เห็ดเผาะ ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆและข้อมูลงานวิจัย

เห็ดเผาะ งานวิจัยและสรรพคุณ 11 ข้อ

ชื่อสมุนไพร เผ็ดเผาะ
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น เห็ดถอบ, เห็ดเหียง (ภาคเหนือ), เห็ดพะยอม (ภาคใต้), เห็ดหนัง, เห็ดสะแบง, เห็ดยาง, เห็ดดอกดิน (ภาคอีสาน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Astraeus hygrometricus (Pers.) Morgan
ชื่อสามัญ Earthstars.
วงศ์ DIPLOCYSTACEAE


ถิ่นกำเนิดเผ็ดเผาะ

เห็ดเผาะ จัดเป็นเห็ดชนิดหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดในบริเวณเขตร้อนอบอุ่นทั่วโลก สำหรับในประเทศไทย พบได้มากในฤดูฝนบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจะพบได้ตามป่าเต็งรังแพะ ป่าเหียง ป่าตองตึง ซึ่งจะพบเห็ดเผาะบริเวณโคนต้นยางนา พลวง สะแบง ตะเคียน จันทน์กะพ้อ และไม้ในวงศ์ยางนา


ประโยชน์และสรรพคุณเผ็ดเผาะ

  • บำรุงร่างกาย
  • ช่วยชูกำลัง
  • แก้ช้ำใน
  • ช่วยล้างพิษ
  • บำรุงหัวใจ
  • แก้ร้อนใน
  • ช่วยลดอาการบวม
  • แก้อักเสบ
  • ช่วยให้เลือดแข็งตัว
  • บำรุงตับอ่อน
  • แก้เบาหวาน

          เห็ดเผาะถูกนำมาใช้รับประทานในรูปแบบของอาหารมาแต่ช้านานแล้ว โดยมีการเก็บเห็ดเผาะ ที่ยังอ่อนมาในประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น นำมาต้มเกลือ ผัดกับเนื้อสัตว์ นำมาแกง คั่วเกลือกับเนื้อสัตว์ และสมุนไพร เพราะมีรสชาติหวานกรอบอร่อย และในปัจจุบันได้มีการนำมาบรรจุกระป๋องจำหน่ายอีกด้วย

เห็ดเผาะ

รูปแบบและขนาดวิธีใช้

สำหรับการใช้เห็ดเผาะ ตามสรรพคุณของตำรายาไทย และตำรายาพื้นบ้านจะเป็นการใช้ในรูปแบบอาหารสมุนไพรเป็นหลัก ไม่มีรายงานว่ามีการใช้ในรูปแบบอื่นๆ

 

ลักษณะทั่วไปของเผ็ดเผาะ

เห็ดเผาะ จัดเป็นเห็ดราชนิดนี้เชื้อราจำพวก (Ectomycrorhiza) เช่นเดียวกับเห็ดตับเต่า โดยจะเจริญอยู่ร่วมกับรากต้นไม้ยืนต้นแบบเอื้อประโยชน์กัน เพราะเส้นใยของเชื้อราจะเจริญห่อหุ้มรากของต้นไม้ซึ่งจะช่วยรักษาความชุ่มชื้นให้กับต้นไม้ และยังได้รับแร่ธาตุบางอย่าง โดยเฉพาะฟอสฟอรัส ที่เชื้อราช่วยย่อยสลายจากดิน ให้อยู่ในรูปที่ต้นไม้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที ทำให้ต้นไม้มีระบบรากที่แข็งแรง เจริญเติบโตได้รวดเร็ว หาอาหารได้ดีขึ้น ในขณะเดียวกันต้นไม้ก็ได้ให้ความชื้น แร่ธาตุแก่เชื้อราดังกล่าว และเมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม เส้นใยเชื้อราก็จะรวมตัว และพัฒนาเป็นดอกเห็ดบริเวณโคนต้นได้

