หนานเฉาเหว่ย ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

หนานเฉาเหว่ย งานวิจัยและสรรพคุณ 29 ข้อ

ชื่อสมุนไพร หนานเฉาเหว่ย
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น ป่าช้าเหงา, ป่าช้าหมอง (ทั่วไป), ป่าเฮ่วหมอง (ภาคเหนือ), หนานเฟยเฉา, หนานเฟยซู่ (จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Vemonia amygdalina Delile
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Gymnanthemum extensum
ชื่อสามัญ Bitter leaf tree
วงศ์ ASTERACEAE

ถิ่นกำเนิดหนานเฉาเหว่ย

หนานเฉาเหว่ย จัดเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในประเทศจีน จากนั้นจึงได้มีการแพร่กระจายพันธุ์โดยการถูกนำไปปลูกในเขตร้อนต่างๆ ทั่วโลกทั้งใน เอเชีย และแอฟริกา สำหรับในประเทศไทยในปัจจุบันสามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ แต่จะพบในภาคเหนือมากที่สุดเนื่องจากมีการใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง โดยนิยมปลูกไว้ตาบ้านเรือนเพื่อใช้ประโยชน์ทางยา


ประโยชน์สรรพคุณหนานเฉาเหว่ย

  • รักษาโรคเรื้อรัง
  • โรคขางโรคสาน (โรคที่มีก้อนเนื้อผิดปกติเกิดขึ้นในร่างกาย)
  • ใช้แก้พิษ
  • ช่วยลดความดันโลหิต
  • ช่วยลดน้ำตาล
  • ช่วยลดไขมันในเลือด
  • แก้ไข้
  • แก้ไอ
  • รักษาฝี
  • รักษาแผล
  • รักษาอาการปวดศีรษะ
  • แก้ตับอักเสบ
  • แก้มาลาเรีย
  • ช่วยบำรุงร่างกาย
  • แก้คลื่นไส้
  • แก้บิด
  • แก้ปวดท้อง
  • แก้คัน
  • รักษาอาการผิดปกติของกระเพาะอาหารแผลตามผิวหนัง
  • แก้ท้องเสีย
  • รักษาต่อมทอลซิลอักเสบ
  • รักษาท้องผูก
  • รักษาริดสีดวงทวาร
  • ช่วยขับพยาธิ
  • ช่วยขับรกหลังคลอด
  • แก้ประจำเดือนไม่ปกติ
  • ป้องกัน และรักษาโรคความดันโลหิตสูง
  • ช่วยทุเลาปัญหาการขาดสารอาหาร
  • รักษาโรคตับจากการดื่มแอลกอฮอล์

         หนานเฉาเหว่ย ถูกนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรตั้งแต่ในอดีตแล้ว โดยจากการสืบค้นข้อมูลพบว่ามีการใช้หนานเฉาเหว่ยในการแพทย์พื้นบ้านทั่วไปทั้งในจีน แอฟริกา และทางภาคเหนือของไทย โดยใช้รักษาโรคได้หลากหลาย เช่น การแพทย์พื้นบ้านภาคเหนือ

         ส่วนในต่างประเทศมีการใช้หนานเฉาเหว่ย เป็นสมุนไพร ดังนี้

ประเทศ

ส่วนที่ใช้

สรรพคุณ

เอธิโอเปีย

ใบ

ใบ ราก

โรคกระเพาะ แผล ท้องเสีย หิด ตับอักเสบ พยาธิ ทอนซิลอักเสบ ไข้

แก้ปวดท้องจากการมีพยาธิ

คองโก

ใบและเปลือกราก

แก้ท้องเสีย แก้บิด มาลาเรีย ตับดับเสบ พยาธิ

กานา

สารสกัดจาใบ

มาลาเรีย ท้องผูก ทำให้แท้ง ปวดท้อง แผล ปวด การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน ผิวหนังอักเสบ

