เสม็ดชุน ประโยชน์ดีๆ สรรพรคุณเด่นๆและข้อมูลงานวิจัย

เสม็ดชุน งานวิจัยและสรรพคุณ 16 ข้อ

ชื่อสมุนไพร เสม็ดชุน
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น เสม็ดแดง (ทั่วไป), ผักเม็ก, เม็ก (ภาคอีสาน), ไตร้เม็ด (ภาคเหนือ), เม็กชุน (นครศรีธรรมราช), ยีมือแล (มลายู)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Syzygium gratum (Wight) S.N.Mitra var. gratum
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Syzygium antisepticum
วงศ์ MYRTACEAE

ถิ่นกำเนิดเสม็ดชุน

เสม็ดชุน เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย บริเวณเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีการกระจายพันธุ์ ในประเทศอินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย รวมไปถึงฟิลิปปินส์ สำหรับในประเทศไทยพบมาก ในที่ชื้นตามป่าดิบแล้ง ป่าพรุ ป่าชายเลน ตามที่โล่งแจ้ง ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลจนถึง 1,400 ม.
 

ประโยชน์และสรรพคุณเสม็ดชุน

  • แก้เบื่อเมา
  • แก้ผิดสำแดง
  • ช่วยขับพยาธิ
  • แก้ลมพิษ
  • แก้พิษน้ำเกลี้ยง
  • แก้ฟกช้ำ
  • แก้เมื่อย
  • แก้ปวดบวม
  • แก้ปวดท้องในเด็ก
  • แก้หมัด เหา
  • แก้ปวดฟัน
  • ช่วยขับเสมหะ
  • ช่วยขับลม
  • ช่วยขับพยาธิ
  • ช่วยแก้เคล็ดขัดยอก
  • แก้การเกิดสิว

           เสม็ดชุน ถูกนำมาใช้ประโยชน์หลายด้าน อาทิเช่น ยอดอ่อน หรือ ใบอ่อนมีรสเปรี้ยวอมฝาดกินเป็นผักสด หรือ ลวกจิ้มน้ำพริก นำมาต้มดื่มแบบน้ำชาได้ ส่วนผลของเสม็ดชุนยังสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องปรุงอาหารได้ โดยจะให้รสเผ็ดร้อนอีกด้วย ส่วนอีกประโยชน์หนึ่งของเสม็ดชุน คือ นำมาปลูกเป็นไม้ประดับบริเวณสวนหย่อม สวนสาธรณะ หรือ ตามอาคารสถานที่ต่างๆ เนื่องจากเสม็ดชุน เป็นไม้ที่มีทรงพุ่มสวย และยังเป็นต้นไม้ที่มีความทนทานต่อสภาพอากาศ ดูแลง่าย

รูปแบบและขนาดวิธีใช้เสม็ดชุน

แก้ผิดสำแดง แก้พิษเบื่อเมา โดยใช้รากมาต้มกับน้ำดื่ม ใช้แก้เคล็ดขัดยอก ฟกบวมช้ำ แก้ปวดเมื่อย บวม โดยใช้ใบสด ตำป่นปิดพอก ใช้แก้ลมพิษ ผื่นคัน โดยใช้เปลือกต้นมาต้มกับน้ำ ให้น้ำงวดแล้วจึงนำมาทาบริเวณที่เป็น ใช้แก้ปวดฟันโดยใช้สำลีชุบน้ำมันจากใบแก่แล้วนำมาอุดฟันที่ปวด ใช้ขับเสมหะ ขับลม ขับพยาธิ โดยนำยอดอ่อนมากินสดแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ปวดท้องในเด็ก โดยใช้ผลมะกรูด และใบพลู มารมควันใต้ใบเสม็ดพออุ่นๆ แล้วนำมานาบที่ท้องเด็ก


ลักษณะทั่วไปของเสม็ดชุน

เสม็ดชุน จัดเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ สูงได้ถึง 20 เมตร (แต่ส่วนมากพบสูง 5-7 เมตร) มีลักษณะ หรือ ยอดเป็นพุ่มกลมกิ่งเป็นสันสี่เหลี่ยม แตกกิ่งก้านมาก ลำต้นสีน้ำตาลแดง เปลือกบางแตกเป็นสะเก็ดซ้อนกันหลายๆ ชั้น ลำต้นเป็นพูพอนเมื่อมีอายุมาก

           ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตรงข้าม ใบเป็นรูปไข่ รูปรีถึงใบหอก มีสีเขียวกว้าง 2-5 เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบแหลม หรือ มนขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนเป็นมัน ส่วนใบอ่อนมีสีน้ำตาลอมชมพู 

