออกฤทธิ์ที่สำคัญเช่น dihydro-beta-agarofuran trans-beta copaene palmitric acid, phytol, euricacid, linatool เป็นต้น
การศึกษาทางเภสัชวิทยาของกระทงลาย
มีรายงานผลการศึกษาทางเภสัชวิทยาของสารสกัดจากส่วนต่างๆ ของกระทงลายระบุเอาไว้ว่าสาร 1α,8β,14-triacetoxy-9β-furoyloxydihydro-β-agarofuran สาร 1α,6β,8β,14-tetraacetoxy-9β-benzoyloxy dihydro-β-agarofuran และสาร 1α,8β,-diacetacetoxy-9β-benzoloxydihydro-β-agarofuran มีฤทธิ์ในการช่วยคลายตัว (relaxation activity) ของกล้ามเนื้อลำไส้ (intestinal muscle) ที่ระดับความเข้มข้น 1 mg/mL โดยมีค่า ฤทธิ์ร้อยละ 30.6 ± 12.226.9 ± 4.7 และ 7.27 ± 1.7 ตามลำดับ ส่งนสารสกัดเมทานอลจากทุกส่วนของกระทงลายเป็นพิษต่อมะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งตับ โดยเฉพาะสาร (1a,2a,8b,9b)-1,8-bis(acetyloxy)-9-(benzoyloxy)-2- hydroxy-b-dihydroagarofuran (1a,2a,8b,9b)-1,8,14-tris(acetyloxy)-2,9-bis(benzoyloxy)-b-dihydroagaro furan และ (1a,2a,8b,9b)-1,8-bis(acetyloxy)-2,9-(benzo yloxy)-14-hydroxy-b-dihydroagarofuran พบว่ามีความเป็น พิษต่อเซลล์มะเร็ง ส่วนสาร (1α,2α8β,9β)-1,8-bis(acetyloxy)-2,9-Cbenzoyloxy)-14-hydroxy-β-hidroagarofuran มีฤทธิ์ทำให้การเจริญและการอยู่รอดของเซลล์มะเร็งลดน้อยลงที่ค่า IC50 เท่ากับ 17 ± 1 mM โดยไปเหนี่ยวนำให้เกิดการตายของเซลล์มะเร็งเต้านม
นอกจากนี้สารสกัดจากชั้นเฮกเซนจากเมล็ดของกระทงลายยังมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ a-glucosidase โดยพบว่าสาร 1a-acetoxy-6b,9a-dibenzoyloxy-8a-cinnamoyloxy-4b- hydroxydihydro-b-agarofuran (65) 1a,6b,9b-tribenzoyloxy-4b-hydroxy dihydro-b-agarofuran1a,6b,8b,15-tetraacetoxy-9a- benzoyloxy-4b-hydroxy dihydro -b-agarofuran และ 1a,9b-dibenzoyloxy-6b-acetoxy-4b- dihydroxydihydro-b-agarofuran มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ดังกล่าว ด้วยค่า IC50 เท่ากับ 36.54 ± 0.17 44.83 ± 0.45 42.58 ± 0.21 และ 45.84 ± 0.36 mM ตามลำดับ นอกจากนี้ น้ำมันที่สกัดได้จาดเมล็กกระทงลายยังมีฤทธิ์ยับยั้งไวรัส แบคทีเรีย ลดปวด ต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระและมีฤทธิ์ปกป้องเซลล์ประสาทได้อีกด้วย
การศึกษาทางพิษวิทยางของกระทงลาย
มีรายงานผลการศึกษาทางพิษวิทยาของสารสกัดจากเมล็ดกระทงลายระบุว่า สารสกัดเมล็ดของกระทงลายที่ความเข้มข้น 25 ug/mL ไม่พบความเป็นพิษต่อเซลล์
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
สำหรับการใช้กระทงลายเป็นสมุนไพรในการบำบัดรักษาโรคต่างๆ การระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกันกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยการใช้ในขนาดและปริมาณ ที่เหมาะสมที่ได้ระบุไว้ในตำรับตำรายาต่างๆ ไม่ควรใช้ในขนาด และปริมาณ ที่มากจนเกินไปหรือใช้ต่อเนื่องกันนานจนเกินไปเพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ สำหรับเด็ก สตรีมีครรภ์ รวมถึงผู้ป่วยโรคเรื้อรังหรือผู้ที่ต้องรับประทานยาต่อเนื่องก่อนจะใช้กระทงลายเป็นสมุนไพรควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนทุกครั้ง
เอกสารอ้างอิง กระทงลาย
- 1.สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. พรรณไม้พื้นบ้านอีสาน เล่ม 1. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. หน้า 83.2544.
- ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มัฃคละคุปต์. กระทงลาย (Krathong Lai). หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. หน้า 27.
- 3.ประไพรัตน์ สีพลไกร, รัตนาภรณ์ ตรัยสถิตย์. สรรพคุณทางยา สารเมแทบอไลต์ทุติยภูมิและฤทธิ์ทางชีวภาพของพืชสมุนไพรไทยบำรุงน้ำนมบางชนิด. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา ปีที่ 15. ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2563. หน้า 1284-1286.
- 4.คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่องบัญชียาจากสมุนไพร แนบท้ายบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ.2559. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอนพิเศษ 86 ง, ลงวันที่ 12 เมษายน หน้า 11 2559.
- 5.รศ.ดร.ศิริพร จำเนียรสวัสดิ์. การพัฒนาสารสกัดเมล็ดกระทงลายเพื่อใช้ในการส่งเสริมการสร้างความจำและป้องกันรักษาภาวะความจำเสื่อม. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ 2562. 26 หน้า.
- Ahmad F, K. R., Rasheed S (1994). Preliminary screening of methanolic extracts of Celastrus
- paniculatus and Tecomella undulata for analgesic and anti-inflammatory activities. J
- Ethnopharmacol, 42, 193–198.
- Weng, J.-R., & Yen, M.-H. (2010). New dihydroagarofuranoid sesquiterpenes from Celastrus paniculatu. Helvetica Chemica Acta,93(9), 1716-1724.
- Chamniansawat S, Chongthammakun S. (2010). Genomic and non-genomic actions of
- estrogen on synaptic plasticity in SH-SY5Y cell. Neurosci Lett. 470: 49–54.
- Borrelli, F., Borbone, N., Capasso, R., Montesano, D., Izzo, A. A., De Marino, S., & Zollo, F. (2004).
- New sesquiterpenes with intestinal relaxant effect from Celastrus paniculatus.” Planta Medica, 70(7),
- 652–656.
- Patel DK, A. K. N. D. (1995). Chemistry and pharmacology of Celastrus paniculatus Willd.
- Indian Drugs, 32, 566‑573.
- Sasikumar, P., Sharanthna, P., Prabha, B., Varughese, S., Anil Kumar, N., Sivan, V. V., Sherin, D. R., Suresh, E., Manojkumar, T. K., & Radhakrishnan, K. V. (2018). Dihydro-β-agarofuran sesquiterpenoids from the seed of Celastrus paniculatus Willd. and their α-glucosidase activity. Phytochemistry Letter, 26,1-8.
- Ahmad F, K. R., Rasheed S (1994). Preliminary screening of methanolic extracts of Celastrus
- paniculatus and Tecomella undulata for analgesic and anti-inflammatory activities. J Ethnopharmacol, 42, 193–198.
- Weng, J.-R., & Yen, M.-H. (2010). New dihydroagarofuranoid sesquiterpenes from Celastrus paniculatu. Helvetica Chemica Acta,93(9), 1716-1724.