กาบอง

น้ำคั้นจากใบ

ขับพยาธิตัวตืด

กินี

สารสกัดจาใบ

แก้ไอ

ไนจีเรีย

ใบ ราก และกิ่ง

แก้ปวดท้อง แก้คัน ถ่ายพยาธิ ไข้ไทฟอยด์ ปวดศีรษะ เบาหวาน ท้องผูก ริดสีดวงทวาร

คาเมรูน

น้ำหมักจากใบ

แก้มาลาเรีย ขับพยาธิ โรคลำไส้

แอฟริกาใต้

ราก

พยาธิในเลือด หมัน ประจำเดือนไม่มา

เซเนกาล

ชาชง

หญิงเป็นหมัน

อินเดีย

ใบ

ลำต้นและราก

เบาหวาน

บำบัดอาการของโรค HIV (ลดไข้ ผื่น ปวด ปวดท้อง ไอ) หัด บิด ไข้หวัดใหญ่

อูกานดา

ใบ

กันชัก ไอ ปวดมดลูก ทำให้มดลูกบีบตัว ช่วยขับรกหลังคลอด ประจำเดือนไม่ปกติ หมัน ปวดท้อง  การติดเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา

รวันดา

ใบ ผล

แก้ท้องเสีย ปวดท้อง ตับอักเสบ บิด มาลาเรีย พยาธิ

แทนซาเนีย

ใบ ราก

แก้งูกัด ไข้ ปวดท้อง กระตุ้นความอยากอาหาร

เคนยา

ใบราก

แก้ท้องเสีย แก้ปวดท้อง ท้องอึด ไข้ พยาธิ

หนานเฉาเหว่ย

รูปแบบและขนาดวิธีใช้

ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง โดยใช้ใบสด (ขนาดใหญ่) ให้กินวันละ 1 ใบ วันเว้นวัน หรือ 2-3 วัน/ครั้ง ติดต่อไม่เกิน 1 เดือน ใช้แก้ไข้ แก้ไอ รักษาอาการปวดศีรษะ บำรุงร่างกาย แก้คลื่นไส้ แก้ความผิดปกติของกระเพาะอาหาร แก้ท้องเสีย แก้ต่อมทอลซินอักเสบ ต้านพยาธิ แก้ท้องผูก รักษาตับ แก้ตับอักเสบ แก้โรคขาง โรคสาร แก้มาลาเรีย โดยการนำใบเท่าฝ่ามือ 3 ใบ ต้มกับน้ำ 1 ลิตร ต้มพอเดือด ดื่ม 250 มิลลิลิตร ก่อนอาหารเช้า วันละ 1 ครั้ง ถ้าดื่มเป็นถ้วยชา ครั้งละ ½ แก้วน้ำชา หลังอาหาร 3 มื้อ แต่รับประทานต่อเนื่องให้รับประทานบ้างหยุดบ้าง หรือ นำใบสดมาเคี้ยวครั้งละ 1 ใบ ก่อนอาหารเช้า กินวันเว้นวัน หรือ 2-3 วัน รับประทาน 1 ครั้ง หรือ นำใบสดครั้งละประมาณ 4-5 ใบ นำมาตำให้ละเอียดแล้วคั้นผสมน้ำต้มสุกเล็กน้อยให้ได้ประมาณ ½ แก้วน้ำชา แล้วนำมาดื่มทุกเช้าก่อนอาหาร


