ลิ้นจี่ ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย
ลิ้นจี่ งานวิจัยและสรรพคุณ 30 ข้อ
ชื่อสมุนไพร ลิ้นจี่
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น สีรามัญ (ภาคตะวันออก), ตะเสรเมือน (เขมร)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Litchi chinensis sonn.
ชื่อสามัญ Lychee, Lichee, Litchi
วงศ์ SAPINDACEAE
ถิ่นกำเนิดลิ้นจี่
ลิ้นจี่จัดเป็นไม้ผลที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมทางตอนใต้ของประเทศจีน ในแถบมณฑลกวางตุ้ง และฟุคเกี้ยน แล้วจึงค่อยๆ แพร่กระจายพันธุ์เข้าสู่ประเทศในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับประเทศไทยนั้นพบว่ามีการบันทึก หรือ เขียนเกี่ยวกับลิ้นจี่ ไว้ใน พ.ศ.2397 ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4 โดยมีการสันนิษฐานว่า น่าจะแพร่เข้ามาตั้งแต่มีชาวจีนเข้ามาติดต่อค้าขายกับคนไทย และในปัจจุบันยังถือว่าลิ้นจี่เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคเหนือโดยเฉพาะภาคเหนือตอนบน ซึ่งในปัจจุบันมีผู้นิยมปลูกลิ้นจี่อย่างแพร่หลาย เนื่องจากผลผลิตจำหน่ายได้ราคาดี ดูแลรักษาง่าย โรคแมลงรบกวนน้อย โดยแหล่งผลิตลิ้นจี่ที่สำคัญ ได้แก่จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา และสมุทรสงคราม เป็นต้น
ประโยชน์และสรรพคุณลิ้นจี่
- ใช้บำรุงร่ายกาย
- แก้ไอเรื้อรัง
- แก้คัดจมูก
- แก้กระหายน้ำ
- แก้เรอ อาเจียน
- แก้ฟื้นไข้
- แก้ปวดกระเพาะอาหาร
- แก้ท้องเดิน
- ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร
- แก้ปวดฟัน
- รักษาฝี
- แก้เป็นแผลเลือดออก
- แก้บิด
- แก้ผดผื่น
- แก้ท้องเสีย
- แก้อาการเจ็บคอ
- ช่วยลดอาการไอ
- ช่วยรักษาอาการท้องเดิน
- ป้องกันโรคลักปิดลักเปิด
- ป้องกันโรคเหน็บชา
- แก้โรคหัด
- แก้เด็กปัสสาวะกลางคืน
- แก้อาการแพ้เกิดจากการกินลิ้นจี่มากเกินไป
- แก้อีสุกอีใส
- ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันร่างกาย
- ใช้แก้ไส้เลื่อน
- แก้ปวดบวมอัณฑะ
- รักษาปวดท้อง
- แก้ปวดบวม
- แก้ติดเชื้อไวรัส
ลิ้นจี่เป็นผลไม้ที่มีรสหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอม คนไทยนิยมกินผลสด และนิยมนำลิ้นจี้มาทำเป็นน้ำผลไม้ดื่มแก้กระหายน้ำ ลิ้นจี่ กระป๋อง หรือ นำลิ้นจี่มาทำเป็นเครื่องดื่ม ไอศกรีม หรือ นำมาทำเป็นอาหารคาวบ้างเล็กน้อย ในส่วนของซีกโลกตะวันออก และสหรัฐอเมริกา กินลิ้นจี่เป็นอาหารส่วนประกอบจานเนื้อสัตว์ เป็นผลไม้เนื้ออ่อน เข้าได้กับเป็ด ไก่ หมู แฮม ปลา และอาหารทะเลอื่นๆ ยังใช้ปรุงเป็นเครื่องดื่ม กวนทำแยม ใส่ในสลัด ไอศกรีม เบเกอรี่ หรือ ใช้ผสม ในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น ลิ้นจี่มาร์ตินี่ เป็นต้น
รูปแบบและขนาดวิธีใช้
