หัวร้อยรู ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆและข้อมูลงานวิจัย
หัวร้อยรู งานวิจัยและสรรคุณ 17 ข้อ
ชื่อสมุนไพร หัวร้อยรู
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น ป่าช้าผีมด (ภาคอีสาน), ตาสิมา, คาลูบูตาสิมา (ภาคใต้, มลายู), กระเช้าผีมด (สุราษฎร์ธานี), ปุมเป้า (ตราด), ร้อยงู (ปัตตานี), กาฝากหัวเสือ (นราธิวาส)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Hydnophytum formicarum Jack
ชื่อสามัญ Ant plant
วงศ์ RUBIACEAE
ถิ่นกำเนิดหัวร้อยรู
หัวร้อยรู เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียโดย มีแหล่งกระจายพันธุ์ในประเทศอินเดีย และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่เมียนม่าห์ ถึงอินโดนีเซียรวมถึงในหมู่เกาะแปซิฟิก และนิวกินี เป็น โดยมักจะพบในป่าดงดิบทั่วไป ส่วนในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ
ประโยชน์และสรรพคุณหัวร้อยรู
- ใช้บำรุงหัวใจ
- แก้โรคปอด
- ช่วยขับชีพจร
- แก้ปวดศีรษะ
- แก้พิษในข้อในกระดูก
- แก้เบาหวาน
- แก้พิษประดง
- แก้ข้อเข่าข้อเท้าบวม
- ช่วยบำรุงน้ำนมในสตรีหลังคลอด
- แก้มะเร็ง
- แก้ท้องร่วง
- ช่วยขับพยาธิ
- ช่วยดับพิษร้อน
- ใช้ถอนพิษไข้
- แก้พิษไข้
- ใช้พาฬแก้พิษอักเสบ บวมช้ำ
- แก้น้ำเหลืองเสีย
รูปแบบและขนาดวิธีใช้
ใช้บำรุงหัวใจ แก้พิษประดง แก้พิษในข้อในกระดูก แก้ข้อเข่าเท้าบวม แก้ปวดศีรษะ บำรุงน้ำนมสตรีหลังคลอด โดยใช้หัวหัวร้อยรู แห้งฝานเป็นแผ่นมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้แก้เบาหวาน โดยนำหัวร้อยรูมาผสมกับต้นกำแพงเจ็ดชั้น หัวข้าวเย็นเหนือ หัวข้าวเย็นใต้ แก่นสัก หญ้ากันชาดทั้งต้น และรากทองพันชั่ง แล้วนำมาต้มเป็นน้ำดื่ม
ลักษณะทั่วของไปหัวร้อยรู
หัวร้อยรูจัดเป็นพืชจำพวกฝาชนิดมีหัว ซึ่งเป็นไม้ที่อิงอาศัยเกาะตามต้นไม้อื่น ลำต้นสูง 25-60 เซนติเมตร มีลำต้นเป็นแบบอวบน้ำ โดยส่วนโคนต้นจะขยายใหญ่เป็นรูปกลมป้อม หรือ โป่งพอง ต้นแก่บางต้นอาจจะมีหัวกลมโตขนาดเท่าลูกมะพร้าว ภายในหัวเป็นรู พรุนไปทั่วหัว สีของเนื้อเป็นสีน้ำตาลเข้มเนื้อนิ่ม ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามเป็นรูปหอกกว้าง หรือ รูปวงรี โคนใบสอบ ปลายใบมน กว้าง 2-7 เซนติเมตร และยา 4-15 เซนติเมตร แผ่นใบอวบน้ำหนาเรียบเนียน ผิวเรียบเกลี้ยงทั้งสองด้าน และมีก้านใบสั้น ประมาณ 2-5 มิลลิเมตร ดอกออกเป็นดอกเดี่ยวโดยจะออกเป็นกระจุก 2-5 ดอก ตามง่ามใบที่อยู่บนกิ่ง และบริเวณรอบ ลักษณะดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกมี 4 กลีบ เป็นแฉกสีขาว เชื่อมติดกันเป็นหลอดไม่มีก้านชูอับเรณู และไม่มีก้านดอก ผลเป็นผลสดรูปไข่กลับ หรือ รูปรี ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีส้ม หรือ สีแดง ผลมีขนาดเล็กมาก กว้างประมาณ 3-4 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 5-7 มิลลิเมตร
การขยายพันธุ์หัวร้อยรู
หัวร้อยรู สามารถขยายพันธุ์ได้โดยวิธีการเพาะเมล็ด การปักชำ และการตอนกิ่ง แต่วิธีที่จะทำให้เกิดหัวจากการขยายพันธุ์มีเพียงการเพาะเมล็ดเท่านั้น ส่วนวิธีการปักชำ และตอนกิ่งพันธุ์ที่ได้จะไม่สามารถพัฒนาให้เป็นหัวได้ ดังนั้นหากต้องการขยายพันธุ์หัวร้อยรู เพื่อให้ได้หัวนั้นต้องใช้วิธีเพาะเมล็ดแล้วนำต้นกล้าที่ได้ไปปลูกเท่านั้น ส่วนวิธีการเพาะเมล็ด และวิธีการปลูกนั้นก็สามารถทำได้ เช่นเดียวกันกับการเพาะเมล็ด และปลูกพืชชนิดอื่นๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในบทความก่อนหน้านี้
องค์ประกอบทางเคมีหัวร้อยรู
