ประทัดใหญ่ ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆและข้อมูลงานวิจัย

ประทัดใหญ่ งานวิจัยและสรรพคุณ 15 ข้อ

ชื่อสมุนไพร ประทัดใหญ่
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น ประทัดจีน, ปิง, ประทัด( ทั่วไป)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Quassia amara L.
ชื่อสามัญ Quassia, Amargo, Bitter wood, Hombre grande, Bitter ash
วงศ์ SIMAROUBACEAE

ถิ่นกำเนิดประทัดใหญ่

จากการศึกษาค้นคว้าพบว่าประทัดใหญ่ เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปอเมริกา อาทิเช่น ในเขตร้อนของอเมริกาใต้ ได้แก่ บราซิล อาเจนตินา เปรู ซุรินาเม เวเนชุเอลา โคลัมเบีย ฯลฯ รวมถึงในทะเลแคริบเบียน เช่น ตรินิแดด และโตเบโก และ ในอเมริกากลาง เช่น คอสตาริกา นิการากัว จาไมกา ปานามา เป็นต้น ส่วนในประเทศไทย ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์นานแล้ว โดยส่วนมากจะถูกนำมาปลูกตามสวนสมุนไพร หรือ สวนพฤกษชาติมากกว่าในธรรมชาติ

ประโยชน์และสรรพคุณประทัดใหญ่

  • รักษาโรคมาลาเรีย
  • รักษาโรคหัด
  • รักษาโรคท้องร่วง
  • แก้ไข้
  • รักษาเหา
  • ใช้เป็นยาขับไล่แมลง
  • ช่วยให้เจริญอาหาร
  • ช่วยย่อยอาหาร
  • ใช้แก้ผดผื่นคัน
  • ช่วยขับพยาธิ เส้นด้าย
  • ช่วยต้านเบาหวาน
  • ช่วยลดระดับไขมันในเลือด
  • ใช้เป็นยาทาผิวหนังแก้อาการคัน (ใบ)
  • แก้โรคเบาหวาน
  • ใช้บำรุงน้ำย่อย

 ประทัดใหญ่

รูปแบบและขนาดวิธีการใช้ประทัดใหญ่

ใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร ใช้บำรุงน้ำย่อย ใช้เนื้อไม้ หรือ เปลือกต้นประทัดใหญ่ 0.5 กรัม (ประมาณ 4-5 ชิ้น) นำมาต้มหรือชงกับน้ำเดือดครึ่งถ้วยแก้ว แล้วใช้รับประทานเพียงครั้งเดียว ใช้แก้ไข้มาลาเรีย ด้วยการใช้เนื้อไม้ 4 กรัม นำมาต้มกับน้ำ 4 ถ้วยแก้ว แล้วเคี่ยวจนเหลือ 2 ถ้วยแก้ว ใช้รับประทานก่อนอาหารเช้า และเย็นครั้งละ ¼ ถ้วยแก้ว วันละ 2 ครั้ง ใช้แก้อาการผดผื่นคันต่างๆ โดยใช้ใบประทัดใหญ่มาตำให้ละเอียดแล้วนำมาทาบริเวณที่เป็น

ลักษณะทั่วไปของประทัดใหญ่

ประทัดใหญ่ จัดเป็นไม้พุ่มมีความสูงของต้นประมาณ 1.5-3 ม. (บางรายงานระบุว่าสูงได้ถึง 6 เมตร) และมักแตกกิ่งก้านมากเป็นพุ่มเตี้ยๆ มีเปลือกลำต้นมีลักษณะเรียบสีน้ำตาล
           ⦁ ใบ ออกแบบใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ ใบย่อยมีประมาณ 5 ใบ เป็นรูปรี หรือ รูปไข่กลับ กว้าง 2-3 ซม. ยาว 3-5 ซม. โคนใบรูปลิ่ม ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียวเรียบ ก้านใบรวมมีสีแดงมีครีบแผ่ออกทั้งสองข้าง ใบอ่อนเป็นสีแดง เมื่อแก่จึงมีสีเขียว
          ⦁ ดอก ออกเป็นช่อยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร ที่บริเวณปลายกิ่งมีก้านช่อดอกเป็นสีแดง ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมี 5 แฉก เป็นสีแดง ขนาดเล็ก และมีกลีบดอก 5 กลีบ เป็นสีแดงสด ยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร โดยกลีบดอกจะไม่บานและหุ้มเกสรอยู่เป็นรูปกรวยคว่ำมีโคนดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด มีเกสรเพศผู้ 10 อัน
          ⦁ ผล ออกเป็นผลกลุ่มมีผลย่อยรูปไข่กลับ สีแดงคล้ำหรือม่วงดำมีขนาด 0.8-1.5 ซม.