ใช้บำรุงร่างกายฟื้นฟูบำรุงร่างกาย แก้ไอเรื้อรัง แก้หวัดคัดจมูก ช่วยในการย่อยอาหาร ลดกรดในกระเพาะอาหาร แก้อาการเจ็บคอ ลดอาการไอ ช่วยรักษาอาการท้องเดิน ป้องกันโรคลักปิดลักเปิด ป้องกันโรคเหน็บชา แก้โรคหัด โดยการนำผลมารับประทานสด หรือ นำไปตากแห้งแล้วนำมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้แก้อาการท้องเสียตอนดึกๆ ใช้ข้าว 1 กำมือ เนื้อลิ้นจี่ แห้งประมาณ 5 เม็ด ต้มเป็นข้าวต้มลิ้นจี่ให้กินติดต่อกัน 3 ครั้ง แก้เด็กปัสสาวะกลางคืน โดยให้กินเนื้อลิ้นจี่แห้งประมาณ 10 เม็ด ติดต่อกันจนดีขึ้น ใช้กระทุ้งหัด โดยใช้เนื้อลิ้นจี่ 9 กรัม ต้มน้ำดื่ม ใช้บำรุงร่างกายหลังฟื้นไข้โดยให้กินเนื้อลิ้นจี่สดวันละ 60-150 กรัม ติดต่อกันครึ่งเดือน ใช้แก้ปวดกระเพาะอาหาร โดยใช้เมล็ดลิ้นจี่หนัก 30 กรัม ตำให้แหลก ต้มกับขิงสด 6 กรัม แล้วดื่มน้ำ ใช้แก้ไส้เลื่อน ปวดบวมอัณฑะ ปวดท้อง ปวดบวม โดยใช้เมล็ดลิ้นจี่บดเป็นผงชงน้ำดื่ม ใช้แก้อีสุกอีใสติดเชื้อไวรัสโดยใช้รากลิ้นจี่มาตากให้แห้งแล้วนำไปชงเป็นชาดื่ม
ลักษณะทั่วไปของลิ้นจี่
ลิ้นจี่ จัดเป็นไม้สกุลเดียวกับเงาะ ลำไย มีอายุได้นาน 5-25 ปี เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 11-15 เมตร ไม่ผลัดใบลำต้นแตกกิ่งค่อนข้างต่ำ และจะแตกกิ่งออกจำนวนมาก ทำให้แลดูเป็นทรงพุ่มหนาทึบ เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลอมเทา เปลือกลำต้นขรุขระเล็กน้อย
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกโดยจะออกบริเวณปลายกิ่งซึ่งมีก้านใบหลักยาว 10-20 ซม. และก้านใบมีใบย่อยแตกออกด้านข้างเรียงสลับกัน 2-10 ใบ ใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปหอก หรือ รูปรีเรียวยาว โคนใบสอบ ปลาบใบแหลม แผ่นใบเรียบหนา และเหนียวคล้ายหนัง ผิวใบมัน ใบอ่อนมีสีค่อนข้างแดง ส่วนใบแก่มีสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบมีสีเขียวอมเทาที่จางกว่าแผ่นใบด้านบน
ดอก ออกเป็นช่อบริเวณปลายกิ่ง หรือ ใบยอด โดยช่อดอกจะมีก้านช่อดอกยาว 10-30 เซนติเมตร แตกแขนงกว้าง 10-30 เซนติเมตร ซึ่งในแต่ละช่อดอกจะประกอบด้วยดอกย่อยขนาด (3-5 มิลลิเมตร) และมีจำนวนมาก กลับเลี้ยงสีเหลืองเขียวรูปถ้วย 4-5 กลีบ ส่วนกลีบดอกจะไม่มี ภายในมีเกสรเพศผู้ 5-10 อัน ส่วนชั้นในสุดจะเป็นเกสรเพศเมียที่ชูเกสร และรังไข่ โดยรังไข่มี 2 พู แจ่จะติดเป็นผลเพียง 1 พู
ผล เป็นผลสด รูปร่างกลมรี หรือ อาจต่างกันไปตามสายพันธุ์ ผิวผลคล้านหนังขรุขระสากมือ คล้ายมีตุ่ม หรือ หนามขนาดเล็ก ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่จัดมีสีแดง และแดงคล้ำตามลำดับ เนื้อในมีสีใสหรือสีขาว มีรสหวานอมเปรี้ยว และมีเมล็ดเดี่ยวมีสีน้ำตาลแดงแข็งรูปรีผิวเมล็ดเป็นมัน
การขยายพันธุ์ลิ้นจี่
