พุดซ้อน ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย
พุดซ้อน งานวิจัยและสรรพคุณ 17ข้อ
ชื่อสมุนไพร พุดซ้อน
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น เก็ดถวา,เค็ดถวา (ภาคเหนือ),พุดจีน,พุดจีบ,พุดใหญ่,พุดสวน,พุด(ภาคกลาง),อินถวา(ภาคอีสาน),พุดป่า(ลำปาง),พุทธรักษา(ราชบุรี),ซัวอึ้งกี่,ซัวกี่,จุยเจียฮวย(จีน)Bunga cina (มาเลเซีย)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Gardenia augusta (L.) Merr.
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Gardenia jasminoides J.Ellis
ชื่อสามัญ Gerdenia, Cape jasmine
วงศ์ RUBIACEAE
ถิ่นกำเนิดพุดซ้อน
พุดซ้อนเป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียบริเวณจีนตอนใต้และในประเทศญี่ปุ่น จากนั้นจึงได้แพร่กระจายพันธุ์ไปยังภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก เช่นใน เวียดนาม พม่า ไทย ลาว มาเลเซีย อินเดีย รวมถึงในทวีปแอฟริกา สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ตามภาคต่างๆ แต่ทางภาคต่างๆ แต่ทางภาคใต้จะไม่ค่อยพบเห็นมากนัก ทั้งนี้ในปัจจุบันมักจะพบพุดซ้อนได้ตามบริเวณบ้านเรือน หรือสวยหย่อมสวนสาธารณะต่างๆ ส่วนในธรรมชาตินั้นจะพบตามป่าดงดิบแถบภาคเหนือเท่านั้น
ประโยชน์และสรรพคุณพุดซ้อน
- แก้ท้องอืดเฟ้อ
- แก้ผื่นคัน
- แก้ตับอักเสบ
- รักษาฝีหนองอักเสบ
- แก้ปวดศีรษะ
- ใช้ขับปัสสาวะ
- ช่วยขับพยาธิ
- แก้กระสับกระส่าย
- แก้เหงือกบวม
- แก้ปวดฟัน
- แก้อาเจียนเป็นเลือด
- แก้ปัสสาวะเป็นเลือด
- แก้เคล็ดขัดยอก
- แก้บิด
- แก้ไข้
- ช่วยแก้อาการร้อนใน
- ใช้เป็นยาดับพิษร้อน
ลักษณะทั่วไปพุดซ้อน
พุดซ้อนจัดเป็นพรรณไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก ลักษณะเป็นพุ่มเตี้ย ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-3 เมตร แตกกิ่งก้านออกเป็นทรงพุ่มแน่นทึบรอบต้น ผิวลำต้นมีสีขาวเทา กิ่งอ่อนเป็นสีเขียว มีรากใต้ดินเป็นสีเหลืองอ่อน ใบ ออกเป็นเดี่ยว ดอกเป็นคู่ เรียงตรงกันข้ามมีลักษณะ เป็นเถามาบริเวณข้อกิ่งใบรูปไข่กลับถึงรูปใบหอก กว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 8-14 เซนติเมตร เนื้อใบหนา ก้านใบสั้น ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ผิวใบด้านบนเป็นมัน สีเขียวเข้ม ดอกออกเป็นดอกเดี่ยว โดยจะออกบริเวณปลายยอดและปลายกิ่ง ดอกมีขนาดใหญ่ มีสีขาวลักษณะของดอกจะมีกลีบดอกซ้อนกันหลายชั้น โคนกลีบแหลม ปลายกลีบมนรี มีกลีบดอกประมาณ 5-6กลีบ เนื้อกลีบนุ่มและมีกลิ่นหอม โดยดอกจะบานได้เพียง 2 วันแล้วจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองจนกระทั่งโรย พุดซ้อนสามารถออกดอกได้ตลอดปีแต่จะออกดอกมากในช่วงฤดูหนาวและฤดูฝน ซึ่งส่งกลิ่นหอมอ่อน ๆ ได้ตลอดทั้งวัน และหอมแรงในช่วงค่ำถึงช่วงเช้ามืด ผลออกเป็นฝักมีลักษณะกลมเป็นรูปไข่หรือรูปกระบอกมีเหลี่ยมตามยาวเป็นสันแหลมโค้ง มีขนาดประมาณ 1-2 เซนติเมตรและยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทองหรือเป็นสีส้มถึงแดง ภาคในมีเมล็ดอยู่ประมาณ 3-5 เมล็ด
การขยายพันธุ์พุดซ้อน
พุดซ้อนสามารถขยายพันธุ์ได้โดยวิธีการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และการปักชำ แต่ในปัจจุบันวิธีที่เป็นที่นิยมกันมาก คือ การตอนกิ่ง เพราะมีเปอร์เซ็นต์การรอดสูง ประหยัดเวลาและทำได้ง่าย โดยมีวิธีการคือ เลือกกิ่งแก่ที่เป็นสีน้ำตาลหรือขาวเทาและมีความสมบูรณ์ของกิ่งสูงมาทำการตอนกิ่ง (เหมือนวิธีการตอนกิ่งไม้พุ่มทั่วๆไป) หลังจากนั้น 3-4 สัปดาห์จะเริ่มออกราก พอรากเดินพอประมาณแล้วจึงตัดลงปลูกได้ โดยการปลูกจะต้องเตรียมหลุมขนาด 50x50x50 เซนติเมตร จากนั้นใช้ปุ๋ยคอกหรือ ปุ๋ยหมัก ดินร่วนใน อัตรา 1:2 ผสมดินปลูก และควรปลูกให้มีระยะที่โดยการปลูกจะต้องเตรียมหลุมที่เหมาะสม เพราะพุดเป็นไม้ที่มีทรงพุ่มใหญ่ ต้องการแสงแดดจัด และต้องการปริมาณน้ำปานกลาง