 ประทัดใหญ่

ประทัดใหญ่

การขยายพันธุ์ประทัดใหญ่

ประเทศจีนสามารถขยายพันธุ์ได้โดยวิธีการเพาะเมล็ด และการตอนกิ่งสำหรับวิธีการทำก็สามารถทำได้เช่นเดียวกันกับการเพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง รวมถึงวิธีการปลูกไม้พุ่มทั่วไปซึ่งได้กล่าวมาแล้วในบทความก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ประทัดใหญ่ เป็นพืชที่ทนแล้งได้ในระดับหนึ่ง เป็นพืชที่ชอบดินร่วนที่มีความชื้น และมีการระบายน้ำได้ดี รวมถึงมีร่มเงาเล็กน้อย

องค์ประกอบทางเคมี

มีรายงานผลการศึกษาวิจัยถึงองค์ประกอบทางเคมีของประทัดใหญ่ระบุไว้ว่า ในเนื้อไม้ประทัดใหญ่ พบสาร quassin 0.09 ถึง 0.17% neoquassin 0.05-0.11% ส่วนใบอ่อนพบสารกลุ่ม quassinoids เช่น simalikalactone D, picrasin B, picrasin H, neoquassin, quassin, picrasin I และ picrasin J นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าในสารที่ให้รสขมของประทัดใหญ่ได้แก่ Amaroid และยังพบว่าประทัดใหญ่มีสารสำคัญอื่นๆ อีกเช่น beta-cabolines, beta-sitosterol, gallic acid , gentisic acid , isoparain, isoquassin, malic acid, methoxycantinne , parain, quassialactol, quassimarin, quassinol และ quassol เป็นต้น

โครงสร้างประทัดใหญ่

การศึกษาทางเภสัชวิทยาของประทัดใหญ่

มีรายงานผลการศึกษาทางเภสัชวิทยาของประทัดใหญ่ระบุไว้ดังนี้
           ฤทธิ์ต้านเบาหวาน มีการศึกษาฤทธิ์ต้านเบาหวานของต้นประทัดใหญ่ (quassia amara L.) ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงด้วย nicotinamide-streptozotocin ด้วยการป้อนสารสกัดเมทานอลประทัดใหญ่ขนาดวันละ 100 มก./กก. และ 200 มก./กก. เปรียบเทียบกับการป้อนด้วยยา glibenclamide 10 มก./กก. นาน 14 วัน ทำการเก็บตัวอย่างเลือดจากหนูทุกกลุ่ม เพื่อตรวจวัดระดับน้ำตาล โคเลสเตอรอล LDL-C (Low density lipoprotein cholesterol) HDL-C (high density lipoprotein cholesterol) และไตรกลีเซอไรด์ ผลการศึกษาพบว่าหนูกลุ่มที่ถูกป้อนด้วยสารสกัดเมทานอลประทัดใหญ่ทั้งสองขนาด และหนูที่ถูกป้อนด้วยยา glibenclamide มีผลลดระดับน้ำตาลในเลือด ระดับโคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และ LDL-C ที่เพิ่มขึ้นจากการเหนี่ยวนำด้วย nicotinamide-streptozotocin อย่างไรก็ตามการป้อนด้วยสารสกัดเมทานอลประทัดใหญ่ ไม่ส่งผลต่อการเพิ่มของ HDL-C และระดับฮอร์โมนอินซูลินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ glibenclamide มีผลเพิ่มปริมาณ HDL-C และระดับฮอร์โมนอินซูลินอย่างมีนัยสำคัญ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากต้นประทัดใหญ่มีฤทธิ์ต้านเบาหวาน และช่วยลดระดับไขมันในเลือดได้
           ฤทธิ์ต้านมาลาเรีย มีการศึกษาวิจัยระบุว่าสาร Simarikalactone D ที่พบในใบของประทัดใหญ่มีฤทธิ์ต้านมาลาเรีย โดยการทดลองพบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Plasmodium falciparum ได้
           นอกจากนี้ยังได้มีการค้นพบสารกลุ่ม quassinoid ตัวใหม่ คือ simalikalactone E. โดยสามารถยับยังการเจริญเติบโตของ P. falciparum ในหลอดทดลองได้ถึง 50%
ฤทธิ์ยับยั้งแผลในกระเพาะอาหาร มีรายงานการศึกษาวิจัยพบว่าสารสกัดจากประทัดใหญ่ สามารถยับยั้งแผลในกระเพาะอาหารที่ถูกเหนี่ยวนำจาก Indomethacin อยู่ระหว่าง 77% ถึง 85% นอกจากนี้ยังช่วยลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร ได้อีกด้วย
           นอกจากนี้ยังมีรายงานการศึกษาทางเภสัชวิทยาอื่นๆ อีกเช่น เยื่อเมือกของประทัดใหญ่ซึ่งพบสาร quassimarin สามารถต้านมะเร็งเม็ดเลือดขาวในหนูทดลองได้ ส่วนสารสกัดจากเปลือกมีฤทธิ์กดประสาทและคลายกล้ามเนื้อได้ เป็นต้น