โดยมีวิธีการดังนี้ เลือกกิ่งลิ้นจี่ ที่จะขยายพันธุ์ โดยควรเป็นกิ่งที่ไม่แก่ หรือ อ่อนจนเกินไป ซึ่งมีข้อพิจารณา คือ ใบเปลี่ยนจากใบอ่อนเป็นใบแก่ และมีสีน้ำตาลอมเขียวเปลือกเรียบไม่ขรุขระ จากนั้น ทำการควั่นกิ่ง ขนาด 1-1.5 นิ้ว แล้วลอกเปลือกออก แล้วจึงขูดเยื่อเจริญ โดยใช้สันมีดลากจากบนลงล่าง ระวังอย่าให้กระทบกระเทือนรอยแผลด้านบนซึ่งจะเป็นบริเวณที่รากจะออก นำตุ้มตอนที่ได้จากการนำขุยมะพร้าวที่ตีเอาเส้นใยออกไปแล้วแช่น้ำบีบให้หมาดๆ แล้วอัดลงในถุงพลาสติกขนาดเล็กประมาณ 4x6 นิ้ว ผูกปากถุงให้แน่น ผ่าตุ้มตอนยาวแล้วหุ้มไปบนรอยแผลแล้วมัดเชือกทั้งบน และล่างรอยแผล จากนั้นเมื่อเกิดรากพอเหมาะ (ประมาณ 30-45 วัน) จึงตัดออกจากต้น และนำมาชำในถุงพลาสติก หรือ กระถางประมาณ 1 เดือน แล้วจึงนำลงปลูกในแปลง
องค์ประกอบทางเคมี
มีรายงานผลการศึกษาวิจัยถึงองค์ประกอบทางเคมีของเนื้อลิ้นจี่เปลือกลิ้นจี่ และสารสกัดจากเนื้อลิ้นจี่ ระบุว่าพบสารออกฤทธิ์ที่สำคัญดังนี้ เปลือกลิ้นจี่ และเนื้อลิ้นจี่ พบสาร Folic acid, malic acid, tryptophan, procyanidin B2, Epicatechin, procyanidin B4, cyanidin-3-rutinoside, cyannidin-3-glucoside, quercetin-3-rutinoside, quercetin-3-glucoside, palmitic acid, linoleic acid, oleic acid trans-cinnamic acid, pelargonidin-3-o-glucoside ส่วนสารสกัดจากเนื้อลิ้นจี่ พบสารสำคัญ คือ oligonol นอกจากนี้ส่วนเนื้อผลของลิ้นจี่ยังมีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้
คุณค่าทางโภชนาการการของผลลิ้นจี่ เนื้อผล ต่อ 100 กรัม
พลังงาน |
66 |
กิโลแคลอรี่ |
คาร์โบไฮเดรต |
16.53 |
กรัม |
น้ำตาล |
15.23 |
กรัม |
ไขมัน |
0.44 |
กรัม |
โปรตีน |
0.83 |
กรัม |
เส้นใย |
1.3 |
กรัม |
0.011 |
มิลลิกรัม |
|
วิตามิน บี2 |
0.065 |
มิลลิกรัม |
วิตามิน บี3 |
0.603 |
มิลลิกรัม |
0.1 |
มิลลิกรัม |
|
วิตามิน บี9 |
14 |
ไมโครกรัม |
วิตามินซี |
71.5 |
มิลลิกรัม |
5 |
มิลลิกรัม |
|
ธาตุเหล็ก |
0.13 |
มิลลิกรัม |
แมกนีเซียม |
10 |
มิลลิกรัม |
0.055 |
มิลลิกรัม |
|
ฟอสฟอรัส |
31 |
มิลลิกรัม |
โพแทสเซียม |
171 |
มิลลิกรัม |
1 |
มิลลิกรัม |
|
สังกะสี |
0.07 |
มิลลิกรัม |
การศึกษาทางเภสัชวิทยาของลิ้นจี่
มีการศึกษาวิเคราะห์เนื้อผลลิ้นจี่ 100 ก. พบว่าลิ้นจี่พันธุ์กิมเจงมีปริมาณวิตามินซี 1.2±0.6 มก. ส่วนลิ้นจี่พันธุ์จักรพรรดิ์พบ วิตามินซี 4.3±0.1 มก. และพบสารสำคัญเป็นสารกลุ่มฟีนอลิค เช่น trans-cinnamic acid และ pelargonidin-3-O-glucoside โดยพันธุ์กิมเจงพบ 9.80±0.21 มก. GAE/ก.สารสกัด และพันธุ์จักรพรรดิ์พบ 19.56±0.4 มก.GAE/ก.