ลักษณะทั่วไปของหนานเฉาเหว่ย

หนานเฉาเหว่ย จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงตั้งแต่ 3-8 เมตร ลำต้นมีสีน้ำตาล ผิวขรุขระเล็กน้อย มีตาสีขาวตรงข้อของลำต้นเปราะหักง่าย ใบเป็นใบเดี่ยวออกแบบเรียงสลับ ใบรูปขอบขนานโคนใบมน หรือ แหลมเล็กน้อย ปลายใบแหลม ใบมีขนาดกว้าง 3-8 เซนติเมตร ยาว 9-22 เซนติเมตร ใบมีสีเขียวเข้ม รสขมจัด ดอกออกเป็นช่อสั้นๆ บริเวณปลายยอด และซอกใบจะออกเป็นกระจุกเล็กๆ ดอกตัวผู้ดอกย่อยมีขนาดเล็กสีเขียวอ่อน หรือ เหลืองอ่อน มีกลิ่นหอมกว้างประมาณ 12 มิลลิเมตร มีกลีบรองดอก 5 กลีบ ไม่มีกลีบดอก ส่วนดอกตัวเมียมีลักษณะคล้ายกับดอกตัวผู้ แต่จะมีรังไข่ที่เหนือวงกลีบ และมีขนขึ้นดอกหนาแน่น ผลมีลักษณะกลม ผิวเกลี้ยง เป็นพูเล็กๆ 3 พู มีขนาดผลประมาณ 2 เซนติเมตร ผลอ่อนจะมีเนื้อสีเขียว ส่วนผลแก่จะมีเนื้อสีเหลืองแสด ด้านในมีเมล็ดขนาด 7-8 มิลลิเมตร โดย 1 ผล จะมี 3 เมล็ด อยู่ในแต่ละพูของผล และมีเนื้อเยื่อขาวๆ หุ้มอยู่

หนานเฉาเหว่ย

การขยายพันธุ์หนานเฉาเหว่ย

หนานเฉาเหว่ย สามารถขยายพันธุ์ได้โดยวิธีการเพาะเมล็ด และการปักชำ แต่ในปัจจุบันวิธีที่เป็นที่นิยม คือ การปักชำ เนื่องจากเป็นวิธีที่สามารถทำได้ง่ายและรวดเร็ว ด้วยการปักชำกิ่งแก่ลงในดินเพียง 7-10 วัน ยอดอ่อนก็จะแทงยอดออกมาจากกิ่งชำ จากนั้นเลี้ยงต่ออีก 7 วัน ก็สามารถย้ายลงปลูกได้ สำหรับวิธีการปักชำหนานเฉาเหว่ย สามารถทำได้เช่นเดียวกันกับการปักชำไม้ยืนต้นชนิดอื่นๆ ซึ่งได้กล่าวมาแล้วในบทความก่อนหน้านี้


องค์ประกอบทางเคมี

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับองค์ประกอบทางเคมีจากส่วนของใบหนานเฉาเหว่ย และสารสกัดหนานเฉาเหว่ย จากส่วนใบ ระบุว่าพบสารออกฤทธิ์ที่สำคัญหลายชนิดอาทิเช่น Benzoic acid, Xylocaine, Neophytadiene, Hexadecanoic acid, Phytol, Hexadecanoic acid, ethyl ether, Octadecanoic acid, -9,12-Octadecadienoic acid, -9,12,15-Octadecatrien-1-ol , -9, 12, 15-Octadecatrienoic acid, ethyl ester, vernolide, vernonioside b1, chlorogenic acid, Luteolin-7-0 glucoside, dicaffeoyl quinic acid, 1,5, dicaddeoyl quinic acid เป็นต้น