           ดอก ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนง บริเวณซอกใบ และยอด โดยช่อจะยาว 1.5-3 เซนติเมตร และมีดอกย่อยสีขาว หรือ ขาวอมเขียว ไม่มีก้านดอก ฐานดอกเป็นรูปถ้วย ทรงรูปกรวยแกมทรงกระบอก ขนาด 4-10 มิลลิเมตร มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ เป็นรูปสามเหลี่ยมมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ แยกจากกันเป็นรูปเกือบกลม และมีเกสรเพศผู้จำนวนมาก

           ผล เป็นผลสดมีเนื้อทรงกลมขนาดเล็ก ขนาด 8-12 มิลลิเมตร สีขาวขุ่น เมื่อผลอ่อนมีสีเขียว มีรสหวานด้านในผลมีเมล็ดผลละ 1 เมล็ด

เสม็ดชุน

เสม็ดชุน

การขยายพันธุ์เสม็ดชุน

เสม็ดชุน สามารถขยายพันธุ์ได้โดยวิธีการเพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง แต่วิธีที่เป็นที่นิมในปัจจุบัน คือ การเพาะเมล็ดโดยนำเมล็ดที่ได้จากผลแก่จัด หรือ ผลสุกมา หว่านลงแปลงคลุมพลาสติกเพื่อรักษาความชื้นเล็กน้อย จากนั้นคอยดูแลให้น้ำจนต้นกล้างอกออกมา จึงย้ายไปเพาะในถุงต่อ และเมื่อต้นกล้าสูงประมาณ 15-30 เซนติเมตร จึงนำไปปลูกลงดินตามที่ต้องการ โดยใช้ดินผสมกากมะพร้าว รองก้นหลุมเพื่อช่วยให้รากติดไว ทั้งนี้เสม็ดชุนเป็นพืชที่แข็งแรง และมีความทนทานต่อโรค และสภาพอากาศ และยังเติบโตได้ดีในทุกสภาพดิน ดังนั้นจึงง่ายในการดูแลรักษา


องค์ประกอบทางเคมี

มีการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีจากใบอ่อนของเสม็ดชุน พบว่าพบสารออกฤทธิ์ที่สำคัญ หลายชนิดเช่น gallic acid, ursolic acid, daucosterol, myricitrin, betulinic acid, quercetin, jacoumaric acid และ colosolic acid เป็นต้น

โครงสร้างเสม็ดชุน

การศึกษาทางเภสัชวิทยาของเสม็ดชุน

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของเสม็ดชุน ระบุเอาไว้ดังนี้

           ฤทธิ์ลดความดันเลือด และการขยายตัวของหลอดเลือด มีการศึกษาวิจัยของหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดความดันเลือดสูงด้วยสาร L-name ขนาด 40 มก./กก./วัน ในน้ำดื่มเป็นเวลา 5 สัปดาห์ และได้รับสารสกัดน้ำจากใบผักเสม็ดชุน ขนาด 300 มก./กก./วัน ใน 2 สัปดาห์สุดท้าย จากนั้นจึงทำการวัดความดันเลือดแดงเฉลี่ย และอัตราการเต้นของหัวใจ เมื่อสิ้นสุดการทดลองและการตอบสนองของหลอดเลือดต่อสาร acetylcholine และ sodium nitroprusside ในหลอดเลือดมีเซนเทอริก ที่แยกออกมา พบว่าสารสกัดผักเม็ก (ผักเสม็ดชุน) มีผลลดความดันเลือด และอัตราการเต้นของหัวใจที่สูงขึ้นได้ และทำให้การคลายตัวของหลอดเลือดที่ตอบสนองต่อสาร acetylcholine ดีขึ้น เมื่อเทียบกับหนูที่ไม่ได้รับสารสกัด ขณะที่การตอบสนองต่อสาร Sodium nitroprusside ไม่แตกต่างระหว่างกลุ่ม

           ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ มีรายงานการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจากใบเสม็ดขาว ใบเสม็ดชุน ใบหว้า และใบโท๊ะ ซึ่งเปรียบเทียบกับกรดแอสคอร์บิก โดยรายงานสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งสารที่มีอนุมูลอิสระได้ครึ่งหนึ่ง Ihhibitory Concentration at fifty percent พบว่าใบเสม็ดขาว ใบเสม็ดชุน ใบหว้า และใบโท๊ะ มีค่า IC50 เท่ากับ 46.40, 27.60, 75.90 มิลลิกรัม/ลิตร ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกันระหว่างสารสกัดจากพืชตัวอย่าง พบว่าสารสกัดจากพืชใบหว้า มีสมบัติการต้านอนุมูลอิสระดีที่สุด ถัดมา คือ ใบเสม็ดขาว ใบเสม็ดชุน และใบโท๊ะ ตามลำดับ