สารสกัด เมื่อนำสารสกัดเนื้อลิ้นจี่ไปทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ พบว่าพันธุ์กิมเจงมีค่าต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าพันธุ์จักรพรรดิ์ โดยมีค่าต้านอนุมูลอิสระเทียบเท่า 11.64 และ 9.09 ก./มก. trolox ตามลำดับ เมื่อนสารสกัดไปทดสอบฤทธิ์การป้องกันการเกิดพิษต่อตับในหนูแรทจากการป้อนสาร CCl4 ขนาด 2 มก./กก. น้ำหนักตัว พบว่าการป้อนสารสกัดเนื้อลิ้นจี่พันธุ์กิมเจง และพันธุ์จักรพรรดิ์ทั้งสองขนาด (500 และ 100 มก./กก.น้ำหนักตัว) หรือ การป้อนยา Silymarin (ยาแผนปัจจุบันที่มีฤทธิ์ปกป้องตับ) ขนาด 100 มก./กก.น้ำหนักตัว มีผลป้องกันการเพิ่มขึ้นของเอนไซม์ glutamate-pyruvate transaminase, glutamate-oxaloacetate transaminase และ alkaline phosphatase ได้อย่างมีนัยสำคัญ ลดจำนวนเซลล์ตาย (apoptotic cell) นอกจากนี้ยังพบว่าช่วยปรับเปลี่ยนลักษณะทางกายภาพของตับให้กลับสู่ค่าปกติอีกด้วย จากการทดลองนี้จะเห็นได้ว่าสารสกัดจากผลลิ้นจี่ทั้งสองสายพันธุ์ต่างมีฤทธิ์ป้องกันความเป็นพิษต่อตับจาก CCl4 โดยอาศัยกระบวนการต้านอนุมูลอิสระ ลดการออกซิเดชั่นของไขมัน รวมถึงการป้องกันเซลล์ตาย
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของส่วนสกัดโพลีแซคคาไรด์จากเนื้อผลลิ้นจี่ 4 ชนิด ได้แก่ LFP-I, LFP-II, LFP-III และ LFP-IV ด้วยวิธี 2,2-diphenyl-1-picryhy-drazyl radical scavenging assay (DPPH), superoxide anion-scavenging activity, hydroxyl radical scavenging activity, ferrous ion chelating ability และ reducing power พบว่า ส่วนสกัดทั้ง 4 ชนิด มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยขึ้นกับขนาดความเข้มข้น (dosedependent) และการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารฟีนอลิกจากเนื้อผลลิ้นจี่ ซึ่งสกัดโดยใช้ตัวทำละลาย ชนิดต่างๆ ได้แก่ เมทานอล 80%, เอทานอล 80%, อะซีโตน 80%, เอทิลอะซีเตต 80% และน้ำ ด้วยวิธี oxygen radical absorbance capacity (ORAC) และ cellular antioxidant activity (CAA) พบว่า สารฟีนอลิกจากเนื้อ ผลลิ้นจี่ที่สกัดโดยใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย ออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้สูงสุด (3406.9 ไมโครโมล trolox/100 ก. น้ำหนักเนื้อผลสด) สำหรับการทดสอบด้วยวิธี ORAC ในขณะที่การทดสอบด้วยวิธี CAA พบว่า สารฟีนอลิกจาก เนื้อผลลิ้นจี่ที่สกัดโดยใช้อะซีโตน และเมทานอลเป็นตัวทำละลายออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้สูงสุดโดยมีค่าเท่ากับ 56.7 และ 55.1 ไมโครโมล quercetin/100 ก. น้ำหนักเนื้อผลสด ตามลำดับ