โครงสร้างหนานเฉาเหว่ย 

การศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของหนานเฉาเหว่ย

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาของหนานเฉาเหว่ยระบุว่ามีรายงานการศึกษาวิจัยฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของหนานเฉาเหว่ยในหนูทดลอง ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวาน โดยป้อนสารสกัดเอทธานอลจากใบขนาด 400 มก./กก.ให้ทางปากเป็นเวลา 28 วัน พบว่ามีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดลงได้ถึง 32.1% โดยกลไกการยับยั้งเบาหวานเกิดจากการยับยั้งเอนไซม์ hepatic G6Pase ทำให้เกิดการแสดงออกของและการเปลี่ยนที่ของ GLUT4 ในกล้ามเนื้อลาย และการเพิ่มระดับของอินซูลินในตับ และใน พลาสม่าจากผลต่อการปกป้องเซลล์เบต้าในตับอ่อน โดยคาดว่าเกิดจากสารกลุ่ม polyphenol ที่มีปริมาณมากในสารสกัดเอทธานอลจากใบเป็นตัวออกฤทธิ์ และมีการศึกษาวิจัยคุณสมบัติของสารต้านอนุมูลอิสระและต่อต้านโรคเบาหวานของสารสกัดตามลำดับของหนานเฉาเหว่ย จากองค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดต่อต้านโรคเบาหวานที่มีประสิทธิภาพที่สุด การใช้การกำจัดอนุมูลอิสระ DPPH และ ABTS และการตรวจ FRAP สารสกัดพบว่า มีแนวโน้มขึ้นอยู่กับปริมาณของสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์คงตัวในปริมาณของตัวทำละลายต่อไปนี้: สารสกัดน้ำ > สารสกัดเมทานอล > สารสกัดคลอโรฟอร์ม > และสารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์ โดยในการทดสอบความทนทานต่อกลูโคสในช่องปาก พบว่าสารสกัดคลอโรฟอร์มมีการตอบสนองสูงสุด (33.3%) หลังจากให้หนูกินน้ำตาลเป็นเวลา 14 วัน ซึ่งสารสกัดคลอโรฟอร์มมีผลต่อเลือดสูงสุด (23.5%) และเซรั่ม (21.4%) ลดน้ำตาลกลูโคส (P <0.05) ส่วนการวิเคราะห์ GC-MS ของสารสกัดคลอโรฟอร์ม พบว่า มีกรดไลโนเลอิก 4.72%, กรด a-linolenic 10.8% และไฟติออล 12.0% 

           การศึกษาวิจัยฤทธิ์ต้านมะเร็งและความเป็นพิษต่อเซลล์ของหนานเฉาเหว่ย พบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งต่างๆ เช่น เซลล์มะเร็งเต้านม ของสารสกัดใบจากน้ำส่วนสารสกัดปิโตรเลียมอีเธอร์ และเอทธิลอะซีเตทมีผลต่อเซลล์มะเร็งตับ และมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และสารสกัดคลอโรฟอร์มรวมถึงสารสกัดเมทธานอลมีผลต่อเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว 

           สำหรับฤทธิ์ต้านการอักเสบ ระบุว่าสารสกัดน้ำจากใบมีฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบเมื่อหนูทดลองถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบของอุ้งเท้าด้วยสารคาราจีแนน และสารสกัดเอทธานอลในขนาด 25-100 ไมโครกรัม/มล. จะยับยั้งการทำงานของพอลิมอร์ไฟนิวเคลียร์และโมโนนิวเคลียร์เซลล์โดยไม่ทำให้เซลล์ตาย

           ส่วนการศึกษาฤทธิ์ในนการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ระบุว่ามีผลการทดลองต่างกันไปตามประเภทของสารสกัดเช่น สารสกัดเมทธานอลมีผลยับยั้งแบคทีเรีย ทั้งแกรมบวกและแกรมลบ ได้แก่ Bacillus cereus, Bacillus subtilis, Staphylococcus aureus, Klebsella pneumoniae, Pseudomonas aeruginosa, Proteus vulgaris, Shigella dysentaria และ Escherichia coli เป็นต้น

           ส่วนการศึกษาฤทธิ์ต้านมาลาเรียของส่วนใบหนานเฉาเหว่ย โดยให้หนูทดลองติดเชื้อ Plasmodial berghei รักษาด้วยสมุนไพรนี้ในขนาด 1000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวันติดต่อกัน 4 วัน พบว่าสามารถลดจำนวนเชื้อลงได้ถึง 82.3% ส่วนการทดลองทางคลินิก มีผลลดเชื้อมาลาเรียในกระแสเลือดได้ 32% เมื่อให้ยาในปริมาณ 500 มก./กก./วัน

           และนอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิจัยฤทธิ์ในการปกป้องตับ โดยให้สัตว์ทดลองกินสารสกัดน้ำจากใบหนานเฉาเหว่ยพบว่ามีผลลดเอนไซม์แอสพาเตทอะมิโนทรานสเฟอเรส (AST) อะลานีนทรานสมิเนส (ALT) และอัลคาไลน์ฟอสฟาเตส (ALP) และเอนไซม์อื่นๆ ที่เป็นตัวบ่งชี้การทำงานของตับและการให้สารสกัดเมทธานอลกับหนูก็มีผลในการลดเอนไซม์ดังกล่าว และช่วยทำให้ตับไม่ถูกทำลายด้วยอนุมูลอิสระโดยเทียบจากค่าโปรตีนและกลูต้าไธโอนของหนูที่ได้รับรังสีแกมม่า มีระดับเพิ่มขึ้น


