HCA

HCA

ชื่อสามัญ Hydroxy citric acid

ประเภทและข้อแตกต่างของสาร HCA

กรดไฮดรอกซีซิตริก (hydroxycitric acid) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “สาร HCA” เป็นอนุพันธ์ของกรดซิตริกที่สกัดได้จกพืชตามธรรมชาติ ซึ่งมีลักษณะทางเคมีเป็นเลือแคลเซียม ซึ่งมีสูตรทางเคมี คือ C6H8O8 มีมวลโมเลกุล 208.122g/mol-1 ส่วนประเภทของสาร HCA นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ไอโซเมอร์ คือ (+)-hydroxycitric acid, (-)-hydroxycitric acid, (+)-allo-hydroxycitric acid, และ (-)-allo-hydroxycitric acid โดย (-)-hydroxycitric acid เป็นชนิดที่พบในส้มแขกที่เป็นที่นิยมนำมาสกัดในปัจจุบัน

แหล่งที่พบและแหล่งที่มาของสาร HCA

สารไฮดรอกซีซิตริก (HCA) สารมารพบได้ในส้มแขก ทั้งชนิด G.atroviridis และ G.cambogai โดยชนิดแรกเป็นชนิดที่พบมากในประเทศไทย ส่วนชนิดที่ 2 เป็นชนิดที่พบมากในประเทศอินเดีย และมีการใช้กันมากในตลาดโลก และในปัจจุบันได้มีกานำส้มแขกไปสกัดทำเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลายรูปแบบ เช่น แบบเม็ด แบบผง ส้มแขกแคปซูล ชาส้มแขก และสารสกัด HCA จากส้มแขกซึ่งมีคุณสมบัติในการยับยั้งเอนไซม์ในกระบวนการสร้างไขมันจากการบริโภคอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง และร่างกายก็สามารถนำแอซซิเอไปได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงในระยะยาวอีกด้วย

HCA

ปริมาณที่ควรได้รับของสารสาร HCA

ในการใช้สาร HCA เพื่อวัตถุประสงค์ในการช่วยลดน้ำหนัก ลดความอยากอาหาร สำหรับผลิตภัณฑ์ส้มแขกที่มีการควบคุมปริมาณ HCA ไม่ต่ำกว่า 50% มีการกำหนดปริมารการใช้ประจำวันโดยกำหนดให้รับประทานในขนาด 750-1,500 มิลลิกรัม โดยแบ่งให้วันละ 2-3 ครั้ง 30-60 นาที ก่อนอาหาร

สาร HCA

ประโยชน์และโทษสาร HCA

ในส่วนประโยชน์ของสาร HCA นั้น มีการศึกษาวิจัยพบว่าสารดังกล่าวมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาเกี่ยวกับกดความอยากอาหารและเพิ่มความร้อนภายในร่างกายโดยการเผาผลาญไขมัน หยุดกระบวนการเปลี่ยนแปลงคาร์โบไฮเดรตไปสะสมในรูปของไขมัน จึงมีผลลดการผลิตกรดไขมันและคอเลสเตอรอล และการเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรดเป็นไขมันสะสมในส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยการที่สาร HCA เป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้เราสามารถลดน้ำหนักได้นั้น เนื่องจากHCA จะเป็นตัวยับยั้งไม่ให้แป้ง และน้ำตาลเปลี่ยนไปเป็นไขมน แต่จะนำน้ำตาลเปลี่ยนไปเป็นพลังงาน ซึ่งเมื่อมีปริมาณน้ำตาลในเลือดที่เพียงพอน้ำตาลก็จะเปลี่ยนไปเป็นไกลโคเจนเก็บไว้ที่ตับ พลังงานสำรองของร่างกาย เมื่อร่างกายรับรู้ว่ามีไกลโคเจนเก็บไว้แล้ว จึงไม่ทำให้เรารู้สึกหิว และนำไปสู่การลดเนื้อเยื่อไขมัน และการลดน้ำหนัดได้ นอกจากนี้สาร HCA ยังมีความแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักอย่างอื่น คือ ไม่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางโดยตรง แต่จะใช้กลไกธรรมชาติที่กล่าวมาลดไขมัน จึงทำให้มีความปลอดภัยมากกว่าผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักชนิดอื่นๆ

การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องสาร HCA

มีผลการศึกษาวิจัยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสาร HCA หลายฉบับดังนี้
           ผลลดไขมันในเลือด มีการศึกษาวิจัยในหญิงที่เป็นโรคอ้วน (ค่าดัชนีมวลกาย >25 กก./ตร.ม.) อายุ 25-60 ปี จำนวน 43 คน โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มที่ได้รับแคปซูลสารสกัดส้มแขก (Garcinia cambogia ) ขนาด 3 แคปซูลต่อวัน (ในแต่ละแคปซูลบรรจุสารสกัดส้มแขก 800 มก./แคปซูล ซึ่งมีปริมาณของ hydroxycitric acid อยู่ 50%) โดยรับประทานครั้งละ 1 แคปซูล ก่อนอาหารเช้า กลางวัน และเย็น 30 นาที เป็นเวลา 60 วัน และอีกกลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มควบคุม พบว่ากลุ่มที่ได้รับสารสกัดส้มแขก จะมีระดับของไตรกลีเซอร์ไรด์ลดลง แต่ไม่มีผลต่อระดับไขมันตัวอื่น เช่น คอเลสเตอรอลรวม HDL และ LDL ระดับของฮอร์โมน leptin และอินซูลินไม่เปลี่ยนแปลง และไม่มีผลต่อค่าสัดส่วนร่างกาย (anthropometric parameters) เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง รอบเอว รอบสะโพก และค่าที่เกี่ยวกับพลังงานในร่างกาย (calorimetric parameters) เช่น พลังงานที่ต้องการขณะพัก (Resting energy expenditure) และค่าเศษส่วนของการหายใจ (respiratory quotient)
           ส่วนอีกการศึกษาหนึ่งในประเทศไทยมีการศึกษาวิจัยทางคลินิก โดยเริ่มจากปรับปรุงคุณภาพของ HCA ด้วยการสกัด HCA จากผลส้มแขกที่ใช้กระบวนการเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ แล้วปรับปรุงให้อยู่ในสูตรซุปเปอร์ ไฮ-โซล ซึ่งเป็นเกลือแคลเซียมที่สามารถละลายน้ำได้ดีที่มี HCA อยู่ถึง 70% แล้วนำไปบรรจุในซอง โดยแต่ละซองมีซูเปอร์ ไฮ-โซล อยู่ 1.65 กรัม (เทียบเท่ากับ HCA 1.15 กรัม) จากนี้แล้วมีการ ศึกษาวิจัยในสตรีอาสาสมัครที่เข้าเร่วมในการทดลองและเป็นผู้ที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า 25 กก./ก. รวมจำนวน 42 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มแรกมี 23 คน มีอายุเฉลี่ย 40 ปี รับประทานอาหารที่ให้พลังงาน 1,000 แคลอรี่ต่อวัน ตามคำแนะนำและละลายซูเปอร์ ไฮ-โซล กับน้ำดื่มก่อนอาหารครั้งละซอง วันละ 3 ครั้ง กลุ่มที่สองมี 19 คน มีอายุเฉลี่ยน 35.6 ปี รับประทานอาหารลักษณะเดียวกัน และละลายยาหลอกกับน้ำดื่มก่อนอาหารครั้งละซอง วันละ 3 ครั้ง โดยก่อนการทดลองกลุ่มทดลอง (กลุ่มที่ 1) มีน้ำหนักตัวเฉลี่ย 69 กก. และกลุ่มควบคุม (กลุ่มที่ 2) มีน้ำหนักตัวเฉลี่ยน 65.5 กก.ต่อมาในเวลา 2 เดือนหลังจากทดลอง พบว่ากลุ่มแรกน้ำหนักลดลงเกิดจากการหายไปของไขมันสะสมซึ่งเห็นได้จากการลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ไขมันที่ลดลงทำให้น้ำหนักตัวลดลง 3.9% และดัชนีมวลกายลดลง 3.27% ปริมาณไตรกลีเซอไรด์ในเลือดลดลง 23.2% ในขณะที่ความเสี่ยงต่ออาการไขมันอุดตันในเส้นเลือดลดลงอย่างชัดเจน เมื่อสิ้นสุดการทดสอบปริมาณของสารชีวเคมีในเลือดไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิม ทำให้สรุปได้ว่าไม่มีผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ จากการใช้สารสกัด HCA สูตรซูเปอร์ไฮ-โซล นอกจากนี้กรดยูริก ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคเกาต์ยังลดลงอย่างมีนัยสำคัญอีกด้วย
           ฤทธิ์เพิ่มการสังเคราะห์โปรตีน มีการศึกษาวิจัยถึงผลของกรด (-)-hydroxycitric (HCA) ซึ่งเป็นสารสำคัญในส้มแขก (Garcinia cambogia ) ต่อน้ำหนักตัวและปริมาณกรดอะมิโนในหนูแรท โดยแบ่งหนูออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม และกลุ่มที่ได้รับอาหารเสริมด้วยสารสกัดจากส้มแขก 3 ขนาด ได้แก่ ขนาด 25, 50 และ 75 ก./กก. อาหาร ตามลำดับ (มีปริมาณของ HCA เท่ากับ 1000, 2000 และ 3000 มก./กก. อาหาร ตามลำดับ) เป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่า HCA มีผลลดน้ำหนักตัวและเพิ่มอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ (feed conversion ratio) ของหนู ระดับของไกลโคเจนในตับและกล้ามเนื้อ และระดับของฮอร์โมน triiodothyronine (T3), thyroxine (T4) อินซูลิน และเลปตินในเลือดของหนูที่ได้รับ HCA จะเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ปริมาณของโปรตีนในตับและกล้ามเนื้อ ปริมาณของกรดอะมิโนในเลือดและตับ โดยเฉพาะกรดอะมิโนชนิดอะโรมาติก (aromatic amino acid) และกรดอะมิโนแบบกิ่ง (branched amino acid) สูงขึ้น แต่ปริมาณของกรดอะมิโนเหล่านี้ในกล้ามเนื้อจะลดลง แสดงว่า HCA ในส้มแขกมีผลลดน้ำหนักตัวของหนู โดยกระตุ้นให้เกิดการใช้พลังงานในแต่ละวันเพิ่มขึ้น (energy expenditure) ผ่านการควบคุมระดับฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ และเพิ่มการสังเคราะห์โปรตีนโดยเปลี่ยนแปลงกระบวนการเมตาบอสิสมของกรดอะมิโน
           นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาวิจัยด้านอื่นๆ อีกเช่น มีผลการศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์ อนุพันธ์ของ hydiroxycitric acid 2 ชนิด แสดงฤทธิ์ยับยั้งเชื้อรา Cladosporium herbarum ซึ่งเป็นเชื้อราชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการภูมิแพ้โดยมีความแรงเทียบเท่า cyclohecimide แต่ไม่มีฤทธิ์ต่อเชื้อราอื่น หรือ ยีสต์ ส่วนการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) สารสกัดด้วยน้ำ และสารสกัดด้วยเอธานอลของผลส้มแขกไม่แสดงฤทธิ์ antioxidant เมื่อทดสอบด้วยวิธี DRRH radical scavenging assay ที่ระดับความเข้มข้นสูงสุด 2000 mg/mL แต่สารสกัดของราก ใบ และเปลือกต้นแสดงฤทธิ์ antioxidant ที่แรงกว่าวิตามินอี ในขณะที่สารสกัดด้วยเมธานอลของผลส้มแขกก็ไม่แสดงฤทธิ์ antioxidant เช่นกัน

