หนามกระสุน ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย
หนามกระสุน งานวิจัยและสรรพคุณ 22 ข้อ
ชื่อสมุนไพร หนามกระสุน
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น กาบินหนี (ชื่อเรียกในตำรับยา), โคกกระสุน (ภาคกลาง), หนามดิน (ตาก), ไปจี๋ลี่, ซือจี๋ลี่ (จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tribulus cistoides Linn.
ชื่อสามัญ Ground burnut, Small caltrops, Bullhead, Devil's eyelashes.
วงศ์ ZYGOPHYLLACEAE
ถิ่นกำเนิดหนามกระสุน
หนามกระสุนเป็นพรรณไม้ท้องถิ่นของเขตอบอุ่น และเขตร้อนของโลกโดยเชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดอยู่หลายแหล่งตามทวีปต่างๆ เช่นในเขตอบอุ่นทางยุโรปตอนใต้ และออสเตรเลีย ส่วนในเขตร้อนได้แก่ บริเวณเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแอฟริกา เป็นต้น ทุ่งนา หรือ ตามไร่ส่วน และของเกษตรกร รวมถึงตามริมทาง ริมถนน ก็สามารถพบได้เช่นเดียวกัน
ประโยชน์และสรรพคุณหนามกระสุน
- ช่วยขับปัสสาวะ
- แก้นิ่ว
- แก้กษัย
- แก้หนองใน
- ขับระดูขาว
- แก้ไตพิการ
- แก้ปัสสาวะพิการ
- แก้หน้ามืด
- แก้วิงเวียน
- ช่วยบำรุงตับ
- ช่วยบำรุงไต
- ช่วยบำรุงสายตา
- ช่วยบำรุงกระดูก
- ช่วยลดความดันโลหิต
- แก้อาการปวดทางเดินปัสสาวะ
- ช่วยป้องกันการชัก
- แก้ปวดฟัน
- ช่วยบำรุงอสุจิในเพศชาย
- แก้โรคในระบบทางเดินปัสสาวะ
- ช่วยเสริมสมรรถภาพทางเพศ
- ช่วยเพิ่มฮอร์โมนเพศชาย
- ใช้กระตุ้นการสร้างมวลกล้ามเนื้อเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับนักกีฬา
รูปแบบและขนาดวิธีใช้
ใช้ขับปัสสาวะ แก้หนองใน ขับระดูขาว แก้ไตพิการ แก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว บำรุงกำลัง เพิ่มความกำหนัด เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ โดยใช้ หรือ ใช้ทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม ราก เมล็ด บดเป็นผง ชงกับน้ำร้อน ก็ได้ แก้ไตพิการ แก้นิ่ว แก้กษัย แก้หน้ามืด วิงเวียน โดยใช้ต้นโคกกระสุน 1 กำมือ ต้มดื่มวันละ 3 เวลา แก้ปวดฟัน ใช้รากนำมาฝนผสมกับน้ำนิดหน่อย แล้วจึงนำมาถูกับฟันซี่ที่ปวด บำรุงตับ ไต กระดูก และสายตา ใช้ผลแห้ง จำนวน 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำ 3 แก้ว แล้วเคี่ยวให้เหลือ 1 แก้ว นำมาดื่มครึ่งแก้ว วันละ 2 ครั้ง กระตุ้นกำหนัด บำรุงน้ำอสุจิ โดยใช้เมล็ดแห้งบดให้เป็นผง ใช้กินกับน้ำผึ้ง วันละ 2 ครั้ง ครั้งละประมาณ 1 ช้อนชา ลดความดันโลหิต ใช้ผลหนามกระสุน 15 กรัม ชุมเห็ดเทศ 30 กรัม ชะเอม 6 กรัม เก๊กฮวย 20 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม ส่วนสารสกัดหนามกระสุน 45% ที่มีในต่างประเทศได้ระบุขนาดการใช้ คือ 200–450 มิลลิกรัมต่อวัน
ลักษณะทั่วไปของหนามกระสุน
หนามกระสุนจัดเป็นไม้เถาล้มลุกเลื้อยคลุมดิน มักแตกกิ่งกันไปโดยรอบ ส่วนของปลายยอดจะชูตั้งขึ้น ตามลำต้นมีขนขึ้นปกคลุมโดยแต่ละต้นสามารถยามได้ถึง 150 เซนติเมตร ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดี่ยว ออกเรียงตรงกันข้ามเป็นคู่ มีใบย่อย ซึ่งมีขนาดประมาณ 2.5x6.5ซม. ปลายใบแหลมมน ขอบใบเรียบ และมีขนปกคลุมทั้งสองด้าน ดอกออกเป็นดอกเดี่ยว สีเหลืองมีกลีบดอก 5 กลีบ เป็นรูปไข่กลับ กว้าง 3-5 มิลลิเมตร ยาว 4-8 มิลลิเมตร โดยดอกจะออกตามซอกใบ หรือ ตามข้อของลำต้น ผลเป็นรูปแบบกลมแบบแห้งแล้วแตก โดยซีกผลเป็นแบบผลผักชี กว้าง 2-3 มิลลิเมตร ยาว 4-5 มิลลิเมตร แบ่งได้เป็น 5 ซีก ส่วนเปลือกผลหนา และแข็งเป็นหนามแหลม ที่เรียงเป็น 2 คู่ เนื้อแข็งซึ่ง ใน 1 พู จะมี 2-5เมล็ด