องค์ประกอบทางเคมี
มีการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของส่วนต่างๆ ของพุดซ้อนผลการศึกษาพบว่า พบสารที่สำคัญหลายชนิด เช่น Genipin-1-B-gentiobioside, Jasminodin, Tanin, Crocin, Dipentene, Geniposide, Gardonin , Shanzhiside, Gum เป็นต้น นอกจากนี้ในน้ำมันหอมระเหยของพุดซ้อนยังพบสารหลักคือสาร Linalool ที่มีฤทธิ์สงบประสาท อีกด้วย
ที่มา : Wikipedia
รูปแบบและขนาดวิธีใช้
ใช้แก้อาการปวดศีรษะโดยใช้ใบสดมาตำแล้วพอกบริเวณที่ปวด ใช้แก้ไข้ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับพยาธิ โดยใช้รากแห้งมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะเป็นเลือด แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้กระสับกระส่ายนอนไม่หลับ โดยใช้ผลแห้งมาต้มกับน้ำดื่ม แต่หากจะใช้แก้ปวดฟัน แก้เหงือกบวม ให้อบกลั้วปาก ใช้แก้บิด แก้เคล็ดขัดยอก โดยใช้เปลือกต้นมาต้มกับน้ำดื่ม แก้ตับอักเสบเฉียบพลัน และมีอาการตัวเหลือง ให้ใช้รากพุดซ้อนสด 70 กรัม รากหญ้าคา เปลือกต้นหม่อนและรากใบไผ่เขียว อย่างละ 35 กรัม นำมารวมกันต้มกับน้ำรับประทาน ส่วนในตำรายาจีนระบุถึงการใช้ดังนี้
- ปัสสาวะเป็นเลือด-ใช้รากพุดซ้อน และรากหญ้าคา อย่างละ 1 ตำลึง พร้อมเง่าปัว 2 ตำลึง ต้มกวยแชะ
- ร้อนในปวดฟัน-ใช้รากพุดซ้อนหนัก 1 ตำลึง ต้มนํ้าใส่นํ้าตาลแดง หรือใช้รากหนัก 1 ตำลึง ต้มพร้อมรากเนียมหูเสือ 1 ตำลึง รับประทาน
การศึกษาทางเภสัชวิทยา
มีการศึกษาทางเภสัชวิทยาของพุดซ้อนในต่างประเทศหลายฉบับพบว่า มีฤทธิ์ลดความดันโลหิต ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ฤทธิ์ห้ามเลือดและสมานบาดแผล ฤทธิ์กระตุ้นน้ำดี ฤทธิ์ต้านการอักเสบ และมีฤทธิ์ช่วยในการสงบประสาท เป็นต้น
การศึกษาทางพิษวิทยา
ไม่มีข้อมูล
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
- ในทางการแพทย์แผนจีนระบุว่าผู้ที่ไฟธาตุเย็น ห้ามใช้พุดซ้อนเป็นยาสมุนไพร
- ในการใช้พุดซ้อนเป็นสมุนไพรสำหรับบำบัดรักษาอาการของโรคต่างๆนั้น ควรระมัดระวังในการใช้ เช่นเดียวกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยควรใช้ในขนาดตามที่ระบุไว้ในตำรับตำรายาต่างๆ ไม่ควรใช้เกินปริมาณที่กำหนด และไม่ควรใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ สำหรับเด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รวมถึง ผู้ที่ต้องรับประทานยาเป็นประจำ ก่อนจะใช้พุดซ้อนเป็นสมุนไพรสำหรับบำบัดรักษาโรคต่างๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ
เอกสารอ้างอิง
- เอื้อมพร วีสมหมาย. 2551. พรรณไม้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม 1. โรงพิมพ์ เอช เอ็น กรุ๊ป จำกัด, กรุงเทพฯ. 335 น.
- วิทยา บุญวรพัฒน์. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “พุดซ้อน”. หน้า 392.
- ปิยะ เฉลิมกลิ่น.2548.พรรณไม้วงศ์กระดังงา.พิมพ์ครั้งที่2.สำนักพิมพ์บ้านและสวน.กรุงเทพฯ.140น.
- ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “พุดซ้อน”. หน้า 562-563.
- วาสนา พลายเล็ก.2556.ไม้ดอกหอม.สำนักพิมพ์บ้านและสวน.กรุงเทพฯ.128น.
- ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม.พจนานุกรมไม้ดอกไม้ประดับ.2542.