การศึกษาวิจัยทางพิษวิทยาของหนานเฉาเหว่ย

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยทางพิษวิทยาของหนานเฉาเหว่ยดังนี้ มีการศึกษาความเป็นพิษในสัตว์ทดลอง พบว่าเมื่อป้อนสารสกัดน้ำ สารสกัดเมทานอล และผงใบ ให้หนูแรท ขนาด 100-1,000 มก./วัน เป็นเวลา 28-65 วัน ให้แก่สัตว์ทดลอง ไม่ความผิดปกติของตับและไต และผลต่อค่าชีวเคมีอื่นในเลือด แต่อีกการศึกษาหนึ่งในหนูแรท ระบุว่าเมื่อฉีดสารสกัดน้ำจากใบหนานเฉาเหว่ย  ขนาด 50 และ 100 มก./กก.น้ำหนักตัว ให้แก่สัตว์ทดลองวันละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 4 วัน พบว่าสารสกัดน้ำทั้งสองขนาดมีผลทำให้ค่าเอนไซม์ aspartate aminotransferase ซึ่งบ่งบอกถึงความผิดปกติของตับมีค่าสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ได้รับน้ำเปล่า ในขณะที่เอนไซม์ที่บ่งถึงการทำงานของตับอีก 2 ชนิด ได้แก่ alanine aminotransferase และ alkaline phosphatase มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามขนาดความเข้มข้นที่ได้รับเช่นกันแต่ยังไม่ถึงนัยสำคัญทางสถิติ จึงสรุปได้ว่าสารสกัดน้ำจากใบหนานเฉาเหว่ยอาจก่อให้เกิดพิษต่อตับได้

           นอกจากนี้ยังมีรายงานเกี่ยวกับความเป็นพิษของสารสกัดหนานเฉาเหว่ยระบุว่า สารสกัดน้ำ ขนาด 500-2,000 มล./กก. ที่ให้แก่หนูถีบจักร ทางหน้าท้องทุกวัน ต่อเนื่องกันเป็นเวลา 14 วัน แม้ไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษ แต่ก็ลดจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงของหนู โดยสารสกัดเอทานอลและสารสกัดน้ำ จากใบ มีพิษเฉียบพลันน้อยมาก แต่สารสกัด ขนาด 600 มก/กก ที่ให้ต่อเนื่องกันเป็นเวลานานทำให้เอนไซม์ Alanine transaminase (ALT), Aspartate transaminase (AST) และ Alkaline phosphatase (ALP) และคอเลสเตอรอล (Cholesterol) เพิ่มขึ้น สารสกัดจากใบเป็นพิษในระดับต่ำ ต่อหนูถีบจักร โดยมีค่ำ IC50 มากกว่า 2,000 มก./กก. แต่ว่าก่อให้เกิดการแตกของโครโมโซม และเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งที่ผิวหนัง อีกด้วย


ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ความดันโลหิตต่ำ หญิงตั้งครรภ์หญิงให้นมบุตร หญิงที่วางแผนจะตั้งครรภ์ รวมไปถึงผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับตับและไต ไม่ควรใช้หนานเฉาเหว่ย ใน รูปแบบการรับประทานเนื่องจากอาจทำหน้ำตาลในเลือดลดอย่างรวดเร็วเกินไป จนเป็นอันตรายได้ ส่วนผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงเป็นปกตินั้นควรใช้ด้วยความระมัดระวังโดยไม่ควรรับประทานติดต่อกันทุกวัน หรือ ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะการรับประทานติดต่อกันอาจมีผลกระทบกับร่างกายได้ และหากรับประทานหนานเฉาเหว่ยแล้วมีอาการผิดปกติ เช่น ความดันตก น้ำตาลตก วิงเวียน หน้ามืด ใจสั่น เหงื่อออก ต้องหยุดทันที