การทดสอบผลของการรับประทานสาร oligonol จากผลลิ้นจี่ต่อภาวะความเครียดจากความ ร้อน (heat stress) ในอาสาสมัครเพศชายสุขภาพดีจำนวน 17 คน (อายุเฉลี่ย 21.6±2.1 ปี) โดยให้อาสาสมัครอยู่ ในห้องที่มีอุณหภูมิประมาณ 26±0.5ºC มีความชื้นสัมพัทธ์ 60±3% และมีความเร็วลมน้อยกว่า 1 เมตร/วินาที และให้ดื่มเครื่องดื่ม (500 มล.) ซึ่งประกอบด้วยสาร oligonol ปริมาณ 100 มก. หลังจากนั้น 60 นาที ให้ อาสาสมัครลงไปแช่ตัวในน้ำที่มีอุณหภูมิ 42±0.5º C นาน 30 นาที หลังจากนั้นให้ขึ้นจากน้ำอย่างรวดเร็ว ทำการวัด อุณหภูมิร่างกายของอาสาสมัครทั้งช่วงก่อน ระหว่าง และหลังแช่ตัวในน้ำ ผลจากการทดสอบพบว่า การได้รับสาร oligonol มีผลช่วยยับยั้งการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิร่างกายจากการลงไปแช่ในน้ำและการขึ้นจากน้ำอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังมีผลลดระดับของ prostaglandin E2 และ cyclooxygenase-2 ในเลือด ซึ่งบ่งชี้ถึงภาวะการอักเสบ และเป็นไข้ ผลการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า สาร oligonol จากลิ้นจี่สามารถยับยั้งการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ ร่างกายซึ่งเกิดจากภาวะความเครียดจากความร้อนได้และในการศึกษาผลของการรับประทานแคปซูลสาร สกัดฟลาวานอลจากผลลิ้นจี่ (flavanol-rich lychee fruit extract) เป็นอาหารเสริมในนักกีฬาวิ่งมาราธอนจำนวน 20 คน พบว่า การรับประทานแคปซูลสารสกัดฟลาวานอลวันละ 100 มก. นานติดต่อกัน 2 เดือน มีผลทำให้ระดับ เม็ดเลือดขาวของอาสาสมัครลดลง และระดับ interleukin-6 ในเลือดช่วงก่อน (pre-training) และระหว่างทำการซ่อม (mid-training) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม ในขณะที่ระดับ transforming growth factor-β เพิ่มสูงขึ้นทั้งในช่วงก่อนและหลังการซ่อม (post-training) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการรับประทานแคปซูล สารสกัดฟลาวานอลจากผลลิ้นจี่เป็นอาหารเสริมในนักกีฬาสามารถยับยั้งกระบวนการอักเสบหรือการเสียหายของ เนื้อเยื่อจากการฝักซ่อมกีฬาได้ และยังมีรายงานว่าสารสกัดเพอริคาร์พ (เปลือก และเนื้อผล) ของลิ้นจี่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเซลลฺมะเร็งเต้านม ทั้งในห้องทดลอง และในสัตว์ทดลอง โดยยับยั้งการขยายจำนวนเซลล์ การควบคุมการสื่อสารระหว่างเซลล์มะเร็ง การสร้าง mRNA และเหนี่ยวนำให้เกิดการตายของเซลล์มะเร็งดังกล่าว แบบอะป๊อบโทซิสในระดับยีน และยับยั้งผลต่อเนื่องในการแทรกตัว การยึดเกาะพื้นผิวของเซลล์มะเร็ง พบว่าขนาดของก้อนมะเร็งเต้านมในหนูทดลองลดลงร้อยละ 41 เมื่อได้รับสารสกัดเอทานอล ของเพอริคาร์พของลิ้นจี่
นอกจากนี้ลิ้นจี่ยังมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาอื่นๆ ที่ได้ มีการศึกษาในหลอดทดลอง และสัตว์ทดลอง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ได้แก่ ฤทธิ์ปกป้องตับจากความเป็นพิษ ลดการสะสมของไขมันในตับ บำรุงสมอง ต้านการอักเสบ และยับยั้งเซลล์มะเร็งบางชนิดอีกด้วย
การศึกษาทางพิษวิทยาของลิ้นจี่