การศึกษาทางพิษวิทยาของประทัดใหญ่

มีการศึกษาทางพิษวิทยาพบว่าสารสกัดจากประทัดใหญ่ มีความปลอดภัยส่วนการให้ quassin ซึ่งเป็นสารส่วนใหญ่ที่พบในประทัดใหญ่ทางหลอดเลือดจะเป็นพิษและนำไปสู่ความผิดปกติของหัวใจ น้ำหนักเฉลี่ยของอัณฑะ ถุงน้ำเชื้อ และน้ำหนักของต่อมใต้สมองส่วนหน้าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในหนูที่ได้รับ quassin ในปริมาณสูงถึง 2 กรัม/กก. ในน้ำดื่มนอกจากนี้ยังพบอสุจิและฮอร์โมนเพศชายที่ลดลง

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

เด็ก และสตรีมีครรภ์ไม่ควรใช้ประทัดใหญ่ เป็นสมุนไพรสำหรับรับประทานเพราะยังไม่มีข้อมูลด้านความปลอดภัยที่มากพอนอกจากนี้ยังมีรายงานว่า การรับประทานประทัดใหญ่ในปริมาณมากอาจเยื่อเมือกในกระเพาะอาหารระคายเคือง และอาเจียนได้ รวมถึงอาจรบกวนระบบการรักษาโรคหัวใจ และหลอดเลือดได้ อีกด้วย ดังนั้นการใช้ประทัดใหญ่เป็นสมุนไพร ควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสม และไม่ควรใช้ต่อเนื่องกันนานจนเกินไป

เอกสารอ้างอิง ประทัดใหญ่

⦁ “ประทัดใหญ่ Quassia”. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. หน้า 174.
⦁ ฤทธิ์ต้านเบาหวานของต้นประทัดใหญ่ (Quassia amara). ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ประทัดใหญ่ ประเทศจีน. กลุ่มยาแก้ลดความร้อน. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด. โดยการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_09_5.htm
⦁ ดิแอซ, โรแบร์โต; เอร์นันเดซ, ลอเรน่า; โอคัมโป, ราฟาเอล; Cicció, José (2015-06-17).
⦁ เปาโล, โจอานา เอ.; วิลลาโลบอส, โรเจอร์ (2019-09-22). "Quassia amara L. เส้นผ่านศูนย์กลางและความสูงรวมภายใต้สภาพแสงที่แตกต่างกัน: นัยสำหรับการจัดการระบบนิเวศเกษตร" ระบบวนเกษตร . 94 (3): 761–778.
⦁ เอส. เบอร์ทานี; อี. โฮเอล; ดี. สไตน์; แอล. เชโวลอต; วี. จูเลียน; ก. การาวิโต; G. Bourdy E. Deharo (2006). "Simalikalactone D มีหน้าที่ในการต้านมาลาเรียของวิธีการรักษาแบบดั้งเดิมของอะเมซอนที่ทำกับ Quassia amara L. (Simaroubaceae)" วารสารชาติพันธุ์วิทยา . 108 (1): 155–157.
⦁ รูบิก, เดวิด ดับเบิลยู.; ฮอลบรูค, เอ็น. มิเคเล่; Parra, German V. (พฤษภาคม 1985). "บทบาทของโจรขโมยน้ำหวานในการสืบพันธุ์ของต้นไม้เขตร้อน Quassia amara (Simaroubaceae)". โออีโคโลเกีย . 66 (2): 161–167.