สาร HCA

ข้อแนะนำและข้อควรปฏิบัติ

สำหรับข้อควรระวังในการใช้สาร HCA นั้น มีรายงานว่าเนื่องจากสาร HCA มีผลรบกวนการสร้าง acetyl CaA , fatty acid รวมทั้ง cholesterol จึงอาจมีผลรบกวนต่อการสร้าง steroid hormone ได้จึงไม่แนะนำให้ใช้ HCA หรือ ผลิตภัณฑ์ส้มแขกที่มี HCA ในปริมาณสูงในสตรีมีครรภ์ หรือ สตรีที่ให้นมบุตร บริโภคในปริมาณ มากก็อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหารได้เล็กน้อย

เอกสารอ้างอิง HCA

⦁ สโรชา ถึงสุข. โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตส้มแขกในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน.รายงานโครงการวิจัย. กรมวิชาการเกษตรปี 2558. 73 หน้า
⦁ ส้มแขก...สมุนไพรลดไขมัน.ศูนย์ข้อมูลสมุนไพรสถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กระทรวงสาธารณสุข
⦁ ผลลดไขมันในเลือดของส้มแขกในหญิงที่เป็นโรคอ้วน .ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร. สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
⦁ ฤทธิ์เพิ่มการสังเคราะห์โปรตีนของกรด hydroxycitric จากส้มแขก. ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร. สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
⦁ Shara M,. et al.(2004) Phyasico-chemical properties of a novel (-)-hydroxyctirie acid extract and its effect on body weight aeleciad organ weights hepatic peroxidation and DNA fragmentation hematolgy and climical chemiatry and histopathologieal changes over a period of 90 days Mol Cell Biochem.260(1-2):171-86.
⦁ Jena, BS; Jayaprakasha, GK; Singh, RP; Sakariah, KK (2002-01-02). "Chemistry and biochemistry of (-)-hydroxycitric acid from Garcinia". Journal of Agricultural and Food Chemistry. 50 (1): 10–22.
⦁ Lowenstein.JM.et al.(1981) Hydroxycltrate Methods Enzymol.72:487-497.
⦁ Jayaprakaaha, G,K,and K.K. Salariah (1998) Determination of arganic acids in Garclnia cambogia (Dear) by high-performance liquid chromatography Journal of Chroalograpky A 806(2):337-339.