การศึกษาเกี่ยวกับความเป็นพิษของลิ้นจี่ พบว่า การป้อนสาร oligonol จากผลลิ้นจี่ให้แก่หนูแรทขนาด 2,000 มก./กก. เพียงครั้งเดียว ไม่ทำให้หนูตาย และไม่ก่อให้เกิดความผิดปกติ หรือ อาการไม่พึงประสงค์ต่อร่างกายของ สัตว์ทดลองแต่อย่างใด และการป้อน สาร oligonol ขนาดวันละ 100, 300 และ 1,000 มก./กก. ให้แก่หนูแรท นาน 90 วัน พบว่า ไม่ก่อให้เกิดอาการผิดปกติต่อพฤติกรรม ค่าทางชีวเคมีในเลือด และความเสียหายต่ออวัยวะ ภายใน เช่นเดียวกับทดลองการป้อนสารโพลีฟีนอลจากผลลิ้นจี่ให้แก่หนูเม้าส์ขนาดวันละ 200 มก./กก. นาน 90 วัน พบว่า ไม่ก่อให้เกิดความผิดปกติต่อพฤติกรรม ค่าทางชีวเคมีในเลือด และสารพันธุกรรม แสดงให้เห็นว่า การรับประทานผลลิ้นจี่ค่อนข้างมีความปลอดภัย
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
ถึงแม้ว่าการศึกษาทางพิษวิทยาระบุว่าการรับประทานลิ้นจี่ และสารสกัดลิ้นจี่ จะมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง แต่อย่างไรก็ตามการใช้ลิ้นจี้ในรูปแบบสารสกัดโดยเฉพาะการรับประทานก็ควรระมัดระวังในการใช้เนื่องจากมีการรายงานวิจัยทางคลินิกระบุว่า การรับประทานสารสกัดฟลาวานอล (flavanol) จากผลลิ้นจี่ วันละ 100-600 มก. นานติดกัน 2 สัปดาห์ มีผลทำให้การทำงานระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น และลดการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ดังนั้น จึงควรระมัดระวังในการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมชนิดต่างๆ ที่มีส่วนประกอบของสารสกัดดังกล่าว ร่วมกับยาที่ออกฤทธิ์ต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด เนื่องจากอาจเสริมฤทธิ์กัน และอาจทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย นอกจากนี้ในตำราแพทย์แผนจีนยังระบุว่าผู้ที่หยินบกพร่อง คือ มีอาการเวียนหัว ตาลาย มีเสียงในหู ปวดเมื่อยเอว ร้อนอุ้งเท้า ปากคอแห้ง ลิ้นแดง มีฝ้าน้อย ไม่ควรกินลิ้นจี่อีกด้วย
เอกสารอ้างอิง ลิ้นจี่
-
วิทิต วัณนาวิบูล. ลิ้นจี่: ก็เป็นยานะ. คอลัมน์อาหารสมุนไพร. นิตยสารหมอชาวบ้านเล่มที่ 75. กรกฎาคม 2528.
-
นิพัฒน์ สุขวิบูลย์. วิจัยและพัฒนาลิ้นจี่. รายงานชุดโครงการวิจัย กรมวิชาการเกษตร. 2558.
-
พิชานันท์ ลีแก้ว. ลิ้นจี่. ผลไม้รสช่ติดีมีประโยชน์. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
-
อุดมลักษณ์ สุขอัตตะ ประภัสสร รักถาวร เมทิกา ลีบุญญานนท์ และพจมาน พิศเพียงจันทน์. 2553. สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ การต้านอนุมูลอิสระ และการต้านเชื้อแบคทีเรียก่อสิวของสารสกัดจากเปลือกผลไม้. เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48 3-5 ก.พ. 2553 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หน้า 364-373.