เอกสารอ้างอิง หนานเฉาเหว่ย
  1. ศรีสมพร ปรีเปรม. (2561). การศึกษาด้านเภสัชเวทของหนานเฉาเหว่ย. คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น 10 หน้า
  2. วลัยพร สินสวัสดิ์ และคณะ. การวิเคราะห์สารประกอบฟินอลิก และความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดใบหนาเฉาเหว่ย และใบมะม่วงหาวมะนาวโห่. รายงานการวิจัยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.พฤษภาคม 2564. 29 หน้า
  3. วรินทร อินทน้ำเงิน,นพรัตน์ พุทธกาล.องค์ประกอบทางเคมี ความเป็นพิษต่อเซลล์ ฤทธิ์ยับยั้งการผลิตไนตริกออกไซด์ การทำงานของเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดส และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดเอทานอลใบหนานเฉาเหว่ย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 41. ฉบับที่ 1 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2565. หน้า 1-17
  4. หนานเฉาเหว่ย. กระดานถาม-ตอบ สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.midplant.mahidol.ac.th/user/reply.asp?id=7170
  5. Akinpelu DA (1999) Antimicrobial activity of Vernonia amygdalina leaves. Fitoterapia, 70:432-434
  6. Nabukenya, I., Rubaire-Akiiki, C., Mugizi, D., Kateregga, J., & Olila, D. (2014). Sub-acute toxicity of aqueous extracts of Tephrosia vogelii, Vernonia amygdalina and Senna occidentalis in Rats. Natural Product Research, 2, 143. doi: 10.4172/2329-6836.1000143 Page 2 of 5 acute study
  7. Izevbigie EB, Bryant JL, Walker A (2004). A novel natural inhibitor of extracellular signal-regulated kinases and human breast cancer cell growth. Experimental Biology and Medicine, 229: 163-169
  8. Yeap SK, Yong HW, Beh BK, et al.2010 Vernonia amygdalina, an ethnoveterinary and ethnomedical used green vegetable with multiple bioactivities. J Medic. Plants res., 4: 2787-2800
  9. Arhoghro EM, Ekpo KE, Anosike EO, Ibeh GO (2009). Effect of aqueous extract of bitter leaf (Vernonia amygdalina Del) on carbon tetrachloride (CCl4) induced liver damage in albino wistar rats. Eur. J. Sci. Res., 26: 122-130
  10. Ekeocha PC, Fasola TR, Ekeocha AH. The effect of Vernonia amygdalina on alloxan induced diabetic albino rats. Afr J Food Sci Technol. 2012;3(3):73-7.
  11. Iroanya O, Okpuzor J, Mbagwu H (2010) Anti-nociceptive and antiphlogistic actions of a polyherbal decoction. Int. J. Pharmacol., 6:31-36.
  12. Njan, A.A., Adzu, B., Agaba, A.G., Byarugaba, D., Díaz-Llera, S., & Bangsberg, D.R. (2008). The analgesic and anti-plasmodial activities and toxicology of Vernonia amygdalina. Journal of Medicinal Food, 11 (3), 574-581.
  13. Adaramoye O, Oogungbenro B, Anyaegbu O, Fafunso M (2008b). Protective effects of extracts of Vernonia amygdalina, Hibiscus sabdariffa and vitamin C against radiation-induced liver damage in rats. J. Radiat. Res., 49: 123-131
  14. Challand, S., Willcox, M., 2009. A clinical trial of the traditional medicine Vernonia amygdalina in the treatment of uncomplicated malaria. Journal of Alternative and Complementary Medicine 15, 1231–1237
  15. Koko WS, Mesaik MA, Yousaf S, Galal M, Choudhary MI (2008). In vitro immunomodulating properties of selected Sudanese medicinal plants. J. Ethnopharmacol., 118: 26-34.
  16. Atangwho J.I., Egbung E.G., Ahmad M., Yam F.M. and Asmawi Z.M. (2013). Antioxidant versus antidiabetic properties of leavrs from Vernonia amygdalina Del. Gr oeing in Malaysia. Food Chemistry. 3428-3434