            สำหรับดอกเห็ดเผาะในระยะอ่อนจะมีรูปร่างกลม ผิวเรียบ สีขาว มีขนาดโดยเฉลี่ย 1.5-3.5 ซม. ด้านในเมื่อยังอ่อนมีเกลบา (gleba) เป็นวุ้นสีขาวเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และสีดำตามลำดับ อีกทั้งเมื่ออายุมากขึ้นผิวด้านนอกของเห็ดเผาะจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อนไปจนเป็นสีน้ำตาลแก่ มีเนื้อเยื่อเหนียวและแข็ง เห็ดเผาะเป็นเห็ด ไม่มีก้านดอก และหมวกดอก เมื่อเห็ดมีอายุแก่เต็มที่ เปลือกด้านนอกจะแตกเป็นแฉก และบานออกเหมือนกลีบดอกไม้ แข็งและเหนียวมาก ส่วนสปอร์เห็ดเผาะมีรูปร่างกลม สีน้ำตาล ขนาด 7-11 ไมโครเมตร ผิวขรุขระ

เห็ดเผาะ

เห็ดเผาะ

การขยายพันธุ์เผ็ดเผาะ

เห็ดเผาะสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้สปอร์ ซึ่งในธรรมชาติเห็ดเผาะ สามารถขยายพันธุ์ได้โดยอาศัยให้สัตว์มากินเห็ดเผาะ แต่สปอร์ที่อยู่ในเห็ดเผาะที่ถูกสัตว์กินนั้นยังไม่ตาย และเมื่อสัตว์เหล่านี้ขับถ่ายออกมา หรือเกิดการชะล้าง และพัดพาของน้ำฝน สปอร์ไปติดอยู่กับรากต้นไม้ ทำให้มีการขยายพันธุ์เกิดขึ้น รวมถึงอาศัยกระแสลมที่พัดเอาสปอร์ที่แก่แล้วไปตกตามที่ต่างๆ ก็จะช่วยให้เกิดการขยายพันธุ์ได้ แต่ในปัจจุบันได้มีการเพาะเห็ดเผาะขึ้นมาจำหน่ายแล้ว โดยมีวิธีการดังนี้ เริ่มจากนำเห็ดเผาะที่แก่จัดมาแกะเอาสปอร์ออกมา จากนั้นนำไปผสมน้ำแล้วนำไปรดต้นกล้าไม้ ตระกูลยางนา (Dipterocarpus) สัปดาห์ละ 1 ครั้งประมาณ 4 สัปดาห์ แล้วสังเกตดูต้นกล้า หากมีเนื้อเยื่อเห็ดเผาะเจริญเติบโตแล้ว จึงนำต้นกล้าดังกล่าวไปปลูก จากนั้นในปีถัดไปจะมีเห็ดเผาะเกิดตามรากต้นกล้า แต่อย่าเพิ่งเก็บ เนื่องจากต้นกล้ายังไม่เจริญพอ รอจนกว่าต้นไม้โตพอประมาณจึงเริ่มทำการเก็บเห็ดเผาะได้


องค์ประกอบทางเคมี

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับองค์ประกอบทางเคมีของเห็ดเผาะ ระบุว่าพบสารออกฤทธิ์หลายชนิดอาทิเช่น astrakurkurol, astrakurkurone, astrahygrol, 3-epi-astrahygrol และ astrahygrone, ergosta-7,22-diene-3-ol acetate, ergosta-4,6,8-(14),22-tetraene-3-one, vanillic acid, anthralinic acid, ferulic acid, protocatechuic acid, salicylic acid, caffeic acid และ syringic acid เป็นต้น นอกจากนี้เห็ดเผาะยังมีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้

          เห็ดเผาะ 100 ก. ให้พลังงาน 47 กิโลแคลอรีมีน้ำ 87.8 ก. คาร์โบไฮเดรต 8.6 ก. ไขมัน 0.4 ก.โปรตีน 2.2 ก. เส้นใย 2.3 ก. แคลเซียม 39 มก. ฟอสฟอรัส 85 มก. ธาตุเหล็ก 3.6 มก. วิตามินC12 มก. วิตามินB1 0.04 มก. วิตามินบB2 0.03 มก. และวิตามินB3 0.7 มก.

โครงสร้างเห็ดเผาะ

การศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของเผ็ดเผาะ

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของเห็ดเผาะระบุว่ามีฤทธิ์ต่างๆ ดังนี้ มีรายงานการศึกษาในหลอดทดลอง และสัตว์ทดลองพบว่า เห็ดเผาะ มีฤทธิ์ปกป้องตับ ปกป้องหัวใจ ต้านอนุมูลอิสระ ต้านเบาหวาน ต้านการอักเสบ กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ต้านเชื้อแบคทีเรีย ยีสต์และเชื้อรา และยังมีฤทธิ์ต้านโปรโตซัวลิชมาเนีย อีกด้วย