การขยายพันธุ์หนามกระสุน
หนามกระสุนสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ด โดยนับเป็นพืชที่มีขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว เพียงแค่เมล็ดแห้งตกลงพื้นดิน และได้น้ำเพียงนิดหน่อยก็สามารถเจริญเติบโตได้แล้ว ในปัจจุบันยังไม่มีการนิยมนำมาปลูกแต่อย่างใด เพราะหนามกระสุนพบมากในธรรมชาติ รวมถึงยังเป็นวัชพืชที่คอยรบกวนผลิตผลทางการเกษตรกรจึงถูกกำจัดมากกว่าการปลูก ส่วนมากการขยายพันธุ์จะเป็นการขยายพันธุ์ในธรรมชาติ
องค์ประกอบทางเคมี
มีผลการศึกษาวิจัยองค์ประกอบทางเคมีของหนามกระสุน ระบุว่า ใบ และรากพบ protodioscin, Diosgenin, Chlorogenin Harmol, Gitogenin. เมล็ดพบสาร Harman, Harmine. และส่วนอื่นๆ ยังพบสาร Tribuloside, Flavonoid glycoside, Kaempferol-3-glucoside, Kaempferitrin, Kaempferide.
รูปภาพองค์ประกอบทางเคมีของหนามกระสุน
ที่มา :Wikipedia
การศึกษาทางเภสัชวิทยาของหนามกระสุน
ฤทธิ์กระตุ้นกำหนัด มีการศึกษาวิจัยฤทธิ์กระตุ้มความกำหนดในหนูแรทพบว่า สารสกัดหนามกระสุนสามารถเพิ่มแรงดันขององคชาตในหนูแรทที่ถูกทำหมั้นได้เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม แต่ประสิทธิภาพยังน้อยกว่าฮอร์โมนเพศชาย (testosterone)และอีกงานวิจัยหนึ่งระบุว่าจากการศึกษาผลแบบเฉียบพลันในลิง และการศึกษาผลแบบเรื้อรังในกระต่าย และหนูแรทโดยให้กินสารสกัดหนามกระสุนพบว่าระดับ testosterone ของสัตว์ทดลองทั้งหมดสูงขึ้น
ส่วนผลการทพลองทางคลินิกในอาสาสมัครเพศชาย กลุ่มต่างๆ มีผลดังนี้
ในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี เมื่อรับประทานสารสกัดหนามกระสุนแห้งอัดแคปซูลในขนาด 10 และ 20 มก./กก./วัน นาน 4 สัปดาห์ พบว่าระดับ testosterone ไม่มีความแตกต่างกับกลุ่มยาหลอก และการศึกษาในชายที่มีภาวะ ED โดยทานแคปซูลสารสกัดน้ำขนาด 400 มก. วันละ 2 ครั้ง 1 เดือน พบว่าระดับ testosterone ไม่มีความแตกต่างกับกลุ่มยาหลอก ส่วนการศึกษาในผู้ชายที่มีภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย 30 คน ให้ทางสารสกัดน้ำวันละ 750 มก. 3 เดือน ว่าพบมีผลเพิ่มระดับ testosterone
ฤทธิ์ปรับปรุงสมรรถภาพทางเพศในเพศชาย มีการศึกษาฤทธิ์ปรับปรุงสมรรถภาพทางเพศของเพศชายของสารสกัดต้นหนาม กระสุน (Tribulus terrestris L.) โดยสุ่มให้อาสาสมัครเพศชายที่มีภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศอย่างอ่อน และปานกลาง จำนวน 180 คน รับประทานยาเม็ดสารสกัดจากต้นหนามกระสุน (Tribestan®) ขนาด 250มก. (ซึ่งประกอบด้วยสารสกัดมาตรฐาน furotanol sapaonin ไม่น้อยกว่า 112.5 มก.) ครั้งละ 2 เม็ด วันละ 3ครั้ง หลังมื้ออาหาร และให้อีกกลุ่มหนึ่งรับประทานยาหลอก ติดต่อกัน 12 สัปดาห์ จากการประเมินผลการศึกษาโดยใช้แบบสอบถามของ International Index of Erectile Function (IIEF) พบว่ากลุ่มที่ได้รับยาเม็ดหนามกระสุน เพิ่มความพึงพอใจระหว่างการร่วมเพศ ความต้องการทางเพศ และความพอใจทางเพศโดยรวม เพิ่มมากขึ้นกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญ โดยไม่พบอาการข้างเคียงที่เป็นอันตรายหรืออาการไม่พึงประสงค์
นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาวิจัยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของหนามกระสุนด้านอื่นๆ อีกเช่น มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือด คลายกล้ามเนื้อเรียบ และกล้ามเนื้อลาย ลดความดันโลหิต ลดคอเลสเตอรอล ขับปัสสาวะ ลดการอับเสบ แก้ปวด เสริมสร้างกล้ามเนื้อ
การศึกษาทางพิษวิทยาของหนามกระสุน
มีการศึกษาความเป็นพิษของหนามกระสุนโดยเมื่อฉีดสารสกัด 95% เอทานอลเข้าทางช่องท้องของหนูขาวและหนูถีบจักร พบค่า LD50 ที่ขนาด 56.4 มล./กก. และ 7 มล./กก. ตามลำดับ
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
- สตรีมีครรภ์ และสตรีที่อยู่ระหว่างให้นมบุตรห้ามใช้สมุนไพรหนามกระสุน
- เนื่องจากการศึกษาวิจัยพบว่าสารสกัดน้ำของหนามกระสุนมีปริมาณโพเทสเซียมสูง ดังนั้น ผู้ที่เป็นโรคหัวใจควรหลีกเลี่ยงหรือควรระมัดระวังในการใช้
- ในทางการแพทย์จีนได้ระบุไว้ว่า ผู้ที่มีภาวะ เลือดจาง เลือดน้อย ควรหลีกเลี่ยงการใช้หนามกระสุน
- ในการใช้สมุนไพรหนามกระสุนควรต้องระมัดระวัง ในการใช้ ควรใช้ในปริมาณที่พอดีที่ระบุไว้ในตำรายาต่างๆไม่ควรใช้มากเกินไปหรือใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไปเพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ ส่วนเด็กผู้ป่วยเรื้อรังหรือผุ้ต้องรับประทานยาต่อเนื่องควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้หนามกระสุนเสมอ
เอกสารอ้างอิง หนามกระสุน
- ผศ.ดร.วีณา พุกูลการ. หนามกระสุนสมุนไพรกับภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
- พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ. “โคกกระสุน”. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. หน้า 105.
- ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2544. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ พิมพ์ครั้งที่ 2 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม. พิมพ์ที่ บริษัทประชาชน จำกัด. 2544.
- วงศ์สถิต ฉั่วกุล พร้อมจิต ศรลัมพ์ รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล. และคณะ. สมุนไพรพื้นบ้าน. ในวงศ์สถิต ฉั่วกุล พร้อมจิต ศรลัมพ์ รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล และวิชิต เปานิล บรรณาธิกา, สยามไภษัชยพฤก์ ภูมิปัญญาของชาติ. กรุงเทพมหานคร อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พันลิซซิ่ง จำกัด (มหาชน) 2538 272 หน้า
- ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์. “โคกกระสุน Kok Kra Sun”. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. หน้า 85.
- ฤทธิ์ปรับปรุงสมรรถภาพทางเพศชายของต้นหนามกระสุน. ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร.สำนักงานข้อมูลสมุนไพร. คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
- (วิทยา บุญวรพัฒน์). “โคกกระสุน”. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. หน้า 166.
- Actas Urol Esp 2014, 38: 244-248, Phytomedicine 2008, 15: 44-54 , J Sex Marital Ther. 2015, 7:1-5
- Chayamarit K. ZYGOPHYLLACEAE. In: Santisuk T, Larsen K, eds. Flora of Thailand, Volume seven part two. Bangkok: Diamon Co. Ltd., 2000:347-9.