-
กรณ์กาญจน์ ภมรประวัติธนา. ลิ้นจี่ต้านมะเร็งเต้านม. คอลัมน์บทความพิเศษ. นิตยสารหมอชาวบ้านเล่มที่ 363. กรกฎาคม 2552.
-
วรางคณา จุ้งลก และคณะ. ฤทธิ์มะเร็งช่องปากของสารสกัดจากเมล็ดลิ้นจี่. วารสารมหาวิทยาลัยทักษินปีที่ 14. ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2554. หน้า 30-35.
-
ฤทธิ์ปกป้องตับของลิ้นจี่. ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล.
-
ลิ้นจี่ สรรพคุณและการปลูกลิ้นจี่. พืชเกษตรดอทคอม เว็บเพื่อพืชเกษตรไทย (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http:www.puechkaset.com
-
Nishizawa M, Hara T, Miura T, Fujita S, Yoshigai E, Ue H, et al. Supplementation with a flavanol-rich lychee fruit extract influences the inflammatory status of young athletes. Phytother Res. 2011;25(10):1486-93.
-
Emanuele S, Lauricella M, Calvaruso G, D'Anneo A, Giuliano M. Litchi chinensis as a functional food and a source of antitumor compounds: an overview and a description of biochemical pathways. Nutrients. 2017;9(9):992.
-
Su D, Zhang R, Hou F, Zhang M1, Guo J, Huang F, et al. Comparison of the free and bound phenolic profiles and cellular antioxidant activities of litchi pulp extracts from different solvents. BMC Complement Altern Med. 2014;14:9. doi: 10.1186/1472-6882-14-9.
-
Xiao J, Zhang R, Huang F, Liu L, Deng Y, Wei Z, et al. The biphasic dose effect of lychee (Litchi chinensis Sonn.) pulp phenolic extract on alcoholic liver disease in mice. Food Funct. 2017;8(1):189-200.
-
Wang, X., Yuan, S., Wang, J., Lin, P., Liu, G.and Lu, Y. (2006). Anticancer activity of litchifruit pericarp extract against human breastcancer in vitro and in vivo. Toxicol ApplPharmacol. 215, 1 68-78.
-
Fujii H, Nishioka H, Wakame K, Magnuson BA, Roberts A. Acute, subchronic and genotoxicity studies conducted with oligonol, an oligomerized polyphenol formulated from lychee and green tea extracts. Food Chem Toxicol. 2008;46(12):3553-62.
-
Kong F, Zhang M, Liao S, Yu S, Chi J, Wei Z. Antioxidant activity of polysaccharide-enriched fractions extracted from pulp tissue of Litchi chinensis sonn. Molecules. 2010;15(4):2152- 65.
-
Irene PR, Babu DJ, Rao NV, Sheikh RA. Nootropic Activity of fruit extracts of Litchi chinensis Sonn (Sapindaceae). Int J Phar Tech. 2012;4:4795-804.
-
Wang, X., Wei, Y., Yuan, S., Liu, G., Zhang, Y.L.and Wang, W. (2006). Potential anticanceractivity of lichi fruit pericarp extract againsthepatocellular carcinoma in vitro and in vivo.Cancer Lett. 239, 144-150.
-
Shin YO, Lee JB, Song YJ, Min YK, Yang HM. Oligonol supplementation attenuates body temperature and the circulating levels of prostaglandin E2 and cyclooxygenase-2 after heat stress in humans. J Med Food. 2013;16(4):318-23.
-
Robert MH. Pilot studies of Lychee fruit extract to promote cardiovascular health. ClinicalTrials.gov Identifier: NCT01162213.
-
Zhao, M., Yang, B., Wang, J., Liu , Y., Yu, L. andJiang, Y. (2006). Immunomodulatory andanticancer activities of flavonoids extractedfrom litchi (Litchi chinensis Sonn) pericarp.Int Immunopharmacol. 7, 162-6.