การศึกษาวิจัยทางพิษวิทยาของเผ็ดเผาะ

(Leishmania) มีรายงานการศึกษาความเป็นพิษในสัตว์ทดลองพบว่า เห็ดเผาะ มีความปลอดภัยสูง และยังไม่พบการรายงานความเป็นพิษจากการรับประทานเห็ดเผาะในรูปแบบของอาหาร


ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

การเก็บเห็ดเผาะตามป่ามารับประทานต้องอาศัยผู้ที่มีประสบการณ์ และมีความชำนาญ เพื่อป้องกันการเก็บเห็ดเผาะชนิดอื่น มารับประทานจนทำให้เกิดอันตรายได้ ซึ่งมีรายงานว่ามีเห็ดชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะคล้ายกับ “เห็ดเผาะ ” เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะอันตรายมาก เนื่องจากเป็นเห็ดพิษ ซึ่งเห็ดชนิดนั้น คือ เห็ดไข่หงส์ (Scleroderma citrinum Pers.) ที่มีรูปร่างหน้าตาคล้ายคลึงกับเห็ดเผาะมาก ต่างกันที่เห็ดไข่หงส์มีรากเห็ดเผาะไม่มีราก โดยพิษของเห็ดไข่หงส์ จะทำให้มีอาการ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และถ่ายอุจจาระเหลว

เอกสารอ้างอิง เห็ดเผาะ
  1.  เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, บรรณาธิการ. ผักพื้นบ้านภาคเหนือ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2542.
  2. ราชบัณฑิตยสถาน.2539. เห็ดกินได้และเห็มีพิษในประเทศไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน, อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชซิ่ง,กรุงเพทฯง
  3. สมศักดิ์ กรีชัย, บรรณาธิการ. เห็ดเพื่อสุขภาพ สำหรับเป็นอาหาร เป็นยาและเพื่อเศรษฐกิจตามภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแหงประเทศไทย; 2556.
  4. กัญจนา ดีวิเศษ,ศักดิ์ชัย แรดธนาสาร,จิราภรณ์ ภิญโญชูโตและไฉน น้อยแสง.2542.ผักพื้นบ้านภาคเหนือ,องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.กรุงเทพฯ.
  5. กฤติยา,ไชยนอก,เห็ดเผาะ...อร่อยดีและมีประโยชน์.จุลสารข้อมูลสมุนไพรปีที่ 40.ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2565. หน้า 12-24.
  6. สุรีย์พันธุ์ บุญวิสุทธิ์, บรรณาธิการ. ตารางแสดงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย. นนทบุรี: โรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก; 2544.
  7. อชิรญาณ์ปวริศกร วัฒนโกศล.2549.การผลิตหัวเชื้อเห็ดเผาะ1: วัสดุทำหัวเชื้อที่เหมาะสมวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.8: 49-61.
  8. Biswas G, Nandi S, Kuila D, Acharya K. A comprehensive review on food and medicinal prospects of Astraeus hygrometricus. Pharmacogn J. 2017;9(6):799-806.
  9. Mallick S, Dutta A, Chaudhuri A, Mukherjee D, Dey S, Halder S, et al. Successful therapy of murine visceral Leishmaniasis with astrakurkurone, a triterpene isolated from the mushroom Astraeus hygrometricus, involves the induction of protective cell-mediated immunity and TLR9. Antimicrob Agents Chemother. 2016;60(5):2696-708
  10. Chakraborty I, Mondal S, Rout D, Chandra K, Islam SS. Structural investigation of a heteroglycan isolated from the fruit bodies of an ectomycorrhizal fungus Astraeus hygrometricus. Carbohydr Res. 2007;342(7):982-7.
  11. . Mallick SK, Maiti S, Bhutia SK, Maiti TK. Antitumor properties of a heteroglucan isolated from Astraeus hygrometricus on Dalton’s lymphoma bearing mouse. Food Chem Toxicol. 2010;48(8):2115-21.
  12. Pramanik A, Islam SS. Structural studies of a polysaccharide isolated from an edible mushroom, Astraeus hygrometricus. Indian J Chem B. 2000;39B(7):525-9.
  13. Mallick S, Bhutia S, Maiti T. Macrophage stimulation by polysaccharides isolated from barometer earthstar mushroom, Astraeus hygrometricus (Pers.) Morgan (Gasteromycetideae). Int J Med Mushrooms. 2009;11(3):237-48.