มีผลการศึกษาวิจัยถึงองค์ประกอบทางเคมีของหัวร้อยรู พบว่ามีสาระสำคัญที่อยู่ในหัวร้อยรู ได้แก่ สารกลุ่ม flavonoids และ phenolic compounds เช่น isoliquiritigenin, butin, protocatechualdehyde, butein รวมถึงสารกลุ่ม phytosterol เช่น stigmasterol β-silosterol และยังพบ Shapinic acid อีกด้วย
ที่มา : Wikipedia
การศึกษาทางเภสัชวิทยาของหัวร้อยรู
มีผลการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของสารสกัดจากหัวร้อยรู ที่สกัดจากตัวทำละลายต่างๆ ในต่างประเทศหลายฉบับพบว่ามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพ ฤทธิ์ต้านการอักเสบ และมีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็ง เป็นต้น
การศึกษาทางพิษวิทยาของหัวร้อยรู
ไม่มีข้อมูล
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
ในการใช้หัวร้อยรู เพื่อเป็นสมุนไพรทั้งในรูปแบบสมุนไพรเชิงเดี่ยว หรือ ใช้เป็นเครื่องยาหรือส่วนประกอบของตำรับยาต่างๆ ก็ควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกันกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยควรใช้เครื่องยาที่ถูกจัดเตรียมโดยผู้เชี่ยวชาญ หรือ หาซื้อตามห้างร้านที่น่าเชื่อถือ และได้รับอนุญาตจาก อย. และควรใช้ในปริมาณที่พอดีที่ระบุไว้ในตำรับตำราต่างๆ ไม่ควรใช้เกินขนาด หรือ ใช้ติดเนื่องกันเป็นระยาเวลานานจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ สำหรับ เด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังรวมถึงผู้ที่ต้องรับประทานยาต่อเนื่องเป็นประจำก่อนจะได้หัวร้อยรูเป็นสมุนไพรสำหรับบำบัดรักษาโรค ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้เสมอ
เอกสารอ้างอิง หัวร้อยรู
- วีระชัย ณ นคร. 2546. สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ เล่ม 7. โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์.กรุงเทพฯ.
- เยาวพรรณ สนธิกุล, ดวงแขฑิตา กาญจนโสภา, เบญมาศ สมวงศ์, สุรพล ฐิติธนากุล. ผลขอวัสดุเพาะและวัสดุปลูกต่อการงอกของเมล็ด และการเจริญเติบโตของหัวร้อยรู. วารสารแก่นเกษตร ปีที่ 47. ฉบับพิเศษ 1. 2562. หน้า 1425-1430
- หัวร้อยรู. ฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.thaicudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=148
- สาระสำคัญที่สกัดได้จากหัวร้อยรู มีอะไรบ้าง. กระดานถาม-ตอบ. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.medplant.mahidol.ac.th/user/reply.asp?id=6130
- Itharat, A., T.Supavita, P.Jusanit, P.Singchangchai, P. Subchareon, G.Deevisad, P.Ubonkaw, P. Ratanasuwan,V. Kajpunyapong, andR. Muangsrinun. 1999. Survey of Medicinal Plants and Local Folk Wisdom in Southern Thailand: Case Study at Talebun National Parks. Prince of Songkla University, Songkla, pp. 82–115.
- PrachayasitikulS B. P., A.Worachartcheewan, C. Isarankura-Na-Ayudhya, S.Ruchirawat, and V. Prachayasittikul.2008 Antimicrobial and Antioxidative Activities of Bioactive Constituents from Hydnophytumformicarum Jack.Molecules. 13; 904-921.
- Ueda, J.Y., Y. Tezuka, A.H. Banskota, Q. Le Tran, and Q.K. Tran. 2002. Antiproliferative activity of Vietnamese medicinal plants. Biol. Pharmaceut. Bull., 25: 753-760
- Beckstrom-Sternberg, S.M., J.A. Duke, and K.K. Wain. 1994. The ethnobotany database. ACEDB Version 4.3, Data Version July, 1994.
- Nguyen, M.T.T., S.Awale, Y.Tezuka, Q.L.Tran, H. Watanabe,and S.Kadota. 2004. Xanthine oxidase inhibitory activity of Vietnamese medicinal plants. Biol. Pharm. Bull., 27: 1414-1421.