           นอกจากนี้ยังมีรายงานการศึกษาวิจัยอื่นๆ อีกเช่น มีการศึกษาพบว่าสารสกัดเมทานอล ที่ได้จากใบอ่อนของต้นเสม็ดแดงมีฤทธิ์ต้านเอนไซม์โคลินเอสเตอเรส โดยพบว่า ursolic acid, gallic acid ซึ่งเป็นสาระสำคัญที่พบในใบอ่อน ของเสม็ดแดงออกฤทธิ์ต้านเอนไซม์โคลิน เอสเตอเรส และพบว่าสารสกัดเมทานอลที่พบได้จากใบอ่อนของต้นเสม็ดแดงยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระทั้งในหลอดทดลองและในเซลล์ ซึ่งสารสกัดจากใบอ่อน 100 mg/ml) รวมถึง myritrin และ quercitrin ซึ่งเป็นสาระสำคัญที่พบในใบอ่อน มีฤทธิ์ในการสร้างเอนไซม์หลายชนิดที่มีฤทธิ์ต้านินมูลอิสระ antioxidant enzymes) เช่น เอนไซม์ catalase, glutathione peroxidase-1 และ glutathione reductase ในเซลล์ไตของมนุษย์ human embryonic kidney-293(HEK-293) เป็นต้น


การศึกษาทางพิษวิทยาของเสม็ดชุน

ไม่มีข้อมูล


ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

สำหรับการใช้เสม็ดชุนเป็นสมุนไพร ในการบำบัดรักษาโรคต่างๆ ตามสรรพคุณทางยาที่ได้ระบุไว้ในตำรับตำรายาต่างๆ นั้น ควรใช้ในปริมาณ และขนาด ที่เหมาะสม ที่ได้ระบุไว้อย่างเคร่งครัด โดยไม่ควรใช้ในขนาดที่มากจนเกินไปหรือใช้ต่อเนื่องกันนานจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ ส่วนการบริโภคยอดอ่อนของเสม็ดชุน มีข้อควรระวัง คือ ใบยอดอ่อนมีสารออกซาเลต (oxalate) ซึ่งหากบริโภคแบบสดปริมาณที่มากจนเกินไปอาจทำให้เสี่ยงต่อการเป็นนิ่วในไตได้


เอกสารอ้างอิง เสม็ดชุน
  1. มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล.(2548). สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 5 สมุนไพรพื้นบ้านอีสาน. หน้า 156.
  2. แน่งน้อย แสงเสน่ห์, ปวีณา ปรวัฒน์กุล, ญานิศา เทพช่วย. ฤทธิ์ต้านอนมูลอิสระจากพืชวงศ์ Myrtaceae ในพื้นที่ป่าพรุครวนเคร็ง. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ การพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน 2556 ครั้งที่3 “ชุมชนท้องถิ่น ฐานรากการพัฒนาประชาคมอาเซียน “ 9-10 พฤษภาคม 2556. หน้า 694-698.
  3. อรทัย เนียมสุวรรณ, นฤมล เล้งนนท์, กรกนก ยิ่งเจริญ, พัชรินทร์ สิงห์ดำ.2555. พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของพืชกินได้จากป่าชายเลน และป่าชายหาดบริเวณเขาสทิงพระ จังหวัดสงขลา วารสารวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 40(3):981-991.
  4. ฤทธิ์สารสกัดจากผักเม็ก (เสม็ดชุน) ต่อความดันเลือดและการขยายตัวของหลอดเลือดในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดความดันเลือดสูง. ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  5. เม็ก. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.phargarden.com/mainphp?action=viewpage&pid=98.
  6. เสม็ดแดง (ผักเม็ก). กลุ่มสมุนไพรแก้ฟกช้ำ ข้อเคล็ด ปวดข้อ เส้นเอ็นพิการ. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด. โดยการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs_28_6.htm
  7. Mangmool S, Kunpukpong l, Kithati W, Anantacoke N. Antioxidant and anticholinesterase activities of extracts and phytochemicals of Syzygium antisepticum leaves. Molecules. 2021;26:3295.dol:10.3390/molecules26113295.